หลังจากที่ผ่านมาได้รับ ASUS ZenFone 3 Max ตัวแรกมารีวิว เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นปรับสเปคออกมาเรียบร้อย ซึ่งเป็นการปรับสเปคแบบที่ทุกคนได้คาดหวังไว้และเปิดราคามาใกล้เคียงกับ ASUS ZenFone 3 Laser เลยทีเดียว โดยแตกต่างกันที่ประมาณหนึ่งพันบาท จึงเป็นสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งรุ่นในซีรีส์ ASUS ZenFone 3 ที่หลายคนให้ความสนใจกัน เนื่องจากมีการออกแบบที่สวยงามมากขึ้นกว่ารุ่นเดิม และให้สเปคในระดับกลาง ๆ สำหรับวางขายในราคาที่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่สเปคที่มายังถือว่าใช้งานทั่วไปได้อย่างไม่มีปัญหา และจุดเด่นตลอดการของ ZenFone 3 Max รุ่นปรับสเปค ยังคงมีจุดเด่นในด้านแบตเตอรี่เหมือนเดิม เนื่องจากให้แบตเตอรี่มากถึง 4,100 mAh ทำให้หมดกังวลแบตหมดระหว่างวันไปได้ทันที โดยรายละเอียดสเปคของ ZenFone 3 Max รุ่นปรับสเปคมีดังนี้
สเปค ASUS ZenFone 3 Max
- หน้าจอขนาด 5.5 นิ้วแบบ IPS LCD ความละเอียด 1920 x 1080 พิเซล
- ชิปประมวลผล Snapdaragon 430 CPU Octa Core @ 1.4 GHz และ GPU Adreno 505
- แรม 3 GB
- หน่วยความจำภายใน 32 GB (รองรับการใช้งาน Micro SD)
- กล้องความละเอียด 16 ล้านพิกเซลพร้อมแฟลช LED รูรับแสงกว้าง f/2.0 ระบบกันสั่นแบบสามแกน EIS
- กล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
- ระบบปฎิบัติการ Android 6.0
- แบตเตอรี่ความจุ 4,100 mAh
- ราคา 7,990 บาท
- สเปคแบบเต็มของ ASUS ZenFone 3 Max (ZC553KL)
สำหรับสเปคของ ASUS ZenFone 3 Max นั้นจากรุ่นเดิมยังคงให้สเปคมาให้เหมาะสมกับราคาที่จำกัดโดยรุ่นเดิมมีรายละเอียดสเปคดังนี้ และตั้งราคาไว้ที่ 5,990 แต่สำหรับรุ่นใหม่นี้แล้วเรียกได้ว่าปรับสเปคให้ลงตัวมากกว่าเดิม และให้ความคุ้มค่าในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะพยายามตั้งราคาไม่ให้เกินหมื่น ซึ่งเป้าหมายของผู้ที่จะซื้อ ASUS ZenFone 3 Max ก็จะเป็นผู้ใช้งานที่มีงบไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ใช้งานหนักตลอดทั้งวัน ชอบสมาร์ทโฟนที่แบตเตอรี่เยอะ ๆ ไม่ต้องชาร์จบ่อย ไม่อยากกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างวัน ชอบการออกแบบตัวเครื่องที่สวยงามด้วยวัสดุพรีเมี่ยมที่ทำจากโลหะโค้งมนเข้ากับมือ และใช้งานแบบทั่วไปได้อย่างเหลือเฟือ ดูเหมือนตัวนี้จะตอบโจทย์เลย ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ตามอ่านได้ที่ด้านล่างได้เลยครับ
จุดเด่น
ข้อสังเกต
บทสรุป
BEST PRICE
Design
เชื่อว่าหลายคนคงตัดสินใจยาก
ระหว่าง Laser หรือ Max ??
จากที่เคยกล่าวไว้ในหลายบทความรีวิวของ ASUS ZenFone รุ่นที่ 3 สร้างความประทับใจในการออกแบบที่แตกต่างจากรุ่นเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยได้ทิ้งการออกแบบแบบเดิมไปจนหมด และไม่ใช้การออกแบบที่คล้ายกันอีกต่อไป ซึ่งรุ่น Max รุ่นปรับโฉมนี้ก็จะมีการออกแบบแตกต่างไปจากรุ่นเดิม ซึ่งถือว่า ASUS ได้ลบจุดด้อยในการออกแบบตัวเครื่องไปหมดแล้วใน ZenFone รุ่นที่ 3 นี้
สำหรับรายละเอียดการออกแบบของ ASUS ZenFone 3 Max มีขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 151.4 x 76.24 x 8.3 มีความแตกต่างไปจากรุ่นเดิมอย่างชัดเจน เริ่มจากด้านหน้าของตัวเครื่องจะเป็นกระจกทั้งหมด ซึ่งมีการนำกระจกแบบ 2.5 D มาใช้ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ภายใต้หน้าจอนั้นมีหน้าจอแสดงผลขนาด 5.5 นิ้ว ในส่วนด้านบนของตัวเครื่องจะเป็นลำโพงสนทนา ซึ่งจะมีกล้องหน้าและเซ็นเซอร์ต่าง ๆ อยู่ระหว่างลำโพงสนทนา ในส่วนด้านล่างจะเป็นปุ่มย้อนกลับ ปุ่มโฮม และปุ่ม Multitasking แบบสัมผัสอยู่ใต้หน้าจอ
ในส่วนของด้านหลังมีการออกแบบรูปลักษณ์ให้มีลักษณะโค้งมนด้านข้างเพื่อให้สามารถจับถือได้ง่าย โดยใช้วัสดุโลหะที่ด้านหลังที่เรียบทั้งด้านหลังไม่โค้งเหมือนกับรุ่นเดิม ตัวเครื่องมีความหนาขึ้นทำให้จับสะดวกมากขึ้น ตัดเส้นสายเป็นสีเงินมันวาวซึ่งน่าจะเป็นเส้นเสาอากาศคาดด้านบนและด้านล่างของตัวเครื่อง ด้านบนของฝาหลังจะเป็นกล้องที่เป็นสี่เหลี่ยมตัดขอบด้วยโลหะสวยงาม และ Dual LED Flash และอีกด้านจะเป็นที่อยู่ของเลเซอร์โฟกัสอัตโนมัติ ถัดมาด้านล่างจะเป็นฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวลงมา บริเวณด้านล่างจะมีโลโก้ ASUS สำหรับด้านบนของตัวเครื่องจะมีเฉพาะช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ส่วนด้านล่างของตัวเครื่องจะมีช่องเสียบ microUSB และลำโพงใช้สำหรับสนทนาเท่านั้น ในส่วนด้านข้างของตัวเครื่องที่ด้านขวาจะเป็นปุ่มเพิ่มเสียง ลดเสียง และปุ่มพาวเวอร์ ส่วนด้านซ้ายจะเป็นช่องใส่ซิม
สำหรับหน้าจอของ ASUS ZenFone 3 Laser จะมากับหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว แบบ IPS LCD ที่มีความละเอียด 1920 × 1080 พิกเซล ที่มีความละเอียด 401 DPI และมีความสว่างสูงสุดที่ 450 nits ที่แสดงผลในที่มีแสงจ้าได้ดีเยี่ยม และถูกหุ้มด้วยกระจกแบบ 2.5 D ทำให้ด้านหน้ามีความโค้งมนสวยงามกว่ารุ่นเดิม
จากการใช้งานจริง หากมองจากตัวเครื่องด้านหน้ารู้สึกว่ามันสวยงามกว่ารุ่นเดิมมาก ๆ ตัวเครื่องด้านหลังเป็นโลหะที่ให้ความรู้สึกแน่นหนา หรูหราไม่ดูก๊องแก๊งพลาสติกเหมือนรุ่นเดิม การจับถือตัวเครื่องขณะใช้งานมือเดียวยังคงได้อยู่ สำหรับคนที่มีมือใหญ่และชอบใช้งานสมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ แต่คนที่มือเล็กก็ยังถือว่าใช้งานได้จากน้ำหนักตัวเครื่องที่ไม่หนักจนเกินไปโดยมีน้ำหนักอยู่ที่ 175 กรัมซึ่งถือว่าหนักและใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่ตัวเครื่องที่โค้งรับกับมือทำให้หลุดมือได้ยาก ในเรื่องของวัสดุของตัวเครื่องถือว่าทำได้ดี สำหรับความละเอียดของหน้าจอที่มีความละเอียด 1920 x 1080 ก็ถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐานของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ซึ่งจากการใช้งานจริงยังไม่พบปัญหาในเรื่องของการออกแบบ จะมีที่ขัดใจเล็กน้อยคือพวกปุ่มสามปุ่มด้านล่าง ที่เป็นปุ่มย้อนกลับ ปุ่มโฮม และปุ่ม Multitasking แบบสัมผัสอยู่ใต้หน้าจอไม่มีไฟมาให้
Software
