จอเบิร์นคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้ไขพร้อมป้องกันเบื้องต้นได้อย่างไรบ้างในปี 2022

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร fea

จอเบิร์นคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้ไขพร้อมป้องกันเบื้องต้นได้อย่างไรบ้างในปี 2022

หลายคนที่ใช้มือถือระดับกลางไปจนถึงระดับเรือธงที่มีหน้าจอเป็น OLED ไม่ก็พวก AMOLED ทั้งหลายน่าจะต้องเคยพบกับปัญหาหน้าจอมีลายสกรีนค้างขึ้นมา หรือในภาษาบ้านๆ ที่เรียกกันว่าหน้าจอ Burn-in กันอย่างแน่นอนเมื่อใช้งานมานาน หรือว่าใช้งานหนักในที่แสงจ้าตลอดเวลา ซึ่งเรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก และก็สามารถป้องกันได้ไม่ยากเช่นกัน ถ้าหากไม่อยากเปลี่ยนจอใหม่ หรือว่าพบกับความรำคาญของหน้าจอซ้อนกันหลายภาพก็ควรที่จะต้องป้องกันเอาไว้ดีกว่ามาแก้ทีหลัง แต่สำหรับใครที่เจอกับปัญหาเหล่านี้เข้าให้แล้ว และอยากรู้ว่ามีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรบ้าง เพื่อให้หน้าจอกลับมาใช้งานได้ปกติอีกครั้ง วันนี้ทาง Specphone จะพาไปทำความรู้จักกับหน้าจอเบิร์นคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้ไขพร้อมกับป้องกันเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง ถ้าไม่อยากให้เกิดขึ้นกับหน้าจอของเราในปี 2022 ตามไปดูกันได้เลย


จอเบิร์นคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร 2

มาเริ่มทำความรู้จักกับหน้าจอเบิร์น หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า Screen Burn-in นั้นก็คือหน้าจอที่เกิดอาการภาพค้าง หรือว่าเป็นภาพซ้อนจางๆ เหมือนมีลายน้ำติดที่หน้าจอ และค้างอยู่บนหน้าจอตลอดเวลา ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปดูอย่างอื่น หรือว่าเปิดแอพอื่นๆ ไปแล้วแต่รอยจางเหล่านี้ก็ยังติดอยู่ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการที่เราเปิดหน้าจอมือถือเอาไว้เป็นเวลานาน เปิดหน้าจอสว่างมากๆ เป็นเวลานาน หรือเปิดจอค้างไว้ในขณะที่มีแสงจ้าอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างง่ายๆ ก็อย่างเช่นการเปิด GPS แล้ววางไว้หน้ารถนานๆ (ประสบการณ์จริงที่เจอมาเลยด้วย) ทำให้เม็ดพิกเซลบนหน้าจอ LED ที่ตัวกำเนิดแสงสีน้ำเงินน้อยกว่าสีเขียวและแดง สีน้ำเงินจึงต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงเพื่อให้ความสว่าง และทำให้เสื่อมสภาพเร็วกว่าสีอื่นจนเกิด Burn-in ทำงานได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม หรือทำงานผิดปกติไปจนถึงเสื่อม จนทำให้เกิดภาพซ้อนอยู่ที่เดิมตลอดเวลานั่นเอง

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร 1

ซึ่งอาการ Burn-in หรือ Screen Burn-in ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นกับหน้าจอของมือถือระดับกลางไปจนถึงระดับเรือธง ที่มีหน้าจอเป็นแบบ OLED, LCD, Super AMOLED หรือจำพวก AMOLED ทั้งหลายมักจะพบเจอกับปัญหานี้บ่อยๆ แต่ทั้งนี้หน้าจอที่เป็น IPS นั้นก็มีโอกาสที่จะเกิด Burn-in ได้เหมือนกัน ถ้าเปิดค้างไว้ในที่แสงจ้าเป็นเวลานานมากๆ แต่อาจจะเกิดได้ยากกว่าจอ OLED หน่อย และปกติก็ไม่ค่อยจะเจอกับ IPS ด้วยหากไม่ใช้งานหนักและเปิดไว้นานมากจริงๆ และถึงแม้ว่าในสมัยนี้จะมีการพัฒนาหน้าจอให้ดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีหลายๆ คนเจอกับปัญหาเหล่านี้อยู่ดี ดังนั้นเราจึงควรป้องกันเอาไว้ก่อนจะดีที่สุด หรือใครที่เจอกับปัญหานี้และอยากลองแก้ไขเบื้อต้นก็ลองทำตามวิธีที่เราจะนำมาฝากได้เลย


หน้าจอเบิร์นมีวิธีแก้ไข และวิธีป้องกันเบื้องต้นอย่างไรได้บ้าง

ก่อนอื่นที่เรามาดูวิธีแก้ไขเบื้องต้นกันก่อนเลย ที่ต้องบอกก่อนว่าวิธีเหล่านี้อาจจะพอช่วยได้บ้าง อาจจะมีคนที่ทำแล้วหาย หากยังไม่ได้ Burn-in มาเป็นเวลานาน และก็มีคนที่ลองทำตามวิธีเหล่านี้ก็ยังไม่หาย เนื่องจากหน้าจอได้เสื่อมไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ถ้าใครที่ลองทำตามวิธีทั้งหมดนี้แล้ว แต่หน้าจอยังไม่หาย Burn-in ก็แนะนำว่าให้เข้าไปหาศูนย์บริการของยี่ห้อที่ใช้งาน และทำการเปลี่ยนหน้าจอไปเลยจะดีที่สุด แต่ถ้าใครลองทำแล้วมันมีอาการ Burn-in จางลงไปบ้างและอยากใช้ต่อก็อาจจะพอใช้งานต่อได้ ถ้าคิดว่าไม่ได้สร้างความรำคาญให้ตัวเองมากเท่าไหร่นัก และถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะเกิดจากตัวฮาร์ดแวร์เป็นหลัก แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นจากตัวซอฟต์แวร์ได้เหมือนกัน (แต่น้อยนะ) เราลองไปดูกันดีกว่าว่ามีวิธีทำเบื้องต้นอย่างไรได้บ้าง

1. ปิดเครื่อง หรืออัพเดทระบบปฏิบัติการณ์

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร 3

อย่างที่บอกไปว่าบางครั้งที่หน้าจอ Burn-in นั้นอาจจะเกิดขึ้นจาก Bug ตัวระบบที่ไม่ได้มีการอัพเดทได้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นถ้าหากจู่ๆ แล้วเกิดอาการ Burn-in ขึ้นมาก็แนะนำว่าให้ดูเวอร์ชั่นของระบบที่ใช้งานอยู่ ว่ามีการอัพเดทเป็นล่าสุดหรือยัง แต่ถ้าหากว่าอัพเดทเวอร์ชั่นทุกอย่างเป็นล่าสุดแล้ว หน้าจอเกิด Burn-in ขึ้นมาไม่นานแล้วเราสังเกตเห็นทัน ให้ฃองปิดเครื่องเพื่อพักสีของหน้าจอเอาไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรืออาจนานเป็นวันเลยก็ได้ แต่ถ้าหากเปิดเครื่องแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นมาก็ให้ลองวิธีอื่นๆ แทน

2. ใช้แอพในการช่วย

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร 4
อย่าจ้องนานนะ มึนหัวและสายตาเสียด้วย ห้ามเด็ดขาด

การใช้แอพในการช่วยแก้ Burn-in นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำได้ง่ายๆ และไม่ต้องเสียเงินด้วย เพราะว่าหลายๆ แอพที่ทำขึ้นมาก็สามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ เลย แต่ต้องบอกก่อนว่าแต่ละแอพนั้น อาจจะเหมาะและไม่เหมาะกับบางรุ่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนจะทำการแก้ Burn-in ก็ให้ทดลองโหลดมาแล้วกดทดสอบดูก่อน เพื่อดูว่าแอพเหล่านั้นแก้ได้เต็มหน้าจอ หรือว่าแก้ได้เฉพาะบางส่วนของหน้าจอ ตัวอย่างแอพที่แนะนำก็เช่น LCD Burn-in Wiper, Ghost Screen Fix – Burn-In, Burnin Wiper, Dead Pixels Test and Fix และอื่นๆ หรือให้ค้นหา Burn in Fixer ใน Appstore, Play Store ก็ได้ หรืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่หน้าจอไม่ได้เบิร์นทั้งหน้าจอ ก็สามารถค้นหาใน Youtube ว่า Burn in Fixer เพื่อเปิดวิดีโอดูเต็มจอก็ได้เหมือนกัน

**ส่วนระยะเวลาที่จะทำให้หายหรือดีขึ้นก็ขึ้นอยู่กับว่าหน้าจอเรา Burn-in มากน้อยแค่ไหน บางเครื่องอาจจะใช้เวลาหลายขั่วโมง และทำต่อเนื่องหลายๆ วันเลยทีเดียว แต่ถ้าทำทุกทางแล้วยังไม่หายก็แนะนำว่าให้เข้าศูนย์เพื่อเปลี่ยนหน้าจอไปเลยดีกว่า**

วิธีป้องกันหน้าจอเบิร์นเบื้องต้น

สำหรับการป้องกันเอาไว้เบื้องต้นเพื่อไม่ให้เราต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่เคยเจออาการนี้มาก่อนก็ดูวิธีป้องกันเอาไว้เนิ่นๆ ก่อนจะดีที่สุด มีวิธีป้องกันเบื้องต้นได้ดังนี้

จอเบิร์นเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ป้องกัน คืออะไร 5

ไม่ควรเปิดหน้าจอทิ้งไว้นานๆ เนื่องจากการเปิดหน้าจอด้วยภาพเดิมๆ ทิ้งไว้อย่างการเปิด GPS, เปิดวิดีโอ หรือเล่นเกมที่หน้าจอนั้นค้างที่เดิมตลอดเวลามีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เกิดอาการ Burn-in ได้ง่ายๆ ควรเปิดดูอย่างอื่นหรือเปลี่ยนเป็นภาพอื่นๆ ไม่ก็ปิดเพื่อพักไปก่อนก็ได้

ไม่ควรเปิดหน้าจอสว่างสูงสุดตลอดเวลา เพราะว่าการเปิดแสงสว่างหน้าจอตลอดเวลานั้น จะเป็นการเร่งให้เกิดอาการ Burn-in ได้สูงทีเดียว ยิ่งถ้าเปิดจอค้างไว้ในที่แสงจ้าเป็นเวลานานก็ยิ่งทำให้เกิด Burn-in ได้เลย ควรเปิดเพียง 40-50%

พักหน้าจอบ้าง ด้วยการปิดล็อคหน้าจอหรือว่าตั้งเวลาปิดหน้าจออัตโนมัติให้ไวขึ้น ไม่ควรเปิดทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะนอกจากจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ Burn-in แล้วยังเปลืองพลังงานของมือถือด้วย

เปิด Auto-Brightness ช่วยได้อีกทาง เนื่องจากหน้าจอจะมีการปรับความสว่างให้อัตโนมัติ ทำให้เราไม่ต้องมาคอยปรับเอง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นมือถือด้วยว่ามีฟีเจอร์นี้หรือไม่

สำหรับมือถือที่มีฟีเจอร์ปิดตัวนำทางด้านล่างของระบบ Android แนะนำให้ปิดการใช้แถบนำทางที่ค้างอยู่ตลอดเวลา ก็จะเป็นตัวช่วยอีกทางที่ไม่ทำให้หน้าจอมีแถบลูกศรนำทางค้างไว้ได้ด้วย

ใช้แอพหรือเปลี่ยนการทำงานของระบบให้เป็น Dark Mode ก็จะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย


โดยส่วนใหญ่แล้วการป้องกันก็คือการใช้งานของหน้าจอล้วนๆ เลย เนื่องจากการใช้งานแบบซ้ำๆ หรือเปิดหน้าจอเป็นเวลานานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Burn-in ได้สูงมาก ยิ่งถ้าเปิดในที่แสงจ้าหรือเปิดค้างไว้นานๆ ก็เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หน้าจอ Burn-in ได้เลยทีเดียว ซึ่งตัวแอดเองก็เคยพบเจอกับอาการ Burn-in เนื่องจากเปิด GPS นำทางเป็นระยะเวลานาน และได้ลองแก้ไขด้วยแอพ Burn-in Fixer แล้วเหมือนกัน แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาพักหนึ่งแบบหลายวันเลยทีเดียว เพราะจอ Burn-in มานานมากแล้ว แต่ถ้าทำยังไงแล้วไม่หายสักที หรือแก้ทุกทางก็ยังไม่ได้ ก็แนะนำว่าให้เข้าศูนย์เปลี่ยนหน้าจอไปเลยจะดีที่สุด แล้วถ้ามีเรื่องไหนน่าสนใจอีก เราก็จะนำมาฝากกันเรื่อยๆ เลยนะครับ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก