วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ในปี 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน พร้อมจ่ายค่าปรับได้เลยทันที

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ในปี 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน พร้อมจ่ายค่าปรับได้เลยทันที

สำหรับคนที่ใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ย่อมรู้กันดีกว่าตามกฎจราจรนั้นมีการจับปรับหากขับผิดกฎ ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบเส้นทึบ ผ่าไฟแดง ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด แซงในที่ห้ามแซง หรืออื่นๆ ที่สามารถโดนเรียกปรับได้ ณ ที่ตรงนั้นเลยหากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ดูแลอยู่ หรือในอีกกรณีนึงที่เราขับรถผิดกฎจราจรก็จะโดนกล้องตรวจจับหมายเลขทะเบียนเรา และส่งไปรษณีย์มายังที่บ้าน แต่สำหรับคนที่อยากรู้ว่าตัวเองโดนใบสั่งตอนไหน หรือมีกี่ใบบ้าง วันนี้ทาง Specphone จะมาบอกวิธีเข้าไปเช็คใบสั่งออนไลน์พร้อมจ่ายได้เลยด้วยขั้นตอนง่ายๆ ทำด้วยตัวเองได้เลยตามมาดูกันว่าทำยังไงบ้าง

วิธีเช็คประวัติบุคคลจากชื่อ นามสกุล เช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์จากกองทะเบียนฯ แบบง่ายๆ ในปี 2024


วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ในปี 2567 ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ

สำหรับวิธีเช็คใบสั่งแบบออนไลน์นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านเว็บเบราเซอร์บนคอมฯ หรือว่าจะเข้าด้วยโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ก็ได้เช่นกัน โดยสามารถเช็คใบสั่งย้อนหลังได้เฉพาะใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ ก็คือภายในระยะเวลา 1 ปีนั่นเอง ส่วนวิธีทำมีขั้นตอนดังนี้ ทำตามได้เลย

1. เข้าไปยังเว็บ ptm.police.go.th ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024 1

2. ถ้าหากว่าเข้าใช้งานครั้งแรก จำเป็นต้องลงทะเบียนใช้งานก่อน โดยกดไปที่ปุ่ม ลงทะเบียนใช้งาน จากนั้นก็ใส่เลขประจำตัวประชาชน วันเกิด ชื่อ-นามสกุล และ Laser ID ด้านหลังบัตร/ เลขทะเบียนหรือใบขับขี่ และทำตามขั้นตอนจนจบ

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024 2

3. หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยให้เข้าไปที่หน้าแรก และทำการเข้าสู่ระบบด้วยเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024 3

4. หลังจากที่เข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้เราดูที่หัวข้อ “ใบสั่งทั้งหมด” จากนั้นก็เลือกวันที่ เช็คย้อนหลังได้สูงสุด 1 ปีเท่านั้น เมื่อเลือกได้ตามต้องการก็กด “ค้นหา”

วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024 4

5. ถ้าหากว่าไม่มีใบสั่งก็จะขึ้นข้อมูลว่าไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ แต่ถ้าหากว่ามีใบสั่งจะขึ้นยอดชำระ พร้อมกับข้อหาว่าโดนอะไรบ้าง โดยเราสามารถเลือกชำระได้ครั้งละไม่เกิน 10 ใบสั่ง และมีช่องทางการชำระคือ

  • ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทย
  • สถานีตำรวจใกล้บ้าน
  • สาขาของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
  • ตู้ ATM ADM ของธนาคารกรุงไทย
  • ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขา
  • จุดรับชำระเงิน เช่น ตู่บุญเติม หรือ CenPay เป็นต้น
วิธีเช็คใบสั่งออนไลน์ 2567 ตรวจสอบใบสั่งด้วยตัวเอง จ่ายค่าปรับได้เลย 2024 5

นอกจากการเช็คใบสั่งออนไลน์ผ่านเว็บของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แล้ว ก็ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกด้วย อย่างการโต้แย้งใบสั่ง หรือตรวจสอบคะแนน ของเราเองได้ด้วย รวมไปถึงการดูประวัติการได้รับใบสั่งจราจร ตรวจสอบค่าค้างชำระ และอื่นๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook ก็ได้เช่นกัน


คำถามที่พบบ่อย

โดนใบสั่งแต่ไม่จ่ายได้ไหม?

ไม่ได้ เพราะถ้าหากว่าเราได้ใบสั่งมาแล้ว ก็จะเป็นต้องไปชำระค่าปรับภายใน 30 วันตั้งแต่วันที่ออกใบสั่ง ไม่เช่นนั้นก็มีสิทธิที่จะถูกออกหมายเรียก หรือถ้ายังไม่ยอมไปจ่ายอีกในกรณีที่โดน 2 ครั้งติดกัน ก็จะถูกอายัดทะเบียนพร้อมกับเพิ่มข้อหาในการไม่ไปรายงานตัว และโดนเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท และยังต้องจ่ายค่าปรับที่ไม่ได้จ่ายอีกด้วย

ถ้าโดนใบสั่งแล้วไม่จ่ายจะไปต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม?

สำหรับคนที่โดนใบสั่งแล้วคิดเบี้ยวไม่อยากจ่ายค่าปรับ ก็เตรียมรับของจากกรมขนส่งทางบกได้เลย โดยจะมีการออกป้ายวงกลมให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานชั่วคราวแทนป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีแบบปกติ นอกจากนี้ถ้ายังไม่คิดจะจ่ายอีก ก็จะถูกอายัดใบขับขี่ และสูงสุดคือถูกหมายจับได้เลย และเมื่อไหร่ที่เราไปจ่ายค่าปรับแล้วก็จะได้ป้ายแบบปกติมาให้ แต่ถ้าหากยังใช้ป้ายวงกลมไม่ยอมจ่ายอีกและโดนเรียกตรวจ ก็จะมีค่าปรับ 2,000 บาท พร้อมกับถูกตัดคะแนนใบขับขี่ 1 คะแนน

โดนใบสั่งแล้วไม่จ่ายจะโดนพักใบขับขี่ไหม?

แน่นอนว่าถ้าหากเราโดนใบสั่งแล้วไม่ไปจ่ายตามที่กำหนด ก็มีสิทธิที่จะถูกอายัดใบขับขี่ได้หากมีชื่อของเราอยู่ในระบบ เมื่อจ่ายใบสั่งครบแล้วถึงจะถอนอายัดใบขับขี่ออกมาได้ นอกจากนี้ถ้าหากถูกตัดคะแนนจากการไม่ยอมไปจ่ายค่าปรับเรื่อยๆ ครั้งละ 1-3 คะแนน และเมื่อโดนตัดหมด 12 คะแนน ก็จะถูกพักใบขับขี่อย่างน้อย 90 วัน และต้องเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบกอีกด้วยนะ

โดนใบสั่งแล้วต้องทำอย่างไร?

สำหรับคนที่โดนใบสั่ง ณ ที่ที่มีเจ้าหน้าที่ตรวจจับและออกใบสั่ง เราสามารถจ่ายที่โดนใบสั่งตรงนั้นได้เลย หรือถ้ายังไม่พร้อมจ่ายก็สามารถไปจ่ายตามช่องทางออนไลน์ผ่านแอพ Krungthai NEXT, จ่ายที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน, ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา, ตู้ ATM ADM ของธนาคารกรุงไทย, ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขา หรือจุดรับชำระเงิน เช่น ตู่บุญเติม หรือ CenPay แต่ถ้าหากโดนยึดใบขับขี่ไปด้วย ก็ต้องไปจ่ายปรับที่สถานีตำรวจตรงพื้นที่ที่เราโดนยึดไปเท่านั้น

ถ้าไม่ได้ทำผิด แต่โดนใบสั่งมาที่บ้านต้องทำอย่างไร?

สำหรับคนที่โดนกล้องจับภาพ และโดนใบสั่งส่งมาที่บ้าน ทั้งๆ ที่ไม่ได้กระทำความผิดในกรณีที่กล้องจับภาพผิดคัน (ซึ่งเจอกันเยอะด้วยนะ) เราสามารถร้องเรียนได้ที่สถานีตำรวจที่ได้มีการออกใบสั่ง พร้อมกับยื่นเอกสารยืนยันอย่างเช่น ทะเบียนรถหรือสำเนา, รถที่โดนหรือรูปของรถเราที่ไม่ได้ทำความผิด และหลักฐานใบสั่ง เพื่อยื่นและแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไม่ได้กระทำความผิด หากไม่ได้ผิดจริงตำรวจก็สามารถยกเลิกให้ได้

โดนสวมทะเบียนทั้งๆ ที่ไม่ใช่รถเรา และโดนใบสั่งส่งมาทำอย่างไร?

อีกกรณีที่เจอกันบ่อยก็คือโดนสวมทะเบียน หรือว่าขายรถให้กับคนอื่นไปแล้ว แต่คนที่ซื้อยังไม่ไปโอนเป็นชื่อของตัวเอง เมื่อคนเหล่านั้นไปกระทำความผิด เราก็จะได้รับใบสั่งส่งมาที่บ้าน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่รถเราหรือขายไปแล้ว ก็สามารถไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน โดยให้ไปแจ้งที่สถานีตำรวจ และนำหลักฐานไปบอกว่ารถที่ทำผิดนั้นไม่ใช่รถของเรา โดยนำรูปรถและทะเบียนไปด้วยเพื่อยืนยัน หรือในกรณีที่ขายไปแล้วก็นำใบซื้อขายไปด้วยเพื่อยืนยัน (ในส่วนนี้เราสามารถแจ้งเพิ่มเติมได้ด้วยนะ อย่างการอายัดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกได้ด้วย)


ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลและขั้นตอนในการเช็คใบสั่งออนไลน์ในปี 2567 ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ โดยการเช็คใบสั่งออนไลน์นี้สามารถทำได้ง่ายๆ พร้อมกับจ่ายค่าปรับด้วยตัวเองได้เลย ซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะไม่รู้ตัวว่าไปกระทำความผิดไว้ที่ไหนเมื่อไหร่บ้าง การเช็คใบสั่งแบบออนไลน์นี้ก็จะเข้ามาช่วยให้เราได้เช็คง่ายขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานีตำรวจ หรือไปไหนเลย เพราะเจอแล้วจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแอพ Krungthai NEXT ได้เลย หรือถ้าไม่มีก็มีตัวเลือกอื่นๆ ให้จ่ายได้เช่นกัน แล้วถ้ามีเรื่องไหนน่าสนใจอีก เราก็จะนำมาฝากเรื่อยๆ เลยนะครับ

ข้อมูลจาก กรมขนส่งทางบก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก