iFixIt เผย!!ถ้าไม่โปรพออย่าซ่อม Samsung Galaxy S7 ด้วยตัวเองเด็ดขาด!!!

 

pjyoU1YEKpkASULa

เมื่อมีการเปิดตัวของมือถือระดับเรือธงรุ่นใหม่ๆ iFixIt ก็จะมีการทดสอบการแกะตัวเครื่องเพื่อดูว่ามือถือเรือธงรุ่นล่าสุดที่ออกมาวางจำหน่ายนั้นจะซ่อมยากขนาดไหนเมื่อถึงคราวที่เครื่องมีปัญหา และล่าสุดเป็นคิวของ Samsung Galaxy S7 ที่ทาง iFixIt ได้ทำการทดสอบการแกะตัวเครื่องและได้ให้คะแนนซึ่งจะแบ่งเป็น ยากมาก-ง่ายมาก ซึ่งจะใช้ตัวเลขตั้งแต่ 0-10 ซึ่ง 0 นั้นหมายถึงซ่อมยากมากนั่นเอง และคะแนนของ Samsung Galaxy S7 นั้นอยู่ที่ 3/10 คะแนน

ซึ่งหมายความว่า Samsung Galaxy S7 นั้นเป็นมือถือที่ซ่อมยากพอสมควร และได้แนะนำว่าหากไม่มีความชำนาญในการถอดชิ้นส่วนต่างๆ ของมือถือมากพอก็อาจจะทำให้มือถือนั้นใช้การไม่ได้เมื่อประกอบตัวเครื่องกลับเข้าไป ยกตัวอย่างเช่นถ้าแกะไม่ดีหน้าจอก็อาจจะแตก หรือพอร์ท Micro USB นั้นอาจจะหยุดทำงาน ซึ่ง iFixIt ได้ระบุว่าการถอดชิ้นส่วนต่างๆ นั้นทำได้ยากพอสมควร ซึ่งจะยากขนากไหนไปติดตามกันได้เลย

nxSEfpP2JUe5BYgC

 

สเปคตัวเครื่องของ Samsung Galaxy S7 

  • หน้าจอ Super AMOLED ขนาด 5.1 นิ้ว ความละเอียดแบบ Quad HD (576 PPI)
  • ซีพียู Qualcomm Snapdragon 820 / Exynos 8890 (เวอร์ชั่นสากล) แบบ Octa Core ความเร็ว 2.3 GHz
  • แรม 4 GB
  • หน่วยความจำภายใน 32 GB (รองรับการใช้งาน Micro SD สูงสุด 200 GB)
  • กล้องความละเอียด 12 ล้านพิกเซลพร้อมเทคโนโลยี Dual Pixel ออโต้โฟกัส
  • กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล
  • คุณสมบัติในการกันน้ำตามมาตรฐาน IP68
  • แบตเตอรี่ความจุ 3,000 mAh
  • ระะบปฎิบัติการ Android 6.0 Marshmallow

 

ภาพเปรียบเทียบระหว่าง Samsung Galaxy S6 และ Samsung Galaxy S7

Pov2ldHLrYVHwlrgYx3EAEQjk22at6klจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าดีไซน์ของทั้งสองรุ่นนั้นใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดนั่นคือความโค้งมนที่ Samsung Galaxy S7 นั้นจะมีมากกว่า เมื่อนำตัวเครื่องมาวางเทียบกันจะเห็นได้ว่า Galaxy S7 นั้นสวยกว่ามาก

ทดสอบแกะเครื่อง Samsung Galaxy S7

jkBQQNqL15ULCXr6KCJjghQGJkuRkqyd

เนื่องจากตัวเครื่องนั้นไม่มีน็อตที่สามารถสังเกตได้เลยแม้แต่ตัวเดียวในขั้นตอนแรกจึงต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการดึงกระจกด้านหลังของตัวเครื่องแล้วจึงใช้เครื่องมืออีกหนึ่งชิ้นค่อยๆ เปิดด้านหลังของตัวเครื่องออกมา

