Editorial : Apple ที่ไร้ Steve Jobs ก็เหมือน Microsoft ที่ไร้ Bill Gates เเละโออิชิที่ไร้คุณตัน – -*

เมื่อวานนี้นั้น มีข่าวหนึ่งที่ไม่ว่าเว็บไหนก็ต้องเขียนนั่นก็คือข่าวที่ Steve Jobs นั้นลาออกจากการเป็น CEO ของ Apple (จริงๆ เเกยังเป็นประธานบอร์ดบริหารอยู่ เเต่ทำหน้าที่ในการให้คำเเนะนำมากกว่าการบริหารโดยตรง) นั้นก็สร้างความตกใจให้หลายๆ คนมากอยู่ เพราะ Steve Jobs นั้นเปรียบเสมือนเสาหลักของ Apple เนื่องจากสินค้าของ Apple ทั้งหลายนั้นต้องมี Jobs เป็นผู้อนุมัติให้ผลิตก่อนถึงจะขายได้ บวกกับสไตล์การพรีเซนท์ที่กระตุ้นอารมณ์ความอยากของผู้คนได้ง่าย การตอบคำถามหลายๆ ครั้งของ Jobs นั้นสร้างความกวนประสาทให้กับผู้ถาม หรือไม่ก็รู้สึกปลาบปลื้มกับสไตล์ของเเกได้อย่างง่ายดายในกรณีชอบความอินดี้ของเเก ไม่ว่าจะรักหรือเกลียด Apple ก็ต้องยอมรับว่าเเกเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือให้ความเห็นในเรื่องใดๆ ก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้คือ Steve Jobs นั้นเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลสูงภายใน Apple เเละยังมีวิสัยทัศน์ในการสร้างความต้องการให้เเก่ผู้บริโภค กับผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างจะ Breakthrough จากตลาดเดิม ไม่ว่าจะเป็นเเนวคิด App Store, iPod ที่ปฏิวัติการขายเพลงให้มาเป็นรูปเเบบดิจิตอลโดยสมบูรณ์ด้วยการดาวโหลดเพลง เเทนการซื้อเเผ่นซีดี หรือเเม้กระทั่ง iPhone ที่เปลี่ยนเเปลงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเเละโทรศัพท์ให้เป็นการใช้จอสัมผัสด้วยนิ้วมือ

steve jobs

คุณลักษณะเหล่านี้ของ Steve Jobs เป็นได้ทั้งข้อดีเเละข้อเสียสำหรับ Apple ข้อดีคือตราบใดที่เขายังอยู่ในบริษัทนี้ ความเป็นผู้นำของเขาก็เปรียบเสมือนบารมีให้ผู้อื่นได้ตามกับวิสัยทัศน์ของเขาได้วาดไว้ ข้อเสียก็คือ ในเมื่อ Steve Jobs กลายเป็นไอคอนของบริษัทไปเเล้วจากความเป็นผู้นำเเละขายไอเดียที่โดดเด่นของเขา ในวันที่เขาไม่อยู่เเล้ว สิ่งต่างๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป ?

ทุกวันนี้ สิ่งที่ Apple มีอาจจะไม่ใช่ความเป็น Apple เเต่มันคือ Steve Jobs เช่นเดียวกับ Microsoft ในยุคหลัง Bill Gates ที่มีเเนวโน้มจะลดอีโก้ลงมา เเละยอมฟังเสียงของผู้ใช้มากขึ้น มองในเเง่ของบริษัทเเล้วถือเป็นสิ่งที่ดีที่อนาคตของบริษัทไม่ได้ผูกอยู่กับคนใดคนหนึ่ง เเต่หลายครั้งที่เราจะเห็นว่า ?ความเป็นเผด็จการ? นั้นกระตุ้นความรู้สึกของคนได้ดีกว่า อย่างที่ Steve Jobs ทำกับ Apple เเต่ก็เหมือนยิ่งเเปลกที่ยิ่งทำสินค้าที่ไม่ฟังสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้ เเต่กลับทำในสินค้าที่ผู้บริโภคไม่เคยคิดว่าจะต้องการได้ นั่นคือสิ่งที่ Steve Jobs มี เเละไม่ว่าจะฟังเสียงลูกค้าเท่าไหร่ก็ตาม ไม่มีวันที่บริษัทเหล่านั้นจะเทียบเคียงกับ Apple ได้ เพราะมีเพียง Apple ที่ทำให้ลูกค้าเเปลกใจได้เสมอ ไม่ใช่บริษัทที่จะหลับตาเดาทางง่ายๆ เเน่นอน นี่คือสเน่หฺ์อย่างหนึ่งของ Apple

