เป็นข่าวกันทั่วบ้านทั่วเมืองกับข่าวเเท็บเล็ต Nexus T ที่สเป็คเป็นตัว Tegra 2 หน้าจอขนาด 10 นิ้วตามพิมพ์นิยมของเเท็บเล็ต Honeycomb ทั่วๆไป ที่ว่า Nexus T จะเป็นตัวต้นเเบบของเเท็บเล็ตจาก Google ตัวใหม่เเทน Motorola Xoom ซึ่งต้นข่าวจาก Matalev ก็ยังบอกว่าเป็นเพียงการคาดการของเขาเท่านั้น จากคำใบ้ของ Twitter ของ Google Nexus ว่า PRISMATIC เเละตามมาด้วยคำใบ้ที่ว่า ?prismatic Li-ion battery? ซึ่งก็เป็นที่ฮือฮากันไปว่ามันคือเเบตเตอรี่อะไรกันเเน่ เเละดันมีอ้างอิงไว้อีกว่าใช้งานได้นานกว่าเดิมสามเท่า ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเทียบกับอะไร เเต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ Prismatic Battery มารู้จักกับประเภทของเเบตเตอรี่กันดีกว่าครับ : )
1.เเบตเตอรี่ทรงกระบอก (Cylindrical Cell Batteries)
เเบตเตอรี่เเบบนี้ที่เราเห็นอยู่กับโน้ตบุคทั่วไป หรือถ่านชาร์จประเภทต่างๆ เทคโนโลยีการเก็บพลังงานก็จะมีสองเเบบคือ Ni-cd (Nickle-cadmium) หรือ NiMH (Nickle-Metal Hydride) รวมไปถึงเเบบ Li-ion (Lithium ion) อีกด้วยซึ่งเเบตเตอรี่เหล่านี้เป็นถูกใช้งานกันมากกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทั้งหลายที่ไม่ต้องการความบางมาก นอกจากนี้ยังสามารถผลิตได้ง่ายเเละเสถียร จุดเด่นของมันคือมีราคาไม่เเพงนักเเละเก็บพลังงานได้สูง เเละยังมีการระบายความร้อนที่ดีเนื่องจากมีผิวสัมผัสมาก
2. เเบตเตอรี่เเบบเเท่ง (Prismatic Cell Batteries)
จากข้อเสียของเเบตเตอรี่เเบบทรงกระบอกที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กอย่างโทรศัพท์ เเบตเตอรี่เเบบเเท่งนี้ถูกพัฒนามาเพราะว่าความต้องการขนาดเเบตเตอรี่ที่เล็กลง ซึ่งส่วนใหญ่เเบตเตอรี่เเบบ Lithium จะใช้ทรงเเบบเเท่งนี้เป็นหลัก ซึ่งก็พบได้ทั่วไปทั้งในสมาร์ทโฟนทั่วไปทุกเเบรนด์ในตอนนี้ เป็นของที่เราพบกันทุกวันนั่นเอง
อย่างที่เห็นว่า prismatic นั้นเป็นเพียงรูปเเบบของทรงเเบตเตอรี่เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับการเก็บประจุไฟในเเบตเตอรี่เเต่อย่างใด ส่วนชนิดของเซลเเบตเตอรี่ภายในมีดังนี้ครับ
- Ni-cd (Nickle-cadmium)
เเบตเตอรี่เเบบ Ni-Cd เเบบเก่าซึ่งมีความจุกระเเสไฟไม่มากนักโดยกระเเสไฟที่จุได้อยู่ตั้งเเต่ประมาณ 600 ? 1300 mAh เเละสามารถชาร์จได้จำนวนหลายพันครั้ง เเต่ข้อเสียคือปัญหาเรื่อง ?Memory Effect? ที่จะทำให้ความจุกระเเสไฟลดลงถ้าเราชาร์จเเบตเพิ่มขณะที่เเบตนั้นยังมีพลังงานเหลืออยู่ ดังนั้นเราจะต้องทำการ Discharge เพื่อคายประจุออกก่อน หรือต้องใช้เเบตจนพลังงานหมดจึงชาร์จเพิ่มเพื่อให้เเบตเตอรี่มีความจุที่เหมาะสม
- Ni-MH (Nickle-Metal Hydride)
จุดเด่นของ Ni-MH นั้นคือกระเเสไฟฟ้ามีความจุมากกว่า Ni-cd ที่จุกระเเสไฟได้มากถึง 4,600 mAh ส่วนการใช้งานนั้นจำเป็นต้องมีประจุอยู่ในเเบตเตอรี่บ้างไม่ให้เเบตเสื่อม (ต่างจากอันเเรก) ดังนั้นการ Discharge จึงไม่ควรทำกับเเบตเตอรี่ประเภทนี้ จุดอ่อนของเเบตประเภทนี้คือมีการคายประจุที่เร็วถึงเเม้ไม่ได้ใช้งาน อีกทั้งถ้าเราชาร์จเเบตมากเกินไปอาจจะทำให้เเบตเสื่อมได้ มีปัญหาเรื่อง Memory Effect บ้างเเต่ไม่ร้ายเเรงเท่า Ni-cd
- Li-on (Lithium ion)
เเบตเตอรี่เเบบ Li-ion นี้เป็นมาตรฐานของเเบตเตอรี่ของเเท็บเล็ตเเละสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ซึ่งความจุของมันนั้นทำได้สูงสุดถึงเกือบ 7,000 mAh (ขึ้นอยู่กับขนาดของเเบตเตอรี่)ข้อดีของ Battery เเบบ Li-ion คือเวลาชาร์จไฟเข้าจะนับเป็นจำนวนรอบ ไม่ใช่จำนวนครั้ง คือเมื่อเวลาเราชาร์จครั้งเเรกจำนวน 20% ชาร์จครั้งที่สองอีก 40 % ครั้งที่สามอีก 40% การชาร์จทั้งสามครั้งนี้จึงจะนับเป็น 1 รอบ ดังนั้นเเบตเตอรี่เเบบนี้จะไม่มีปัญหาเรื่อง Memory Effect
อุปกรณ์ที่ใช้เเบตเตอรี่เเบบนี้เราจึงสามารถชาร์จได้ตลอดเมื่อต้องการ เราสามารถชาร์จได้บ่อยเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องกลัวเเบตเสื่อม ข้อเสียของเเบตประเภทนี้คือมันจะเสื่อมไปตามเวลาถึงเเม้เราจะไม่ได้ใช้งานมันก็ตาม ดังนั้นเวลาผ่านไปเรื่อยๆมันก็จะเก็บประจุได้น้อยลงครับ โดยเวลาทั่วไปจะอยู่ได้ประมาณสองถึงสามปี อีกทั้งยังมีการคายประจุที่น้อยกว่า Ni-MH อีกด้วย ข้อควรระวังของเเบตเตอรี่เเบบนี้คือไม่ควรใช้ให้หมดเเล้วจึงชาร์จเพราะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ภายในเพิ่มขึ้น
- Li-poly (Lithium ion Polymer)
เเบตเตอรี่ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ในเเบตเตอรี่ของ Sony Ericsson เเละผลิตภัณฑ์จาก Apple ทั้งหลาย ซึ่งความเป็นจริงเเล้วเราจะเรียกเเบตเตอรี่นี้ว่า Lithium ion Polymer เนื่องจากไม่สามารถใช้ Lithium Polymer โดยตรงได้เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิที่สูงในการนำประจุ (รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ที่ thaicharger) ข้อดีของเเบตเตอรี่เเบบนี้คือมันมีความบางมาก เเละสามารถผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งต่างกับตัว Li-ion เเบบธรรมดาที่มีมาตรฐานขนาดของมันเอง สาเหตุที่ทำให้สินค้า Apple หลายตัวมีความบางอย่างไม่น่าเชื่อเนื่องจากใช้เเบตเตอรี่เเบบนี้ครับ ส่วนข้อเสียคือมันเก็บประจุพลังงานได้ต่ำกว่า Li-ion ที่ขนาดเท่ากัน เเละยังมีราคาเเพงอีกด้วย เราจะเห็นสินค้าพวกที่ใช้เเบตเตอรี่เเบบ Li-Poly มีราคาเเพงกว่าสินค้าเเบบปกติทั่วไปครับ เเละมีข้อดีเหมือนกับ Li-ion ทุกประการ
สรุปเเล้ว Prismatic Battery ใน Nexus T คือ?
Prismatic Battery ไม่ใช่เรื่องใหม่เเต่อย่างใดเพราะเป็นรูปเเบบหนึ่งของเเบตเตอรี่ที่เราใช้กันอยู่เท่านั้น? ส่วนความสามารถของตัว Nexus? T ที่ว่าใช้งานได้ยาวกว่าเดิมสามเท่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ยังต้องพิสูจน์ต่อไปเพราะไม่รู้ว่าเทียบอะไรกับอะไรว่าเเบตเตอรี่ใช้งานได้ต่างกว่ากัน 3 เท่า เพราะ Prismatic เป็นเพียงรูปทรงของเเบตเตอรี่ทั่วไปเท่านั้น เเต่ถ้าคำว่า Prismatic กลายเป็นคำที่เป็นลูกเล่นทางการตลาดของการผลิตเเบตเตอรี่เเบบใหม่ก็คงเป็นหนังอีกม้วนไปเหมือนกับพวกจอ Super AMOLED กับจอ OLED ครับ ในงาน Google I/O ที่จะถึงนี้คงมีคำเฉลยให้เรากันครับ : )