Pixel Binning คำๆ นี้เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงไม่ค่อยได้ยินกันมากเท่าไรนัก ทว่าเจ้า Pixel Binning นี้นั้นอยู่คู่กับผู้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างเราๆ ท่านๆ มาโดยตลอดเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ชอบถ่ายรูปด้วยแล้วล่ะก็ รับรองว่าท่านจะต้องได้สัมผัสกับ Pixel Binning มาแล้วกันอย่างแน่นอน วันนี้เราขอมาแนะนำ Pixel Binning ให้ทุกท่านได้รู้จักกัน
คำว่า Pixel Binning นั้นพึ่งจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีหลังที่ผ่านมานี้ ทว่าในวงการนักถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์ชริดอื่นนั้นคงต้องบอกเลยว่าคำว่า Pixel Binning นั้นมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางมาอย่างเนิ่นนานแล้ว Pixel Binning นั้นเป็นเทคนิคกระบวนการที่จำทำให้ภาพหลังจากการถ่ายมีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งเทคนิค Pixel Binning นั้นค่อนข้างเป็นเทคนิคที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานจนทำให้เป็นที่นิยมชื่นชอบของนักถ่ายรูปเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะขอนำเสนอเบื้องลึกเบื้องหลังและสาเหตุที่ว่าทำไมเทคนิค Pixel Binning นั้นถึงได้เข้ามาอยู่บนการถ่ายภาพของสมาร์ทโฟน จะเป็นเช่นไรนั้นไปติดตามกัน
- ต้นกำเนิดของเทคนิค Pixel Binning
- แนวคิดของเทคนิค Pixel Binning
- มีผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์ไหนบ้างที่ใช้เทคนิค Pixel Binning นี้อยู่
- Pixel Binning จะถูกใช้งานไปได้อีกนานแค่ไหน
ต้นกำเนิดของเทคนิค Pixel Binning
ก่อนที่เราจะเข้าใจเทคนิค Pixel Binning ได้นั้นเราต้องเข้าใจธรรมชาติของการเก็บรูปภาพผ่านเลนส์กล้องที่บนตัวกล้องนั้นจะมีเลนส์สำหรับรับรูปภาพเข้าไปยังเซนเซอร์ที่อยู่บนกล้อง บนเซนเซอร์ดังกล่าวนั้นจะมี Pixel เล็กดๆ อยู่มากมายเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการจับและแยกแสงของสิ่งที่ถูกถ่ายเข้ามาผ่านทางกล้องนั้นๆ บนเซนเซอร์กล้องนั้นจะมี Pixel อยู่จำนวนหลายล้าน Pixel ขึ้นอยู่กับขนาดของ Pixel(มีหน่วยเป็น micron ที่มีขนาดเล็กมากๆ) ซึ่งเซนเซอร์แต่ละชนิดก็จะมีจำนวน Pixel ไม่เท่ากัน
ด้วยความที่ขนาดของ Pixel ไม่เท่ากันนั้นเองทำให้ในเซนเซอร์ที่ถูกนำมาใช้ประกอบเป็นเลนส์กล้องสมาร์ทโฟนจึงมี Pixel ขนาดที่แตกต่างกันไปตัวอย่างเช่นบน Samsung Galaxy S21 ในส่วนของเซนเซอร์หลักจะมี Pixel ขนาด 1.8-micron pixels หรือ Xiaomi Mi 11 Ultra ในส่วนของเซนเซอร์หลักจะมี Pixel ขนาด 1.4-micron pixels และ OnePlus 9 ในส่วนของเซนเซอร์หลักจะมี Pixel ขนาด 1.12-micron pixels