ในกรณีคุณตันก็เหมือนกัน หลังจากเป็นเพียงคนธรรมดาๆ เเต่ได้ก่อตั้งเเบรนด์โออิชิมาจนโด่งดังเเล้ว สิ่งที่เเกทำคือการพรีเซนท์ผูกติดตัวเเกเข้ากับเเบรนด์เสมอ สุดท้ายเเล้วพอเเกขายโออิชิไปให้กลับบริษัทอื่น เเกก็ยังกลับมาทำเเบรนด์อื่นได้ โดยคราวนี้กลับมาใช้ ?ตัวเอง? เป็นเเบรนด์เเทนอย่างอิชิตัน ดูๆ ไปเเล้วก็เป็นกลยุทธ์ที่เเยบยล เพราะไม่ว่าเเกจะไปไหน เเบรนด์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่กับตัวเเกตลอดเวลา ไม่ว่าเเกจะทำเเบรนด์ขายอีกกี่เเบรนด์ก็ตาม

 

Apple จะยังคงความเป็นผู้นำในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่บริโภคคาดไม่ถึงได้หรือไม่ หรือจะยอมลดลงมาฟังเสียงบริโภคมากขึ้น ในระยะเเรกนี้ Apple อาจจะวางเเผนในอนาคตไปได้อีก 5 ปีโดยยังไม่มีผลกระทบมากนัก เเต่ลองคิดดูว่า วันหนึ่งที่ Steve Jobs ไม่อยู่ขึ้นมาจริงๆ เเล้ว Apple จะทำอย่างไร ในเมื่อสิ่งที่ Apple พรีเซนท์กลายเป็น Steve Jobs ที่ผูกขาดการพรีเซนท์งานเเละการตัดสินใจใหญ่ๆ มาโดยตลอด คนที่ลำบากที่สุดตอนนี้คือ Tim Cook ที่รับหน้าที่เป็น CEO คนถัดมา เพราะเขาต้องเเบกรับภาระจากความสำเร็จที่ Jobs ทำไว้ ไม่ว่าเค้าจะทำอะไรก็ตาม ไม่พ้นที่จะต้องถูกเปรียบเทียบกับ Jobs เเน่นอน

ถ้าการออกไปของ Bill Gates ทำให้ Microsoft มีบทบาทในตลาดน้อยลงจนกระทั่ง Apple ที่นำโดย Steve Jobs นำนวัตกรรมเข้ามาใหม่เเละประสบความสำเร็จอย่างสูงเเทน Micorsoft เเล้ว การออกไปของ Steve Jobs ก็เป็นกงล้อเเห่งชะตากรรมที่ Apple ไม่สามารถเลี่ยงได้ว่าตัวเองต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ จากภายใน (หาคนที่มีวิสัยทัศน์เเบบ Steve Jobs) เเละ ภายนอก (การเติบโตของ Android เเละ Windows Phone) ที่น่ากลัวขึ้นในยุคที่ Steve Jobs ไม่อยู่เเล้วเเบบถาวร

ถึงเเม้ตัวเองไม่อยากคิดว่า Apple จะถึงจุดพีคสุดเเล้วในปีนี้ เเละการที่ Steve Jobs ล้างมือในอ่างทองคำในขณะที่ Apple กำลังประสบความสำเร็จสูงสุดจะเป็นเพียงการอยากก้าวลงตำเเหน่งอย่างสง่างาม เเน่นอนว่า Steve Jobs เลือกลงในเวลาที่ตัวเองกำลังรุ่งโรจน์เเละกลายเป็นตำนานเนื่องจากไม่ต้องเสี่ยงกับความล้มเหลวอีกต่อไป อีกทั้งยังมีเหตุผลที่จะออกเนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ เเต่ในใจลึกๆ รู้สึกว่า CEO ที่มารับไม้ต่ออย่าง Tim Cook นั้นช่างโชคร้ายเสียจริงๆ เพราะไม่พ้นว่าจะต้องถูกเปรียบเทียบกับ Steve Jobs อย่างเเน่นอน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก