จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา 4-5 วันนั้น ทุกคนก็คงทราบข่าวคราวกันเรียบร้อยกับเรื่องที่ไม่น่าดีใจเท่าไรนัก กับการที่การต่อคิวซื้อเครื่องซื้อ 1 เเถม 1 นั้นมีการพังรั้วหรือใช้จำนวนคนเข้ากดดันให้เปลี่ยนเงื่อนไขเนื่องจากเกิดความไม่พอใจในเรื่องความชัดเจนของคิว
ในขณะนั้น dtac หรือ truemove ต่างเลือกที่จะลอยตัวกับปัญหา โดยให้ผู้มาต่อคิวตกลงกันเอง ซึ่งเหมือนกับว่า ?นิ่งเสียตำลึงทอง? จะเป็นกลยุทธ์ที่ผิดพลาดกับงานนี้ เพราะผลที่ออกมาดูไม่จืดกันเลยทีเดียว
ในกรณีของ dtac ก็เช่นเดียวกันเเละดูเหมือนความร้ายเเรงจะมากกว่า เนื่องจากหลายปัจจัย จากความคาดหวังจากผู้บริโภคที่มากกว่าของ Truemove Hอีกทั้งยังอยู่ในช่วงของวันเสาร์ อาทิตย์ที่ทำให้มีเเนวโน้มคนจะมาร่วมงานสูงกว่าของ Truemove H มากที่จัดในวันธรรมดา
การประณามผู้จัดงานอย่าง Truemove H หรือ dtac ว่าไม่มีความพร้อมในการจัดงาน อาจจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองเห็น จุดนี้ทั้งสองเเบรนด์ก็ทำได้ไม่ดีนัก การบอกเงื่อนไขที่กำกวม รวมไปถึงการตอบคำถามที่เป็นเเบบ ?ตามสคริป? ที่ตอบในพันธ์ทิพย์นั้นไม่สามารถเเก้ไขปัญหาที่มีการเร้าอารมณ์ของผู้อยู่เเละมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นได้ รวมไปถึงการจัดสถานที่งานก็ไม่มีความเหมาะสมนักเพราะมีไม่กว้างพอที่จะรองรับจำนวนคนมากที่เข้ามาเพราะเเรงดึงดูดของการลดราคาที่สามารถซื้อได้เเบบไม่ต้องคิดเเบบนี้
คนไทยอาจจะเป็นชาติหนึ่งที่มีนิสัยดูง่ายๆ เอาใจตัวเองเป็นใหญ่ อาจจะเป็นเพราะภูมิประเทศเราเป็นเเบบเขตอบอุ่น สามารถอยู่ได้สบายๆ ทั้งภูมิอากาศก็ไม่ถึงกับเเย่เหมือนบางประเทศ อาหารการกินที่อุดมสมบุรณ์ ถึงเเม้ในปัจจุบันอาจจะไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน เเต่ถ้าเทียบกันเเล้ว ประเทศไทยก็น่าจะเป็นประเทศที่อาศัยอยู่ได้สบายที่สุดประเทศหนึ่งในโลก จนกระทั่งมีคำที่สุภาษิตออกเเนวประชดประชันออกมาอย่าง ?ทำอะไรตามใจคือไทยเเท้? ออกมาก็ได้ ภาพลักษณ์อาจจดูต่างกับประเทศญี่ปุ่นอย่างสุดขั้ว ที่เราเห็นว่าขนาดเกิดภัยพิบัติอย่างสึนามินั้น พวกเขาก็ยังต่อคิวเป็นอย่างเป็นระเบียบในการรับของบรรเทาทุกข์ต่างๆ ซึ่งภาวะนั้น ความตื่นกลัวของคนน่าจะตื่นสุดจนถึงขั้นทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดด้วยทุกวิถีทาง