ASUS ZenFone 3 Max มาพร้อมกับ Android 6.0 ทำงานร่วมกับ ASUS ZenUI 3.0 ที่เป็นเอกลักษณ์ของ ASUS ที่เหมือนกับรุ่น Laser 3 แบบเป๊ะ ๆ จึงขอนำภาพมาจาก ZenFone 3 Laser มาไว้ในบทความนี้ด้วยกันเลย ซึ่งจากการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้นฟีเจอร์ ZenMotion นั้นได้ใช้งานบ่อยมาก ตั้งแต่การเปิดหน้าจอและปิดหน้าจอที่สามารถทำได้โดยแตะหน้าจอสองครั้งติดกันแทนการสแกนลายนิ้วมือ หรือจะวาดเป็นตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเข้าสู้แอพพลิเคชั่นที่ตั้งค่าไว้ได้ สำหรับการใช้งานทั่วไปอย่างเล่นโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง ทั่วไป ใช้งานได้อย่างสบาย สลับแอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วจากแรมที่มีขนาด 3 GB ที่สำคัญใน ZenUI 3.0 ในส่วนของ Lock Screen ก็มีการแสดงภาพเป็นเอนิเมชั่นเคลื่อนไหวตามสภาพอากาศที่ดูสวยงาม นอกจากนี้ยังมี Theme Store ให้ดาวน์โหลดเพื่อปรับเปลี่ยนธีมได้อีกหลายร้อยรูปแบบ
Feature
Battery 4,100 mAh ที่ชาร์จให้อุปกรณ์อื่นได้
สำหรับฟีเจอร์ที่ถือเป็นจุดเด่นอย่างแรกของ ZenFone 3 Max ที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือแบตเตอรี่ เนื่องจากให้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ถึง 4,100 mAh ที่ทาง ASUS เคลมว่าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องทั้งวันโดยไม่ต้องชาร์จ ชนิดที่ไม่ต้องพก Power Bank เลยทีเดียว โดฃยทาง ASUS เผยว่าสามารถใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ต่อเนื่อง 19 ชั่วโมง และสามารถฟังเพลงได้ถึง 72 ชั่วโมง และสามารถแสตนด์บายในโหมด 4G ได้ถึง 38 วัน ที่สำคัญ ZenFone 3 Max ยังมากับฟีเจอร์ Reverse Charging ที่สามารถเป็น Power Bank ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ โดยการใช้สาย OTG ที่แถมให้ภายในกล่อง อีกฟีเจอร์หนึ่งคือ Super Saving Mode ที่สามารถเพิ่มเวลาสแตนบายด์ได้อีกถึง 30 ชั่วโมงแม้จะมีแบตเตอรี่เหลือเพียง 10 % เอาไว้ฉุกเฉิน ซึ่งตามไปดูการทดสอบความอึดของแบตเตอรี่ได้ที่รีวิว ASUS Zenfone 3 Max หมวด Performance ได้เลยครับ
Finger Print ที่เป็นมากกว่าเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือตัวนี้ก็จะยกมาจาก ZenFone 3 รุ่นอื่น ๆ เลย โดยจะอยู่ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง บริเวณด้านล่างของกล้องซึ่งสามารถบันทึกได้สูงสุดถึง 5 รอยนิ้วมือ สามารถปลดล็อคได้อย่างรวดเร็วที่ 0.3 วินาที ที่สำคัญยังสามารถวางนิ้วมือที่มุมไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นมุมเดียวกันเมื่อตอนลงรหัสครั้งแรก จากการใช้งานจริงถือว่าเซนเซอร์ตัวนี้อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถเข้าสู้หน้าจอได้เลยเพียงแตะที่เซ็นเซอร์ โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มโฮมก่อน และมีความแม่นยำในเกณฑ์ที่ถือว่าดี มีบางครั้งที่อาจจะสแกนผิดพลาดไป หรือเซนเซอร์ไม่ทำงานต้องใส่รหัสผ่านเพื่อนปลดล็อคแทน แต่เกิดขึ้นไม่บ่อย
ที่สำคัญเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือของ ASUS ZenFone 3 Max ยังทำหน้าที่ได้อีกหลายเช่น สามารถรับสายเรียกเข้าได้โดยการแตะบนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือค้างไว้ หรือการเปิดใช้กล้องโดยการแตะสองครั้งบนเซนเซอร์เพื่อเปิดกล้องขึ้นมาทันที และสามาถใช้เป็นชัตเตอร์ภาพได้ด้วยเมื่อใช้งานแอพ ฯ อยู่เพียงแค่แตะเบา ๆ
Camera
สำหรับรายละเอียดของกล้องของ ASUS ZenFone 3 Max นั้นแอบเซอร์ไพรส์นิด ๆ เนื่องจากมันถ่ายภาพได้ดีกว่า ZenFone 3 Laser และดีกว่า ZenFone 3 Max รุ่นก่อนหน้าอย่างมาก โดยมาพร้อมกับกล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซล มีรูรับแสงกว้าง f/2.0 และ Dual LED Flash ที่สำคัญยังมาพร้อมกับเลเซอร์โฟกัสอีกต่างหาก ซึ่งจะว่าไปมันเป็นจุดเด่นที่อยู่ใน ZenFone 3 Laser เลยก็ว่าได้
สำหรับจุดเด่นคงเป็นระบบออโต้โฟกัส แบบเลเซอร์รุ่นที่ 2 ที่สามารถจับโฟกัสได้รวดเร็วเพียง 0.03 วินาทีเท่านั้น สมาร์ทโฟนจะยิงลำแสงเลเซอร์ออกไปเพื่อวัดระยะห่างของวัตถุด้วยความเร็วแสงทำให้จับภาพระยะใกล้ได้อย่างรวดเร็วและภาพมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม อีกฟีเจอร์ที่สำคัญคือระบบกันสั่น EIS ที่มาด้วยกัน 3 แกนช่วยให้การถ่ายวิดีโอนิ่งขึ้น ส่วนกล้องหน้ามีความละเอียด 8 ล้านที่มีจุดเด่นที่โหมด Beautification ที่ช่วยลบริ้วรอยต่าง ๆ บนใบหน้าและปรับสภาพของผิวให้เนียนขึ้นสำหรับใครชอบถ่ายเซลฟี่ต้องชอบแน่นอน
สำหรับซอฟต์แวร์ Pixel Master ที่อยู่ประจำการในสมาร์ทโฟน ASUS เกือบทุกรุ่น จึงขอนำภาพของ ZenFone 3 Laser ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เดียวกันมาใส่ในรีวิวตัวนี้ โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานง่ายมีโหมดต่าง ๆ ให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งในเครื่องนี้จะเป็น Pixel Master 3.0 ที่มีโหมดถ่ายภาพ HDR Pro , Low Light , Beautiful , Time Lapse , Effect และ Night มาให้ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
จากการใช้งานจริงคิดว่า ASUS แอบเน้นเรื่องกล้องให้กับ ZenFone 3 Max พอสมควร เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องที่ดีกว่า ZenFone 3 Max รุ่นก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด และแอบดีกว่า ZenFone 3 Laser เล็กน้อยด้วย ซึ่งสามารถถ่ายภาพทั่วไปได้ในระดับเกณฑ์ที่น่าพอใจหากเปรียบเทียบกับราคาที่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท การจับโฟกัสภาพที่รวดเร็วสมกับที่ ASUS ภูมิใจนำเสนอ แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการถ่ายภาพในระยะใกล้เท่านั้น ซึ่งหากถ่ายวิวก็จะเป็นโฟกัสแบบทั่วไป สิ่งที่น่าประทับใจคือมีโหมดให้เลือกมากมายและมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดยกตัวอย่างที่ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ถ่ายโดยโหมดอัตโนมัติ โหมด HDR Pro และโหมดกลางคืนที่ถือว่าเอาอยู่ในการถ่ายภาพตอนกลางคืนและตอนกลางวันที่มีแสงจ้า
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลังของ ASUS ZenFone 3 Max
Performance
ASUS ZenFone 3 Max มาพร้อมกับชิปประมวลผล Snapdragon 430 ซึ่งเป็นชิป Octa-Core ARM Cortex A53 ที่มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.4 GHz พร้อมกับ GPU Adreno 505 และแรมขนาด 3 GB จากการใช้งานทั่วไปอย่างเล่นเน็ต หรือโซเชียลต่าง ๆ ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งให้แรมมาถึง 3 GB ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่า ZenFone Laser 3 แต่ก็แตกต่างกันไม่มาก มีการสลับแอพพลิเคชั่นเป็นไปอย่างลื่นไหล แต่จากการใช้งานพบว่าแรมยังมีการเคลียร์ตัวเองบ่อย ไม่สามารถเก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นใหญ่ ๆ ได้ ยกตัวอย่างเล่นเกมโปเกมอนอยู่กดออกมาเปลี่ยนเพลงนิดหน่อย แล้วกลับเข้าไปเล่นเกมต่อก็มีการโหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ สำหรับการเล่นเกมที่มีกราฟฟิกสูง ๆ นั้นอาจจะมีเฟรมเรทตกบ้างตามประสิทธิภาพของชิปประมวลผลระดับกลาง ๆ
สำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลภายในนั้นมีขนาด 32 GB ซึ่งใช้งานทั่วไปก็ถือว่ามีขนาดเหลือเฟือ แต่สำหรับคนที่เก็บข้อมูลเยอะ ๆ ก็สามารถเพิ่มความจุได้ด้วย microSD และรองรับ Dual Sim ซึ่งสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้นหากเข้าเล่นเว็บไซต์ทั่วไป เล่นโซเชียลต่าง ๆ ยังคงทำงานได้แบบไม่ติดขัด แต่ถ้าหากใช้งานหนัก ๆ เช่นการเล่นเกมส์ที่มีกราฟฟิกหนัก ๆ จะเริ่มมีการกระตุกให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ก็ถือว่าเล่นได้อยู่ ไม่ได้กระตุกจนน่ารำคาญ การสลับแอพพลิเคชั่นก็ทำได้ระดับพอดี เนื่องจากแรมที่ให้มา 3 GB แต่อาจจะมีการเก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นได้ไม่ค่อยเหมาะกับ 3 GB เท่าไหร่นัก
สำหรับแบตเตอรี่นั้นให้มาขนาด 4,100 mAh ที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งทาง ASUS เคลมว่าใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ต่อเนื่อง 19 ชั่วโมง และสามารถฟังเพลงได้ถึง 72 ชั่วโมง และสามารถแสตนด์บายในโหมด 4G ได้ถึง 38 วัน ซึ่งจากการใช้งานทั่วไปในหนึ่งวัน เช่นการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ และฟังเพลงไปด้วย 2 ชั่วโมง เล่นโซเชียล 1 ชั่วโมง มีเล่นเกมบ้างประมาณ 1 ชั่วโมง เปิดเครือข่าย 4G ไว้ทั้งวัน กลับถึงบ้านพบว่าแบตเตอรี่เหลือมากกว่า 40 % ซึ่งถือว่าอึดพอสมควร หมดกังวลเรื่องแบตหมดระหว่างวัน แต่หากเปรียบเทียบกับ ZenFone Max 3 รุ่นก่อนจะอึดกว่านิดหน่อย เนื่องจากมีหน้าจอขนาดเล็กกว่า จึงทำให้กินพลังงานน้อยกว่า
Gallery
จุดเด่น
ข้อสังเกต
บทสรุป
BEST PRICE
Design
เชื่อว่าหลายคนคงตัดสินใจยาก
ระหว่าง Laser หรือ Max ??
จากที่เคยกล่าวไว้ในหลายบทความรีวิวของ ASUS ZenFone รุ่นที่ 3 สร้างความประทับใจในการออกแบบที่แตกต่างจากรุ่นเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยได้ทิ้งการออกแบบแบบเดิมไปจนหมด และไม่ใช้การออกแบบที่คล้ายกันอีกต่อไป ซึ่งรุ่น Max รุ่นปรับโฉมนี้ก็จะมีการออกแบบแตกต่างไปจากรุ่นเดิม ซึ่งถือว่า ASUS ได้ลบจุดด้อยในการออกแบบตัวเครื่องไปหมดแล้วใน ZenFone รุ่นที่ 3 นี้
สำหรับรายละเอียดการออกแบบของ ASUS ZenFone 3 Max มีขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 151.4 x 76.24 x 8.3 มีความแตกต่างไปจากรุ่นเดิมอย่างชัดเจน เริ่มจากด้านหน้าของตัวเครื่องจะเป็นกระจกทั้งหมด ซึ่งมีการนำกระจกแบบ 2.5 D มาใช้ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ภายใต้หน้าจอนั้นมีหน้าจอแสดงผลขนาด 5.5 นิ้ว ในส่วนด้านบนของตัวเครื่องจะเป็นลำโพงสนทนา ซึ่งจะมีกล้องหน้าและเซ็นเซอร์ต่าง ๆ อยู่ระหว่างลำโพงสนทนา ในส่วนด้านล่างจะเป็นปุ่มย้อนกลับ ปุ่มโฮม และปุ่ม Multitasking แบบสัมผัสอยู่ใต้หน้าจอ
ในส่วนของด้านหลังมีการออกแบบรูปลักษณ์ให้มีลักษณะโค้งมนด้านข้างเพื่อให้สามารถจับถือได้ง่าย โดยใช้วัสดุโลหะที่ด้านหลังที่เรียบทั้งด้านหลังไม่โค้งเหมือนกับรุ่นเดิม ตัวเครื่องมีความหนาขึ้นทำให้จับสะดวกมากขึ้น ตัดเส้นสายเป็นสีเงินมันวาวซึ่งน่าจะเป็นเส้นเสาอากาศคาดด้านบนและด้านล่างของตัวเครื่อง ด้านบนของฝาหลังจะเป็นกล้องที่เป็นสี่เหลี่ยมตัดขอบด้วยโลหะสวยงาม และ Dual LED Flash และอีกด้านจะเป็นที่อยู่ของเลเซอร์โฟกัสอัตโนมัติ ถัดมาด้านล่างจะเป็นฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวลงมา บริเวณด้านล่างจะมีโลโก้ ASUS สำหรับด้านบนของตัวเครื่องจะมีเฉพาะช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ส่วนด้านล่างของตัวเครื่องจะมีช่องเสียบ microUSB และลำโพงใช้สำหรับสนทนาเท่านั้น ในส่วนด้านข้างของตัวเครื่องที่ด้านขวาจะเป็นปุ่มเพิ่มเสียง ลดเสียง และปุ่มพาวเวอร์ ส่วนด้านซ้ายจะเป็นช่องใส่ซิม
สำหรับหน้าจอของ ASUS ZenFone 3 Laser จะมากับหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว แบบ IPS LCD ที่มีความละเอียด 1920 × 1080 พิกเซล ที่มีความละเอียด 401 DPI และมีความสว่างสูงสุดที่ 450 nits ที่แสดงผลในที่มีแสงจ้าได้ดีเยี่ยม และถูกหุ้มด้วยกระจกแบบ 2.5 D ทำให้ด้านหน้ามีความโค้งมนสวยงามกว่ารุ่นเดิม
จากการใช้งานจริง หากมองจากตัวเครื่องด้านหน้ารู้สึกว่ามันสวยงามกว่ารุ่นเดิมมาก ๆ ตัวเครื่องด้านหลังเป็นโลหะที่ให้ความรู้สึกแน่นหนา หรูหราไม่ดูก๊องแก๊งพลาสติกเหมือนรุ่นเดิม การจับถือตัวเครื่องขณะใช้งานมือเดียวยังคงได้อยู่ สำหรับคนที่มีมือใหญ่และชอบใช้งานสมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ แต่คนที่มือเล็กก็ยังถือว่าใช้งานได้จากน้ำหนักตัวเครื่องที่ไม่หนักจนเกินไปโดยมีน้ำหนักอยู่ที่ 175 กรัมซึ่งถือว่าหนักและใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่ตัวเครื่องที่โค้งรับกับมือทำให้หลุดมือได้ยาก ในเรื่องของวัสดุของตัวเครื่องถือว่าทำได้ดี สำหรับความละเอียดของหน้าจอที่มีความละเอียด 1920 x 1080 ก็ถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐานของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ซึ่งจากการใช้งานจริงยังไม่พบปัญหาในเรื่องของการออกแบบ จะมีที่ขัดใจเล็กน้อยคือพวกปุ่มสามปุ่มด้านล่าง ที่เป็นปุ่มย้อนกลับ ปุ่มโฮม และปุ่ม Multitasking แบบสัมผัสอยู่ใต้หน้าจอไม่มีไฟมาให้
Software
ASUS ZenFone 3 Max มาพร้อมกับ Android 6.0 ทำงานร่วมกับ ASUS ZenUI 3.0 ที่เป็นเอกลักษณ์ของ ASUS ที่เหมือนกับรุ่น Laser 3 แบบเป๊ะ ๆ จึงขอนำภาพมาจาก ZenFone 3 Laser มาไว้ในบทความนี้ด้วยกันเลย ซึ่งจากการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้นฟีเจอร์ ZenMotion นั้นได้ใช้งานบ่อยมาก ตั้งแต่การเปิดหน้าจอและปิดหน้าจอที่สามารถทำได้โดยแตะหน้าจอสองครั้งติดกันแทนการสแกนลายนิ้วมือ หรือจะวาดเป็นตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเข้าสู้แอพพลิเคชั่นที่ตั้งค่าไว้ได้ สำหรับการใช้งานทั่วไปอย่างเล่นโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง ทั่วไป ใช้งานได้อย่างสบาย สลับแอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วจากแรมที่มีขนาด 3 GB ที่สำคัญใน ZenUI 3.0 ในส่วนของ Lock Screen ก็มีการแสดงภาพเป็นเอนิเมชั่นเคลื่อนไหวตามสภาพอากาศที่ดูสวยงาม นอกจากนี้ยังมี Theme Store ให้ดาวน์โหลดเพื่อปรับเปลี่ยนธีมได้อีกหลายร้อยรูปแบบ
Feature
Battery 4,100 mAh ที่ชาร์จให้อุปกรณ์อื่นได้
สำหรับฟีเจอร์ที่ถือเป็นจุดเด่นอย่างแรกของ ZenFone 3 Max ที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือแบตเตอรี่ เนื่องจากให้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ถึง 4,100 mAh ที่ทาง ASUS เคลมว่าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องทั้งวันโดยไม่ต้องชาร์จ ชนิดที่ไม่ต้องพก Power Bank เลยทีเดียว โดฃยทาง ASUS เผยว่าสามารถใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ต่อเนื่อง 19 ชั่วโมง และสามารถฟังเพลงได้ถึง 72 ชั่วโมง และสามารถแสตนด์บายในโหมด 4G ได้ถึง 38 วัน ที่สำคัญ ZenFone 3 Max ยังมากับฟีเจอร์ Reverse Charging ที่สามารถเป็น Power Bank ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ โดยการใช้สาย OTG ที่แถมให้ภายในกล่อง อีกฟีเจอร์หนึ่งคือ Super Saving Mode ที่สามารถเพิ่มเวลาสแตนบายด์ได้อีกถึง 30 ชั่วโมงแม้จะมีแบตเตอรี่เหลือเพียง 10 % เอาไว้ฉุกเฉิน ซึ่งตามไปดูการทดสอบความอึดของแบตเตอรี่ได้ที่รีวิว ASUS Zenfone 3 Max หมวด Performance ได้เลยครับ
