ถ้าใครยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทีมงาน SpecPhone ได้ไปร่วมงานเปิดตัวกระจกนิรภัยและฟิล์มกันรอยยี่ห้อ Hi-Shield มาครับ ชื่อคุ้นๆ ใช้ไหมหล่ะ นั่นก็เพราะว่าฟิล์มกันรอย Hi-Shield เป็นแบรนด์น้องใหม่ที่แยกมาจากฟิล์มติดรถยนต์ Hi-Kool นั่นเองครับ และในงานนั้นทีมงานเราก็ได้มีพรีวิวกระจกนิรภัยของ Hi-Shield กันไปแล้ว (ติดบน iPhone 6) ตามบทความนี้ครับ
ตอนนั้นผมก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วยแหละ เพียงแต่ในงานดันไม่มีกระจกนิรภัยของ iPhone 6 Plus พี่ทีมงานอีกคนที่ใช้ iPhone 6 ก็เลยได้ติดกระจกนิรภัย Hi-Shield ไปแทน โดยตอนนั้นคนที่ติดตั้งให้จะเป็นพนักงานของทาง Hi-Shield ครับ เท่าที่ลองดูก็ติดง่ายมาก แค่เช็ดๆ แปะลงไป แล้วก็แตะกลางจอไปทีนึง แค่นี้ก็ติดเสร็จแล้วซะงั้น มันจะง่ายเกินไปมั้ยเนี่ยยยย
ด้วยความสงสัยบวกคาใจมากๆ ว่ากระจกนิรภัยมันติดง่ายขนาดนั้นเลยหรอ และก็เหมือนทาง Hi-Shield จะรับรู้ความคันของผม เลยจัดส่งกระจกนิรภัย Hi-Shield มาให้เทสซะเลย โดยที่ส่งมาเป็นกระจกนิรภัยแบบ Full Coverage Tempered Glass หรือกระจกกันรอยแบบเต็มหน้าจอครับ ซึ่งกระจกกันรอยแบบนี้จะคลุมส่วนโค้งของ iPhone 6 Plus ด้วยนะ
หน้าตาของแพคเกจก็ประมาณนี้ครับ ส่งมาให้ทั้ง 2 สีเลย คือสีขาว แล้วก็สีดำ สนนราคาอยู่ที่ 1,190 บาทสำหรับ iPhone 6 Plus และ 1,090 บาทสำหรับ iPhone 6 ครับ (รูปนี้เป็นแพคเกจแบบเก่าครับ)
แต่ถ้าเป็นแพคเกจที่ขายจริง กระจกกันรอย Hi-Shield จะมีหน้าตาของแพคเกจดังนี้ครับ
ไล่จากซ้ายไปขวา กระจกนิรภัยถนอมสายตา, กระจกนิรภัยแบบเต็มหน้าจอ ขอบสีทอง, กระจกนิรภัยแบบเต็มหน้าจอ ขอบสีเงิน, กระจกนิรภัยแบบเต็มหน้าจอ และฟิล์มใสแบบเต็มหน้าจอครับ
อุปกรณ์ภายในกล่องก็จะมีดังนี้ครับผม
- กระจกนิรภัยกันรอย Hi-Shield
- ผ้า Microfiber ชุบแอลกอฮอล์
- แผ่นกาวช่วยจับฝุ่น
- ฟิล์มหลัง
โดยรายละเอียดเกี่ยวกับตัวกระจกนิรภัยผมไม่ขอพูดถึงก็แล้วกันครับ เอาจริงๆ เวลาเราซื้อคงไม่นั่งดูหรอกว่ามันทำจากอะไรบ้าง เอาแค่เวลาใช้งานแล้วรู้สึกอย่างไร ติดง่ายหรือไม่ ปกป้องเครื่องได้จริง แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วเนอะ เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มติดกระจกนิรภัย iPhone 6 Plus จาก Hi-Shield กันเลย
- ขั้นตอนที่ 1 ให้ทำการลอกฟิล์มเก่าออกก่อนครับ ด้วยการใช้เทปใสในการลอกฟิล์ม (ถ้าใครไม่ได้ติดฟิล์มก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลย)
- ขั้นตอนที่ 2 ทำความสะอาดหน้าจอด้วยแผ่นกาวช่วยจับฝุ่น แปะๆ ลงไป แล้วก็ลอกออก ทำซ้ำๆ จนหน้าจอไร้ฝุ่นครับ
- ขั้นตอนที่ 3 ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบแอลกอฮอล์ที่อยุ่ในแพคเกจ เช็ดหน้าจอให้ทั่วครับ
- ขั้นตอนที่ 4 ทำการเล็งกระจกนิรภัยให้ตรงกับหน้าจอ
- ขั้นตอนที่ 5 จัดการแปะลงไป
- ขั้นตอนที่ 6 เอานิ้วแตะเบาๆ ที่กลางหน้าจอซักที ตัวฟิล์มก็จะทำการดูดหน้าจอโดยอัตโนมัติครับ
- ขั้นตอนที่ 7 เสร็จแล้ว ง่ายเกินไปมั้ยเนี่ย = =a
จากนั้นเราก็จะมารีวิวกระจกนิรภัย Hi-Shield โดยจะเปรียบเทียบกับฟิล์มกันรอยครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมใช้ฟิล์มกันรอย iPhone 6 Plus ของ Power Support แบบใส (AFP crystal film set) ที่ขายสองแผ่นราคา 690 บาท
ความหนา
สิ่งแรกที่รู้สึกแตกต่างคือความหนาครับ กระจกนิรภัย Hi-Shield จะหนากว่าฟิล์มกันรอยพอสมควร แต่ไม่ใช่ปัญหาครับ เนื่องจากผมใช้เคสแบบ Bumper ทำให้รู้สึกว่ามันเสมอขอบมากขึ้น โดยรวมเลยไม่ได้รู้สึกแปลกๆ เท่าไหร่นัก
การสัมผัส, ความลื่นในการทัช?