หมายเหตุ – Pixel โดยปกติทั่วไปจะมีคำเรียกอีกอย่างคือโฟโต้ไซด์ (Photosites)
ทีนี้กลับมาดูกันว่า Pixel นั้นควรที่จะมีขนาดใหญ่หรือมีขนาดเล็กดี โดยปกติทั่วไปแล้วนั้นคงต้องตอบว่า Pixel ขนาดใหญ่นั้นจะดีกว่าเพราะว่ามันสามารถที่จะจับแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามาได้ดีมากกว่า Pixel ขนาดเล็ก การที่เซนเซอร์สามารถที่จะรับแสงได้มากๆ นั้นหมายความว่าคุณภาพของภาพจะมากยิ่งขึ้นทั้งในที่ที่มีแสงสว่างมากหรือกระทั่งที่ที่มีแสงน้อย ลองนึกถึงการถ่ายภาพเมื่อคุณอยู่ในที่มืดๆ ดูอย่างเช่นอยู่ในร้านเหล้าตอนกลางคืน, อยู่ในที่ๆ มีสภาวะหมอกลงจัด หรือแม้กระทั่งอยู่ในประเทศที่มีพายุทรายโหมกระหน่ำจนทำให้ทัศนียภาพไม่เหมาะสม หาก Pixel ในเซนเซอร์มีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งสามารถที่จะเก็บภาพต่างๆ เหล่านั้นได้คมชัดมากขึ้น
แต่ทว่าการจะนำเอา Pixel ใหญ่ๆ ที่สามารถเก็บแสงได้ดีๆ ไปใส่ไว้บนเซนเซอร์ของกล้องสมาร์ทโฟนนั้นก็ดูจะไม่เหมาะเท่าไรเพราะหลักการทำเซนเซอร์สำหรับสมาร์ทโฟนนั้นจำเป็นที่จะต้องเน้นให้มีขนาดเล็กเข้าไว้ก่อนเพื่อที่จะสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบกับตัวสมาร์ทโฟนให้ออกมาได้ตามแบบดีไซน์ที่แบรนด์ต้องการ ถ้าจะเอาเซนเซอร์ที่มี Pixel ขนาดใหญ่มากๆ มาใช้งานกับสมาร์ทโฟนจริงเราคงได้เห็นสมาร์ทโฟนที่มีด้านหลังเป็นเซนเซอร์กล้องใหญ่ๆ ปูดๆ โปนๆ กันแน่
ทีนี้เราก็จะเห็นปัญหาของเลนส์กล้องบนสมาร์ทโฟนกันแล้วนั่นเองว่ามันไม่สามารถที่จะเลือกเอาเซนเซอร์ที่มีการใส่ Pixel ใหญ่ๆ มาใช้งานได้ทันทีเพราะต้องมีการผ่านกระบวนการดีไซน์ ความเหมาะสม อัตราการใช้พลังงาน ฯลฯ อีกมากมาย ครั้นจะแก้ด้วยการใช้ Pixel บนเซนเซอร์ของกล้องสมาร์ทโฟนให้น้อยลงก็จะไปทำให้ความละเอียดของเซนเซอร์ลดลงตามไปด้วย หรือถ้าจะเพิ่ม Pixel ในเซนเซอร์ให้มากขึ้นกว่าเดิมเราก็ต้องทำให้ Pixel มีขนาดเล็กลงมากกว่าในปัจจุบันถึงจะสามารถใช้กับเซนเซอร์กล้องสำหรับสมาร์ทโฟนได้แต่นั่นก็ทำให้เซนเซอร์กล้องมีขนาดใหญ่มากขึ้นตามแล้วจะไปทำให้ผู้ออกแบบดีไซน์ของตัวสมาร์ทโฟนได้ปวดหัวกับการวางตำแหน่งกล้องอยู่ดี(แถมยิ่งลดขนาด Pixel ก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการเก็บแสงของ Pixel ลดตามไปด้วยอีก)
ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคสำหรับการถ่ายภาพด้วยกล้องสมาร์ทโฟนออกมากอย่างมากมายซึ่งที่นิยมใช้กันอย่างหลากหลายในปัจจุบันนี้นั้นก็คือเทคนิคที่มีชื่อเรียกว่า Pixel Binning นั่นเอง
แนวคิดของเทคนิค Pixel Binning
Pixel Binning นั้นมีหลักการง่ายๆ ก็คือมันจะทำการรวมเอา pixel จำนวน 4 pixel เข้ามาเป็น 1 pixel ด้วยวิธีดังกล่าวนี้เองนั้นทำให้ถึงแม้ว่าเซนเซอร์กล้องจะมาพร้อมกับ Pixel ขนาดเล็กเช่นมีขนาดอยู่ที่ 0.9 micron แต่เมื่อทำการประมวลผลเรียบร้อยแล้วนั้นจะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพเปรียบเทียบได้กับเซนเซอร์กล้องที่มีขนาด Pixel อยู่ที่ 1.8 micron ได้แบบสบายๆ
หากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือให้คุณลองคิดว่าเซนเซอร์กล้องสมาร์ทโฟนเป็นสนามหญ้า ส่วน Pixel เป็นถังเก็บน้ำ เวลาที่ฝนตกคุณสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะใช้ถังเก็บน้ำขนาดเล็กหรือใหญ่ในการเก็บน้ำ บางท่านอาจจะเลือกใช้ถังเล็กๆ หลายใบเพื่อที่จะทำการเก็บน้ำ ส่วนบางท่านก็อาจจะเลือกถังใบใหญ่แค่ไม่กี่ถึงเพื่อทำการเก็บน้ำ(เพื่อให้ได้น้ำในปริมาณที่เท่ากันโดยไม่สนใจระยะเวลาในการเก็บน้ำ) เทคนิค Pixel Binning ก็มีบลักษณะคล้ายๆ การเก็บน้ำด้วยถังน้ำใหญ่ๆ แค่ไม่กี่ถังเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำที่ต้องการนั่นเอง
ถึงแม้ว่าวิธีการ Pixel Binning ดูมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทว่ามันก็มาพร้อมกับข้อเสียที่ยิ่งใหญ่ซึ่งนั่นก็คือเทคนิค Pixel Binning จะทำให้ความละเอียดของภาพที่ได้รับลดลงจากความละเอียดของเซนเซอร์ 4 เท่า ตัวอย่างเช่นหากเซนเซอร์มีความละเอียดอยู่ที่ 48MP ภาพที่ถ่ายด้วยเทคนิค Pixel Binning จะมีความละเอียดเหลืออยู่ที่ 12MP หรือถ้าเซนเซอร์มีความละเอียดอยู่ที่ 64MP ภาพที่ได้ก็จะมีความละเอียดลดลงเหลืออยู่ที่ 16MP เท่านั้น แน่นอนว่าถ้าหากเซนเซอร์ของกล้องมีความละเอียดสูงภาพที่ได้ผ่านเทคนิค Pixel Binning ก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรสักเท่าไรนัก แต่หากลองคิดถึงเซนเซอร์ที่มีความละเอียดต่ำอยู่แล้วเช่น 16MP ภาพที่ได้ก็จะมีความละเอียดลดลงเหลือแค่เพียง 4MP เพียงเท่านั้น
เทคนิค Pixel Binning นั้นได้รับประโยชน์เต็มๆ มาจากการที่บนเซนเซอร์นั้นมีการติดตั้งชั้นที่เรียกว่า bayer filter จำนวน 4 ชั้นซึ่งทำหน้าที่ในการเป็นกรองสีสำหรับใช้งานในเซนเซอร์ของกล้องดิจิทัล ซึ่งเจ้า bayer filter นี้จะอยู่ด้านบนของ Pixel อีกทีหนึ่ง โดย bayer filter นั้นจะคอยแยกกันจับภาพตามสีอันประกอบไปด้วยสีแดง, สีเขียวและสีน้ำเงิน
โดยปกติทั่วไปแล้วนั้น bayer filter มาตรฐานจะแบ่งกันกรองสีทั้ง 3 โดยจะทำการกรองสีเขียว 50%, กรองสีแดง 25% และกรองสีน้ำเงิน 25% สาเหตุที่เป็นเช่นนี้นั้นอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพของ Cambridge in Color บอกเอาไว้ว่าการกรองของ bayer filter นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมือนกันกับรูปแบบการแยกสีด้วยตาของมนุษย์ซึ่งจะรู้สึกไวต่อเสียงสีเขียวเป็นพิเศษ โดยเมื่อผู้ใช้ถ่ายภาพแล้วนั้นตัวกล้องจะสอดแทรกเพิ่มเติมและประมวลผลเพื่อสร้างภาพสีที่สมบูรณ์ที่สุด(ให้เหมือนกับที่สายตามองเห็น) ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ
bayer filter ทั้ง 4 ชั้นจะจัดกลุ่มสีเป็นกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่ม หลังจากนั้นจะใช้ฐานซอฟต์แวร์การประมวลผลการแปลงอาร์เรย์(array conversion processing) เพื่อที่จะใช้ในการทำ Pixel Binning ต่อไป การจัดกลุ่มดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้ได้ข้อมูลแสงที่ดีกว่าปกติระหว่างกระบวนการแปลงอาร์เรย์ วิธีการดังกล่าวนี้นั้นถือว่าได้ผลลัพธ์ดีกว่าเพียงแค่ใช้วิธีการสอดแทรกเพิ่มเติมหรืออัปสเกลความละเอียดของภาพไปเป็น 48MP หรือ 64MP
หมายเหตุ – หากคุณลองสังเกตภาพการทำงานของ bayer filter ทั้ง 4 ชั้น ทางด้านบนนี้คุณจะเห็นได้ว่าในทุกขั้นตอนของการประมวลผลนั้นจะมีการแบ่งกลุ่มของสีตามเหมือนกันกับการแยกสีด้วยการมองด้วยสายตาของมนุษย์ในทุกกระบวนการ
เมื่อนำเอาการทำงานของ bayer filter ทั้ง 4 ชั้นรวมเข้ากับเทคนิค Pixel Binning คุณจะได้ภายที่มีแสงสีดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพความละเอียดสูงในสภาวะแวดล้อมแสงปกติ, ภาพความละเอียดต่ำในสภาวะแสงน้อยก็จะมีความสว่างและรายละเอียดของภาพที่สามารถมองเห็นได้มากขึ้นแถมยังสามารถลดจุดเล็กๆ ที่ปรากฏขึ้นมารบกวนในภาพ(Noise) ถึงแม้ว่าจะทำการถ่ายภาพนั่นด้วยระบบกล้องปกติก็ตาม
ดังนั้นแล้ว Pixel Binning จึงเป็นวิธีการสำหรับผู้ผลิตนิยมนำเอามาใช้ควบคู่กับการเพิ่มความละเอียดเซนเซอร์ของกล้องให้มากขึ้นได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยมากจนเกินไป
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้นั้นพบว่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเริ่มใช้เทคโนโลยี Pixel Binning เวอร์ชันอัปเกรดที่จะนำเอา Pixel จำนวน 9 Pixel มารวมเป็น 1 Pixel (เทคนิคนี้มีชื่อเฉพาะว่า dubbed nona-binning หรือเรียกสั้นๆ ว่า 9-in-1) ซึ่งสามารถที่จะพบได้บนเซนเซอร์ความละเอียด 108MP บางรุ่น เทคนิค 9-in-1 นั้นยังคงใช้หลักการในการรวม Pixel แบบเดียวกับเทคนิค Pixel Binning แบบ 4-in-1 แต่จะเปลี่ยนมาใช้การรวม Pixel นั้นด้วย 9 Pixel ที่อยู่ใกล้ชิดกันเท่านั้น ดังนั้นแล้วเซนเซอร์ความละเอียด 108MP ที่มาพร้อมกับ Pixel ขนาด 0.8 micron จะสามารถให้ภาพที่มีคุณภาพได้เหมือนกันกับเซนเซอร์ที่มาพร้อมกับ Pixel ขนาด 2.4 micron
อีกหนึ่งสิ่งที่เหมือนกันกับ Pixel Binning แบบ 4-in-1 นั้นก็คือ Pixel Binning แบบ 9-in-1 จะได้รูปท้ายสุดที่มีความละเอียดจากความละเอียดของเซนเซอร์หารด้วย 9 ดังนั้นแล้วบนเซนเซอร์ความละเอียด 108MP เมื่อใช้เทคนิค Pixel Binning แบบ 9-in-1 ก็จะได้รูปภาพสุดท้ายที่มีความละเอียดอยู่ที่ 12MP
อีกหนึ่งข้อเสียของ Pixel Binning ก็คือเมื่อใช้เทคนิคนี้จะทำให้สูญเสียความละเอียดของสีและความถูกต้องของสี ซึ่งทางผู้ผลิตก็จะใช้วิธีการที่เรียกว่า mosaic algorithms เข้ามาช่วยในเรื่องของการเติมคุณภาพของสีที่สูญเสียไปจากเทคนิค Pixel Binning จนท้ายที่สุดก็จะได้รูปภาพที่สมบูรณ์ออกมาอยู่บนสมาร์ทโฟนของเราๆ ท่านๆ
มีผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์ไหนบ้างที่ใช้เทคนิค Pixel Binning นี้อยู่
โดยปกติทั่วไปแล้วนั้นหากแบรนด์ผู้ผลิตเลือกที่จะใช้เซนเซอร์กล้องที่มาพร้อมกับความละเอียดสูง ส่วนมากแล้วแบรนด์ต่างๆ เหล่านั้นมักจะนำเอาเทคนิค Pixel Binning มาใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นนั้นๆ ด้วย ตัวอย่างเข่นรุ่น Xiaomi Mi 11, Redmi Note 10, Google Pixel 6 series, Samsung Galaxy S21 Ultra, OnePlus Nord CE, และ Samsung Galaxy A32
อย่างไรก็ตามแต่แล้วบางแบรนด์ที่เลือกใช้เซนเซอร์ที่มาพร้อมกับความละเอียดไม่มากเท่าไรนัก(อยู่ที่ราวๆ 20MP ไปจนถึง 44MP) ทั่วไปนั้นทางแบรนด์จะใส่ตัวเลือกใช้ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกสลับไปมาระหว่างเปิดใช้โหมด Pixel Binning กับไม่ใช้งานและให้ถ่ายรูปตามความละเอียดจริงของเซนเซอร์หลักบนตัวเครื่องนั้นๆ
ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม ทว่าในอดีตที่ผ่านมาเคยมีแบรนด์สมาร์ทโฟนแบรนด์หนึ่งใช้เซนเซอร์หลักความละเอียด 16MP แต่ทว่าก็บังคับใช้เทคนิค Pixel Binning ไปด้วยในตัว ซึ่งนั่นเลยทำให้ภาพถ่ายที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดออกมาเรียบร้อยแล้วจะมีความละเอียดของภาพเหลืออยู่ที่ 4MP เท่านั้น สมาร์ทโฟนเครื่องดังเหล่าก็คือ LG V30s ผู้ผลิตจากแดนกิมจินั่นเอง
โดยสรุปแล้วนั้นก็คือการใช้เทคนิค Pixel Binning กับเซนเซอร์ที่มีความละเอียดมากๆ จะให้ผลลัพธ์สุดท้ายออกมาดีที่สุดเพราะความละเอียดของภาพหลังจากผ่านกระบวนการทั่งหมดแล้วตัวภาพนั้นๆ ก็จะยังคงมีความละเอียดสูงอยู่ในระดับหนึ่ง
Pixel Binning จะถูกใช้งานไปได้อีกนานแค่ไหน
คำถามที่ว่า Pixel Binning จะอยู่คู่กับสมาร์ทโฟนของเราๆ ท่านๆ ไปได้อีกนานแค่ไหนนั้นถือว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว แต่ก็ต้องบอกกันก่อนเลยว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้นั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือเมื่อประมาณช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมานี้นั้นทาง Samsung ได้ออกมาทำการเปิดตัวเซนเซอร์กล้องรุ่นใหม่อย่าง 200MP HP1 เซนเซอร์ตัวนี้นั้นจะมีขนาดอยู่ที่ 1/1.22 นิ้ว ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเซนเซอร์ 50MP GN2 ที่ถูกใช้งานบนสมาร์ทโฟนรุ่น Xiaomi Mi 11 Ultra
ขนาดของเซนเซอร์มีส่วนสำคับที่ส่งผลกับขนาดของ Pixel เช่นเซนเซอร์ 200MP HP1 ของทาง Samsung นั้นจะมีขนาดเซนเซอร์ทั้งหมดอยู่ที่ราวๆ 0.64 micron เท่านั้นซึ่งถือว่าเล็กเอามากๆ แต่กระนั้นเองทาง Samsung ก็ได้บอกเอาไว้ว่าเจ้าเซนเซอร์ 200MP HP1 นั้นสามารถที่จะใช้ Pixel เพื่อทำเทคนิค Pixel Binning ได้ทั้งแบบ 9-in-1 และ 4-in-1 นั่นหมายความว่าหากคุณใช้เทคนิค 4-in-1 คุณจะได้ภาพสุดท้ายที่มีความละเอียดอยู่ที่ 50MP แบบเดียวกับเซนเซอร์ของกล้องที่มี Pixel ขนาด 1.28 micron หรือหากคุณใช้เทคนิค 9-in-1 คุณจะได้ภาพสุดท้ายที่มีความละเอียดอยู่ที่ 12.5MP แบบเดียวกับเซนเซอร์ของกล้องที่มี Pixel ขนาด 2.56 micron
Samsung เองเคยแสดงภาพถ่ายที่ใช้เทคนิค Pixel Binning 9-in-1 บนเซนเซอร์ความละเอียด 108MP รุ่นเก่าของตัวเองออกมาแต่ว่าภาพถ่ายที่ได้นั้นไม่สามารถสู้กับเซนเซอร์ความละเอียด 108MP ของคู่แข่งในเรื่องของรายละเอียดภาพในที่ที่มีแสงน้อย(ซึ่งภาพที่ใช้เซนเซอร์ 108MP ของคู่แข่งก็มีขนาด Pixel เท่ากันกับเซนเซอร์ของ Samsung ซึ่งในความเป็นจริงตามทฤษฏีแล้วไม่น่าจะแตกต่างกันมากเท่าไรนัก) ซึ่งในจุดๆ นี้นั้นแม้กระทั่งเซนเซอร์ที่มีความละเอียดอยู่ที่ 48MP หรือ 64MP เองนั้นก็มีขนาดของ Pixel ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ก็คงต้องรอดูว่าเซนเซอร์ 200MP HP1 ของทาง Samsung ที่มาพร้อมกับขนาดของ Pixel ที่เล็กลงกว่าเดิมนั้นจะให้ผลลัพธ์ออกมาได้ดีกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน
เอาเข้าจริงๆ แล้วเชื่อว่าหลายๆ ท่านเองก็คงรู้สึกว่าเซนเซอร์กล้องหลักที่มาพร้อมกับความละเอียด 48MP, 50MP ไปจนถึง 108MP ในปัจจุบันนั้นก็ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้ดีมากอยู่แล้ว ดังนั้นการที่แบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจะเปลี่ยนมาใช้เซนเซอร์ที่มีความละเอียด 200MP ขึ้นไปนั้นคงต้องเจอกับความคาดหวังของผู้ใช้ว่าภาพถ่ายที่ได้รับจะต้องมีคุณภาพทมี่ดีมากขึ้นกว่าเดิม คงต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าจะเป็นเช่นไร
ที่มา : androidauthority, howtogeek, androidpolice