Finger Print ที่เป็นมากกว่าเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือตัวนี้ก็จะยกมาจาก ZenFone 3 รุ่นอื่น ๆ เลย โดยจะอยู่ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง บริเวณด้านล่างของกล้องซึ่งสามารถบันทึกได้สูงสุดถึง 5 รอยนิ้วมือ สามารถปลดล็อคได้อย่างรวดเร็วที่ 0.3 วินาที ที่สำคัญยังสามารถวางนิ้วมือที่มุมไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นมุมเดียวกันเมื่อตอนลงรหัสครั้งแรก จากการใช้งานจริงถือว่าเซนเซอร์ตัวนี้อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถเข้าสู้หน้าจอได้เลยเพียงแตะที่เซ็นเซอร์ โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มโฮมก่อน และมีความแม่นยำในเกณฑ์ที่ถือว่าดี มีบางครั้งที่อาจจะสแกนผิดพลาดไป หรือเซนเซอร์ไม่ทำงานต้องใส่รหัสผ่านเพื่อนปลดล็อคแทน แต่เกิดขึ้นไม่บ่อย
ที่สำคัญเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือของ ASUS ZenFone 3 Max ยังทำหน้าที่ได้อีกหลายเช่น สามารถรับสายเรียกเข้าได้โดยการแตะบนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือค้างไว้ หรือการเปิดใช้กล้องโดยการแตะสองครั้งบนเซนเซอร์เพื่อเปิดกล้องขึ้นมาทันที และสามาถใช้เป็นชัตเตอร์ภาพได้ด้วยเมื่อใช้งานแอพ ฯ อยู่เพียงแค่แตะเบา ๆ
Camera
สำหรับรายละเอียดของกล้องของ ASUS ZenFone 3 Max นั้นแอบเซอร์ไพรส์นิด ๆ เนื่องจากมันถ่ายภาพได้ดีกว่า ZenFone 3 Laser และดีกว่า ZenFone 3 Max รุ่นก่อนหน้าอย่างมาก โดยมาพร้อมกับกล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซล มีรูรับแสงกว้าง f/2.0 และ Dual LED Flash ที่สำคัญยังมาพร้อมกับเลเซอร์โฟกัสอีกต่างหาก ซึ่งจะว่าไปมันเป็นจุดเด่นที่อยู่ใน ZenFone 3 Laser เลยก็ว่าได้
สำหรับจุดเด่นคงเป็นระบบออโต้โฟกัส แบบเลเซอร์รุ่นที่ 2 ที่สามารถจับโฟกัสได้รวดเร็วเพียง 0.03 วินาทีเท่านั้น สมาร์ทโฟนจะยิงลำแสงเลเซอร์ออกไปเพื่อวัดระยะห่างของวัตถุด้วยความเร็วแสงทำให้จับภาพระยะใกล้ได้อย่างรวดเร็วและภาพมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม อีกฟีเจอร์ที่สำคัญคือระบบกันสั่น EIS ที่มาด้วยกัน 3 แกนช่วยให้การถ่ายวิดีโอนิ่งขึ้น ส่วนกล้องหน้ามีความละเอียด 8 ล้านที่มีจุดเด่นที่โหมด Beautification ที่ช่วยลบริ้วรอยต่าง ๆ บนใบหน้าและปรับสภาพของผิวให้เนียนขึ้นสำหรับใครชอบถ่ายเซลฟี่ต้องชอบแน่นอน
สำหรับซอฟต์แวร์ Pixel Master ที่อยู่ประจำการในสมาร์ทโฟน ASUS เกือบทุกรุ่น จึงขอนำภาพของ ZenFone 3 Laser ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เดียวกันมาใส่ในรีวิวตัวนี้ โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานง่ายมีโหมดต่าง ๆ ให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งในเครื่องนี้จะเป็น Pixel Master 3.0 ที่มีโหมดถ่ายภาพ HDR Pro , Low Light , Beautiful , Time Lapse , Effect และ Night มาให้ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
