อะแดปเตอร์ ขากลม ขาปลั๊กหลวม แก้ไขยังไง?

อะแดปเตอร์สมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นออกแบบมาให้รองรับการชาร์จที่แตกต่างกัน บางรุ่นชาร์จไฟได้เร็ว บางรุ่นชาร์จไฟได้ช้า และมีอีกอย่างที่อะแดปเตอร์มือถือไม่เหมือนกัน นั่นก็คือขาปลั๊กบางยี่ห้อใช้ขากลม (EU) หรือบางยี่ห้อใช้ขาแบน (US) และที่สำคัญคือ ขาปลั๊กกลมเนี่ย มักมาพร้อมกับอาการขาปลั๊กหลวม เสียบหลุด ๆ ซะด้วย

Round-Pin-Plug

ในอดีตประเทศไทยเราเป็นระบบแรงดันไฟแบบ 110V ครับ แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น 220V ในช่วงปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากเกิดปัญหาการจ่ายไฟไม่พอใช้ อย่างว่าล่ะครับ สถานีจ่ายไฟฟ้าเราไม่ได้มีเยอะในช่วงแรก ๆ อ้างอิง: pantip คห.32

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ไฟแบบ 220V เช่นเดียวกับประเทศทางฝั่งยุโรป โดยประเทศทางฝั่งยุโรป ยกเว้นประเทศอังกฤษ จะใช้ขาปลั๊กแบบหัวกลม 2 ขา ตามภาพด้านล่าง หรือในบางประเทศก็จะเป็นแบบขากลม 3 ขา (มีสายดิน) เนื่องจากขาปลั๊กแบบกลม ออกแบบมาให้รองรับแรงดันไฟฟ้าแบบ 220V มากกว่า หนากว่า ก็ทนแรงดันไฟได้มากกว่า

ขาปลั๊กหลวม

สำหรับขาปลั๊กแบบแบน หรือแบบ US เนี่ย ออกแบบมาสำหรับแรงดันไฟ 110V ครับ ประเทศที่ใช้ขาปลั๊กแบบนี้ หลัก ๆ ก็สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น แรงดันไฟที่บ้านเขาก็ 110V ซึ่งเป็นคนละแบบกับประเทศไทย เพราะฉะนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่นบางชนิด นำมาใช้ที่บ้านเราก็จะพังทันที เพราะแรงดันไฟมันคนละแบบกัน แต่ก็มีเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทที่รองรับไฟตั้งแต่ 110 – 220V แบบนี้ก็ใช้ในบ้านเราได้ครับ

Review-Infinix-Note-4-Pro-SpecPhone-20170930-43

ขาปลั๊กแบบแบน US (Type A)

ส่วนประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นแรงดันไฟแบบ 220V ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ บ้านเรานำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเยอะมาก แถมในช่วงแรกก็ดันไม่มีการกำหนดมาตรฐานเรื่องขาปลั๊กอย่างเป็นทางการอีก มันจึงเกิดความมั่วขึ้น ระบบไฟเป็นแบบ 220V แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าดันเป็นปลั๊กแบบ US หัวแบน

ถ้าวัดกันตามมาตรฐานของ มอก. กำหนดให้ปลั๊กไฟบ้านเราเป็นแบบ “หัวกลม” แต่ก็ไม่ได้เป็นหัวกลมแบบ EU 2 ขานะครับ บ้านเรานี่หัวปลั๊กโคตร Exclusive เลย คือมีใช้แค่ประเทศเดียวในโลกนี้เท่านั้น เป็นปลั๊กหัวกลมแบบ 3 ขา Type O ตามภาพด้านล่างนี้ (รองรับการใช้งานกับปลั๊กแบบ Type C ขากลม 2 ขา)  อ้างอิง: Type O

Type-O-Plug-Exclusively-in-Thailand

อย่างไรก็ตาม อะแดปเตอร์สมาร์ทโฟนส่วนมากที่ใช้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน (ไม่นับเครื่องหิ้วนะ) ก็คือขาปลั๊กแบบ US (Type A) กับขาปลั๊กแบบ EU (Type C) แต่ส่วนมากแบบ EU ขากลม (Round Pin) ก็จะโดนบ่นว่า มันเสียบไม่แน่น เสียบแล้วก็หลุดง่ายเกิน ชอบใช้แบบขาแบน US มากกว่า

สรุปแล้วประเทศไทย ขาปลั๊กแบบไหนดี แบน หรือ กลม?

Review-Xiaomi-Redmi-5A-SpecPhone-00030

คำตอบคือ กลมครับ!! ผมหมายถึงขาปลั๊กนะ ไม่ใช่เหล้า ผ่าม!! คือถ้าจะเอาให้ได้มาตรฐานแรงดันไฟ 220V ก็ต้องใช้ขาปลั๊กแบบกลม เนื่องจากมันทนแรงดันไฟ 220V ได้ดีมากกว่านั่นเอง ส่วนขาปลั๊กแบบ US ก็ไม่ได้หมายความว่าใช้ไม่ได้นะครับ ยังคงใช้งานได้ปกติ เนื่องจากบ้านเรารองรับการใช้ขาปลั๊กหลากหลายแบบ

แล้วทำไม ขาปลั๊กแบบกลม ถึงเสียบแล้วหลุดง่าย?

Review-Moto-X4-SpecPhone-20171112-4

อันนี้เป็นอีกหนึ่งความพีคของระบบไฟฟ้าบ้านเราเลยครับ ในย่อหน้าก่อน ๆ ผมพูดถึงการวางระบบไฟ 220V แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าดันเป็นของนำเข้าจากประเทศที่ใช้ไฟ 110V ขาปลั๊กแบบแบน เต้ารับปลั๊กไฟของประเทศไทยจึงเป็นแบบ Hybrid ที่พัฒนาโดย Panasonic อ้างอิง: plugthai.com ปัญหาของเต้ารับแบบไฮบริดคือใช้ไปนาน ๆ มันก็จะหลวม เพราะไม่ได้ออกแบบมาเฉพาะทางนั่นเอง และที่หลวมก็เพราะเสียบปลั๊กหัวแบนนี่แหละ

Thai_socket

เต้ารับที่ใช้ในประเทศไทย เป็นแบบ Hybrid แบนก็ได้ กลมก็ได้

ลองเทียบกับภาพด้านล่าง เต้ารับของประเทศทางฝั่งยุโรปดูก็ได้ครับ เต้ารับเขาทำมาเฉพาะขาปลั๊กแบบกลมโดยเฉพาะ ใช้ขากลม 2 ขา เสียบยังไงก็ไม่หลุดง่าย ๆ แต่ข้อเสียก็คือ ใช้กับเต้าเสียบแบบอื่นไม่ได้เลย

socket-5666_1280

เต้ารับของประเทศทางฝั่งยุโรป ส่วนมากจะเป็นแบบ Type F คือมีสลักล็อกข้าง ๆ 

แก้ปัญหาขาปลั๊กหลวม ทำยังไง?

Review-Asus-Zenfone-AR-SpecPhone-00025

วิธีการแก้ไขปัญหาอะแดปเตอร์ขากลม เสียบแล้วหลุดง่าย ไม่ยากครับ แค่เปลี่ยนปลั๊กพ่วงใหม่ อันนี้ไม่ได้กวนนะ แต่เปลี่ยนแล้วหายเลยครับ เพราะของใหม่ยังไงก็ฟิต (หมายถึงปลั๊ก!!) โดยปลั๊กพ่วงแบบใหม่ ที่ มอก. กำหนดมาตรฐานขึ้นมารองรับขากลมแบบจริงจัง แล้วก็บังคับให้มีม่านชัตเตอร์เพื่อความปลอดภัย กันเด็กเอานิ้วแหย่ อีกอย่างหนึ่งคือตอนนี้พวกปลั๊กรางแบบที่ใช้ฟิวส์ถูกห้ามผลิตเพิ่ม เพราะมันไม่ปลอดภัยเท่ากับระบบตัดไฟแบบ RCBO หรือระบบ Thermal นั่นเอง

อ้างอิง: 1 , 2 , 3

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก