Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Tablet Review»รีวิว Acer Iconia W3 แท็บเล็ต Windows 8 ตัวเต็มในขนาดพกพาสะดวก
    Tablet Review

    รีวิว Acer Iconia W3 แท็บเล็ต Windows 8 ตัวเต็มในขนาดพกพาสะดวก

    ZeroSystemBy ZeroSystem29 สิงหาคม 2013Updated:30 กันยายน 2013
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    ก่อนหน้านี้ แท็บเล็ตที่ใช้งาน Windows 8 ในตลาดจะมาพร้อมกับหน้าจอขนาดไม่ต่ำกว่า 10 นิ้วด้วยกันทั้งนั้น เนื่องด้วยเป็นขนาดจอที่พอเหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในโหมดแบบ Modern UI (ที่คุ้นกันในชื่อ Metro UI) รวมไปถึงในโหมดการแสดงผลอย่างเดสก์ท็อปปกติที่คุ้นเคยกันมาใน Windows เวอร์ชันก่อนหน้า อีกทั้งวัตถุประสงค์ของแท็บเล็ต Windows 8 หลักๆ แล้วคือเพื่อการใช้งานอย่างที่เคยใช้บนคอมพิวเตอร์พีซี เช่นการพิมพ์งาน การเล่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเหมาะกับการใช้หน้าจอที่ขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องการให้พกพาสะดวกด้วย คำตอบจึงออกมาที่หน้าจอขนาด 10 นิ้วกว่าๆ เป็นหลัก

    ซึ่งทาง Microsoft เองก็ต้องการขยายตลาดแท็บเล็ตของตนให้กว้างขวางและตอบรับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น แนวทางที่เห็นได้ชัดก็คือการปรับ Windows 8 ให้สามารถแสดงผลและทำงานบนหน้าจอขนาดเล็ก ความละเอียดไม่สูงมากได้ และในที่สุดเราก็ได้เห็นแท็บเล็ตขนาดเล็กที่ใช้ Windows 8 รุ่นแรกออกมาจนได้ครับ กับ Acer Iconia W3 แท็บเล็ต Windows 8 ตัวเต็มจาก Acer ที่เปิดตัวไปครั้งแรกในช่วงงาน Computex 2013 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง SpecPhone เราก็ได้รับเครื่องมารีวิวด้วยเช่นกันครับ เอาเป็นว่าไปชมรีวิวกันเลยดีกว่า

    ตัวแพ็คเกจหลักของ Acer จะมาในกล่องสีสันสวยงาม ภายในมีอุปกรณ์ให้มาดังนี้

    • อะแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ
    • สาย USB OTG (ข้างหนึ่งเป็น Micro USB ส่วนอีกข้างเป็น USB ตัวเมีย ไว้สำหรับเสียบกับอุปกรณ์ USB อื่น)
    • แผ่น Recovery Windows 8 สองแผ่น
    • เอกสาร คู่มือการใช้งานเบื้องต้น

    ส่วนคีย์บอร์ดแยกนั้น ต้องซื้อเพิ่มเติมนะครับ เพราะไม่มีจำหน่ายรวมมากับตัวเครื่อง

    สเปค Acer Iconia W3

    • ชิปประมวลผล Intel Atom Z2760 Dual-core ความเร็ว 1.8 GHz สถาปัตยกรรม X86
    • แรม 2 GB
    • พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 32 GB เหลือใช้งานได้จริงประมาณ 9 GB
    • รองรับ microSD สูงสุด 32 GB
    • หน้าจอขนาด 8.1 นิ้ว ความละเอียด 1280 x 800
    • กล้องหลังความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
    • กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
    • แบตเตอรี่ Li-ion ความจุ 3500 mAh
    • มีพอร์ต Micro HDMI สำหรับต่อภาพออกจอใหญ่ได้
    • น้ำหนัก 500 กรัม
    • ราคา 12,900 บาท
    • สเปค Acer Iconia W3 แบบเต็มๆ
    ด้านของสเปคเครื่อง จัดว่าอยู่ในระดับเดียวกับแท็บเล็ต Windows 8 ในตลาดรุ่นอื่นๆ เพียงแต่ลดขนาดหน้าจอลงมาเหลือ 8.1 นิ้วเพื่อความสะดวกในการพกพาเท่านั้นเอง

    ตัวเครื่องโดยรวมก็ไม่ต่างจากแท็บเล็ตทั่วไปที่เราคุ้นตากัน ด้านหน้าใช้กระจกปิดไว้ทั้งหมด มีแต่ขอบขาวด้านข้างที่เป็นพลาสติก มุมซ้ายบนในแนวนอนมีโลโก้ Acer ส่วนตรงกลางจะมีกล้องหน้าและเซ็นเซอร์วัดแสงติดตั้งอยู่ เพื่อใช้ในการปรับความสว่างจอแบบอัตโนมัติ

    จอแสดงผลของ Acer Iconia W3 ใช้พาเนลเป็นแบบ TFT LCD ส่งผลให้มุมมองจอไม่กว้างนัก สังเกตจากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าสีสันของภาพในมุมตรงกับมุมเฉียงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งในการใช้งานจริงพบว่าการแสดงผลโดยรวมของจอทำออกมาได้ไม่ค่อยดี โดยเฉพาะเรื่องแสงสะท้อนจากกระจกจอที่ค่อนข้างมาก ทำให้จอแสดงผลกลายเป็นจุดด้อยของตัว Acer W3 ไป แต่ถ้าใช้งานในห้องที่มีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลังผู้ใช้ ก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาเท่าไรนัก

    ด้านการใช้งานร่วมกับ Windows 8 ตัวเต็มก็ถือว่าทำได้ดี ซึ่งถ้าเป็นในโหมดของ Modern UI อันนี้รับรองว่าไม่มีปัญหาแน่นอน ไม่ว่าจะเรื่องขนาด Tile ขนาดตัวอักษรต่างๆ สามารถอ่านได้ง่าย ทั้งยังรองรับการแสดงผลในแนวตั้งอีกด้วย ซึ่งจะเห็นประโยชน์ได้ชัดก็คือตอนอ่านหน้าเว็บยาวๆ หรืออ่านหนังสือจากแอพอ่าน e-book อ่าน PDF ด้วยหน้าจอที่ขนาดใหญ่ถึง 8.1 นิ้ว ทำให้สามารถใช้อ่านหนังสือได้สบาย

    ส่วนถ้าเป็นใน Desktop Mode แบบปกติของ Windows ที่ใช้เป็นหน้าหลักมาในหลายๆ เวอร์ชัน ตัวอักษรก็สามารถแสดงได้ค่อนข้างดี หรือถ้ารู้สึกว่าเล็กไป Windows 8 ก็รองรับการขยายสเกลหน้าจอเพื่อให้การแสดงผลต่างๆ ใช้สเกลใหญ่ขึ้นได้ด้วย แต่บรรดาหน้าต่าง ปุ่มกด ไอคอนทั้งหลาย ส่วนตัวผมยังรู้สึกว่ามันเล็กไปที่จะใช้นิ้วจิ้มจริงๆ

    ตามรูปแบบของแท็บเล็ต Windows 8 ที่จะมีปุ่มโฮมติดตั้งมาให้ ใน Acer Iconia W3 ก็มีเหมือนกันครับ ตัวปุ่มจะอยู่ทางขวาของจอ (ถ้าวางจอในแนวนอน) โดยเมื่อกดแล้วก็จะกลับมาที่หน้า Modern UI ครับ

    ฝาหลังของ Acer Iconia W3 เป็นพลาสติกเนื้อแข็งสีเทาคล้ายอะลูมิเนียม ผิวสัมผัสลื่น ทำให้เนียนมือเวลาสัมผัส ประกอบกับขอบตัวเครื่องแต่ละด้านที่โค้งมน ทำให้ฟีลลิ่งในการจับออกมาค่อนข้างดี สบายมือมากๆ มุมขวาบนของฝาหลังจะเป็นตำแหน่งของกล้องหลังและช่องรับเสียงของไมค์ตัดเสียงรบกวน ส่วนด้านล่างมีสติ๊กเกอร์ Intel Inside ที่บ่งบอกว่าใช้ชิปประมวลผลของ Intel พร้อมทั้งสติ๊กเกอร์ Windows 8 ที่บ่งบอกว่าเครื่องนี้มาพร้อม Windows 8 ตัวเต็มมาด้วย ไม่ใช่ Windows RT

    ขอบเครื่องฝั่งขวาจะเป็นตำแหน่งของลำโพงทั้งสองจุด ช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร และช่องเสียบอะแดปเตอร์สำหรับจ่ายไฟให้ตัวเครื่อง ไม่สามารถชาร์จไฟให้กับตัว W3 ผ่านทางช่อง USB ได้นะครับ

    ฝั่งซ้ายจะมีปุ่มเปิด/ปิด/ล็อคหน้าจอ ช่อง Micro USB ปิดท้ายด้วยช่อง Micro HDMI ที่สามารถต่อแสดงผลภาพออกไปยังจอภายนอกทางพอร์ต HDMI ได้ (สายเชื่อมต่อ ต้องซื้อเพิ่ม) ส่วนร่องยาวๆ ตรงกลางนั้น เป็นร่องสำหรับยึดตัวแท็บเล็ตเข้ากับ Keyboard Docking เวลาพกพา

    ด้านบนของ Acer Iconia W3 จะมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง พร้อมทั้งช่องใส่ MicroSD สำหรับเพิ่มความจุข้อมูลอยู่ ใครที่อยากดูหนัง ฟังเพลง แนะนำว่าหาใส่ MicroSD แล้วค่อยมาเสียบเข้าไป ดีกว่าเก็บไว้ในเครื่องครับ เพราะพื้นที่เก็บข้อมูลในตัวมีจำกัด เก็บไว้เฉพาะโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งานจะดีกว่า และค่อยมาหา MicroSD ใส่ข้อมูลอื่นๆ เอา

    ด้านล่างไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อหรือปุ่มใดๆ ทั้งนี้ก็เพราะการเชื่อมต่อ W3 เข้ากับคีย์บอร์ดจะใช้ผ่านทาง Bluetooth เอา หรือถ้าใครจะใช้คียบอร์ด USB ปกติก็ทำได้เช่นกันครับ ด้วยการต่อสาย USB OTG เข้ากับเครื่อง จากนั้นจึงหาคีย์บอร์ดมาต่อที่ปลายสาย USB OTG อีกที

    คราวนี้มาดูที่ dock กันบ้าง ส่วนของคีย์บอร์ดมีการสกรีนตัวอักษรภาษาไทยมาให้เรียบร้อย เลย์เอาท์ของปุ่มเป็นแบบมาตรฐานในโน้ตบุ๊ก แต่ไม่มีทัชแพดให้ เพราะเน้นให้ใช้งานจอสัมผัสแทน ด้านบนทำเป็นร่องสำหรับรองรับตัวแท็บเล็ต ไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อใดๆ เลย เนื่องจากใช้การเชื่อมต่อกับแท็บเล็ตผ่านทาง Bluetooth ใช้แบตเตอรี่แบบ AAA สองก้อน วัสดุที่ใช้ก็เป็นพลาสติกแบบเดียวกับฝาหลังของ W3 เลย

    ด้านบนของคีย์บอร์ดจะมีปุ่มเปิดใช้งานและปุ่มสำหรับ pair คีย์บอร์ดเข้ากับตัวแท็บเล็ต ซึ่งสามารถนำคีย์บอร์ดไปใช้กับอุปกรณ์อื่นอย่างเช่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเครื่องอื่นได้ด้วย สนนราคาที่ราวสองพันกว่าบาทครับ

    ด้านหลังของแผงคีย์บอร์ดออกแบบมาให้สามารถเก็บแท็บเล็ตเอาไว้ด้วยกันได้ ทำให้สะดวกต่อการพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ โดยแต่ละมุมของช่องจะมียางรองรับ ทำให้หน้าจอไม่สัมผัสกับชุดคีย์บอร์ดโดยตรง ซึ่งจุดเล็กในภาพซ้ายล่างนั้น คือสวิตช์ตัดการทำงานของปุ่มคีย์บอร์ด ถ้าหากมีของมากดสวิตช์เอาไว้ คีย์บอร์ดก็จะไม่ทำงาน ทำให้สามารถเก็บแท็บเล็ตและวางคีย์บอร์ดคว่ำหน้าลงไปได้ โดยไม่ต้องกลัวการกดโดยปุ่มโดยบังเอิญ ส่วนรูปขวาล่างนั้นก็เป็นตัวล็อกแท็บเล็ตไม่ให้หลุดจาก dock ครับ เท่าที่ลองมาก็พบว่าสามารถล็อกได้แข็งแรงดีทีเดียว

    นอกจากนี้ส่วนบนทั้งสองด้านของ keyboard dock ยังสามารถยืดเอาขาตั้งเล็กๆ ออกมาได้ด้วย เพื่อทำให้ยึดแผง dock ให้ติดกับพื้นได้มั่นคงยิ่งขึ้น

    ลองเก็บตัวเครื่อง Acer Iconia W3 เข้าไปกับ keyboard dock ดูบ้าง

    ่ทีนี้ก็ลองวางแท็บเล็ตลงบน keyboard dock แล้วใช้งานเป็นเหมือนโน้ตบุ๊กดูครับ การใช้งานโดยรวมก็ทำได้ค่อนข้างดี องศาการมองของจออยู่ในระดับกำลังพอดีสายตา แต่จะไม่สามารถปรับระดับความเอียงของแท็บเล็ตได้นะครับ ก็อาจจะมีลำบากในการใช้งานอยู่บ้างสำหรับบางท่าน การพิมพ์ข้อความทำได้สะดวกพอประมาณ แถมนอกจากนี้ยังสามารถวางเครื่องแท็บเล็ตในแนวตั้งได้ด้วย เหมาะสำหรับการใช้งานเอกสารหรืออ่านหน้าเว็บแบบยาวๆ แต่เมื่อลองตั้งเครื่องจริงๆ เหมือนกับว่าสมดุลของตัวเครื่องทั้งหมดจะเทไปด้านหลังครับ จึงต้องเพิ่มความระวังในการใช้งานมากขึ้นนิดหน่อย

    แน่นอนว่าการมาพร้อม Windows 8 ตัวเต็ม ก็ต้องมีโหมด Modern UI และหน้า Desktop ปกติให้ใช้งาน ส่วนแอพพลิเคชันนั้น สามารถใช้ได้จากแอพใน Windows Store และการติดตั้งจากไฟล์ .exe ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว

    เมื่อเปิดเครื่องมาใหม่ๆ จะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานราว 9 GB กว่าๆ ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานทั่วไป เก็บไฟล์เอกสารนิดๆ หน่อยๆ แต่ถ้าจะลงโปรแกรมหนักๆ อันนี้แนะนำว่าหา MicroSD ความจุสูงๆ หรือ External Harddisk มาต่อ แล้วลงโปรแกรมบน drive นอกจะดีกว่าลงในเครื่องครับ (แต่ถ้าจะใช้งานโปรแกรม ก็ต้องเสียบ MicroSD หรือ External Harddisk ด้วยนะ)

    ส่วนถ้าใครจะติดตั้งแอพหรือเกมจาก Windows Store คงไม่มีปัญหานัก เพราะขนาดแอพส่วนใหญ่มักจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก ใช้งานได้สบายๆ

    ลองเช็คสเปคคร่าวๆ ครับ พบว่าใช้งาน Windows 8 เวอร์ชัน 32 บิท

    คะแนนทดสอบจาก Windows Index Experience ครับ ถือว่าไม่สูงมากนัก แต่ก็อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งาน เล่นเน็ต เล่นเกมเบาๆ รับรองว่าทำได้สบาย

    ด้านบนนี้เป็นตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลังนะครับ ภาพก็อยู่ในเกณฑ์พอใช้งานได้

    เมื่อลองทดสอบด้วย Sunspider (ซ้าย) และ Browsermark (ขวา) ที่ปกติเราใช้ทดสอบในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทั่วไป พบว่า Acer Iconia W3 สามารถทำเวลาและคะแนนออกมาได้ดีมาก เรื่องของการใช้งานจริงก็อยู่ในระดับที่โอเค การเปิดโปรแกรมทำได้เร็วพอประมาณ แต่ถ้าเจอหน้าเว็บหรือโปรแกรมที่โหลดหนักๆ หน่อย ก็ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนิดนึง

    ส่วนระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ ถ้าใช้งานติดต่อกัน ก็สามารถใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมงกับรูปแบบการใช้งานทั่วๆ ไป เช่นเล่นเน็ต ฟังเพลง พิมพ์งาน ส่วนถ้าใครใช้งานบ้าง เก็บเครื่องบ้าง เสมือนว่าเป็นแท็บเล็ต Android หรือ iPad แบตเตอรี่ของตัว Acer Iconia W3 นั้นสามารถใช้งานได้เป็นวันเลยทีเดียว

    สรุปรีวิว Acer Iconia W3

    Acer Iconia W3 จัดว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ต้องการหาแท็บเล็ตสำหรับทำงานแบบพกพาได้สะดวก เนื่องด้วยขนาดหน้าจอเพียง 8.1 นิ้ว แต่ใช้งาน Windows 8 ตัวเต็ม ทำให้สามารถใช้งาน Windows ได้แทบไม่แตกต่างจากเครื่องเดส์กท็อปพีซีเท่าไรนัก หรือจะใช้สะดวกๆ ก็สามารถใช้งานในโหมด Modern UI เรียกดูแอพต่างๆ ได้อย่างสบาย แทบไม่ต้องเปิดหน้าเดสก์ท็อปก็สามารถใช้งานได้แล้ว ส่วนใครที่คิดว่าของ Acer W3 เล็กไป ก็ยังสามารถต่อเข้ากับจอใหญ่ผ่านทางพอร์ต Micro HDMI ได้อีก ทำให้ Acer Iconia W3 กลายเป็นคอมพิวเตอร์พีซีจอสัมผัสขนาดพกพาสะดวกไปได้เลยทีเดียว ในราคาเพียงหมื่นต้นๆ เท่านั้น

    ข้อดี

    • ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป
    • ใช้งาน Windows 8 ตัวเต็ม รองรับการใช้งานได้เต็มรูปแบบ
    • งานประกอบโดยรวมจัดว่าอยู่ในระดับที่ดี
    ข้อสังเกต
    • พาเนลจอทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะมุมมองของจอ
    • ข่าวดีใครซื้อ Acer Iconia W3 ตอนนี้ฟรี Keyboard dock ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 นี้

     

    Acer Phone Review tablet Windows 8
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    ZeroSystem

    Related Posts

    แนะนำ 10 แท็บเล็ต Lenovo รุ่นไหนดีในปี 2025 สเปคดี มีปากการองรับ ใช้เรียนใช้ทำงานได้คุ้มๆ

    8 พฤษภาคม 2025

    รีวิว Alldocube iPlay 50 mini และ iPlay 60 Pad Pro แท็บเล็ตตัวคุ้มที่มาขายไทยอย่างเป็นทางการ

    7 พฤษภาคม 2025

    อัพเดทราคาแท็บเล็ตซัมซุงล่าสุด 2025 ทุกรุ่น แต่ละรุ่นมีราคาเท่าไหร่บ้าง เริ่มต้นเพียง 4,990 บาท

    6 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    เปลี่ยนหน้าจอไอโฟนราคาเท่าไหร่ปี 2025 และราคาเปลี่ยนกระจกหลังไอโฟนราคาล่าสุดเท่าไหร่บ้าง

    20 พฤษภาคม 2025

    เปลี่ยนแบตไอโฟนราคาเท่าไหร่ในปี 2025 เปลี่ยนแบตไอโฟนทุกรุ่นล่าสุดเท่าไหร่บ้าง เช็คได้เลย!

    20 พฤษภาคม 2025

    แรงกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว! realme จับมือ Aston Martin จุดชนวนความเร็วระดับรถแข่ง ในรุ่นพิเศษ “realme GT 7 Dream Edition”

    20 พฤษภาคม 2025

    ลือ Samsung เตรียมอัปเกรดบานพับ Galaxy Z Fold7 และรุ่นพับ 3 ทบให้ทนทานขึ้น

    20 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X