จากการใช้งานจริงคิดว่า ASUS แอบเน้นเรื่องกล้องให้กับ ZenFone 3 Max พอสมควร เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องที่ดีกว่า ZenFone 3 Max รุ่นก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด และแอบดีกว่า ZenFone 3 Laser เล็กน้อยด้วย ซึ่งสามารถถ่ายภาพทั่วไปได้ในระดับเกณฑ์ที่น่าพอใจหากเปรียบเทียบกับราคาที่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท การจับโฟกัสภาพที่รวดเร็วสมกับที่ ASUS ภูมิใจนำเสนอ แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการถ่ายภาพในระยะใกล้เท่านั้น ซึ่งหากถ่ายวิวก็จะเป็นโฟกัสแบบทั่วไป สิ่งที่น่าประทับใจคือมีโหมดให้เลือกมากมายและมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดยกตัวอย่างที่ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ถ่ายโดยโหมดอัตโนมัติ โหมด HDR Pro และโหมดกลางคืนที่ถือว่าเอาอยู่ในการถ่ายภาพตอนกลางคืนและตอนกลางวันที่มีแสงจ้า
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลังของ ASUS ZenFone 3 Max
Performance
ASUS ZenFone 3 Max มาพร้อมกับชิปประมวลผล Snapdragon 430 ซึ่งเป็นชิป Octa-Core ARM Cortex A53 ที่มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.4 GHz พร้อมกับ GPU Adreno 505 และแรมขนาด 3 GB จากการใช้งานทั่วไปอย่างเล่นเน็ต หรือโซเชียลต่าง ๆ ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งให้แรมมาถึง 3 GB ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่า ZenFone Laser 3 แต่ก็แตกต่างกันไม่มาก มีการสลับแอพพลิเคชั่นเป็นไปอย่างลื่นไหล แต่จากการใช้งานพบว่าแรมยังมีการเคลียร์ตัวเองบ่อย ไม่สามารถเก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นใหญ่ ๆ ได้ ยกตัวอย่างเล่นเกมโปเกมอนอยู่กดออกมาเปลี่ยนเพลงนิดหน่อย แล้วกลับเข้าไปเล่นเกมต่อก็มีการโหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ สำหรับการเล่นเกมที่มีกราฟฟิกสูง ๆ นั้นอาจจะมีเฟรมเรทตกบ้างตามประสิทธิภาพของชิปประมวลผลระดับกลาง ๆ
สำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลภายในนั้นมีขนาด 32 GB ซึ่งใช้งานทั่วไปก็ถือว่ามีขนาดเหลือเฟือ แต่สำหรับคนที่เก็บข้อมูลเยอะ ๆ ก็สามารถเพิ่มความจุได้ด้วย microSD และรองรับ Dual Sim ซึ่งสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้นหากเข้าเล่นเว็บไซต์ทั่วไป เล่นโซเชียลต่าง ๆ ยังคงทำงานได้แบบไม่ติดขัด แต่ถ้าหากใช้งานหนัก ๆ เช่นการเล่นเกมส์ที่มีกราฟฟิกหนัก ๆ จะเริ่มมีการกระตุกให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ก็ถือว่าเล่นได้อยู่ ไม่ได้กระตุกจนน่ารำคาญ การสลับแอพพลิเคชั่นก็ทำได้ระดับพอดี เนื่องจากแรมที่ให้มา 3 GB แต่อาจจะมีการเก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นได้ไม่ค่อยเหมาะกับ 3 GB เท่าไหร่นัก
สำหรับแบตเตอรี่นั้นให้มาขนาด 4,100 mAh ที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งทาง ASUS เคลมว่าใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ต่อเนื่อง 19 ชั่วโมง และสามารถฟังเพลงได้ถึง 72 ชั่วโมง และสามารถแสตนด์บายในโหมด 4G ได้ถึง 38 วัน ซึ่งจากการใช้งานทั่วไปในหนึ่งวัน เช่นการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ และฟังเพลงไปด้วย 2 ชั่วโมง เล่นโซเชียล 1 ชั่วโมง มีเล่นเกมบ้างประมาณ 1 ชั่วโมง เปิดเครือข่าย 4G ไว้ทั้งวัน กลับถึงบ้านพบว่าแบตเตอรี่เหลือมากกว่า 40 % ซึ่งถือว่าอึดพอสมควร หมดกังวลเรื่องแบตหมดระหว่างวัน แต่หากเปรียบเทียบกับ ZenFone Max 3 รุ่นก่อนจะอึดกว่านิดหน่อย เนื่องจากมีหน้าจอขนาดเล็กกว่า จึงทำให้กินพลังงานน้อยกว่า