จากกำไรปีล่าสุดของ Apple ที่มีกำไรสุทธิถึง 65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (กำไรหลังจากหักต้นทุนเเล้ว) โดยที่มีคนคำนวณเล่นๆ ว่าถึงเเม้ Apple จะไม่ทำอะไรเลยก็ตาม ก็อยู่ไปได้ถึงปี 2018 สบายๆ เมื่อคำนวณจากค่าใช้จ่ายของบริษัทในเเต่ละปี
คราวนี้ย่อมมีคนสงสัยเเน่ ว่า Apple เอาเงินจำนวนมากเหล่านี้ไปทำอะไรบ้าง ก็มีนักเขียนนิรนามคนนึงมาตอบคำถามในเว็บไซต์ Quora ซึ่งเป็นเว็บไซต์ถาม – ตอบคล้ายกับ Google Guru หรือ Yahoo Answers ซึ่งไม่ว่าคำตอบนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ เเต่ก็ให้เหตุผลที่น่าสนใจมากทีเดียว
โดยเขากล่าวว่า Apple ลงทุนเงินเป็นจำนวนมากในการสร้างโรงงานที่ใช้ผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ผลิตชิ้นสำหรับสินค้าของตน อย่างเช่นจอ Capacitive ที่ใช้ใน iPhone รุ่นเเรก ตัวประมวลผลหรือเทคโนโลยีจอภาพใน iPhone 4 ก็เช่นกัน โดยสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อให้ผลิตตัวชิ้นส่วนออกมาได้เป็นจำนวนมาก
ข้อมูลจากกราฟเเสดงให้เห็นว่า Apple นำเงินไปใช้ลงทุนในระยะยาวเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างข้อได้เปรียบไม่ให้คู่เเข่งเลียนเเบบเทคโนโลยีของตนได้โดยง่าย
ถึงเเม้ว่า Apple จะต้องทุ่มลงเงินทุนไปเป็นจำนวนมหาศาล เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างงานที่ผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้ชิ้นส่วนที่ได้ย่อมมีราคาที่เเพงอย่างเเน่นอน เเต่ข้อเเลกเปลี่ยนในการสร้างก็คือ ?สัญญา? ที่ Apple ทำไว้กับโรงงานเพื่อให้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้กับตนเท่านั้นตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อพ้นระยะเวลานั้นไปเเล้ว ก็จะได้ราคาชิ้นส่วนที่ถูกลง ซึ่งทำให้ Apple ได้เปรียบเหนือผู้ผลิตรายอื่นสองประการคือ
- Apple จะได้สิทธิพิเศษในชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนคู่เเข่ง ทำให้สินค้าของคู่เเข่งไม่สามารถผลิตออกมาได้เพราะไม่มีชิ้นส่วนนั้นๆ ส่งผลให้สินค้าของ Apple ดูทันสมัยกว่าคู่เเข่ง ถ้าย้อนอดีตกลับไปตอนที่สมัยมี iPhone ออกมาใหม่ๆ นั้นจอ Capacitive ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดนำไปใช้กับโทรศัพท์ของตนเลย ทำให้ Apple ไม่จำเป็นต้องลดราคาเเข่งกับผู้ผลิตรายอื่นๆ เพราะไม่มีคู่เเข่งคนไหนมีของที่เท่าเทียมกัน
- ถึงเเม้ว่าจะคู่เเข่งจะสามารถมีเทคโนโลยีเเบบเดียวกันกับ Apple ได้ เเต่ Apple ก็ยังได้ราคาชิ้นส่วนที่ถูกกว่าคู่เเข่งอยู่ดีเนื่องจากมีสัญญาซื้อชิ้นส่วนเเละส่วนลดไว้ก่อนหน้าจากการลงทุนในโรงงานผลิต ถ้าใครเคยติดตามข่าวก็คงเคยได้ยินเรื่องชิ้นส่วนบางอย่างเช่น หน้าจอทัชสกรีน ที่ขาดตลาดไปบ้าง เเต่ Apple ไม่มีปัญหาเหล่านี้เลยเพราะได้จะได้ชิ้นส่วนก่อนคู่เเข่ง ซึ่งเคยมีข่าวเหมือนกันว่าที่ Playbook ต้องเลื่อนการวางจำหน่ายเพราะไม่สามารถหาชิ้นส่วนจอมาผลิต Playbook ได้ หรือเเม้กระทั่งเหตุการภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นเร็วๆ นี้ที่กระทบกับชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนเเละเเท็บเล็ตหลายๆ ตัว เเต่ Apple เองก็ไม่กระทบกับเหตุการณ์นี้เเต่อย่างใด เพราะถ้าผลิตชิ้นส่วนได้ยังไงก็ต้องมาถึงมือของตนก่อนอยู่เเล้ว
เมื่อฟังจากเหตุผลที่ว่ามาเเล้ว ก็ไม่เเปลกใจนักที่สินค้าของ Apple เมื่อเปิดตัวมาก็จะเรียกความตื่นตาตื่นใจได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจอที่มีคุณภาพสูง วัสดุเเละงานประกอบที่ดี ความบางเเละน้ำหนักของเครื่องที่เหนือกว่าคู่เเข่งเสมอ (อย่าง iPad 2) จึงดูเหมือนว่าคู่เเข่งจะต้องตามหลัง Apple ตลอด ทำให้ Apple ทำราคาสินค้าสูงกว่าคู่เเข่งได้โดยไม่กลัวที่จะขายไม่ออก หรือถึงเเม้ว่าคู่เเข่งจะสามารถหาซื้อชิ้นส่วนได้ Apple ก็ยังคงได้ต้นทุนที่ถูกกว่าอยู่ดี
ถ้าเราสังเกตดีๆ Samsung เองก็มีเทคโนโลยีชิ้นส่วนที่ผูกติดกับตัวเองเช่นกัน เช่น จอ Super AMOLED หรือตัวประมวลผลอย่าง Exynos ที่ใช้ใน Samsung Galaxy S II เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าใครได้จับมาเเล้วก็คงทราบดีว่าจอภาพเเละความเร็วของ Galaxy S II นั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้เปรียบคู่เเข่งมาก หรือว่าจะเป็น NOVA Display ใน LG Optimus Black ก็เอามาเป็นจุดขายได้ดีพอสมควรเหมือนกัน
ก็ต้องดูว่ากลยุทธ์ของ Apple ที่เหนือชั้นเเบบนี้ คู่เเข่งรายอื่นๆ จะสามารถเเก้เกมได้อย่างไร ไม่อย่างนั้นก็ยังคงต้องตามหลัง Apple ไปเเบบนี้เรื่อยๆ ครับ
ที่มา : Macrumors