สุดยอด Emulator สำหรับเครื่องเกมยุค 90 หรือยุค 2000 ที่จะทำให้เรื่องของการย้อนเวลาไม่ใช่ปัญหา
เกมยุค 90 หรือ ยุค 2000 นั้นถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าตัวเกมจะไม่ได้มาพร้อมกับกราฟิกสมจริงเหมือนกับในยุคปัจจุบัน ทว่าเกมต่างๆ นั้นก็มีจุดเด่นเป็นอย่างมากจนทำให้ผู้ใหญ่ในวันนี้หลายๆ คนถึงขั้นติดกันงอมแงมจนไม่ยอมหลับยอมนอนกันมาแล้ว
สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาจของเกมในยุค 90 เป็นต้นมานั้นก็คือเรื่องของกาลเวลาที่ในแต่ละปีนั้นพบว่าเครื่องเกมเก่าๆ นั้นจะหมดสภาพลงจนไม่สามารถใช้งานในการเล่นเกมได้อีกต่อไป ถึงแม้ว่าทางเจ้าของเครื่องเองอย่าง Sony และ Nintendo จะมีการนำเกมเก่าๆ มาจำหน่ายในบริการจำหน่ายเกมขอตัวเองไม่ว่าจะเป็น PlayStation Now หรือ Nintendo Switch Online แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ เกมจะถูกกลับนำมาให้เราได้เล่นกันอีกครั้งและหากทางผู้ให้บริการอย่าง Sony หรือ Nintendo ยุติให้บริการดังกล่าวไปแล้วนั้นเกมที่ท่านอยากจะเล่นซ้ำ 2 ก็อาจจะไม่สามารถหาเล่นได้อีก
วงการ Emulator นั้นถือได้ว่าเป็นการนำเอาความเป็นเด็กของผู้ใหญ่หลายๆ คนกลับมาให้ได้คิดถึงอย่างมากมาย ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหานั้นเราคงต้องบอกก่อนว่าในอดีต Emulator เคยมีดรามาถึงขึ้นขึ้นโรงขึ้นศาลกันมาแล้วในเรื่องของลิขสิทธิ์ ทว่าสิ่งที่ศาล(ในสหรัฐอเมริกา) ตัดสินออกมานั้นก็ทำให้วงการ Emulator ได้อยู่กันต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเพราะสิ่งที่ผิดลิขสิทธิ์นั้นจะเป็นตัวเกมที่มีการนำมาใช้งานเล่นกับ Emulator เท่านั้น ทั้งนี้ในบทความนี้จะไม่ขอชี้เป้าการหาตัวเกมมาเล่น(แต่เชื่อเถอะว่าอากู๋สามารถช่วยคุณได้)
ในปัจจุบันนี้นั้นมี Emulator จำนวนมากให้เราได้เลือกใช้กันซึ่งต้องบอกเลยว่าแต่ละ Emulator มีความแตกต่างกันไปพอสมควร อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ Emulator หลายๆ ตัวนั้นเหมือนกันก็คือมันต้องการการตั้งค่าที่ค่อนข้างจะยากอยู่(แถมในบาง Emulator เองนั้นก็ต้องการไฟล์เพิ่มเติมซึ่งไฟล์เหล่านั้นถูกระบุเอาไว้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของทางผู้ผลิต) ดังนั้นเพื่อที่จะสรรหา Emulator ที่ดีที่สุดในแต่ละเครื่องหรือแพลทฟอร์มนั้นเราจึงรวบรวม Emulator ที่ดีที่สุดในปัจจุบันของแต่ละเครื่องให้ทุกท่านได้ลองหามาใช้งานกัน ว่าแล้วก็ได้ดูกันเลย
Best GameCube and Wii Emulator: Dolphin
Best DS Emulator: DeSmuME
Best Sega Genesis Emulator: Kega Fusion
Best Arcade Games Emulator: MAME
Best PS1 and Sega Saturn Emulator: Mednafen
Best NES Emulator: Mesen
Best PlayStation 2 Emulator: PCSX2
Best PlayStation Portable Emulator: PPSSPP
Best Nintendo 64 Emulator: Mupen64Plus
Best Dreamcast Emulator: Redream
Best Super Nintendo Emulator: Snes9x
Best Game Boy and GBA Emulator: VisualBoyAdvance
Best Multi-System Emulator: RetroArch
Best GameCube and Wii Emulator: Dolphin
เริ่มต้นกันกับเครื่องเกมในยุคใกล้ๆ ก่อนอย่าง GameCube และ Wii จากทาง Nintendo ที่ต้องบอกเลยว่าไม่มี Emulator ไหนจะดีไปกว่า Dolphin อีกแล้ว(ดีจนทำให้ Emulator ของเครื่องเกมเดียวกันเจ้าอื่นเลิกพัฒนาไปเป็นที่เรียบร้อย) โดย Dolphin นั้นมีให้ใช้งานครบทั้งบน Windows, macOS, Linux และ Android เรียกได้ว่าสามารถสัมผัสความหลังกันได้ทุกที่ทั้งนั่งหน้าจอและเคลื่อนที่กันเลยทีเดียว
จุดเด่นของ Dolphin นั้นก็คือไม่ต้องโหลดไฟล์ใดๆ เพิ่มเติมเพื่อที่จะเล่น Rom ตัวเกม แต่ทว่าข้อเสียของมันนั้นก็คือการตั้งค่าต่างๆ ค่อนข้างจะมีมากและวุ่นวายเป็นอย่างมาก ที่สำคัญแล้วนั้นด้วยความที่เกมของเครื่อง GameCube และ Wii ยังไม่ได้เก่ามากจนเกินไปนักตัว Emulator อย่าง Dolphin เองจึงต้องการเครื่องที่มีสเปคค่อนข้างดีถึงจะสามารถใช้งานได้อย่างไหลลื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ CPU และ GPU ที่ต้องแรงมากพอดู
สำหรับการใช้งาน Dolphin บนแพลตฟอร์มอย่าง Windows, macOS หรือ Linux นั้น Dolphin ถือว่าทำงานได้เป็นอย่างดี แถมหากใช้งานผ่าน Windows แล้วนั้นคุณยังสามารถที่จะเลือกเปลี่ยนการบังคับมาใช้เป็นจอยคอนโทรลเลอร์ต่างๆ ได้อีกต่างหาก(ในส่วนเกมเครื่อง Wii นั้น Dolphin ยังรองรับการใช้งานร่วมกับตัวแปลง Wii Mote ให้เลือกใช้กันได้อีกด้วย)
Dolphin นั้นสามารถที่จะโหลดกันได้แบบฟรีๆ ในทุกแพลตฟอร์ม โดยตัวมันเองนั้นยังสนับสนุนการใช้โค๊ดสำหรับโกงตัวเกม, การปรับเลือก Save File(ทำให้คุณสามารถที่จะนำเอาไฟล์ไปให้เพื่อนเล่นต่อได้) ไปจนกระทั่งสามารถที่จะปรับโหมดกราฟิกได้อีกหลายรูปแบบอย่างเช่นการเพิ่มความละเอียดของตัวเกมไปจนถึงเปิด anti-aliasing ได้อีกด้วย(ถ้าเครื่องของคุณแรงพอ)
สำหรับ Dolphin บน Android นั้นก็เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอด Emulator ที่จะทำให้คุณสามารถเล่นเกมดีๆ บนสมาร์ทโฟนได้เลยอีกต่างหาก(หากสมาร์ทโฟนของคุณแรงมากพอซึ่งอย่างน้อยก็ควรจะใช้ชิปเซ็ท Snapdragon 855 ขึ้นไป) แต่น่าเสียดายว่าด้วยข้อจำกัดของตัวเครื่องสมาร์ทโฟนทำให้การใช้งาน Dolphin เพื่อเล่นเกมของเครื่อง Wii ที่ต้องใช้ Wiimote ด้วยนั้นทำออกมาไม่ได้ดีเท่าที่ควร
Best DS Emulator: DeSmuME
มาต่อกันที่ Emulator เครื่องเกมพกพาสุดฮิตในอดีตที่ผ่านมาไม่นานมากนักอย่าง NintendoDS ที่แหวกแนววิธีการเล่นตามสไตล์ของ Nintendo ด้วยการมาพร้อมกับปากกาสไตลัส เครื่องเกม NintendoDS นั้นมาพร้อมกับเกมน่าเล่นมากมายเต็มไปหมด สำหรับ Emulator ที่ดีที่สุดของ NintendoDS ในปัจจุบันนี้นั้นคงหนีไม่พ้น DeSmuME ซึ่งมีให้ใช้งานได้ทั้งบนแพลตฟอร์ม Windows, Linux และ Android
สำหรับบน Windows และ Linux นั้นปัญหาเรื่องสเปคเครื่องที่ต้องการจะไม่น่าห่วงเท่าไรนักเพราะโน๊ตบุ๊คแบบพกพาในราคาเริ่มต้นที่ระดับ 1x,xxx บาท ก็สามารถที่จะเกมได้เป็นอย่างดีไม่กระตุก(ยกเว้นบางเกมที่ตัว Emulator เองยังคงไม่รองรับ 100%) สำหรับเรื่องขอรบังคับหน้าจอที่ 2 ที่เป็นหน้าจอแบบสัมผัสนั้นก็สามารถที่จะใช้เมาส์ชี้แล้วคลิ๊กเอาได้เลย(ทำให้ในการเล่นนั้นจริงๆ แล้วบางเกมเล่นได้ง่ายกว่าบนเครื่อง NintendoDS ของแท้อีก) ยิ่งหากเครื่องของคุณเป็นหน้าจอสัมผัสแล้วด้วยล่ะก็สนุกเข้าไปใหญ่เลย
มอดูในส่วนของ DeSmuME บน Android ที่เรียกว่าดีไม่แพ้กันเพราะถอดเอาฟีเจอร์ของเครื่องอื่นมาแบบเต็มๆ เหมือนกันหมด ทว่าจุดที่น่าเสียดายก็คือด้วยหน้าจอของสมาร์ทโฟนนั้นอาจจะเล็กไปนิดทำให้การแบ่งหน้าจอออกเป็น 2 ส่วน(ตามหน้าจอเครื่องเกม NintendoDS จริง) พื้นที่ตัวเกมที่เหลือใก้เราเล่นนั้นจะน้อยไปหน่อย
เช่นเดียวกันกับแพลตฟอร์มเครื่องใหญ่ DeSmuME สำหรับ Android นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สมาร์ทโฟนที่มีความแรงมากเท่าไรนัก(แต่ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนที่แรงมากพอคุณก็จะสามารถจะทำการเพิ่มความละเอียดของหน้าจอให้มากขึ้นกว่าเดิมได้ทำให้ตัวเกมดูสวยกว่าการเล่นบนเครื่อง NintendoDS แท้ๆ เลยทีเดียว)
DeSmuME นั้นจะมาพร้อมกับฟีเจอร์ครบครันไม่ว่าจะเป็น save states, screenshot support, cheats, video and audio recording นอกไปจากนั้นยังมาพร้อมกับฟีเจอร์เพิ่มประสบการณ์ทางด้านกราฟิกอย่าง screen filters และ screen gap customization(ปรับลดช่องว่างระหว่างหน้าจอให้แสดงผลติดกันเป็นหน้าจอเดียวได้) ที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการรองรับไมโครโฟนเพื่อใช้ในการเล่นเกมเหมือน NintendoDS อีกด้วย แน่นอนว่า DeSmuME นั้นฟรี
Alternatives: ในปัจจุบันนี้ Emulator ของเครื่องเกม NintendoDS นั้นยังมีอีกหลายตัวอย่าง melonDS, DraStic (บน Android แต่เสียค่าซื้อ) และ iNDS สำหรับ iOS ซึ่ง Emulator ตัวอื่นๆ นี้นั้นก็มีฟีเจอร์คล้ายๆ กันกับ DeSmuME ทว่าในเรื่องของการรองรับเกมนั้นยังคงทำได้น้อยกว่า
Best Sega Genesis Emulator: Kega Fusion
ตามมาด้วย Emulator ที่รองรับการเล่นเกมเก่าๆ ของเครื่องจากทาง Sega อย่าง Sega Mega Drive, Mega-CD, 32X, Master System, Game Gear, SG-1000 และ SC-3000 เรียกได้ว่าแฟนๆ Sega นั้นโปรแกรม Kega Fusion ตัวเดียวจบ
Emulator อย่าง Kega Fusion นั้นมาพร้อมฟีเจอร์แบบจัดเต็มทั้ง Fusion supports multiple save slots, cheat codes, screenshots และ netplay ที่ช่วยให้คุณสามารถเล่นเกมกับเพื่อนแบบออนไลน์ได้ นอกไปจากนั้นในส่วนของกราฟิกก็ยังปรับได้แบบครบครันทั้งความละเอียดของหน้าจอ และ screen filters ระบบเสียงก็รองรับเต็มรูปแบบ แถมทั้งยังสามารถที่จะรองรับการใช้งานร่วมกับจอยคอนโทรลเลอร์ได้ด้วย
Alternatives: Genesis Plus ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดี ทว่าในการใช้งานนั้นจะต้องตั้งค่ามากพอสมควร อย่างไรก็ตาม Genesis Plus นั้นมีข้อดีอยู่หนึ่งอย่างซึ่งนั่นก็คือมันมีทั้งเวอร์ชันที่รองรับกับแพลตฟอร์ม Nintendo GameCube, Wii และ PlayStation Vita แยกต่างหากด้วย
สำหรับผู้ใช้ Android ถึงแม้ Kega Fusion จะไม่มีให้ใช้งานแต่ว่าก็ยังมีตัวเลือกอื่นที่สามารถใช้งานได้ดีกว่าอย่าง RetroArch
Best Arcade Games Emulator: MAME
อีกเครื่องเกมหนึ่งที่ถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือเกมตู้ Arcade ซึ่งในปัจจุบันนี้นั้นหาเล่นได้ค่อนข้างที่จะยากแถมด้วยสถานะการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้ร้านเกมตู้ตามห้างต่างๆ ก็ไม่ได้เปิดให้บริการเหมือนอย่างที่เคยมีมา MAME จึงถือว่าเป็น Emulator ที่เข้ามาช่วยทำให้หลายๆ คนสามารถหายคิดถึงการเล่นเกมตู้ได้โดยมีประวัติการพัฒนามาอย่างเนิ่นนาน ตัว Emulator MAME นั้นมีให้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม Windows, macOS และ Linux
อย่างไรก็ตาม MAME นั้นเป็น Emulator ที่ตั้งค่าใช้งานยากเป็นอย่างมากเพราะตัว MAME เองนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มี GUI ที่ดีทำให้ในการตั้งค่านั้นจะต้องอ่านเอกสารการตั้งค่าของทาง MAME ให้ละเอียด(ซึ่งสามารถที่จะหาดูได้ตาม YouTube) อีกจุดหนึ่งนั้นก็คือในเรื่องการหาตัวเกมมาเล่นนั้นคงต้องบอกว่าหาได้ค่อนข้างจะยากกว่าเครื่องเกมอื่นๆ เพราะบางเกมก็ไม่มี ROMs ปล่อยออกมาให้ได้โหลดเล่นกันได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้หากท่านสามารถผ่านการตั้งค่าต่างๆ มาได้แล้วนั้นคุณก็จะพบกับเกมตู้วันวานจากหลายๆ ค่ายเกมดังไม่ว่าจะเป็น Namco, Neo Geo, Sega arcade systems และอื่นๆ อีกมากมาย
Alternatives: RetroArch ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เพราะมันสามารถที่จะใช้งานบนแพลตฟอร์มอื่นได้ด้วยเช่นบน Android ทว่าในการตั้งค่านั้นก็ค่อนข้างยุ่งยากเหมือนกันกว่าจะสามารถเล่นได้ ส่วนผู้ใช้งาน macOS นั้นก็ยังมีตัวเลือกอย่าง OpenEmu ให้ได้ใช้งานกันอีกด้วย
Best PS1 and Sega Saturn Emulator: Mednafen
มาถึงสุดยอดเครื่องเกมที่เชื่อเหลือเกินว่าครองใจได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในปัจจุบันอย่าง PlayStation และ Sega Saturn ที่แพคกันเป็นคู่ในโปรแกรมเดียวเลยอย่าง Mednafen โดยจะรองรับทั้งแพลตฟอร์ม Windows และ Linux นอกไปจากนั้นแล้ว Mednafen ยังรองรับการเครื่องเกมอื่นๆ อีกมากมายอย่างตามรายชื่อต่อไปนี้
- Apple II/II+
- Atari Lynx
- Neo Geo Pocket (Color)
- WonderSwan
- GameBoy (Color)
- GameBoy Advance
- Nintendo Entertainment System
- Super Nintendo Entertainment System/Super Famicom
- Virtual Boy
- PC Engine/TurboGrafx 16 (CD)
- SuperGrafx
- PC-FX
- Sega Game Gear
- Sega Genesis/Megadrive
- Sega Master System
- Sega Saturn (experimental, x86_64 only)
- Sony PlayStation
จากรายชื่อดังกล่าวนี้นั้นบอกได้เลยว่า Mednafen นั้นถือว่าเป็น multi-Emulator ที่มาแรงพอๆ กับ RetroArch เลยก็ว่าได้ ทว่าด้วยการที่มันเป็น multi-Emulator ดังนั้นมันจึงมาพร้อมกับการตั้งค่าที่ค่อนข้างจะยากพอสมควร(แต่ YouTube และอากู๋ช่วยคุณได้แน่นอน)
สำหรับการใช้งานเพื่อเล่นเกมของเครื่อง PlayStation และ Sega Saturn นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องหาไฟล์ BIOS มาร่วมติดตั้งก่อน สำหรับ PlayStation นั้นจะต้องใช้ไฟล์ scph5500.bin, scph5501.bin, และ scph5502.bin ส่วน Sega Saturn นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟล์ sega_101.bin และ mpr-17933.bin
Mednafen นั้นมาพร้อมกับฟีเจอร์หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น save states, rewind, screen filters, cheat codes, screenshots and video recording, hotkey remapping, controller connectivity และ netplay
Alternatives: จริงๆ แล้ว Emulator สำหรับเครื่อง PlayStation และ Sega Saturn ยังมีอีกหลายตัวที่มาพร้อมกับการตั้งค่าต่างๆ ที่ง่ายกว่า Mednafen อย่างเช่น PCSX-R และ ePSXe ที่มาพร้อมกับ GUI ในการตั้งค่าที่ทำให้ใช้งานได้ง่าย แต่หากมองถึงผลลัพธ์หลังจากที่สามารถทำการตั้งค่าได้แล้วนั้นคงต้องบอกว่า Mednafen จะทำออกมาได้ดีกว่า
Best NES Emulator: Mesen
ย้อนกลับสู่อดีตที่แสนหอมหวานของ Nintendo กับ Emulator ของเครื่องเกม Nintendo Entertainment System(Famicom) กับ Mesen ที่มาพร้อมกับการตั้งค่าสุดแสนจะง่าย ใช้งานได้บน Windows และ Linux ตัวโปรแกรมมาพร้อมกับฟีเจอร์มากมายแบบจัดเต็ม จุดเด่นที่สุดเลยนั้นก็คือ Mesen รองรับการติดตั้ง texture replacement packs ที่สามารถหาโหลดออนไลน์มาใช้เพื่อปรับให้กราฟิกของตัวเกมนั้นดีมากขึ้นกว่าเครื่องต้นฉบับเป็นอย่างมาก
Alternatives: สำหรับเครื่อง NES นั้นคงต้องบอกว่ามีตัวเลือกอื่นๆ ให้เลือกอีกอย่าง Nestopia UE, puNES และ FCEUX หรือผู้ใช้สมาร์ทโฟน Android ก็สามารถที่จะเลือก Nostalgia.NES มาใช้งานได้เช่นเดียวกัน
Best PlayStation 2 Emulator: PCSX2
หากไม่มีเครื่องเกมสุดแจ๋มที่มีเกมดีๆ มากมายพร้อมกราฟิกสุดเจ๋งอย่าง PlayStation 2 แล้วล่ะก็ถือว่าเป็นอะไรที่ไม่สมบูรณ์อย่างแน่นอน และ Emulator ที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องเกมอย่าง PlayStation 2 นั้นก็หนีไม่พ้น PCSX2 ซึ่งรองรับการใช้งานบนแพลตฟอร์ม Windows, macOS และ Linux
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้น PCSX2 ค่อนข้างจะมาพร้อมกับการตั้งค่ามากในหลายๆ ส่วนที่ผู้ใช้ควรจะต้องศึกษาให้ดีก่อนการใช้งาน ที่สำคัญที่สุดเลยนั้นก็คือเครื่องของคุณจะต้องมี CPU และ GPU รวมถึง RAM ที่ดีพอสมควรเพื่อที่จะใช้ในการรันตัวเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกับกราฟิกที่สวยงาม
ทั้งนี้ด้วยความที่วเกม PlayStation 2 นั้นมีหลายเกมเป็นอย่างมากทำให้ PCSX2 ไม่สามารถที่จะรันเกมทั้งหมดของเครื่อง PlayStation 2 ได้(แต่เกมดังๆ ส่วนใหญ่นั้นไม่มีปัญหาเท่าไรนัก) PCSX2 มาพร้อมกับฟีเจอร์จัดเต็มเช่นเดียวกันอย่าง save states, cheat codes, screenshots และ HD video recording
ไม่เพียงแค่นั้นในส่วนของฟีเจอร์ทางด้านกราฟิก PCSX2 นั้นก็จัดเต็มเช่นเดียวกันอย่าง frame skipping and limiting, VSync, speed hacks, custom resolutions and aspect ratios, anti-aliasing ฯลฯ งานนี้เรียกได้ว่าหากเครื่องของคุณแรงมากพอคุณจะสามารถเล่นเกม PlayStation 2 ได้แบบภาพเนียนๆ สวยๆ กว่าต้นฉบับเป็นอย่างมากเลยทีเดียว(ที่สำคัญอีกอย่างก็คือรองรับการใช้งานเล่นแบบออนไลน์ได้ด้วย)
Alternatives: Play! เป็นหนึ่งใน Emulator น้องใหม่สำหรับเครื่องเกม PlayStation 2 ซึ่งพัฒนามาได้ไม่นานมากเท่าไรนัก ทว่าจุดเด่นของมันนั้นก็คือมีเวอร์ชันสำหรับแพลตฟอร์มอย่าง iOS และ Android ออกมาด้วย งานนี้นั้นคงต้องให้เวลาผู้พัฒนาอีกหน่อยแต่เชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้เราจะมี Emulator สำหรับเครื่อง PlayStation 2 ดีๆ เพิ่มขึ้นมาอีกเครื่องอย่างแน่นอน
Best PlayStation Portable Emulator: PPSSPP
หนึ่งเดียวสำหรับ Emulator ของเครื่องเกม PlayStation Portable หรือ PSP นั้นคงหนีไม่พ้น PPSSPP ที่มีออกมาให้ได้ใช้งานกันทุกแพลตฟอร์มทั้ง Windows, macOS, Linux, iOS และ Android ซึ่งต้องบอกเลยว่าตัว Emulator PPSSPP นั้นมาพร้อมกับ GUI ในการใช้งานตั้งค่าต่างๆ ที่ค่อนข้างสามารถทำได้ง่ายเป็นอย่างมาก
PPSSPP นั้นไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์อื่นมาติดตั้งเพิ่มเติมยกเว้นแค่เพียงตัว ROMs ของเกมเท่านั้น ตัว PPSSPP มาพร้อมกับฟีเจอร์มากมายทั้งฟีเจอร์พื้นฐานอย่าง save states, screenshots และ cheat codes นอกไปจากนั้นยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ชั้นสูงอื่นๆ อย่างการอัดเสียงและหน้าจอระหว่างเล่นรวมไปถึงการเล่นออนไลน์
สำหรับด้านกราฟิกนั้นเรียกได้ว่าจัดเต็มมาเช่นเดียวกันโดยสามารถปรับได้หลายๆ ส่วนเช่น screen filters, VSync, upscaling, frameskip ฯลฯ ซึ่งทำให้ PPSSPP สำหรับสมาร์ทโฟนนั้นเครื่องรุ่นที่ไม่แรงมากเท่าไรนักก็สามารถที่จะเล่นได้เช่นเดียวกัน(จะยกเว้นก็แต่เกมดังอย่าง God of Wars ที่มีการใช้งานกราฟิกค่อนข้างสูงทำให้สมาร์ทโฟนที่จะสามารถเล่นได้นั้นต้องแรงพอควร)
Best Nintendo 64 Emulator: Mupen64Plus
หนึ่งในเครื่องเกมที่ใช้เวลาค่อนข้างจะนานมากๆ กว่าจะมี Emulator ดีๆ ออกมาให้ได้ใช้งานกันแบบจริงๆ จังๆ นั้นก็คือ Nintendo 64 หรือ N64 ของทาง Nintendo ซึ่ง Emulator ที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้นั้นก็คือ Mupen64Plus ที่มีให้โหลดใช้งานได้ในทุกๆ แพลตฟอร์มยกเว่นก็แค่เพียง iOS เท่านั้น
เช่นเดียวกันกับ Emulator อื่นๆ Mupen64Plus นั้นมาพร้อมกับฟีเจอร์มาตรฐานของ Emulator อย่าง save states, take screenshots และ has built-in cheats ส่วนด้านกราฟิกนั้นก็รองรับ anti-aliasing และ VSync จุดเด่นที่สุดเลยนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ Mupen64Plus รองรับการใช้งานกับผู้เล่นทั้งหมดจำนวน 4 ผู้เล่นในเวลาเดียวกัน(บนแพลตฟอร์ม Windows, macOS และ Linux)
Best Dreamcast Emulator: Redream
สำหรับสาวก Sega นั้นเครื่องเกม Dreamcast หรือ DC คงถือได้ว่าเป็นอีกเครื่องเกมหนึ่งในดวงใจที่ถึงแม้ว่าตัวเกมจะออกมาน้อยเพราะเพียงแค่ 2 ปีทาง Sega ก็ยอมแพ้และออกจากตลาดเครื่องเกมคอนโซล ทว่าเกมที่ออกมาให้ได้เล่นบนเครื่อง Dreamcast นั้นก็มีเกมดีๆ อยู่มากมายหลายเกม ทั้งนี้กว่าที่นักเล่นเกมจะได้สัมผัสเกมจากเครื่อง Dreamcast บนแพลตฟอร์มอื่นๆ นั้นก็ใช้เวลาค่อนข้างที่จะนานมากเลยทีเดียว แต่ว่ามาช้ายังดีกว่าไม่มากับ Redream ที่มีออกมาให้ใช้งานได้ทุกแพลฟอร์ม(เว้น iOS) แบบที่ไม่ต้องมานั่งตั้งค่าใดๆ เพิ่มเติม เพียงแค่หา ROMs มาเล่นก็สามารถเล่นได้เลยแถมยังรองรับการใช้งานกับหลายๆ เกมอีกด้วยหากเทียบกับ Emulator ของ Dreamcast จากผู้พัฒนารายอื่นๆ
แต่ครับแต่ Redream นั้นถึงแม้จะสามารถโหลดมาใช้งานได้ฟีทว่าทางผู้พัฒนาก็มีการกั๊กฟีเจอร์บางอย่างเอาไว้สำหรับผู้ใช้งาน Premium ที่ต้องเสียเงินเป็นจำนวน $5 หรือประมาณ 150 บาทเพื่อที่จะปลดล๊อคฟีเจอร์ดังกล่าว โดยในการซื้อนั้นเป็นการจ่ายครั้งเดียวจบและผู้ใช้จะได้รับฟีเจอร์เพิ่มเติมเช่นมี save slots สำหรับบันทึกเกมที่มากขึ้น นอกไปจากนั้นแล้วหากเครื่องคุณแรงมากพอก็สามารถที่จะเล่นเกมที่ความละเอียดระดับ 1080p และ 4K ได้อีกด้วยต่างหาก
Alternatives: นอกเหนือไปจาก Redream แล้วนั้นยังมี DEmul และ Flycast เป็นตัวเลือกทว่าหากเทียบเรื่องต่างๆ ที่ได้อธิบายไปแล้วนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะสู้กับ Redream ได้
Best Super Nintendo Emulator: Snes9x
อีกหนึ่งเครื่องเกมในดวงใจใครหลายๆ คนอย่าง Super Nintendo หรือ Super Famicom นั้นมี Emulator ออกมารองรับเป็นจำนวนมาก ทว่า Emulator ที่ดีที่สุดนั้นคงหนีไม่พ้น Snes9X ที่มีออกมาให้สามารถใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม(ยกเว้น iOS และในแพลตฟอร์ม Android นั้นจะใช้ชื่อว่า Snes9X EV+)
Snes9X นั้นมาพร้อมกับฟีเจอร์แบบครบครันแต่ฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดเลยนั้นคงหนีไม่พ้น ROM hacks ที่ให้คุณสามารถแฮกเกมได้เอง(ทว่าต้องมีความรู้ในส่วนของเลขฐาน 16 เล็กน้อย)
Alternatives: อย่างที่ได้บอกเอาไว้ว่า Emulator สำหรับเครื่อง Super Nintendo นั้นมีค่อนข้างมากแต่ทว่าก็ล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีอีกหนึ่ง Emulator ที่น่าจับตามองอย่าง bsnes-hd ที่มาพร้อมกับการชูจุดเด่นในส่วนของการรองรับการปรับภาพเป็นแบบ HD แต่ว่าตัว Emulator เองนั้นก็ยังคงไม่ค่อยจะสมบูรณ์มากเท่าไรนัก
Best Game Boy and GBA Emulator: VisualBoyAdvance
สำหรับเครื่องเกมสุดท้ายนั้นมาเป็นแพคเช่นเดียวกันกับ Game Boy, Game Boy Color และ Game Boy Advance เครื่องเกมพกพาสุดคลาสิกของ Nintendo ที่ต้องใช้ Emulator ชื่อ VisualBoyAdvance เท่านั้นในการเล่นเพราะมันดีที่สุดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ที่รองรับมากมากตั้งแต่การใส่โค๊ดโกงไปจนถึงการบันทึกไฟล์วีดีโอหน้าจอการเล่นเกม
นอกไปจากนั้นยังมาพร้อมกับ ROM hacking และ debugging tools ที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความรู้ด้านโปรแกรมสามารถที่จะแฮกเกมได้อีก ด้านกราฟิกก็มีการเพิ่ม screen filters ต่างๆ เข้ามาให้กราฟิกที่ออกมานั้นน่าเล่นมากขึ้นกว่าเดิมเป็นกอง
ยังไม่หมดแค่นั้น VisualBoyAdvance ยังมาพร้อมกับ Game Boy Printer add-on ที่ช่วยให้สามารถใช้งานร่วมกับ Dolphin emulator เสมือนการเชื่อมต่อ Game Boy Advance กับ GameCube จริงๆ ได้อีกด้วยต่างหาก
Alternatives: ข้อเสียของ VisualBoyAdvance นั้นก็คือมันรองรับแพลตฟอร์มแค่เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง Windows, macOS และ Linux เท่านั้นไม่รองรับกับสมาร์ทโฟน ดังนั้นตัวเลือกอื่นที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ mGBA ที่มีให้ใช้งานบน Android ด้วย
Best Multi-System Emulator: RetroArch
ปิดท้ายกันด้วยอภิมหาสุดยอด Emulator ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันอย่าง RetroArch ที่เป็น Emulator ที่รวมทุกๆ Emulator เอาไว้ในโปรแกรมเดียวให้คุณสามารถเล่นเกมได้ตั้งแต่เครื่อง Atari, DS, Game Boy, GameCube, MAME, NES, Nintendo 64, PlayStation, SNES, Wii และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องบอกเลยว่าหากคุณได้ลองแล้วล่ะก็รับรองจะติดใจแน่นอน
เอาจริงๆ แล้วนั้น RetroArch นั้นเสมือนกับศูนย์รวมของ Emulator ที่ตัวโปรแรกมนั้นใช้วิธีในการรวบรวมเอา Core ของ Emulator อื่นๆ เข้ามาไว้ในโปรแกรมตัวเองแล้วนำเอามาพัฒนาดัดแปลงต่อ(เฉพาะ Core จาก Emulator ฟรีเท่านั้นส่วน Core อื่นๆ ที่มีการเรียกเก็บเงินจะไม่ได้ถูกเอามารวมไว้) และอีกข้อดีที่ถือว่าแจ๋มไปสุดๆ เลยนั้นก็คือ RetroArch มีให้ใช้งานมากมายหลายแพลตฟอร์มมากๆ ตั้งแต่แพลตฟอร์มหลักอย่าง Windows, macOS, Linux, iOS และ Android นอกไปจากนั้นแล้วบนเครื่องเกมคอนโซลเองก็สามารถที่จะใช้งานได้ด้วยอีกต่างหาก
อย่างไรก็ตามใช่ว่า RetroArch จะไม่มีข้อเสียเลยเพราะ RetroArch เองนั้นทำการตั้งค่าต่างๆ ค่อนข้างที่จะยากเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับ Emulator ที่เฉพาะเจาะจงตัวเครื่องใดเครื่องหนึ่งแล้วนั้นผู้ที่จะใช้ RetroArch จำเป็นที่จะต้องศึกษาวิธีการติดตั้งให้เข้าใจก่อน ทว่าหากติดตั้งเป็นเรียบร้อยแล้วนั้นโลกของเกมก็จะอยู่ในมือของคุณเลยทีเดียว อีกจุดด้อยของ RetroArch นั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของ Core ที่จะอัปเดทค่อนข้างจะช้ากว่าผู้พัฒนาหลักเล็กน้อยทำให้เรื่องการรองรับของเกมนั้นอาจจะได้ไม่เท่ากับโปรแกรมแยกต่างหาก(อย่างเช่นเกมของเครื่อง Wii หรือ GameCube)
RetroArch นั้นสามารถที่จะตั้งค่าต่างๆ ได้เยอะมาก รองรับฟีเจอร์หลักๆ ของ Emulator ทั่วไปทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น save states, screen filters, screenshots and video recording นอกไปจากนั้น RetroArch เองนั้นยังคงมาพร้อมกับการรองรับการใช้งานร่วมกับจอยคอนโทรลเลอร์หลากหลายรูปแบบ ด้านกราฟิกนั้นก็รองรับ adjust refresh rate, display resolution, aspect ratio, VSync, anti-latency, anti-aliasing และ anti-ghosting อีกด้วย
จริงๆ แล้วนั้นในปัจจุบันนี้เรายังมี Emulator ของเครื่องเกมอย่าง Nintendo 3DS, Wii U และ Nintendo Switch ด้วย ทว่า Emulator ของทั้ง 3 เครื่องดังกล่าวนี้นั้นยังคงไม่ค่อนเสถียรมากเท่าไรนักทางเราจึงยังไม่ได้เอาขึ้นมาแนะนำ นอกไปจากนั้นแล้วด้วยความที่ Emulator นั้นค่อนข้างจะสิ่งที่อยู่ในโซนสีเทาอยู่ดังนั้นจึงต้องขออภัยทางผู้อ่านที่ไม่ได้ทิ้งลิงค์ของ Emulator แต่ละตัวไว้ให้(ทว่าท่านสามารถถามอากู๋ได้อย่างไม่อยากแน่นอน)
สรุปรวม Emulator ที่ดีที่สุดของแต่ละเครื่องประจำปี 2021
เครื่องเกมคอนโซล | Emulator |
GameCube and Wii | Dolphin |
NintendoDS | DeSmuME |
Sega Genesis | Kega Fusion |
Arcade Games | MAME |
PS1 and Sega Saturn | Mednafen |
NES | Mesen |
PlayStation 2 | PCSX2 |
PlayStation Portable | PPSSPP |
Nintendo 64 | Mupen64Plus |
Dreamcast | Redream |
Super Nintendo | Snes9x |
Game Boy and GBA | VisualBoyAdvance |
Multi-System Emulator | RetroArch |
ถึงแม้วงการ Emulator จะเป็นสีเทาๆ ทว่าก็มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างจะสูง อย่างไรก็ตามแล้วนั้นคงต้องขอเตือนท่านผู้อ่านกันอีกครั้งหนึ่งว่าถึงแม้ Emulator จะผ่านการตัดสินจากศาลในสหรัฐอเมริกาแล้วว่าสามารถทำได้ แต่ในส่วนของ ROM และ BIOS ของเครื่องต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายสิทธิบัตรอย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วต้องขอให้ท่านผู้อ่านระวังในการใช้งานไม่ควรแชร์ ROM หรือ BIOS ของเครื่องเกมต่างๆ อย่างไม่จำเป็นเพราะอาจจะทำให้ถูกฟ้องได้โดยไม่รู้ตัว
ที่มา : pcmag
อ่านบทความเพิ่มเติม/เนื้อหาที่น่าสนใจ
- เปรียบเทียบ iPhone ทุกรุ่นที่ยังวางขายอยู่ตอนนี้ รุ่นไหนยังน่าใช้งานและเหมาะกับใครบ้างในปี 2021
- ราคา iPad Pro 2021 ล่าสุดจาก Apple True AIS dtac ซื้อค่ายไหนคุ้มสุด เริ่มต้นเพียง 18,900 บาท
- เทียบสเปค Redmi Note 10 vs Redmi Note 10 5G vs Redmi Note 10S vs Redmi Note 10 Pro ทั้งซีรี่ส์แตกต่างกันตรงไหนบ้าง เรามาดูกัน
- Hands-on สัมผัสเครื่องจริง iPad Pro M1 12.9 นิ้ว พร้อม Magic Keyboard สีขาวสวยละมุน
- Hands-on สัมผัสเครื่องจริง iMac รุ่นใหม่ ดีไซน์ใหม่ หน้าจอ 24 นิ้ว ตัวเครื่องหลากสี ราคาเริ่มต้น 42,900 บาท