การมองย้อนไปถึงเรื่องการใช้ ?กฏหมู่? เราอาจจะเห็นย้อนกลับไปเรื่องนี้ไม่ใช้เรื่องใหม่ในจิตวิทยาสังคม เหตุการณ์ที่ปัจเจกบุคคลสูญเสียความเป็น ?ตัวเอง? เเละถูกกลืนไปกับฝูงชน สถานการณ์ที่เราเห็นเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นม็อบระดับชาติเสื้อเหลือเสื้อเเดง เเม้กระทั่งเรื่องที่เบาลงมาอย่างเเฟนฟุตบอลตีกัน โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้คนเริ่มสูญเสียความเป็นตัวเอง เเละเริ่มใช้จำนวนคนเข้าเริ่มกดดันนั้นอยู่ที่ ?การไม่มีการเปิดเผยตัวตน?, ?ขนาดของกลุ่ม? เเละ การกระตุ้นอารมณ์เป็นหลัก
เหตุการณ์ dtac นั้นเข้าข่ายทั้งสามข้อนัั้นอย่างชัดเจน อย่างเเรก จำนวนคนที่เข้ามาต่อคิวกันเยอะ เเละ ความที่ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนมากนัก การที่เราอยู่ในสภาพเเบบนิรนามนั้นก็ทำให้เราสนใจกับสิ่งรอบข้างน้อยลง เเละเเสดงออกทางอารมณ์ได้มากขึ้นเพราะคิดว่าไม่มีใครรู้จักเรา เราไม่จำเป็นต้องเเคร์สายตาใครเพราะไม่มีใครสนิทกับเรานัก เเละสุดท้ายนั้น เมื่อความเครียดขึ้นจนถึงขีดสุด คนเริ่มปลดปล่อยอารมณ์ความรุนเเรงออกมา ท่ามกลางคำยั่วยุท่ามกลางความไม่พอใจที่ตัวเองไม่ได้อย่างที่หวังเหล่านั้น ทั้ง dtac เเละ truemove ต่างก็ไม่มีประสบการณ์หรือมองข้ามความสำคัญกับเรื่องของมวลชนไป ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นมา
นักจิตวิทยาสังคมในเมืองไทยมีเยอะเเยะ เเต่ทำไมไม่มีมีบริษัทไหนจ้างคนเหล่านี้มาเป็นที่ปรึกษาสำหรับงานขนาดใหญ่ที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ ?คนจำนวนมาก? นี้บ้าง เทคนิคการจัดการฝูงชนนั้นมีหลายเเบบ วิธีทั่วๆ ไปก็อย่างเช่นเพิ่มการรักษาความปลอดภัยเข้าไป เเต่จุดสำคัญคือจำเป็นต้องลดจำนวนฝูงชนลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างกรณี dtac นี้ถือว่าทำช้าเกินไป จากเหตุการณ์เข้าคิวเป็นเวลาเกือบ 48 ชั่วโมงเลยทีเดียวนับจากการต่อคิวครั้งเเรก ซึ่งเกินกว่าจะควบคุมได้เเล้ว สุดท้ายก็ต้องยอมควักเนื้อตัวเองโดยเปลี่ยนนโยบายไปเป็นลด 50% สำหรับพันหนึ่งร้อยคนเเรกเเทน
อย่างไรก็ตามการเเซงคิวเเละกดดันบริษัท โดยอาศัยจุดอ่อนว่าบริษัทต้องง้อลูกค้านั้น ดูเหมือนเป็นวิธีการที่ฉลาดไม่มีจริยธรรมอย่างที่สุด โดยหลายๆ เหตุการณ์ในวันนี้เหมือนกับเป็นการใช้ความเป็นลูกค้าเป็นตัวประกัน รวมไปถึงการเเสดงออกทางสัญลักษณ์ เช่นการหักซิม dtac หรือตะโกนด่าว่ากระตุ้นอารมณ์ เหตุการณ์ครั้งนี้อาจจะทำให้รู้ว่าไม่ใช้บริษัทเพียงอย่างเดียวที่หาประโยชน์อย่างน่ำเกลียดจากผู้บริโภค เเต่ผู้บริโภคบางรายก็เเสบไม่เเพ้กันเลยทีเดียว
รูปบางส่วนจาก prachaya wongworakun