MMfe1DfUGhdKdgANDQGWFdZBAfN1Kqkg

ด้านในของฝาหลังจะมีแผ่นยางเล็กๆแปะอยู่โดยรอบและนี่คือสิ่งที่ทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามาในบริเวณแผงวงจรของ Samsung Galaxy S7 ได้เป็นที่มาของคุณสมบัติในการกันน้ำนั่นเอง แต่ก็มีข้อยกเว้นนั่นคือหากฝาหลังเปิดออกจากอุบัติเหตุอย่างเช่นเครื่องตกกระแทกอย่างรุนแรง หรือการบิดงอของตัวเครื่องก็อาจจะทำให้ Samsung Galaxy S7 นั้นไม่สามารถกันน้ำได้อีกต่อไป และด้านในของด้านหลังนั้นจะมีชิ้นส่วนที่สามารถใช้เครื่องมือไขออกได้

i2eHrNxVKJ1jIHhL

NrSDZsmqJLfXCv4ch2veMSZna3hPUf55P16H3eHYpDQJKHa5

ด้านบนของด้านหลังจะเป็นตำแหน่งของแผงรับส่งสัญญาณเครือข่าย และชิ้นส่วนใหญ่ๆ นั้นจะเป็นอุปกรณ์สำหรับชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สายหรือ Wireless Charging และชิ้นส่วนด้านล่างจะเป็นลำโพงของตัวเครื่อง

i5xQPCYQXMMcqIbr

ZJ2usXdZLYU2qSXB1uFRAMsdYPSOiOrq

และขั้นตอนต่อมานั่นคือการถอดแบตเตอรี่ของตัวเครื่องออก ซึ่งตัวแบตเตอรี่จะถูกยึดติดกับตัวเครื่องของ Samsung Galaxy S7 ด้วยกาว โดยขนาดความจุของแบตเตอรี่นั้นจะเพิ่มจากขนาดความจุที่ใช้ใน Samsung Galaxy s6 เป็น 3,000 mAh จากเดิมที่ใช้ขนาดความจุ 2,550 mAh เรียกว่าเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยพอให้ใช้งานได้นานขึ้น แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมถึงต้องติดกาวไว้ที่ด้านหลังของแบตเตอรี่ และสิ่งนี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าทางผู้ผลิตอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้ถอดแบตเตอรี่เปลี่ยนนั่นเอง

cBHHmJHVXPeM2DU4qt1WiD6TYTalePXEMotherboard ของ Samsung Galaxy S7

ERoF5qqOYZaMFKre

Motherboard ของ Samsung Galaxy S6

และขั้นตอนต่อมาก็ได้แก่การถอดกล้องหน้าของ Samsung Galaxy S7 ออกจากนั้นทาง iFixIt ก็ได้ทำการถอด motherboard ของตัวเครื่องออก ซึ่งจะสังเกตได้ว่าหน้าตาของ motherboard ของ Samsung Galaxy S7 นั้นมีความคล้ายคลึงกับที่ใช้ใน Samsung Galaxy S6 เลย

hYnkoQM6eBZLYuMm

blKftOYSeUWI5HrpPXyxNtJKQHXpagat

ขั้นตอนต่อไปนั้นได้แก่การถอดกล้องหลักของตัวเครื่องออกซึ่งในส่วนนี้ Samsung ได้มีการดาวน์เกรดของกล้องลงมาที่ 12 ล้านพิกเซลจากเดิมที่เคยใช้ความละเอียด 16 ล้านพิกเซลใน Samsung Galaxy S6 แต่สิ่งที่น่าสนใจนั่นคือ Samsung ได้มีการพัฒนามาใช้เทคโนโลยี Dual Pixel จนสามารถใช้งานพิกเซลได้ 100% ขนาดของพิกเซลนั้นวัดได้ที่ 1.4 µm ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่กว่ากล้องจากโมเดลที่แล้วถึง 25% จึงทำให้กล้องของ Samsung Galaxy S7 นั้นเหนือกว่าในเรื่องการควบคุม Noise และทำให้ภาพถ่ายที่ถ่ายออกมานั้นมีคุณภาพมากกว่าภาพถ่ายจากกล้องของ Samsung Galaxy ทุกรุ่นที่ผ่านมา

xL1OaYFHbF3s4tB4

และมาดูในเรื่องของชิพต่างๆ ที่อยู่บน Motherboard ของ Samsung Galaxy s7 กันบ้างซึ่งทาง iFixIt ได้ใช้สีในการจำแนกรายละเอียดของชิพต่างๆออกเป็นดังนี้

แดง – SK Hynix H9KNNNCTUMU-BRNMH 4 GB LPDDR4 SDRAM ครอบทับบนชิพ Qualcomm MSM8996 Snapdragon 820 (รุ่นที่วางจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา)

ส้ม – Samsung KLUBG4G1CE 32 GB MLC Universal Flash Storage 2.0 

เหลือง – Avago AFEM-9040 Multiband Multimode Module 

เขียว  Murata FAJ15 Front End Module

ฟ้า – Qorvo QM78064 high band RF Fusion Module

น้ำเงิน –  Qualcomm WCD9335 Audio Codec

ชมพู – Qorvo QM63001A diversity receive module

f5KcPOpoisvkomYL

และเมื่อพลิกมาอีกหนึ่งด้านก็จะเห็นว่ามีชิพต่างๆ ที่ถูกติดตั้งไว้อีกด้านหนึ่งด้วยเช่นกันซึ่งชิพต่างๆ ที่ถูกติดตั้งในด้านนี้นั้นก็จะประกอบด้วย

แดง – Murata KM5D18098 Wi-Fi Module

ส้ม – NXP 67T05 NFC Controller

เหลือง  IDT P9221 Wireless Power Reciever

เขียว – STMicroelectronics LSM6DS3 always-on 6-Axis IMU

ฟ้า – Qualcomm PM8996 PMIC

น้ำเงิน – Qualcomm QFE3100 Envelope Tracker

ชมพู – Qualcomm WTR4905 and WTR3925 RF Transceivers

JUqeCLQPSfkyMMkdPB32FNHVv5uEFowSGkyvsS2TQF12KSik

ขั้นต่อมานั้นได้แก่การถอดช่องเสียบหูฟังแบบ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในส่วนนี้ก็ได้มีการใช้ยางมามีส่วนช่วยในเรื่องของการกันน้ำเข้าตัวเครื่องด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ช่องลำโพงและไมโครโฟนที่ด้านล่างของตัวเครื่องด้วยเช่นกันที่จะมียางกันน้ำด้วยทั้งหมด เรียกว่าจุดไหนที่มีความเสี่ยงทาง Samsung ก็ทำการปิดให้หมดเลย

fgDE2wriNjIn2bVg

และขั้นตอนต่อมานั้นก็คือการถอดปุ่มซอฟท์ทัชซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่านี่มันด้านหลังตัวเครื่องไม่ใช่เหรอ? ซอฟท์ทัชมันอยู่ด้านหน้าตัวเครื่องนี่!! คำตอบคือเนื่องจาก Samsung ออกแบบให้ตัวเครื่องของ Samsung Galaxy S7 นั้นกันน้ำจึงทำให้การเข้าถึงและการซ่อมแซมปุ่มซอฟท์ทัชทำได้ยากมากยิ่งขึ้น และมาดูกันว่าจะยากขนาดไหน

OtRFSgvF36CgnRFj1h55OKXkqaKGiuNEqdPZumoyUoDSkGgwดเ

เราจะต้องทำการเปิดหน้าจอของตัวเครื่องออกก่อน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือถอดปุ่มซอฟท์ทัชออกดังภาพด้านบน ซึ่งจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยหากว่าเราไม่ต้องถอดพอร์ท Micro USB ซึ่งเป็นพอร์ทที่ใช้ชาร์จแบตเตอรี่และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ออกมาด้วย และสิ่งนี้ถือว่าสำคัญมากหากเราไม่มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญมากพอ เวลาประกอบกลับไป Samsung Galaxy S7 อาจจะกลายเป็นที่ทับกระดาษสุดหรูไปเลยก็ได้ ดังนั้นการซ่อมแซมควรให้ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ทำการซ่อมแซมให้จะดีที่สุด และนี่คือหน้าตอของปุ่มซอฟท์ทัชเมื่อได้กำการถอดออกมาแล้ว

