การที่สมาร์ทโฟนเเละเเท็บเล็ตในปัจจุบันที่มีการเติบโตที่สูงมากที่ปีเเละยังไม่มีเเนวโน้มว่าจะหยุดความร้อนเเรงเหมือนกับ PC ในช่วงปี 1990 โดยตัวประมวลผลหรือซีพียูที่ใช้ในสมาร์ทโฟนเเละเเท็บเล็ตนั้นใช้สถาปัตยกรรมเเบบ ARM ที่ออกเเบบมาสำหรับเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก ต่างกับซีพียูของ Intel (สถาปัตยกรรม x86) ที่ใช้ในซีรีย์หรือโน้ตบุ๊กที่เน้นในเรื่องของประสิทธิภาพเป็นหลัก
MIT Technology ได้สัมภาษณ์ซีอีโอของ ARM เกี่ยวกับทิศทางของบริษัท รวมไปถึงตอบคำถามเเละข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เกี่ยวกับ ARM ไว้ได้น่าสนใจทีเดียวครับ
- ซีอีโอ ARM กล่าวว่ากฏของมัวร์ (ซีพียูจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 12-18 เดือน) นั้นไม่เหมาะสมในปัจจุบัน เพราะเน้นในเรื่องของการเพิ่มพลังประมวลผลมากกว่า ในขณะที่ ARM เน้นการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเปรียบเป็นรถเเล้ว สิ่งที่ ARM กำลังทำคือการทำให้รถวิ่งได้ไกลที่สุดในน้ำมัน 1 เเกลลอน เเทนที่จะเน้นในเรื่องของความเร็วสูงสุดที่ทำได้ เเละการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือเรื่องมือถือเเละอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่างมีพลังงานในตัวที่จำกัด ถึงเเม้มีพลังประมวลผลสูงเเต่ใช้ได้ระยะเวลาไม่นานก็ไม่มีประโยชน์อะไร การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า
- ในเรื่องของประสิทธิภาพที่ไม่สามารถรองรับงานที่ใช้พลังประมวลผลสูงอย่างการปรับเเต่งภาพเเละการประมวลผลนั้น เป็นเพราะดีไซน์ของ ARM นั้นไม่ได้ถูกออกเเบบโดยเน้นเรื่องพลังประมวลผลมาตั้งเเต่ต้น เเต่สถาปัตยกรรม ARM นั้นก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการสร้างตัวประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูง (ARM นั้นขายเเปลนการผลิตซีพียูให้กับผู้ผลิตหลายๆ เจ้า เช่น Nvidia, Qualcomm, Samsung ดังนั้น ARM จึงไม่ได้เป็นผู้ผลิตโดยตรง) เเต่สำหรับมือถือนั้น ไม่มีใครต้องการมือถือที่ประสิทธิภาพสูงเเต่ใช้พลังงานมาก โดยเฉพาะมือถือที่มีเเบตเตอรี่น้อยนั้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำคัญกว่าความเร็วมาก
- ในเรื่องของเเอพลิเคชันจาก x86 หรือที่ใช้กันอยู่ใน PC ปัจจุบัน เราอาจจะไม่ได้เห็นเเอพลิเคชันเหล่านี้บน ARM มากนัก เพราะคงไม่มีเขียนโปรเเกรมที่ใช้อยู่ในพีซีปัจจุบันมารันบน ARM โดยตรง เเต่เขาเชื่อว่าเเอพลเคชันใหม่ๆ จะหันมาเขียนบนสถาปัตยกรรม ARM มากขึ้น เเละต่อไปนั้นเเอพลิเคชันใหม่ๆ เหล่านี้ก็จะถูกใช้งานเเทนที่โปรเเกรมเก่าๆ นั่นเอง Windows RT เป็นตัวอย่างสำคัญที่ให้เห็นว่าเราอยู่ในช่วงกำลังเปลี่ยนผ่านไปยังอนาคต
ที่มา : MITTechnology