นี่เป็นรายงานที่ทาง The Wall Street Journal ทำการรวบรวมและลำดับเหตุการณ์ออกมาครับว่าเหตุใด ทาง Apple จึงไม่ได้ใช้ Sapphire ในการผลิตชิ้นส่วนจอของ iPhone 6 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทาง?GT Advanced Technologies ไม่สามารถที่จะผลิต Sapphire ได้ทันนั่นเอง ซึ่งก็มีที่มาที่ไปที่ค่อนข้างจะซับซ้อนกันเลยทีเดียว มาลองค่อยๆดูกันตามลำดับเลยนะครับ
เริ่มแรกเลยทาง Apple ได้ว่าจ้างให้ทาง?GT Advanced Technologies เข้ามาเป็นผู้ดูแล และผลิต Sapphire ให้กับทาง Apple โดยตัวโรงงาน และเครื่องจักรทั้งหมด Apple จะเป็นคนจัดการเอง ให้ทาง GTAT ดูแลในส่วนของการผลิตและคนงานเท่านั้น?และก็ได้มีข้อตกลงเสริมอีกว่าถ้าหากมีข้อมูลหลุดออกไปจะโดนปรับเป็นเงินถึง 50 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
ซึ่งข้อมูลจากอดีตพนักงานในนั้นกล่าวว่าพนักงานเป็นร้อยๆคนในนั้นถูกจ้างให้ทำงานในนั้น โดยไม่มีผู้คุมงาน และไม่มีการจัดการใดๆทั้งสิ้น ทำให้ทุกคนสามารถที่จะทำงานล่วงเวลาได้ตามใจ หรือจะขาดงานก็ไม่มีใครมาตรวจสอบ ทำให้เกิดความวุ่นวายอย่างมาก แถมยังมีปัญหาเรื่องไฟฟ้า และการก่อสร้างตัวโรงงานที่ทำให้ล่าช้าไปกว่า 3 เดือนร่วมเข้ามาด้วยอีก
และเมื่อผลิตจริงก็เกิดปัญหาขึ้น โดยจะเห็นจากภาพด้านบนทั้ง 6 ภาพ ซึ่งแสดงถึงก้อนทรงกระบอกของ Sapphire ที่เรียกว่า boules ที่เกิดการแตกร้าวและใช้งานไม่ได้ ซึ่งมันไม่ได้เกิดเพียงแค่ 6 ก้อนนี้เท่านั้น แต่กว่าครึ่งของการผลิตจะเกิดความเสียหายเหล่านี้ ซึ่งแต่ละก้อนใช้เวลาร่วมเดือน และค่าใช้จ่ายกว่า 20,000 ดอลลาร์ในการทำ
ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนั้นอาจจะมาจากการที่ผลิตในขนาดที่ใหญ่กว่าทั่วไปถึง 2 เท่าอยู่ที่ขนาด 578 ปอนด์ ซึ่งทาง GTAT เองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตจำนวนมากขนาดนี้มาก่อนด้วย
เรื่องนี้เริ่มมาส่งผลให้เห็นชัดขึ้นในเดือนเมษายนที่ทาง Apple ปฏิเสธจะจ่ายเงิน 139 ล้านดอลลาร์ให้กับทาง GTAT เนื่องจากไม่สามารถที่จะทำได้ตามที่ข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ ซึ่งแน่นอนว่าสร้างปัญหาการเงินอย่างมากให้กับทาง GTAT
หลังจากนั้น 2 เดือนทาง CEO ของ GTAT อย่าง?Thomas Gutierrez ต้องเข้าไปหารือกับทาง Apple เพื่อชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอว่าจะหันกลับมาทำขนาดที่เล็กลงเป็น 363 ปอนด์ เพื่อลดโอกาสที่จะเสียหาย แต่แน่นอนว่าคงจะไม่ทันเสียแล้ว
ต้นเดือนตุลาคมทาง Apple ก็ได้เปิดตัว iPhone 6 และ iPhone 6 Plus โดยที่ไม่ได้ใช้ Sapphire มาทำชิ้นส่วนจอ และตอนนั้นถึงจะยอมจ่ายเงิน 100 ล้านดอลลาร์จาก 139 ดอลลาร์ที่ควรจะจ่ายให้กับทาง GTAT และแก้ไขสัญญาเพื่อให้ทาง GTAT สามารถหาเงินทุนเพิ่มเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ พร้อมทั้งยอมจ่ายเงินล่วงหน้าในส่วนของปี 2015 ทั้งๆที่ในปี 2014 ไม่สามารถส่งมอบของได้ทัน
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าก่อนหน้าข้อตกลงนี้จะมา 1 วันทาง GTAT ได้ยอมล้มละลายไปเสียก่อน และสิ้นเดิอนนั้น ก็ประกาศให้พนักงานกว่า 700 คนรู้ว่าจะทำงานได้ถึงเพียงแค่เดือนธันวาคมเท่านั้น เป็นอันจบการดำเนินธุรกิจของทาง GTAT ไปโดยปริยาย
โดยในเดือนนี้ทาง GTAT ได้ทำข้อตกลงขายเตาหลอมทั้งหมดโดยจะจ่ายให้ทาง Apple 290,000 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเตาหลอม เพื่อชดใช้ค่า Sapphire ที่ไม่ได้ส่งให้กับทาง Apple โดยจำนวน Sapphire ที่สามารถส่งให้กับทาง Apple ได้สำเร็จมีเพียง 10% ของที่สั่งไว้เท่านั้น
ที่มา : 9to5mac