ในการสัมผัสหน้าจอที่ติดฟิล์ม กับหน้าจอที่ติดกระจกนิรภัย สำหรับผมให้คะแนนใกล้เคียงกันมากครับ อาจเพราะฟิล์มกันรอย Power Support เป็นฟิล์มที่เกรดค่อนข้างสูง (ราคาก็สูงด้วย) ภาพที่แสดงก็พอๆ กันครับ ใส เคลียร์มาก การป้องกันรอยนิ้วมือผมก็ให้คะแนนใกล้เคียงกันนะ
ความทนทาน
จะเห็นเลยว่าฟิล์มกันรอยก็ยังคงเป็นฟิล์มกันรอยครับ ตอนลอกออกมานี่ก็พบรอยขนแมวพอสมควร ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานนะ ทำให้ภาพไม่ค่อยเคลียร์เท่าไหร่ ส่วนตัวผมว่ากระจกนิรภัยน่าจะป้องกันรอยพวกนี้ได้มากกว่า รวมถึงป้องกันหน้าจอแตกได้ในระดับหนึ่ง (แต่ขึ้นอยู่กับมุมตกของเครื่องด้วย)
อายุการใช้งาน
ฟิล์มกันรอยผมติดมาประมาณ 2 เดือน ใช้งานแบบใส่กระเป๋ากางเกงตลอดเวลาก็พบว่ามีรอยขนแมวพอสมควรครับ เชื่อว่าใช้ๆ ไปซักสี่ห้าเดือนผมคงลอกแล้วติดใหม่ แต่ถ้าเป็นกระจกกันรอย เชื่อว่าอยู่ได้เป็นปีๆ แหละครับ
การติดตั้ง
อย่างที่ได้เห็นไปครับ ว่ากระจกนิรภัย Hi-Shield ติดตั้งได้ง่ายมาก ถ้าเทียบกับฟิล์มกันรอย Power Support ก็ถือว่าติดง่ายพอๆ กัน แต่ข้อดีของกระจกนิรภัย Hi-Shield คือเวลาเราติดพลาดจะสามารถลอกออกได้ง่ายกว่ามากครับ แถมลอกแล้วติดใหม่ก็ง่าย ไม่เหมือนกับฟิล์มกันรอยที่จะติดใหม่ยากกว่า เพราะฉะนั้นการติดตั้งกระจกนิรภัย Hi-Shield ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากก็ติดเองได้ง่ายๆ ครับ
ความคุ้มค่า
จริงอยู่ที่ฟิล์มกันรอย Power Support ให้ฟิล์มมา 2 แผ่น ในราคาที่ขายเท่ากับกระจกนิรภัยแผ่นเดียวที่ 690 บาท แต่ถ้ามองภาพรวม ผมว่ากระจกนิรภัยคุ้มค่ากว่าในระยะยาวครับ รวมถึงความง่ายในการติดตั้งด้วยตัวเองอีกด้วย ซึ่งสองอย่างนี้ต่อให้เป็นฟิล์มกันรอยคุณภาพสูงก็ให้ไม่ได้ครับ เว้นแต่ว่าเพื่อนๆ จะซื้อฟิล์มกันรอย 1 เซ็ตแล้วหาร 2 ใช้กันสองเครื่อง อันนี้ผมว่าไปซื้อฟิล์มกันรอยจะดีกว่านะ
สีสันหน้าจอ, การแสดงผล
เอาจริงๆ ผมแทบไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างตอนติดกระจกนิรภัย HiShield กับตอนไม่ติดครับ หน้าจอยังคงมีสีสันที่สดใสเหมือนเดิม ไม่ได้ดรอปลงแต่อย่างใด แต่จะพบปัญหาเวลาใช้งานกลางแจ้งครับ จะรู้สึกได้เลยว่าหน้าจอสะท้อนแสงแดดมากกว่าจอเปลือยๆ แล้วก็ความรู้สึกที่ว่าหน้าจอค่อนข้างลึก แต่ยังทัชได้ดีเหมือนเดิมนะครับ
ติดกระจกกันรอยแบบเต็มหน้าจอ ใส่เคสได้ไหม?
น่าจะเป็นหนึ่งในคำถามคาใจ เชื่อว่าหลายคนกลัวใส่เคสไม่ได้ เอาเป็นว่ามาดูภาพตัวเครื่อง iPhone 6 Plus ที่ติดกระจกนิรภัยแบบเต็มหน้าจอ แล้วใส่เคสแบบ Bumper ดีกว่าครับ บอกเลยว่าเนียนมากๆ (Bumper ยี่ห้อ Spigen ครับ ใช้ด้วยกันได้ ไม่กินขอบแน่นอน)
หรือถ้าอยากเปลี่ยนบรรยากาศ ลองเปลี่ยนสีของกระจกกันรอยดูก็ได้ครับ แต่อาจจะดูแปลกๆ ไปหน่อยนะ อย่างในภาพนี่คือกระจกนิรภัยแบบเต็มจอสีดำ กับตัวเครื่อง iPhone 6 Plus สีเงินครับ