นอกจากหนังสือ Steve Jobs ที่เขียนโดย Walter Issacson ที่เน้นเป็นเรื่องในมุมของของ Steve Jobs ในเชิงบุคคลเเละนิสัยส่วนตัวมากกว่ามุมมองในการจัดการเเละบริหารของ Apple ว่ามีรายละเอียดในการบริหารอย่างไรถึงทำให้บริษัทสามารถมีผลงานที่โดดเด่นกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หนังสือ inside Apple ที่เขียนโดย Adam Lashinsky ผู้ดำรงตำเเหน่งบรรณาธิการอาวุโสของ Fortune ก็ได้เชียนหนังสือเกี่ยวกับในชิ้นส่วนที่ขาดหายไปในหนังสือของ Steve Jobs ซึ่งก็คือเทคนิคเเละเเนวคิดในการบริหาร ที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามไปเเละมองว่าความสำเร็จของ Apple นั้นมาจาก Steve Jobs เเต่เพียงคนเดียว ซึ่งความเป็นจริงเป็นเพียงภูเขาน้ำเเข็งที่คนส่วนมากมองเท่านั้น
โดยหนังสือ Inside Apple จะเน้นไปที่เรื่องของระบบวิธี เทคนิคในการบริหารเเละยุทธศาสตร์ด้านความเป็นผู้นำที่สามารถทำให้ Steve Jobs นำบริษัทให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยสร้างเเรงบันดาลใจในตัวสินค้าให้เป็นวัฒนธรรมที่คนอยากใช้สินค้าขึ้นมา รวมไปถึงเเนวคิดอย่าง DRI (Direct Responsible Individual) ที่ให้ทุกกิจกรรมมีคนรับผิดชอบเเละตัดสินใจเพียงคนเดียวที่จะชี้ว่าควรจะทำสิ่งใด ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงวัฒนธรรมความเป็นเผด็จการในตัว Steve Jobs ได้บางส่วนคือถ้าคุณตัดสินใจผิดพลาด ความผิดนั้นเป็นของคุณเเต่เพียงคนเดียว เเต่ก็มีข้อดีตรงที่ยุทธศาตร์การติดสินใจจะมีความเป็นองค์รวมมากพอเเละไม่มีข้อถกเถียงในเเง่ของข้อดีเเละข้อเสียซึ่งมักจะทำให้ผลลัพธ์ออกมามีลักษณะของการประนีประนอมมากเกินไป
นอกจากนี้เเล้วยังมีในเรื่องของ ?Top 100? โดยคนที่ Steve Jobs เลือกขึ้นมาเองโดยมีลักษณะของคนที่เป็นเเกนหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือรับผิดชอบในเรื่องที่สำคัญ Steve Jobs จะคุยเรื่องไอเดียหรือประชุมในลักษณะที่มีความ ?ซีเรียส? มากกว่าปกติ โดยลักษณะการคุยหรือประชุมจะมีเป็นความลับสูงโดยไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องได้ทราบ โดยเนื้องหาการพูดคุยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของทิศทางที่ Apple จะไป เเละบางครั้งก็เป็นการเเสดงวิสัยทัศน์ของ Steve Jobs ที่อยากเห็น Apple เดินหน้าต่อไปในอนาคต โดยอดีตผู้บริหารของ Apple กล่าวว่า Stebe Jobs เคยกล่าวไว้ว่าถ้าเขาต้องไปตั้งบริษัทใหม่ คนใน Top 100 คือคนที่เขาจะเอาไปด้วยทั้งหมด โดยเเสดงให้เห็นถึงเเนวคิดว่า Jobs เชื่อในเรื่องการนำโดยคนกลุ่มน้อยของมากกว่าการฟังเสียงของคนทั้งหมดว่ามีความเห็นเเบบใดบ้าง เเละเชื่อในความสามารถของปัจเจกบุคคลที่เขาไว้ใจมากกว่าคนอื่นๆ
รายละเอียดของหนังสือยังมีในมุมอื่นๆ อย่างการเจรจากับซัพพลายเออร์หรือการเปลี่ยนเเปลงของ Apple หลังจากที่ไม่มี Steve Jobs ซึ่งตัว Jobs เริ่มโครงการ Apple University หลังจากเข้ารับการผ่าตัดครั้งที่สอง ทั้งๆ ที่เขาไม่ควรสนใจเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากก่อน โดยถึงกับจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารมาถอดประวัติชีวิตของตัวเองเป็นบทเรียนหรือกรณีตัวอย่างในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของเขาเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับพนักงานรุ่นหลังจากที่เขาไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไปเเล้ว
เเต่การศึกษาภายใน Apple University นั้นไม่ได้มีเพียงเเค่จากโมเดลของ Steve Jobs เท่านั้น ยังมีของคนอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น Tim Cook (CEO ของ Apple คนปัจจุบัน) หรือ Ron Johnson ซึ่งเคสส่วนใหญ่จะเป็นการตัดสินใจภายในเเละให้พนักงานของ Apple ได้เรียนรู้เท่านั้น เรื่องที่เรียนนั้นรวมไปถึงรายละเอียดปลีกย่อยอย่างการตัดสินใจที่จะผลิต iPhone โดยใช้เพียงโรงงานเพียงที่เดียวเท่านั้นเเทนที่จะเลือกให้หลายโรงงานช่วยกันผลิต รวมไปการตั้ง Apple Store อีกด้วยว่าต้องเข้าเงื่อนไขอะไรบ้าง
สำหรับใครที่สนใจหนังสือเล่มนี้ จะวางจำหน่ายในเวอร์ชันภาษาอังกฤษในวันที่ 25 มกราคมนี้ ส่วนภาษาไทยผมก็ไม่เเน่ใจนะครับว่าจะมีคนเเปลรึเปล่าสำหรับเล่มนี้ เพราะไม่ได้เล่นเรื่องพรสวรรค์ของ Steve Jobs ที่ดูเเล้วเท่มากกว่าเรื่องการจัดการในรูปเเบบเชิงปฏิบัติซึ่งดูเเล้วน่าตื่นเต้นน้อยกว่า
ตัวอย่างบทความที่ Adam Lashinsky เคยเขียนไว้ก่อนจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้ลองอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ
ที่มา : 9to5Mac