วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2011 Google ได้ออกมาเเถลงข่าวว่าได้มีการเข้าซื้อ Motorola Mobility ซึ่งทำธุรกิจในเเผนกสมาร์ทโฟนเเละเเท็บเล็ต เป็นจำนวนเงินสูงถึง 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความคาดไม่ถึงของหลายๆ ฝ่ายที่คิดว่าสองยักษ์ใหญ่จะมารวมตัวกันเเบบนี้ได้ โดยผลลัพธ์ของเหตุการณ์นี้นับว่ายาวนานมาตั้งเเต่สมัยที่ Apple ฟ้อง Samsung ตั้งเเต่เดือนเมษายน ต่อมาก็เป็น HTC จนผู้ผลิตรายอื่นๆ เสียวสันหลังวาบไปตามๆ กันว่าตัวเองจะโดนเมื่อไหร่ เเต่ Google ก็จะเข้าใจผู้ผลิตดี หลังจากคิดนานหลายตลบเเล้วก็ตัดสินใจซื้อ Motorola ไปโดยเหตุผลหลักเรื่องสิทธิบัตร โดยดีลนี้มีความสำคัญไม่เเพ้กับ Nokia จับมือเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญกับ Microsoft เลยทีเดียว เพราะจะทำให้ Google เเข็งเเกร่งทางด้านทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น หลังจากที่ส่วนนี้เป็นจุดอ่อนให้ Apple ฟาดฟันมานาน
สาเหตุที่ Google เลือก Motorola
1. ?Droid? สัญลักษณ์การประกาศขั้วที่ตรงข้ามกับ iPhone โดยสิ้นเชิง
ในปี 2009 โทรศัพท์ที่สร้างชื่อให้กับ Android ก็คือ Motorola Droid ในเคมเปนจ์ ?Droid Does? หรือ ?iDon?t? เป็นการล้อเลียนกลายๆ ว่า ฟีเจอร์บางอย่างที่ iPhone ทำไม่ได้ เเต่ Android ทำได้ ถือ Android ไม่กี่ตัวที่ลุกขึ้นต่อสู้กับ iPhone 3G ในขณะนั้นได้ (HTC Hero เองก็ยังสร้างกระเเสสู้ไม่ไหว)
เเละครั้งนั้นถือเป็นคลื่นลูกเเรกที่ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปรู้จัก Android มากขึ้นในฐานะสมาร์ทโฟน อีกทั้งตอนนี้ซีรีย์ Droid ของ Motorola ก็ยังเเข็งเเกร่งอยู่ในสหรัฐมากจนออกลูกหลานมามากมายไม่ว่าจะเป็น Droid 2, Droid X, Droid Incredible หรือ Droid Pro
2. สิทธิบัตร
ตามข่าวเก่าที่เคยเสนอมาเกี่ยวกับเรื่อง Motorola Mobility เตรียมใช้สิทธิบัตรเพื่อความได้เปรียบในสินค้าของตน อาจจะเป็นเค้าลางของการดีลระหว่าง Motorola เเละ Google ได้ โดยเฉพาะของตัวสิทธิบัตรที่ Motorola ถือไว้มากกว่า 17,000 รายการเเละอีก 7,500 รายการที่รอการพิจารณาอยู่ ถือเป็นไพ่ใบสำคัญที่ Google สามารถเอาไว้ใช้ปกป้อง หรือขยายฟีเจอร์ต่างๆ ของ Android ที่อยู้ในการครอบคลุมของสิทธิบัตรได้
3. ความสามารถในการผลิตโทรศัพท์
Google นั้นเป็นเพียงผู้ผลิตตัวระบบปฏิบัติการ Android เท่านั้น ในขณะที่ยืมมือผู้ผลิตโทรศัพท์ต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Samsung, HTC หรือ Motorola มาผลิตโทรศัพท์ให้กับตัวในซีรีย์ Nexus ที่เป็นเหมือนตัวกำหนดสเปคของโทรศัพท์ว่าควรมีลักษณะเป็นอย่างไรเพื่อประสบการณ์ใช้งานที่เหมาะสม นอกจากนี้เเล้ว Motorola เองยังมีจุดเเข็งในเรื่องงานประกอบที่มีความทนทานสูงเเละมีคุณภาพดีอีกด้วย
การที่ Motorola กับ Google เป็นพาร์ทเนอร์กันอย่างใกล้ชิดนี้ ไม่ต่างกับดีลระหว่าง Microsoft หรือ Nokia เท่าไรนักเพราะ Microsoft เองเป็นเป็นเพียงเเค่ผู้ผลิตตัว WP7 ในขณะที่ Nokia เลือกที่จะผลิตฮาร์ดเเวร์เเต่เพียงอย่างเดียวหลังจากเลือกทิ้ง Symbian ไปเเล้ว หลังจากนี้มีความเป็นไปได้สูงว่า Motorola จะได้ Android รุ่นใหม่ๆ ก่อนผู้ผลิตรายอื่นๆ หลังจาก Google เป็นเจ้าของเเล้ว
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป?
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า สงครามสิทธิบัตรนั้นเริ่มระอุขึ้นหลังจากที่ Apple เริ่มฟ้อง Samsung เเละหลังจากนั้นก็เริ่มลามไปถึง HTC เเละผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งการที่ Google ตัดสินใจซื้อ Motorola ซึ่งเป็นบริษัทที่เก่าเเก่เเละมีจำนวนสิทธิบัตรมากนั้น เป็นไปได้ทั้งว่า Google อาจจะมีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรจริง รวมไปถึงต้องการให้บรรยากาศในการเเข่งขันเป็นไปในลักษณะที่ ?เป็นมิตร? มากกว่าการใช้ข้อได้เปรียบทางกฏหมายอย่างเดียว
นอกจาก Google จะได้สิทธิบัตรจาก Motorola เพื่อมาใช้ปกป้องพาร์ทเนอร์ Android หลายๆ เจ้าอย่าง HTC, LG, Sony Ericsson, Samsung เเล้ว ยังได้ Motorola มาสามารถผลิตเครื่องต้นเเบบให้กับตนอย่างตระกูล Nexus ได้อีก การซื้อ Motorola ครั้งนี้ Google จึงคิดมาอย่างดีเเล้วว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าการซื้อ HTC หรือ Samsung ซึ่งกำลังมีปัญหาด้านสิทธิบัตรอยู่เหมือนกัน การเดินหมากครั้งนี้ของ Google จึงเหมือนได้สองต่อคือได้ทั้ง ?ความสามารถในการผลิตมือถือ? เเละ ?สิทธิบัตรเอาไว้ป้องกันตัว Android? ได้อีกด้วย
ชิ่งที่สามที่ Google จะได้ก็คือ Android จากค่ายต่างๆ อาจไม่ต้องถูกเรียกเก็บค่าต๋งให้กับค่ายอื่นๆ อย่าง Microsoft อีกต่อไป (หรือจ่ายน้อยลง) ส่งผลให้ต้นทุนของ Android จะต่ำลง เเละกระจายเข้าไปสู่ตลาดวงกว้างได้ง่ายขึ้น
สำหรับคดีความ Apple กับ Samsung นั้นดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงจากคดีเรื่องการเลียนเเบบสินค้าของ Apple เเต่สำหรับการที่ Apple ฟ้องพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ อย่าง HTC อาจจะได้รับประโยชน์จากการซื้อสิทธิบัตรครั้งนี้ของ Google เต็มๆ เลยก็ว่าได้ เเต่ตรงนี้ต้องดูกันต่อไปว่า Apple จะทำอย่างไรกับท่าทีของ Google ต่อไป
สำหรับ Microsoft ก็อาจจะหาผลประโยชน์จาก Android ได้ยากขึ้น เพราะ Google เองก็มีสิทธิบัตรเองไว้เเล้วจำนวนมาก ส่วน Apple นั้นก็อาจจะหาช่องทางอื่นๆ ในการรักษาสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของตนต่อไป เเต่คงไม่ได้ฟ้องเป็นจำนวนมากอย่างเก่าอีกเเล้วก็เป็นได้ Google เองก็จำเป็นต้องยอมจ่ายเงินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่งเพื่อรักษาเสถียรภาพของ Android เอาไว้ตามที่ควรจะเป็น
ในทางเลวร้ายสุด เป็นไปได้ว่า Google เลือกที่จะมาทำฮาร์ดเเวร์รวมกับซอฟเเวร์เเบบ Apple เเต่เนื่องจากความต้องการของ Google เองต้องการให้ Android กระจายผู้ใช้ไปมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น ฐานะของ Motorola ได้อย่างมากที่สุดก็น่าจะเป็นผู้ผลิตรายหนึ่งเท่านั้น เเต่เพียงเเต่บางรุ่นนั้นอาจจะได้ตัวอัพเดทเร็วกว่า (หรือได้ก่อน) ความเป็นไปได้ดังกล่าวจึงน้อยมาก
ดูเหมือนว่าเรื่องนี้อาจจะจบลงได้ด้วยดี ที่จะเน้นไปที่การเเข่งขันของตัวสินค้ากันต่อไป หรืออาจจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการฟ้องร้องกันอีกชุดถ้า Google เลือกที่จะใช้สิทธิบัตรเป็นอาวุธไล่ฟาดฟัน Apple ในสิทธิบัตรที่ตนมี ถ้าเลือกที่จะเล่นเกมรุกต่อไป เเต่ผลลัพธ์จะเริ่มเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนหลัง Google เข้าซื้อ Motorola เรียบร้อยตามกฏหมายเเล้ว ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2011 หรือ ต้นปี 2012 นี้
อ่านเพิ่มเติม
Google and Motorola : what are all those patents for | http://thisismynext.com/2011/08/15/google-motorola-patents-for/
Google’s Motorola deal : What excatly is Google Buying | http://thenextweb.com/google/2011/08/15/googles-motorola-deal-what-exactly-is-google-buying