สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ เดี๋ยวนี้จะมีแค่ความสวยงามของดีไซน์เครื่อง และฟีเจอร์เด็ดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานอย่างเดียวก็คงจะเอ้าท์ไปแล้วใช่ไหมครับ ความสวยงามเดี่ยวนี้ต้องมาพร้อมกับความทนทานด้วย เห็นได้จากสมาร์ทโฟนเดี๋ยวนี้จะเริ่มกันน้ำกันฝุ่นได้หลายรุ่นแล้ว มีตั้งแต่สมาร์ทโฟนระดับกลางไปจนถึงระดับเรือธงเลยทีเดียว
แล้วเคยสงสัยไหมครับว่าการกันน้ำกันฝุ่นของสมาร์ทโฟนที่บอกว่า ?กันน้ำกันฝุ่นตามมาตรฐาน IP_ _? ไอ้เจ้า IP ที่ว่าเนี่ย มันมีที่มาจากอะไร และเป็นมาตรฐานที่ใครตั้งขึ้น
IP หรือชื่อเต็มๆ ของมันก็คือ Ingress Protection เนี่ยเป็นมาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถความทนทาน ในการป้องกันสิ่งที่คาดว่าจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ Tablet PC หรือ Smart Phone มาตรฐาน IP นี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures – IP Code) ซึ่งการจัดอันดับของระดับการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 3 หลัก โดยความหมายของเลขแต่ละหลักมีดังนี้ครับ
- หลักที่ 1 การปกป้องจากพวกของแข็งและวัสดุต่างๆ (เช่นการกันฝุ่น)
- หลักที่ 2 การปกป้องจากเหลว (เช่น น้ำ)
- หลักที่ 3 การปกป้องจากแรงกระแทก
*หมายเหตุ การป้องกันจากแรงกระแทกหรือในเลขหลักที่ 3 ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน IEC 60529
เช่น สมาร์ทโฟนมาตรฐาน IP57 ก็จะสามารถกันได้ทั้งฝุ่น และน้ำ แต่ถ้ามาตรฐาน IPX7 แสดงว่าปกป้องตัวเครื่องจากน้ำ (กรณีของพวกซองกันน้ำ) แต่ไม่ปกป้องจากของฝุ่น เป็นต้น ส่วนการป้องกันก็จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ครับ
ความหมายของตัวเลขหลักแรก (ปกป้องจากของแข็ง)
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย?
1 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตร เช่น การเผลอแตะด้วยมือ?
2 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตร เช่น การแตะด้วยนิ้ว?
3 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ?
4 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ และสายไฟขนาดเล็ก?
5 = สามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง?
6 = สามารถป้องกันฝุ่นได้
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันน้ำหยดใส่ได้ เช่น หยดน้ำที่เกิดจากความชื้น
2 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง
3 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 60 องศาจากแนวตั้ง
4 = สามารถป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
5 = สามารถป้องกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถเปียกน้ำได้แต่ไม่นาน เช่น โดนฝน
7 = สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร
8 = สามารถใช้งานใต้น้ำได้
ความหมายของเลขหลักที่สาม (ปกป้องจากแรงกระแทก)
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = ป้องกันแรงกระแทก 0.225 จูล เช่น ของน้ำหนัก 150 กรัมตกจากที่สูง 15 เซนติเมตร
2 = ป้องกันแรงกระแทก 0.375 จูล เช่น ของน้ำหนัก 250 กรัมตกจากที่สูง 15 เซนติเมตร
3 = ป้องกันแรงกระแทก 0.5 จูล เช่น ของน้ำหนัก 250 กรัมตกจากที่สูง 20 เซนติเมตร
4 = ป้องกันแรงกระแทก 2.0 จูล เช่น ของน้ำหนัก 500 กรัมตกจากที่สูง 40 เซนติเมตร
5 = ป้องกันแรงกระแทก 6.0 จูล เช่น ของน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมตกจากที่สูง 40 เซนติเมตร
6 = ป้องกันแรงกระแทก 20.0 จูล เช่น ของน้ำหนัก 5 กิโลกรัมตกจากที่สูง 40 เซนติเมตร
ยกตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟนเครื่องหนึ่งทดสอบได้มาตรฐาน IP67 หมายความว่ามันกันฝุ่นได้และสามารถนำไปจุ่มน้ำได้ในระยะเวลาหนึ่ง ว่าแล้วเราก็มาดูตัวอย่างสมาร์ทโฟนที่ผ่านมาตรฐานเหล่านี้กันดีกว่าครับ
- Samsung Galaxy S5 มาตรฐาน IP67 (กันฝุ่นได้, จุ่มน้ำได้เล็กน้อย)
- Sony Xperia Z2 มาตรฐาน IP58 (กันฝุ่นได้เล็กน้อย, สามารถใช้งานใต้น้ำได้)
- Motorola Defy มาตรฐาน IP67 (กันฝุ่นได้, จุ่มน้ำได้เล็กน้อย)
ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของสมาร์ทโฟนที่กันน้ำกันฝุ่นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นความสามารถในการกันน้ำกันฝุ่นของสมาร์ทโฟนส่วนมากมักจะต้องทำการปิดช่องเสียบต่างๆ ให้มิดชิดเสียก่อนนะครับ ถึงจะเอาไปลุยได้ และที่สำคัญคือไม่ควรนำสมาร์ทโฟนไปจุ่มน้ำเล่น เพราะผู้ผลิตส่วนมากก็ไม่ได้รับประกันความเสียหายที่เกิดกิดจากความประมาทของผู้ใช้เอง คิดเสียว่าฟีเจอร์การกันน้ำกันฝุ่นมีไว้ให้เราอุ่นใจจะดีกว่าครับ
?
อ้างอิง : engineeringtoolbox