เช็คเลย! ขึ้นทางด่วนฟรีในปี 2566 ขึ้นฟรีวันหยุดวันไหน และมีเส้นทางไหนบ้างกว่า 60 ด่านในช่วงครึ่งปีหลังนี้
จากข้อมูลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)/ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ที่ร่วมปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานฯ ที่มีนโยบายการขึ้นทางพิเศษฟรียาวต่อเนื่องกันไปอีกหลายปี โดยจะมีการเปิดให้ขึ้นใช้ทางด่วนได้ฟรีใน 3 เส้นทางพิเศษกว่า 60 ด่านในทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่รวมวันหยุดชดเชยตามในปฏิทินปี 2566 ซึ่งผ่านมาถึงครึ่งปีแล้ว แต่ว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ก็ยังมีวันหยุดอีกหลายวันเลยทีเดียว สำหรับใครที่วางแผนการเดินทางไปเที่ยว หรือว่าจำเป็นต้องใช้เส้นทางด่วนหรือทางพิเศษและอยากรู้ว่ามีวันไหนขึ้นฟรี บนเส้นทางไหนบ้าง เดี๋ยววันนี้ทาง Specphone จะมารวมข้อมูลให้เช็คกันได้เลยว่าวันไหนบ้างที่ขึ้นทางด่วนฟรีในปี 2566 พร้อมเส้นทางกว่า 60 ด่านคือตรงไหนบ้าง ไปดูกันเลย
วันไหนบ้างที่ขึ้นทางด่วนฟรีในปี 2566
เส้นทางพิเศษที่ขึ้นทางพิเศษฟรีในปี 2566 ในวันหยุดมีทางไหนบ้าง
วันไหนบ้างที่ขึ้นทางด่วนฟรีในปี 2566
สำหรับวันที่ขึ้นทางพิเศษฟรีใน 2566 ช่วงครึ่งปีหลังนี้จะเหลือวันหยุดทั้งหมดอีก 9 วันจนถึงสิ้นปีตามแต่ละเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามการทางพิเศษกำหนดเท่านั้น โดยไม่รวมกับวันหยุดที่ประกาศพิเศษในตอนหลัง หรือถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับวันหยุดสงกรานต์ หรือวันหยุดยาวอื่นๆ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จะแจ้งให้ทราบกันอีกครั้ง โดยมีวันหยุดที่เปิดให้ขึ้นฟรีตามเส้นทางดังนี้
- เดือนกรกฎาคม
- วันที่ 28 กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา ในหลวง (รัชกาลที่ 10)
- เดือนสิงหาคม
- วันที่ 1 สิงหาคม วันอาสาฬหบูชา
- วันที่ 2 สิงหาคม วันเข้าพรรษา
- วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
- เดือนตุลาคม
- วันที่ 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9
- วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
- เดือนธันวาคม
- วันที่ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ
- วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
- วันที่ 31 ธันวาคม วันสิ้นปี
เส้นทางพิเศษที่ขึ้นทางพิเศษฟรีในปี 2566 ในวันหยุดมีทางไหนบ้าง
สำหรับเส้นทางพิเศษหรือว่าทางด่วนที่สามารถขึ้นฟรีได้ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เส้นทางหลักๆ และแต่ละเส้นทางนั้นจะมีจำนวนด่านที่เปิดให้ขึ้นฟรีไม่เหมือนกัน มีเส้นทางพร้อมจำนวนด่านที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรีตอนวันหยุดนักขัตฤกษ์ดังนี้
ทางด่วนเฉลิมมหานคร ทั้งหมด 19 ด่าน
- มีระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตรและมี 3 ส่วนเส้นทาง เริ่มตั้งแต่ปลายถนนวิภาวดีรังสิต (จุดนี้) หรือเริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บริเวณทางแยกต่างระดับบางนา (บริเวณนี้) และเริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ (บริเวณนี้)
ทางด่วนศรีรัช ทั้งหมด 31 ด่าน
- มีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตรและมี 4 ส่วนเส้นทาง เริ่มต้นที่ส่วน A ถนนรัชดาภิเษก ผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) (บริเวณนี้) จนถึงจุดเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่บริเวณบางโคล่ (บริเวณนี้) และจุดเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ (บริเวณนี้) กับอีกส่วนคือจุดเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนพระราม 9 สิ้นสุดที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ (บริเวณนี้)
ทางด่วนอุดรรัถยา ทั้งหมด 10 ด่าน
- มีระยาทางรวม 32 กิโลเมตรและมี 2 ส่วนเส้นทางคือระยะที่ 1 เริ่มต้นเชื่อมต่อที่ปลายทางพิเศษศรีรัช บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (บริเวณนี้) จนถึงเชียกรากบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และจุดเชื่อมต่อกับระยะที่ 1 ที่เชียงราก (บริเวณนี้) สิ้นสุดที่ช่วงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จุดนี้)
ทั้งนี้ในส่วนของเส้นทางเส้นทางวงแหวนและเส้นทางมอเตอร์เวย์อย่างเช่น ทางพิเศษกาญจนาภิเษก/ ทางพิเศษบูรพาวิถี/ มอเตอร์เวย์หมายเลข 6/ มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 และมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 นั้นเคยเปิดให้ขึ้นฟรีในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านไปแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดให้ขึ้นฟรีตามวันหยุดนักขัตฤกษ์เหมือนทั้ง 3 เส้นทางด้านบน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะมีการแจ้งผ่าน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลอัพเดทว่าวันไหนบ้างที่ขึ้นทางด่วนฟรีในปี 2566 ตามวันหยุดมีวันไหนบ้าง พร้อมข้อมุลเส้นทางด่วนแต่ละเส้นทางที่เปิดให้ขึ้นฟรีในวันหยุดมีทางไหนบ้าง โดยทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้แจ้งไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งแต่ละปีอาจมีวันหยุดและวันที่เปิดให้ขึ้นฟรีต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีวันหยุดยาว และอาจมีการจราจรหนาแน่นมากกว่าปกติ ก็อาจจะมีการเปิดเส้นทางอื่นๆ ให้ขึ้นฟรีได้ด้วยเช่นกัน สามารถกดติดตามข่าวสารทั้งหมดได้จาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้เลย แล้วถ้ามีเรื่องไหนน่าสนใจหรือมีวันไหนอัพเดทอีก เราก็จะนำมาฝากกันเรื่อยๆ เลยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย/ BEM