Xx5syXHqLSufKxMW (3)

Hu6jFlelJvXpKJpl

และขั้นตอนที่ถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายนั้นได้แก่การถอด Heat Pipe ออกจากตัวเครื่องซึ่ง Samsung Galaxy S7 มาพร้อมกับระบบระบายความร้อนด้วย Heat Pipe แบบ Liquid Cooling ซึ่งทาง iFixIt นั้นได้ระบุว่าจากลักษณะนั้นดูเหมือนเป็นทองแดงธรรมดา ซึ่งคาดว่าจะใช้การส่งผ่านความร้อนจากซีพียูออกทางโลหะด้านข้างของตัวเครื่องนั่นเอง

CD6DUUkBQPZgToEX

NuXhv1a2fAwLpLmb

จะเห็นได้ว่าการซ่อมแซมตัวเครื่องของ Samsung Galaxy S7 นั้นทำได้ยากพอสมควร เนื่องจากทาง Samsung ได้ออกแบบตัวเครื่องที่จะเน้นไปที่เรื่องของคุณสมบัติในการกันน้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้การซ่อมแซมตัวเครื่องนั้นมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทางที่ดีที่สุดเราควรให้ช่างจากศูนย์บริการซึ่งช่ำชองในเรื่องของการซ่อมแซมตัวเครื่องเป็นผู้ทำการซ่อมให้เราจะดีที่สุด ซึ่งทาง iFixIt ได้ให้ความคิดห็นไว้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกันได้แก่

1.ชิ้นส่วนของตัวเครื่องหลายชิ้นแยกกันอย่างอิสระ ซึ่งเป็นข้อดีในการเปลี่ยนอะไหล่

2.แบตเตอรี่สามารถถอดออกได้โดยไม่ต้องถอด Motherboard ออกก่อนเหมือนกับ Samsung Galaxy S6 Edge แต่กาวที่ติดมากับแบตเตอรี่นั้นทำให้การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นยากเกินความจำเป็น

3.หากต้องการเปลี่ยนพอร์ท Micro USB เราจะต้องถอดหน้าจอออกก่อนซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องได้

4.กระจกด้านหน้าและด้านหลังตัวเครื่องนั้นทำให้เราต้องใช้งานอย่างระวังเพราะสามารถแตกพร้อมกันได้ และกระจกที่ด้านหลังตัวเครื่องนั้นแข็งแรงมากทำให้ยากแก่การเปิดเพื่อซ่อมแซม

5.เป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนกระจกหน้าจอใหม่โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการแสดงผล (กระจกหน้าจอแตกเปลี่ยนจอทั้งชุด)

และจากการทดสอบรวมถึงข้อสังเกตที่ทาง iFixIt ได้ระบุมาส่งผลให้ Samsung Galaxy S7 นั้นได้คะแนนความง่ายในการซ่อมอยู่ที่ 3/10 คะแนนซึ่งถือว่าน้อยมากเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างไรผมเชื่อว่าเราต้องใช้มือถืออย่างระมัดระวังกันอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าไม่นับเรื่องการซ่อมแซมที่ยากพอสมควรแล้ว Samsung Galaxy S7 อาจจะเป็นมือถือที่มีกระแสตอบรับที่ดีตลอดปีนี้เลยก็เป็นได้ และบทความหน้าผมจะมีอะไรที่น่าสนใจมาฝากกันอีกรอติดตามได้เลยครับ   :-)

eVwVQojWEP5whU62

ที่มา iFixIt

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก