Apple จดสิทธิบัตรระบบตรวจวัดชีพจรในมือถือ และเซ็นเซอร์รับคำสั่งเหนือจอคล้าย Samsung Galaxy

ช่วงหลังๆ มานี้ วงการมือถือได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนามือถือรุ่นใหม่ไปเน้นการเพิ่มเทคโนโลยีที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ และอำนวยความสะดวกให้กับการใช้งานในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นการเพิ่มเซ็นเซอร์ตรวจจับเพิ่มเติม การปรับดีไซน์ให้เข้ากับการใช้งานจริงกว่าที่เคย ไม่ได้เน้นการอัดสเปคอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน

patent 100506 1

ล่าสุดมีรายงานว่า Apple ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรใหม่เพิ่มเติมอีกแล้ว เริ่มด้วยระบบการวัดชีพจรที่ใช้การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) บนมือถือ จากการใช้งานจริง โดยจะใช้การติดตั้งเซ็นเซอร์ที่มีผิวสัมผัสเป็นโลหะเพิ่มเข้าไปใน iPhone และอาจมีใน iPad ด้วย เพื่อใช้ในการรับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งด้วยผิวสัมผัสที่เป็นโลหะ เราจึงอาจจะได้เห็นบอดี้ iPhone เป็นอะลูมิเนียมต่อไป เพื่อใช้เป็นตัวรับคลื่นไฟฟ้าเพื่อวัดชีพจรได้แบบไม่ต้องติดตั้งระบบรับสัมผัสเพิ่มเติม สำหรับประโยชน์นั้น นอกจากจะใช้วัดสุขภาพได้แบบคร่าวๆ แล้ว ยังอาจจะใช้ช่วยระบุตัวตนจากข้อมูลการเต้นของหัวใจได้ เรียกว่าเป็นการนำข้อมูลเชิงชีวภาพมาผสมผสานกับเทคโนโลยีในอีกระดับ หลังจากเปิดตัว Touch ID ไปใน iPhone 5s (สิทธิบัตรนี้ถูกยื่นขอจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2009)

13.12.24 Hover 1

ส่วนสิทธิบัตรอีกชิ้นอาจจะดูคุ้นหูคุ้นตากันบ้างครับ นั่นคือระบบการสั่งงานแบบใช้การปาด/จิ้มแบบไม่สัมผัสจอ (Touch and hover signal drift compensation) ที่ลักษณะการทำงานก็ใกล้เคียงกับ Air Gestures ในมือถือ Samsung Galaxy หลายๆ รุ่นนั่นเอง โดยในสิทธิบัตรได้มีการอธิบายการทำงานคร่าวๆ เอาไว้ว่าการทำงานจะให้ผลเหมือนๆ กับการใช้นิ้วจิ้มหรือลากหน้าจอเลย เพราะระบบจะประมวลผลการสั่งงานเสมือนว่าเรากำลังจิ้มหน้าจออยู่ เช่นถ้าเราจิ้มเหนือไอคอนแอพ (ไม่แตะจอ) ระบบก็จะประมวลผลได้ว่าเรากำลังกดไอคอนแอพนั้นเพื่อเรียกใช้งาน (ระบบใช้หลักการปล่อยสนามไฟฟ้าออกมาเหนือจอ และใช้การตรวจจับความแตกต่างในแต่ละบริเวณ)?ลักษณะการใช้งานจึงไม่เรียกว่าเหมือน Air Gestures ใน Samsung ซะทีเดียว

นอกจากนี้ในสิทธิบัตรดังกล่าวยังเน้นเกี่ยวกับเรื่องระบบการแยกแยะระหว่างการสัมผัสหน้าจอกับการสั่งงานเหนือจอว่าจะต้องไม่รบกวนกัน เช่นถ้าหากเราถือเครื่องในมือแล้วนิ้วเผลอมาจิ้มอยู่บนจอเล็กน้อย ระบบก็จะยังต้องสามารถรับคำสั่งและประมวลผลการสั่งงานเหนือจอได้ด้วย ลักษณะก็จะคล้ายๆ กับการตรวจจับว่าเราวางนิ้วหรือมือไว้ข้างจอหรือเปล่าใน iPad โดยถ้าวางอยู่บนจอเล็กน้อย ก็จะไม่รบกวนการสั่งงานจริงๆ ซึ่งไม่ค่อยจะพบเห็นในแท็บเล็ตทั่วไปในตลาดเท่าไร ส่วนอีกจุดที่ในเอกสารสิทธิบัตรให้ข้อมูลไว้ก็คือ ระบบการรับการสั่งงานแบบไม่สัมผัสจอ จะต้องสามารถปรับระดับเซ็นเซอร์ตามสภาพแวดล้อมได้ด้วย เช่น สภาพอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ความกดอากาศ ที่อาจส่งผลต่อการรับข้อมูลของเซ็นเซอร์ ซึ่งก็ไม่แน่ว่าเราจะได้เห็นกันใน iPad รุ่นใหม่ของปีหน้าหรือไม่ (สิทธิบัตรนี้ถูกยื่นขอจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2010)

ที่มา: TechCrunch, AppleInsider

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก