ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน กล้องหน้าของสมาร์ทโฟนนี่แทบจะให้มาแค่ “พอใช้งาน” เท่านั้น โดยคำว่าพอใช้งานนี่ก็หมายถึงการ Video Call ด้วยซ้ำไป ไม่ต้องการกล้องหน้าที่มีความละเอียดสูง จนกระทั่งเรามีเทรนการ Selfie เกิดขึ้นบนโลก หลังจากนั้นสมาร์ทโฟนหลายรุ่น ก็เริ่มมีการปรับกล้องหน้าให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น จากกล้องหน้าความละเอียด VGA ก็กลายเป็น 1.3 ล้านพิกเซล ไล่มาเรื่อย ๆ จนเหมือนจะเริ่มอยู่ตัวที่ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
ในยุคปัจจุบันที่การเซลฟี่มันเป็นมากกว่าเทรน แต่กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมไปแล้วก็ว่าได้ จึงไม่แปลกที่เราจะพบมือถือกล้องหน้าความละเอียดสูงมากขึ้นเป็นเรื่องปกติ จนตอนนี้กล้องหน้า กับกล้องหลังมีความละเอียดเท่ากัน และชัดเท่ากันไปเสียแล้ว อย่าง OPPO R9s ที่เพื่อน ๆ จะได้อ่านรีวิว ก็เป็นมือถือที่มีกล้องหน้า และกล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซลเท่ากัน
โดยความพิเศษของ OPPO R9s ก็คงหนีไม่พ้นการเป็น Camera Phone ตามสโลแกนของ OPPO แต่ไม่ได้หมายความว่ามีแค่กล้องหน้า – กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซลเท่านั้นนะครับ เพราะความเจ๋งของ OPPO R9s คือมันมาพร้อมกับฮาร์ดแวร์กล้องระดับสูง และการใช้งานง่าย แต่ก่อนจะไปอ่านรีวิว OPPO R9s เรามาดูสเปคของมือถือรุ่นนี้กันก่อน
สเปค OPPO R9s
- หน้าจอ AMOLED ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียดระดับ Full HD
- ชิปประมวลผล Qualcomm Snapdragon 625 octa-core
- Ram 4 GB
- ความจุ 64 GB รองรับ MicroSD Card สูงสุด 256 GB
- กล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซล Sony IMX398 รูรับแสง f/1.7 ระบบโฟกัส Dual PDAF
- กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล Beaitify 4.0
- รองรับ 4G LTE และรองรับ 2 ซิม
- แบตเตอรี่ความจุ 3,010 mAh
- สเปคเต็ม ๆ OPPO R9s
- ราคา 14,990 บาท
อุปกรณ์ในกล่องของ OPPO R9s ก็ให้มาอย่างครบครันทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นอะแดปเตอร์ VOOC ที่รองรับการชาร์จเร็ว (ตามสเปคบอกว่าชาร์จเพียง 5 นาที ใช้งานได้ 2 ชั่วโมง) สายชาร์จ Micro USB ที่รองรับ VOOC, หูฟังสมอลทอร์คแบบ Earbuds, เคส TPU แบบใส ขนาดพอดีกับตัวเครื่อง ส่วนฟิล์มกันรอยอันนี้ติดมาให้ตั้งแต่ที่โรงงานแล้ว
จุดเด่น
ข้อสังเกต
– กล้องหลังนูนจากตัวเครื่องเล็กน้อย
บทสรุป
BEST CAMERA SMARTPHONE
Camera
เพื่อให้สมกับความเป็น OPPO Camera Phone เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มรีวิว OPPO R9s ในส่วนของกล้องถ่ายภาพกันก่อนเลย อย่างที่ผมได้เกริ่นไว้ในส่วนนำของรีวิว ว่าความเจ๋งของ OPPO R9s ไม่ได้อยู่ที่การมีกล้องหน้าหลังความละเอียดเท่ากัน แต่มันอยู่ที่ฮาร์ดแวร์กล้องระดับเทพ ซึ่งก็คือเซ็นเซอร์ Sony IMX398 ที่ OPPO ร่วมกันพัฒนากับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์กล้องระดับโลกอย่าง Sony เป็นเวลานาน 1 ปีเลยทีเดียว
โดยเซ็นเซอร์ Sony IMX398 บน OPPO R9s เป็นเซ็นเซอร์ขนาด 1/2.8 นิ้ว มีความละเอียดอยู่ที่ 16 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/1.7 ซึ่งเป็นรูรับแสงที่กว้างมากสำหรับกล้องมือถือ และส่วนมากมือถือที่กล้องมีรูรับแสง f/1.7 ก็มักจะเป็นพวกรุ่นท็อป ที่มีราคา 20,000 บาทขึ้นไป แต่สำหรับ OPPO R9s ที่มีราคาเพียง 14,990 บาท แต่จัดฮาร์ดแวร์กล้องโหดขนาดนี้เนี่ย ใครที่ชอบถ่ายรูปก็น่าจะถูกใจกันไปไม่น้อย
การที่มีรูรับแสงกว้างมันก็ช่วยให้การถ่ายภาพในที่แสงน้อยทำได้ดีขึ้น เพราะเซ็นเซอร์กล้องรับแสงได้มากกว่า และยังได้ผลพลอยได้เป็นความชัดลึกชัดตื้นที่มากกว่ามือถือปกติทั่วไป หรือที่เรียกกันบ้าน ๆ ว่า หน้าชัด – หลังเบลอนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะเบลอไม่เท่าพวกมือถือกล้องคู่ แต่ก็เป็นการหลังเบลอด้วยฮาร์ดแวร์ที่ดูจริงกว่าเยอะ ขอแค่มีระยะห่างระหว่างวัตถุกับฉากหลังพอสมควร ใครที่ชอบถ่ายของชิ้นเล็ก ๆ เช่น ถ่ายดอกไม้ หรือถ่ายอาหารนี่งานถนัดของ OPPO R9s เลย
ระบบโฟกัสของ OPPO R9s ใช้เป็นระบบโฟกัสแบบ Dual PDAF ซึ่งแม่นยำกว่าเดิม และไวกว่าเดิมมาก โดยปกติระบบโฟกัสแบบ PDAF (Phase Detection Auto focus) ก็รวดเร็วอยู่แล้ว แต่พอเป็น Dual PDAF นี่ก็เร็วและแม่นขึ้นไปอีกระดับ แต่ก็จะมีข้อจำกัดเวลาถ่ายในที่แสงน้อย หรือถ่ายตอนกลางคืน ถ้าไม่เปิดแฟลช จะสัมผัสได้เลยว่าระบบการโฟกัสมันช้าลง แต่ก็ไม่ได้ช้าจนน่าเกลียด (เร็วกว่า PDAF ปกติ 40% ในการถ่ายที่แสงน้อย) หรือโฟกัสไม่เข้าเหมือนกล้องมือถือบางรุ่น ต้องบอกว่า Dual PDAF ตอนที่มีแสงปกติมันโฟกัสเร็วมาก ๆ จนเราชินกับความเร็วระดับนั้นมากกว่า
แต่สิ่งที่ผมประทับใจในกล้อง OPPO R9s ไม่ใช่แค่ฮาร์ดแวร์เทพครับ แต่เป็นเรื่องของซอฟท์แวร์กล้องที่ใช้งานง่ายและฉลาดพอตัวมากกว่า ต่อให้มีฮาร์ดแวร์เทพ แต่ซอฟท์แวร์ออกแบบมาให้ใช้งานยากก็เปล่าประโยชน์ เพราะทุกคนไม่ได้เป็นมือโปรในการถ่ายรูป แต่สำหรับซอฟท์แวร์กล้อง OPPO R9s ต่อให้เป็นมือใหม่ก็ถ่ายรูปได้สวยไม่แพ้กัน ขอแค่จัดองค์ประกอบรูปให้ดี ที่เหลือให้ OPPO R9s คิดให้ก็พอ
ส่วนคนที่เป็นมือโปร OPPO R9s ก็มาพร้อมกับ Expert Mode ที่สามารถปรับตั้งค่าได้ละเอียดทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็น ISO, Exposure, Shutter Speed (สูงสุด 16 วินาที), WB และการปรับโฟกัสแบบ Manual หรือถ้าคิดว่าความละเอียด 16 ล้านพิกเซลยังไม่พอ ต้องการภาพที่มีความละเอียดสูง ๆ อาจจะถ่ายมาไว้เผื่อ Crop รูป OPPO R9s ก็มีโหมด Ultra HD ให้ภาพถ่ายความละเอียดเทียบเท่า 36 ล้านพิกเซล ไฟล์ใหญ่พอที่จะเอาไปทำโปสเตอร์ได้สบาย ๆ
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลังของ OPPO R9s
พูดถึงกล้องหลังไปแล้ว ก็ต้องต่อด้วยกล้องหน้ากันบ้าง อย่างที่ทราบกันแล้วว่า OPPO R9s มีกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซลเท่ากับกล้องหลัง มีขนาดเซ็นเซอร์อยู่ที่ 1/3 นิ้ว รูรับแสง f/2.0 มีทั้งระบบลด Noise และ HDR ทำให้สามารถถ่ายภาพได้สวยในทุกสภาพแสง มาพร้อมกับ Beautify 4.0 ที่การันตีว่าสวยใสแทบไม่ต้องง้อเครื่องสำอาง ใครที่เคยใช้มือถือ OPPO จะทราบดีครับ ว่าโหมด Beauty ของมือถือ OPPO นั้นแจ่มขนาดไหน
นอกจากนี้ กล้องหน้าของ OPPO R9s ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ในการละลายฉากหลัง โดยเราสามารถถ่ายโบเก้ด้วยกล้องหน้าได้ แม้ว่า OPPO R9s จะมีกล้องหน้าเพียงตัวเดียวก็ตาม และยังมีแฟลชกล้องหน้าติดมาให้อีกด้วย แต่ไม่ใช่แฟลช LED นะครับ แฟลชกล้องหน้า OPPO R9s เป็นแฟลชที่ใช้แสงจากหน้าจอ ให้ความสว่างที่แรงใช้ได้เลย
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้า OPPO R9s
Design
ตัวเครื่อง OPPO R9s มีขนาดตัวเครื่องพอ ๆ กับมือถือหน้าจอ 5.5 นิ้วรุ่นอื่น แต่สิ่งที่ OPPO R9s ทำได้ดีกว่าจะเป็นเรื่องความบางของตัวเครื่อง ที่มีความบางอยู่ที่ 6.58 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเพียงแค่ 147 กรัมเท่านั้น แต่เห็นบางเบาแบบนี้ OPPO R9s มาพร้อมกับบอดี้ที่ใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมทั้งชิ้น และมีแบตเตอรี่ความจุสูงถึง 3,010 mAh
อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับมือถือ OPPO เพราะในมือถือ OPPO หลาย ๆ รุ่นก็ล้วนแต่ใช้วัสดุตัวเครื่องที่พรีเมียมประมาณนี้อยู่แล้ว บอดี้อลูมิเนียมชิ้นเดียวไร้รอยต่อ (Unibody) นั้นเป็นเรื่องปกติมาก แต่ใน OPPO R9s จะมีอีกสิ่งหนึ่งที่พัฒนาไปจากรุ่นก่อน ก็คือกระจกหน้าจอ Gorilla Glass 5 ที่ทนทานต่อรอยขีดข่วนมากกว่าเดิม และที่สำคัญคือมันทนต่อการตกได้มากขึ้นด้วย โอกาสที่เครื่องหล่นแล้วหน้าจอแตกก็จะลดลงไปอีก
แต่ถ้าใครเผลอทำ OPPO R9s หน้าจอแตก ก็ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะ OPPO ให้สิทธิ์คนที่จองเครื่อง OPPO R9s ก่อนวันวางจำหน่าย จะได้รับประกันตัวเครื่องเพิ่มเป็น 18 เดือน และยังได้รับบัตร OPPO VIP Card ที่มาพร้อมสิทธิ์คุ้มครองหน้าจอแตกเป็นเวลานาน 1 ปี เปลี่ยนตัวกระจกหน้าจอกี่ครั้งก็ได้ โดยสิทธิพิเศษดังกล่าวสงวนไว้สำหรับคนที่จองเครื่อง OPPO R9s ล่วงหน้า จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2560 นี้เท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นโปรโมชันที่ทำให้ OPPO R9s น่าซื้อขึ้นอีกเป็นกองเลยครับ เพราะเราไม่ต้องซื้อประกันอะไรเพิ่มเลย แค่จองเครื่องในเวลาที่กำหนดเท่านั้นเอง ประกันก็ได้นานถึง 18 เดือน
สำหรับหน้าจอของ OPPO R9s ที่ขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว พาแนล AMOLED ความละเอียดระดับ Full HD โทนสีหน้าจอจะออกอมฟ้านิด ๆ ตามสไตล์หน้าจอแบบ AMOLED มุมมองสีของหน้าจอกว้างไม่แพ้ IPS การแสดงผลมีความคมชัดทั้งการอ่านตัวอักษร หรือแม้แต่การรับชมวีดีโอ รวมถึงการดู Youtube ก็ทำได้อย่างสบายไม่มีปัญหา และจุดเด่นของหน้าจอ OPPO R9s อีกอย่างหนึ่งก็คือการแสดงผลสีดำ มันแสดงผลออกมาได้ดำสนิทดีทีเดียว โดยการแสดงผลหน้าจอสีดำจะแทบไม่ใช้พลังงานหน้าจอเลย เนื่องจากใช้หน้าจอแบบ AMOLED เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการประหยัดพลังงาน ให้เลือก Wallpaper ที่มีสีดำเยอะ ๆ จะช่วยให้สามารถใช้งานได้นานขึ้นครับ
รายละเอียดต่าง ๆ ของตัวเครื่อง OPPO R9s เริ่มจากทางด้านหน้า นอกจากหน้าจอ 5.5 นิ้วแล้วก็จะประกอบไปด้วยปุ่มโฮม ที่ติดเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเอาไว้ โดยความพิเศษของปุ่มโฮมคือเป็นปุ่มกดแบบสัมผัส ข้อดีของปุ่มแบบนี้คือการใช้งานปุ่มโฮมเราไม่ต้องออกแรงมาก แค่แตะเบา ๆ ก็ใช้งานได้แล้ว ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากขึ้นด้วย
ข้าง ๆ ปุ่มโฮมจะเป็นปุ่ม Recent App (ทางซ้าย) กับปุ่ม ย้อนกลับ (ทางขวา) โดยทั้ง 2 ปุ่มมีการติดไฟ LED ไว้ที่ใต้ปุ่ม ทำให้ใช้งานในที่มืดได้ดี ไม่ต้องมาคอยคลำ ๆ ตัวเครื่อง ส่วนด้านบนหน้าจอประกอบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล, ลำโพงสำหรับสนทนาโทรศัพท์ และ Proximity Sensor
ด้านข้างของ OPPO R9s กับความบางที่ 6.98 มิลลิเมตร เริ่มจากทางด้านซ้ายมือ ประกอบไปด้วยปุ่ม Power และช่องใส่ซิมการ์ด จำนวน 2 ช่อง เป็นแบบ Hybrid Slot ที่ต้องเลือกระหว่างซิม 2 หรือ Micro SD Card โดย OPPO R9s รองรับซิมการ์ดแบบ Nano Sim และรองรับ Micro SD Card ความจุสูงสุดที่ 256 GB ส่วนความจุในตัวเครื่องก็ให้มาเยอะถึง 64 GB ตรงจุดนี้ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ OPPO R9s เมื่อเทียบกับมือถือคู่แข่งครับ เพราะมือถือบางรุ่นพอให้ความจุมาสูง ๆ แล้วก็มักจะตัด Micro SD Card ออก
ด้านขวาของตัวเครื่องจะเป็นปุ่มปรับระดับเสียง ส่วนด้านบนก็จะมีเพียงไมโครโฟนสำหรับตัดเสียงรบกวนเท่านั้น เพราะบรรดาพอร์ตต่าง ๆ จะอยู่บริเวณด้านล่างตัวเครื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต Micro USB สำหรับชาร์จและเชื่อมต่อข้อมูล (รองรับการชาร์จเร็ว VOOC Flash Charge 5V: 4A) ข้าง ๆ ก็จะเป็นลำโพงหลักของตัวเครื่อง ให้เสียงดีและดังใช้ได้ กับช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร
ด้านหลังของ OPPO R9s ประกอบไปด้วยกล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซล เซนเซอร์ตัวเทพ Sony IMX398 รูรับแสง f/1.7 ระบบโฟกัสแบบ Dual PDAF และมีแฟลช LED มาให้จำนวน 1 ดวงด้วยกัน ถัดมาจะเป็นโลโก้ OPPO ตรงกลาง ส่วนเส้นที่พาดด้านบนและด้านล่างนั้นจะเป็นเสาอากาศของ OPPO R9s ที่มีการออกแบบขึ้นใหม่ เป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวน 3 เส้น ทำให้ภาพรวมด้านหลังดูสะอาดตาขึ้น ไม่เหมือนรุ่นก่อน ที่เสาอากาศหนา ๆ มันจะดึงสายตา และทำให้รู้สึกแปลก ๆ
Software
OPPO R9s มาพร้อมกับ ColosOS เวอร์ชัน 3.0.0i มีพื้นฐานบน Android 6.0.1 Marshmallow โดยตัว ColorOS เอง เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี มันคือตัว OS ที่ทาง OPPO ดัดแปลงจาก Android โดยมีการเพิ่มฟีเจอร์บางอย่าง รวมถึงการเปลี่ยนหน้า UI และบรรดาไอคอนต่าง ๆ ไปเยอะอยู่เหมือนกัน
เริ่มจากหน้าจอ Lock Screen ของ OPPO R9s จะเปลี่ยนได้เรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราเปิดหน้าจอ แถม Theme บน OPPO R9s ก็มีให้เลือกดาวน์โหลดเพียบ เยอะขนาดที่ว่าเปลี่ยนทุกวันแบบไม่ซ้ำกันได้หลายเดือนอยู่ และอีกไฮไลท์อย่างแอปพลิเคชัน Music ในเครื่องก็มาพร้อมกับฟีเจอร์ Dirac HD Sound ที่ช่วยให้ฟังเพลงบน OPPO R9s ได้สนุกมากขึ้น เสียงทุกย่านจะโดนบูสขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ เสียงเบสแน่นขึ้น เสียงแหลมจัดขึ้นกว่าเดิม (เฉพาะการใช้งานผ่านหูฟัง) ส่วนตัวผมชอบฟีเจอร์ Dirac HD Sound นะ เพราะกดแล้วเห็นความแตกต่างเลย แถมยังได้เสียงที่ดีโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องย่านความถี่เสียงเหมือนการปรับ Equalizer จัดเป็นฟีเจอร์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากๆ ส่วนการฟังเพลงผ่านลำโพงของตัวเครื่องก็ให้เสียงที่ดี และเสียงดังพอสมควร
ฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจในรอมของ OPPO R9s ก็คือการสั่งงานด้วยท่าทาง (Gesture & motion) ที่มีให้ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งงานระหว่างหน้าจอเปิดอยู่ เช่น การเปิดใช้งานกล้องด้วยการวาดภาพตัว O บนหน้าจอ, การแคปภาพหน้าจอด้วยการใช้สามนิ้วปัดจากบนลงล่าง เป็นต้น หรือถ้าปิดหน้าจออยู่ ก็สามารถแตะนิ้วที่จอสองครั้งติดๆ กันเพื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาก็ได้ด้วย หรือถ้าไม่ได้ตั้งสแกนนิ้วไว้ ก็สามารถใช้การแตะปุ่มโฮม 2 ครั้งเพื่อปลุกหน้าจอ OPPO R9s ได้เช่นกัน
Feature
หนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากของ OPPO R9s ก็คือ VOOC Fast Charge ที่ทำให้สามารชาร์จแบตเตอรี่ได้เร็ว ชาร์จ 5 นาที ก็สามารถใช้คุยโทรศัพท์ได้นานถึง 2 ชั่วโมง รับรองว่าหมดปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ไม่พอใช้แน่ ๆ หรือถ้าชาร์จครึ่งชั่วโมง ก็สามารถเพิ่มปริมาณแบตเตอรี่ได้ถึง 75% เลยทีเดียว นับว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องใช้งานมือถือเกือบตลอดเวลา จนแทบไม่มีเวลาชาร์จแบต เพราะถ้าเป็น OPPO R9s ขอเวลาแค่ไม่กี่สิบนาทีก็พอ
แต่ฟีเจอร์นี้ก็ย่อมมีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะจะต้องใช้อะแดปเตอร์และสาย Micro USB ของ OPPO เองตามที่ผมได้เกริ่นไปตอนต้นของบทความรีวิว OPPO R9s โดยเฉพาะตัวสายที่จะได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้สามารถจ่ายไฟได้มากกว่าสายปกติ สังเกตที่บริเวณหัว Micro USB จะเป็นสีเขียว ซึ่งจะต้องใช้สายนี้เท่านั้นในการใช้งานฟีเจอร์ VOOC ส่วนถ้าใช้สายอื่น ก็จะเป็นการชาร์จในความเร็วระดับปกติ แต่ก็ยังชาร์จเข้านะ ไม่มีปัญหา
ส่วนถ้าจะเอาสายและอะแดปเตอร์ของ OPPO R9s ไปชาร์จมือถือเครื่องรุ่นอื่น ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะชาร์จได้เร็วไม่เท่ากับใช้บน OPPO R9s เหตุเพราะตัวเครื่องไม่มีชิปที่รองรับฟีเจอร์ VOOC ซึ่งก็อาจจะทำให้ชาร์จได้เร็วขึ้นแค่นิดหน่อยเท่านั้น (อาจจะจ่ายไฟได้ 2A แต่ถ้าเป็น VOOC จ่ายไฟได้ 5A เป็นต้น) ไม่เต็มที่ 100%
Performance
OPPO R9s มาพร้อมกับชิปเซ็ตระดับกลางรุ่นยอดนิยมอย่าง Snapdragon 625 ชิปเซ็ตแบบ Octa-core (ARM Cortex A53) ความเร็ว 2 GHz ชิปกราฟฟิค GPU Adreno 506 ส่วนแรมให้มาที่ Ram 4 GB และความจุตัวเครื่องอยู่ที่ 64 GB
สเปคดังกล่าวเป็นเหมือนสเปคยอดนิยมในสมาร์ทโฟนช่วงราคาหมื่นบาทขึ้นไป เรื่องความลื่นอะไรพวกนี้มันลื่น และเล่นเกมได้ดีอยู่แล้ว ที่เหลือก็อยู่ที่ว่าผู้ผลิตค่ายไหนจะรีดพลังของฮาร์ดแวร์ได้มากกว่ากัน โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่า OPPO R9s สามารถรีดประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ออกมาได้ดีทีเดียว จากการใช้งานที่ลื่นไหล รวมถึงการจัดการพลังงานและการจัดการความร้อน
ในส่วนของการเล่นเกม ผมได้ทดสอบการเล่นเกมหลากหลายประเภทบน OPPO R9s ไล่มาตั้งแต่เกม Puzzle ยอดนิยมอย่าง Candy Crush Soda Saga หรือจะเป็นเกมที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตเช่น ROV (Realm of Valor) หรือจะเป็นเกมที่กินสเปคจัดๆ อย่าง N.O.V.A 3, Asphalt 8 ก็สามารถเล่นได้อย่างลื่น ๆ แทบไม่มีอาการกระตุกให้เห็น เรื่องการจัดการความร้อน, การจัดการพลังงาน OPPO R9s ก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ
ส่วนในด้านของการจัดการพลังงาน ยอมรับว่าเซอร์ไพรส์เล็ก ๆ เพราะตามปกติ มือถือที่ใช้หน้าจอ AMOLED มักจะมีโหมดโคตรประหยัดพลังงานติดมาให้ โหมดที่พอเปิดปุ๊บก็ใช้อะไรไม่ได้เลย นอกจากรับสายแล้วก็ดูนาฬิกานั่นแหละครับ ซึ่งเอาจริง ๆ ถ้าต้องใช้งานได้แค่นั้น ผมยอมพก Powerbank ไปด้วยจะดีกว่า แต่ใน OPPO R9s ก็ไม่ได้ใส่โหมดนี้มาให้ มีเพียงโหมดประหยัดพลังงานธรรมดา ๆ ที่จะตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (สามารถเปิดใช้ได้ปกติ), ลดแสงสว่างหน้าจอ และทำให้เครื่องเข้าโหมด Sleep เร็วกว่าปกติ
เหตุผลที่ OPPO R9s ตัดฟีเจอร์โคตรประหยัดพลังงานออก เข้าใจว่าด้วยระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ OPPO R0s ก็จัดว่าทำได้ดีมากแล้วสำหรับมือถือบาง ๆ เช่นนี้ เพราะอัดแบตเตอรี่มาให้ถึง 3,010 mAh ถ้าใช้งานหนัก ๆ หน่อยก็สามารถอยู่ได้หมดวันแบบสบาย ๆ แต่ถ้าเป็นใช้งานทั่วไป เล่นเน็ต ฟังเพลง แชท เล่น Facebook ถ่ายรูป อัพรูปลงไอจี และเล่นเกมนิดหน่อย อันนี้สองวันชาร์จทีก็ยังไหวครับ แล้วก็อย่าลืมว่า OPPO R9s มีฟีเจอร์ VOOC Flash Charge ที่อัดไฟเข้าได้เร็วมาก ๆ ด้วย โหมดโคตรประหยัดพลังงานที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นฟีเจอร์โฟนก็เลยไม่จำเป็นเท่าไหร่