ในวันที่ 25 ส.ค. 2565 OPPO ได้ทำการเปิดตัว OPPO Pad Air แท็บเล็ตรุ่นแรกของ OPPO ที่ชูจุดเด่นคือ ดีไซน์บาง โฉบเฉี่ยว สนุกได้ไม่จำกัด เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นอกจากความแรงแล้วยังให้ความสนใจไปที่ดีไซน์ที่สวยงามอีกด้วย และยังได้ทำการเปิดตัว OPPO Enco Air2 Pro หูฟังไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่มาพร้อมสโลแกน Diving into the Scene ด้วยไดรเวอร์ขนาดใหญ่ ระบบตัดเสียงแบบ ANC และแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้อย่างยาวนาน ซึ่งทั่งคู่ก็ได้มาอยู่ในมือทีมงาน Specphone แล้วและหลังจากที่ได้เอาไปลองใช้งานมาระยะหนึ่งเราจะมาเล่าประสบการณ์การใช้งานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
OPPO Pad Air
สเปคของ OPPO Pad Air
- หน้าจอ : IPS-LCD, ขนาด 10.36 นิ้ว, ความละเอียด 2,000 x 1,200 พิกเซล (2K), Refresh Rate 60Hz, Touch Sampling Rate 120Hz, ความลึกสี 1 พันล้านสี
- ชิปประมวลผล : Qualcomm Snapdragon 680
- แรม : 4GB แบบ LPDDR4X + 3GB Extended RAM
- ความจุ : 64GB แบบ UFS 2.2 รองรับ MicroSD สูงสุด 512GB
- กล้องหลัง : 8MP, f/2.0, AF
- กล้องหน้า : 5MP, f/2.2
- แบตเตอรี่ : 7,100 mAh รองรับระบบชาร์จเร็ว 18W PD
- ระบบปฏิบัติการ : Android 12 ครอบทับด้วย ColorOS 12.1
- การเชื่อมต่อ :
- Wi-Fi 5 Dual-band
- Bluetooth 5.1
- USB Type-C / USB OTG
- เซ็นเซอร์ :
- Facial Recognition (การจดจำใบหน้า)
- Geomagnetic sensor (เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก)
- Light sensor (เซ็นเซอร์แสง)
- Accelerometer (มาตรวัดความเร่ง)
- Gyroscope (เซ็นเซอร์แรงโน้มถ่วง)
- Hall effect sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับสนามแม่เหล็ก)
- Pedometer (เครื่องนับก้าว)
- ขนาด : 245.08 x 154.84 x 6.94 มม.
- น้ำหนัก : 440 กรัม
- สี : Grey
- ราคา : 9,999 บาท
ดีไซน์
ในส่วนหน้าตาของ OPPO Pad Air นั้น จะมาพร้อมหน้าจอ IPS-LCD อัตราส่วน 5:3 ขนาด 10.36 นิ้ว ที่มีความละเอียดถึง 2K และรองรับความลึกของสีถึง 1 พันล้านสี อีกทั้งยังได้รับการรับรองจาก Tüv Rheinland ว่าเป็นหน้าจอแบบถนอมสายตาอีกด้วย โดยที่ลักษณะการใช้งานนั้นจะเน้นไปทางแนวนอน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการวางตำแหน่งกล้องในแนวยาว นอกจากนี้ตัวขอบหน้าจอก็ค่อนข้างกว้าง ซึ่งก็นับว่าเป็นปกติของหน้าจอแบบ IPS โดยข้อดีคือทำให้ไม่เกิดการลั่นเวลาถือใช้งาน แต่ถ้าเอามาเล่นเกมก็ต้องเอื้อมนิ้วหน่อย
ที่ด้านหลังของตัวเครื่องนั้นมีความโดดเด่นไม่เหมือนใครรด้วยพื้นผิวแบบ 3 มิติโดยใช้เทคนิคการตกแต่งพื้นผิวในอุตสากรรมการผลิตด้วย OPPO Glow ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความงามของเนินทรายยามพระอาทิตย์ตก ช่วยให้ตัวเครื่องมีความสวยงาม แถมยังไม่มีรอยนิ้วมือมาติดให้เห็นอีกด้วย เรียกได้ว่าทาง OPPO ใส่ใจในเรื่องความสวยงามของ Pad Air ตัวนี้พอสมควรเลยทีเดียว โดยในส่วนพื้นที่ 3 มิตินี้จะมีโมดูลกล้องวางอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวโมดูลกล้องนี้จะนูนขึ้นมาเล็กน้อยเหนือพื้นผิว 3 มิติ ทำให้ถ้าไม่ได้มีการใส่เคส เวลาวางตัวเครื่องลองไปโมดูลกล้องจะสัมผัสกับพื้นผิวแน่นอน อาจจะทำให้เป็นรอยได้ง่าย
สำหรับโดยรอบตัวเครื่องนั้น (ถือแบบแนวนอน) ที่ด้านบนจะมีปุ่มปรับระดับเสียง, รูไมโครโฟนและช่องสำหรับใส่ MicroSD Card อยู่ ส่วนปุ่มเปิด-ปิดจะอยู่ที่ด้านข้างฝั่งซ้าย และพอร์ต USB Type-C จะอยู่ที่ฝั่งขวา ส่วนลำโพงตัวเครื่องนั้นจะมีทั้ง 2 ฝั่งๆ ละ 2 ตัว รวมเป็น 4 ตัว พร้อมข้อความกำกับว่าเป็นระบบเสียง Dolby Atmos
การใช้งานทั่วไปและการชาร์จ
ในด้านการใช้งานทั่วไปนั้นไม่ว่าจะเป็นการเล๋นโซเชียลหรือการดูหนังก็สามารถทำออกมาได้ค่อนข้างดี เนื่องจากชิปประมวลผล Snapdragon 680 ที่ใช้นั้นเป็นชิปที่แรงและจัดการพลังงานได้ดี ทำให้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้นาน แถมไม่ร้อนด้วย นอกจากนี้ยังได้รับ Widevine ระดับ L1 อีกด้วย ช่วยให้สามารถดูหนังผ่านระบบสตรีมได้เต็มความละเอียด นอกจากนี้ด้วยลำโพง 4 ตัวที่มีระบบเสียง Dolby Atmos ยังช่วยให้ได้อรรถรสอย่างเต็มที่อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการดูหนังหรือฟังเพลงก็ตาม จะบอกว่า OPPO Pad Air เป็นแท็บเล็ตเพื่อความบันเทิงเลยก็ยังได้
นอกจากนี้ OPPO Pad Air ยังรองรับปากกาด้วยนะ เป็นปากกาที่ชื่อ OPPO Smart Life Intelligent Stylus โดยตัวปากกานี้จะรองรับแรงกดได้ถึง 4,096 ระดับ มีความหน่วงที่ต่ำและยังสามารถเองเขียนได้ถึง 60 องศาเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการเชื่อมต่อ และยังใช้ได้นานถึง 1 ปีหรือ 1,000 ชั่วโมงด้วยแบตเตอรี่แบบถ่าน AAA 1 ก้อนเท่านั้น อีกทั้งยังมีการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ มาให้สามารถใช้งานกับ OPPO Pad Air ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
ในส่วนของแบตเตอรี่นั้น OPPO Pad Air มาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 7,100 mAh พร้อมระบบชาร์จเร็ว 18W ซึ่งถ้าเป็นการใช้งานเพื่อความบันเทิงอย่างดูหนังหรือฟังเพลง แบตเตอรี่ที่ให้มาสามารถใช้งานต่อเนื่องได้แทบจะทั้งวัน (ในกรณีเปิดเสียงไม่ดังและเปิดแสงน้อยๆ) สำหรับในเรื่องระยะเวลาชาร์จนั้นเราเริ่มชาร์จตอนแบตเตอรี่เหลือ 1% ใน 10 นาทีแรกแบตเตอรี่เพิ่มมาเป็น 9% และใน 30 นาทีเพิ่มมาเป็น 25% ส่วนการชาร์จขึ้นมาเป็น 50% นั้นใช้เวลาไป 61 นาที และเต็ม 100% ใน 153 นาที หรือ 2 ชม. 33 นาที ซึ่งก็นับว่าเป็ฯระยะเวลาที่ค่อนข้างเร็วสำหรับแท็บเล็ตที่มีแบตเตอรี่ขนาด 7,100 mAh
การเล่นเกม
ในด้านการเล่นเกมนั้น OPPO Pad Air มาพร้อมชิปประมวลผล Snapdragon 680 ที่มีความแรงระดับที่ใช้เล่นเกมยอดฮิตในปัจจุบันได้หมด เพียงแต่จะมีข้อจำกัดอยู่ที่คงามจุของตัวเครื่องที่ให้มาเพียง 64GB เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถลงเกมเยอะๆ ได้ โดยเกมที่ได้ลองเล่นนั้นมี RoV, PUBG, PUBG New State และ Genshin Impact ซึ่งต้องบอกเลยว่าสามารถเล่นได้แบบลื่นๆ เลย ถึงแม้จะมีเงื่อนไขคือ PUBG และ Mew State นั้นมีการปรับกราฟิกต่ำที่สุด เพื่อเอาค่าเฟรมเรทสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็เป็นอะไรที่น่าแปลงใจไม่น้อยเนื่องจาก New State นั้นสามารถปรับกราฟิกและเฟรมเรทได้สูงสุดถึงระดับอัลตร้า แต่ทาง PUBG นั้นดันปรับกราฟิกได้แค่สมดุลเฟรมเรทกลางเท่านั้น สงสัย PUBG จะไม่ค่อยเข้ากับ Snapdragon 680 เท่าไร ส่วน Genshin Impact นั้นเพื่อที่จะให้สามารถเล่นได้ต้องลบเกมอื่นมิ้งไปทั้งหมด หรือถ้าจะให้พูดสั้นๆ คือถ้าจะเล่นเกมนี้ ในเครื่องต้องไม่มีเกมอื่นเลยนั่นเอง ซึ่งถ้าปรับกราฟิกต่ำหรือต่ำมากก้สามารถเล่นได้แบบลื่นๆ เลย แต่ถึงอย่างไรความร้อนก็ขึ้นเร็วอยู่ดี ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เล่นเกมนี้เท่าไร
การถ่ายภาพ
ในด้านการถ่ายภาพนั้น OPPO Pad Air มาพร้อมกล้องหลังความละเอียด 8MP และกล้องหน้าคว่ามละเอียด 5MP ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วกล้องของแท็บเล็ตมันเป็นอะไรที่ไม่ควรคาดหวังถึงคุณภาพเสียเท่าไร โดยเฉพาะในที่แสงน้อยหรือตอนกลางคืน แต่สำหรับในที่ๆ แสงเพียงพอก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ทั้งสีสันและรายละเอียดสามารถเก็บได้ครบถ้วน ส่วนการถ่ายเซลฟี่นั้นต้องบอกเลยว่ามีความบิ้วตี้พอสมควร แต่ในเรื่องของแสงนั้นเรียกได้ว่าสว่างเกินไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือในอาคารก็ตาม จะบอกว่ากล้องหน้าเหมาะกับการเอามาใช้วิดีโอคอลมากกว่าก็ไม่เกินเลย
ตัวอย่างภาพถ่าย
สรุปการรีวิว OPPO Pad Air
สรุปจากการได้ลองใช้งานมาได้ระยะหนึ่งนั้นต้องบอกเลยว่า OPPO Pad Air เป็นแท็บเล็ตที่จะใช้ทำงานก็ได้ ใช้เรียนก็ได้ หรือจะเอามาใช้เพื่อความบันเทิงอย่างเดียวเลยก็ยังได้ ด้วยหน้าจอที่ใหญ่ ลำโพงเสียงดี แบตเตอรี่อึดอีกทั้งยังรองรับปากกาด้วย แต่จะติดก็แค่หน่วยความจำที่น้อยและไม่รองรับซิมการ์ดเท่านั้น ทำให้ติดตั้งแอปฯ เยอะหรือแอปฯ ใหญ่ๆ เยอะไม่ได้ และไม่ค่อยสะดวกในการหิ้วไปใช้งานนอกบ้านเสียเท่าไร ซึ่งสำหรับสายเอกสารหรือสายบันเทิงก็สามารถทดแทนพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย MicroSD ได้ และถ้าหิ้วไปใช้งานนอกบ้านก็สามารถแชร์เน็ตจากมือถือมาแทนได้เช่นกัน แค่ต้องใช้หลายขั้นตอนหน่อยกว่าจะใช้เน็ตบน OPPO Pad Air ได้
สำหรับคนที่สนใจแล้วอยากลองสามารถเข้าไปลองได้ที่ OPPO Brand Shop และตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ได้เลย โดยตัวเครื่องจะมีราคาอยู่ที่ 9,999 บาท และถ้าหาอยากดูรายละเอียดต่างๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ oppo.com/th
จุดเด่น
- หน้าจอมีความละเอียดถึง 2K และรองรับการใช้งานคู่กับปากกา Stylus
- ใช้ชิป Snapdragon 680 ที่ทั้งแรงและจัดการพลังงานได้ดี
- แบตเตอรี่ขนาด 7,100 mAh ที่อึดและใช้เวลาชาร์จค่อนข้างน้อย
- ให้ลำโพงมาถึง 4 ตัวพร้อมด้วยระบบเสียง Dolby Atmos
- ดีไซน์หลังเครื่องมีความสวยงามไม่เหมือนใคร
ข้อสังเกต
- ให้พื้นที่เก็บข้อมูลมาเพียง 64GB
- ไม่มีรุ่น 4G LTE ให้เลือก
- กล้องหน้าไม่ว่าจะถ่ายในสภาพแสงแบบไหนก็สว่างเกิน (แสงโอเวอร์)
OPPO Enco Air2 Pro
สเปค
- ขนาดเคสชาร์จ : 66.84 x 51.45 x 25.04 มม
- น้ำหนักเคสชาร์จ : 41.8 กรัม
- น้ำหนักหูฟัง : ข้างละ 4.3 กรัม
- สี : White และ Gray
- ไดรเวอร์ : Titanized Diaphragm Drivers ขนาด 12.4 มม.
- ไมโครโฟน : ไมโครโฟนคู่
- ระบบตัดเสียงรบกวน : Active noise cancellation (ANC)
- การเชื่อมต่อ : Bluetooth 5.2, USB Type-C
- แบตเตอรี่ : 43 mAh (เอียร์บัด)/440 mAh (เคสชาร์จ)
- กันฝุ่นกันน้ำ : IP54
- ราคา : 2,499 บาท
ดีไซน์
ในส่วนของตัวเคสนั้นจะมาด้วยดีไซน์แบบ Refractive Bubble ที่ส่วนฝาจะเป็นแบบโปร่งใส แสงสามารถทะลุผ่านได้ ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวเคสได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งสีสันของตัว Enco Air2 Pro จะมีทั้งหมด 2 สีคือสีขาวแบบที่เราได้มารีวิว ส่วนอีกสีจะเป็นสีเทา นอกจากนี้ยังออกแบบให้ตัวเคสมีความโค้งมนขนาดพอดีมือ ทำให้สะดวกต่อการพกพาและง่ายต่อการหยิบใช้ ที่ด้านหน้าของตัวเคสนั้นจะมีไฟแสดงสถานะอยู่ ที่ด้านหลังตรงข้อต่อบานพับจะมีโลโก้ OPPO อยู่ และที่ด้านล่างจะมีพอร์ตชาร์จแบบ USB Type-C อยู่
สำหรับตัวหูฟังนั้นจะเป็นหูฟังแบบ In-Ear ขนาดเล็ก ดีไซน์เพรียวบาง ทำให้เวลาสวมใส่นานๆ จะไม่เกิดแรกกดต่อใบหู ซึ่งด้วยการออกแบบตามหลังสรีรศาสตร์ที่เรียกว่า Smiling Curve Design ที่เมื่อเปิดฝาเคสขึ้นมา ตัวเคสจะมีลักษณะโค้งอ่อนๆ เหมือนเป็นรอยยิ้ม นั้นทำให้มองเห็นตัวหูฟังมากกว่ารุ่นก่อน ช่วยให้สามารถหยิบหูฟังขึ้นมาได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวหูฟังยังได้มาตราฐานกันน้ำ-กันฝุ่น IP54 อีกด้วย ช่วยให้สามารถใช้งานได้ทุกสถานกาณณ์ไม่ว่าจะเป็นใส่ออกกำลังกายหรือใส่ตอนฝนตกก็ยังได้
การเชื่อมต่อและการควบคุม
การเชื่อมต่อหูฟัง OPPO Enco Air2 Pro นั้นหลักๆ ก็เหมือนการเชื่อมต่อหูฟังทั่วไปก็คือเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth นั่นเอง แต่ที่น่าสนใจคือมีแอปฯ ที่เอาไว้ใช้งานควบคู่กันด้วย ซึ่งต้องเชื่อมต่อตัวหูฟังกับแอปฯ เพิ่มอีกขั้นตอน โดยตัวแอปฯ นี้จะช่วยให้สามารถดูสถานะและสามารถตั้งค่าต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ซึ่งแอปฯ นั้นก็คือ HeyMelody นั่นเอง ซึ่งตัวแอปฯ นี้มีให้โหลดทั้งบน App Store และ Google Play เลย
สำหรับการเชื่อมต่อกับตัวแอปฯ สามารถทำตามขั้นตอนที่ตัวแอปฯจะแนะนำไปเรื่อยๆ ได้เลย
สำหรับในตัวแอปฯ นั้นหน้าแรกจะเป็นหน้าที่แสดงสถานะแบตเตอรี่ของตัวหุฟังทั้ง 2 ข้าง, การปรับโหมดตัดเสียงรบกวน, เอฟเฟกต์เสียง Enco Live, โหมดเกม และการอัพเดตเฟิร์มแวร์ โดยที่ตัวเอฟเฟกต์เสียง Enco Live นั้นจะมีให้เลือก 3 รูปแบบคือแบบเสียงต้นฉบับ, เน้นเบส และเน้นเสียงร้อง
ส่วนหน้าถัดมาคือการตั้งค่าคำสั่งลัดสำหรับใช้ควบคุม ซึ่งเราสามารถตั้งค่าหูฟังได้ทั้ง 2 ข้างเลย โดยคำสั่งจะมีทั้งการกด 1 ครั้ง, 2 ครั้ง, 3 ครั้ง และกดค้าง แต่คำสั่งเริ่มต้นที่ถูกตั้งมาให้จะเป็นดังนี้
- แตะ 2 ครั้งที่หูฟังข้างใดข้างหนึ่ง : เปลี่ยนเพลง, รับ-วางสายโทรศัพท์, ถ่ายภาพ
- แตะ 3 คาั้ง : เปิดใช้งานผู้ช่วยเสียง Breeno
- แตะค้างที่หูฟังข้างใดข้างหนึ่ง : ค้าง 1 วิ เพื่อสลับโหมด ANC และ Transparency, แตะค้าง 4 วิ เพื่อปรับระดับเสียงหรือสลับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
เสียงและระบบ ANC
ในเรื่องของพลังเสียงนั้นตัว Enco Air2 Pro มาพร้อม Titanized diaphragm driver ขนาด 12.4 มม. ซึ่งมีพื้นที่ในการสั่นสะเทือนถึง 89% ทำให้เสียงที่ได้มีความคมชัดในทุกย่านเสียง อีกทั้งด้วยการที่มี Chamber ขนาดใหญ่พิเศา ทำให้เสียงเบสมีความสม่ำเสมอมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถรปรับแต่งเพิ่มได้ ช่วยเพิ่มเสียงเบสให้ทุ้มยิ่งขึ้นได้ด้วย ซึ่งจากที่ได้ลองฟังมาทั้งเพลงไทย, สากล และญี่ปุ่น ต้องบอกเลยว่าถ้าตั้งค่า Enco Live แบบเริ่มต้น แล้วเจอเพลงไหนที่เบสหนักๆ จะฟังไม่ค่อยสนุกเท่าไร โดยเฉพาะเพลงญี่ปุ่นที่เบสค่อนข้างเด่น ทำให้เสียงเบสไปกลบเสียงร้องและเสียงดนตรีอื่นๆ หมด แต่ถ้าเป็นเพลงไทยหรือสากล ถ้าไม่อยากปรับแต่งอะไรมาก ใช้โหมดเริ่มต้นไปเลยก็ได้นะ
สำหรับเรื่องระบบตัดเสียงรบกวนนั้น Enco Air2 Pro เป็นระบบแบบ ANC ซึ่งจะทำการตัดเสียงรบกวนรอบข้างผ่านการประมวลผลของตัวชิปซึ่งจะทำการตัดเสียงรบกวนรอบข้างในทุกย่านความถี่ ช่วยให้เราสามารถฟังเพลงได้อย่างเต็มอรรถรสมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการที่ต้องลองไปใช้งานมาในหลายๆ สถานที่นั้น ถ้าเจอเสียงที่ดังมากๆ อย่างเสียงตอนเดินริมถนน หรือเสียงตอนอยู่ในห้างที่มีงานคอนเสิร์ตกำลังบรรเลงเพลงต่างๆ อยู่ ต้องบอกเลยว่าระบบตัดเสียงนี้จะตัดเสียงรอบข้างได้ราวๆ 80% เท่านั้น หมายความว่ายังคงมีเสียงเข้ามาอยู่บ้าง แต่ก็ต้องดังมากจริงๆ ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการณ์เหล่านั้น ระบบตัดเสียงแบบ ANC ของ Enco Air2 Pro ก็นับว่าตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้ดีทีเดียว
สรุปการรีวิว OPPO Enco Air2 Pro
สรุปจากากรที่ได้อลงเอา OPPO Ecno Air2 Pro ไปลองใช้งานมาระยะหนึ่งนั้นต้องบอกเลยว่าเป็นหูฟัง In-Ear ที่ใส่แล้วสบายหูตัวหนึ่งเลยทีเดียว แถมยังใส่ง่ายไม่ต้องมาจับปรับให้เข้าที่อีกด้วย ในเรื่องเสียงที่ได้ก็นับว่าไม่เลวเลยทีเดียว ลำโพงให้เสียงมาครบและชัดทุกย่าน ระบบตัดเสียงเองก็ไม่เลว ถึงจะตัดเสียงรบกวนในสถานการณ์ที่เจอเสียงดังจัดๆ ได้ไม่สนิทดีนักก็ตาม แต่ถ้าอยู่ในที่เงียบระดับหนึ่งก็สามารถสร้างโลกส่วนตัวขึ้นมาได้เลย อีกทั้งแบตเตอรี่ที่มีนั้นก็นับง่าไม่เลว ถึงแม้จะเป็นระบบตัดเสียง ANC เอาไว้ตลอดเวลาก็สามารถใช้งานได้ยาวนานราวๆ 6 ชั่วโมงเลยทีเดียว และยิ่งเมื่อรวมกับแบตเตอรี่ที่อยู่ในเคสก็สามารถใช้งานแบบครบวันได้สบายๆ เลย แถมถ้าใช้งานต่อเนื่องจนแบตเตอรี่หมด แต่ยังอยากใช้งานต่อ แค่เก็บตัวหูฟังลงเคสชาร์จสัก 10 นาทีก็เอามาใช้งานต่อได้สบายๆ แล้ว เรียกได้ว่าเป็นหูฟังไร้สายที่มีระบบตัดเสียงรบกวนที่น่าโดนที่สุดสำหรับคนงบไม่เยอะเลยทีเดียว โดยค่าตัวของ OPPO Enco Air2 Pro จะอยู่ที่ 2,499 บาท ซึ่งถือว่าไม่ได้แพงมากมายนัก
ใครที่กำลังสนใจ OPPO Enco Air2 Pro สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ oppo.com/th และสามารถซื้อได้ผ่านทาง OPPO Brand Shop และตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ได้เลย