พบกับรีวิวสมาร์ทวอทช์ราคาไม่แพงแต่อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์เต็มๆ กับ Huami Amazfit GTS 2 mini จะน่าใช้มากแค่ไหนไปติดตามกัน
Amazfit GTS 2 mini จากทาง Huami เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการได้สักพักแล้วซึ่งต้องบอกเลยว่าเจ้า Amazfit GTS 2 mini นี้นั้นเป็นหนึ่งในสมาร์ทวอทช์ที่มาแรงแบบสุดๆ เพราะนอกจากสเปคของมันจะจัดเต็มไม่น้อยไปกว่ารุ่นพี่ของมันแล้วนั้น Huami Amazfit GTS 2 mini ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานแบบอัดแน่นเต็มไปหมดในระดับที่สมาร์ทวอทช์ราคาเรือนหมื่นจะต้องมองค้อนกันเลยทีเดียว
เจ้า Huami Amazfit GTS 2 mini จะมีข้อดีข้อเสียเป็นเช่นไรนั้นไปติดตามกัน
- Huami Amazfit GTS 2 mini Specs
- แกะกล่อง Amazfit GTS 2 mini
- การเชื่อมต่อและการตั้งค่าต่างๆ ในการใช้งาน
- การใช้งานเบื้องต้น
- Battery life
- สรุป
Huami Amazfit GTS 2 mini Specs
เริ่มต้นนั้นมาดูสเปคของ Huami Amazfit GTS 2 mini กันก่อนซึ่งสเปคของเจ้าน้องเล็กนี้จะเป็นดังต่อไปนี้
Huami Amazfit GTS 2 mini Processor Dialog DA14697 0.1 GHz, Cortex M33F, Cortex M0+ Memory 2 MB Display 1.55 inch , 306 x 354 pixel 301 PPI, full touchscreen, AMOLED, glossy: yes Storage 32 MB Flash, 0.032 GB Connections Audio Connections: ⊕, Brightness Sensor, Sensors: Huami BioTracker 2 PPG sensor, acceleration sensor, gyroscope sensor, geomagnetic sensor Networking Bluetooth 5.0 LE, GPS Size height x width x depth (in mm): 8.95 x 35.8 x 40.5 Battery 220 mAh Lithium-Ion Additional features Speakers: ⊖, Keyboard: 1 button, Amazfit GTS 2 mini, charging base, user instruction manual, Zepp app, 24 Months Warranty, Compatibility: Android 5.0 , iOS 10.0 ; 5 ATM, waterproof
จากสเปคนั้นจะเห็นได้ว่า Huami Amazfit GTS 2 mini จัดให้มาในระดับที่ดีเอามากๆ โดยเฉพาะกับอย่างยิ่งกับหน้าจอที่ใหญ่มากถึง 1.55 นิ้วแถมยังใช้พาเนลแบบ AMOLED อีกทำให้ประหยัดแบตเตอรี่มากขึ้นกว่าเดิม(หากตั้งหน้าจอแสดงผลให้มีพื้นที่เป็นสีดำมากๆ) นำหนักของตัวเรือนนั้นก็อยู่ที่ 19.5 grams เท่านั้น
Huami Amazfit GTS 2 mini นั้นรองรับการใช้งานในการติดตามการออกกำลังกายมากถึง 70 รูปแบบแถมยังกันน้ำได้ที่ 5 ATM อีกด้วยต่างหากเรียกได้ว่างานนี้จะใส่ไปออกกำลังกายก็สามารถที่จะทำได้แบบสบายๆ สำหรับอายุการใช้งานแบตเตอรี่นั้นตามที่ทาง Huami ได้บอกเอาไว้จะอยู่ที่ 14 วันต่อการชาร์ตเต็มหนึ่งครั้งส่วนจะใช้ได้จริงหรือไม่นั้นต้องคอยติดตามกัน
แกะกล่อง Amazfit GTS 2 mini
สำหรับ Amazfit GTS 2 mini นั้นจะเป็นสมาร์ทวอทช์ที่อยู่ในซีรีส์ GTS หรือ square-shaped ซึ่งตัวเรือนหน้าปัดจะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม เมื่อแกะกล่องออกมานั้นจะพบกับตัว Amazfit GTS 2 mini 1 เรือน, ที่ชาร์จปและคู่มือการใช้งาน ด้วยความที่รุ่นนี้มีคำว่า Mini ต่อท้ายนั้นทำให้หน้าปัดของตัวสมาร์ทวอทช์มีขนาดเล็กที่สุดในซีรีส์ GTS 2 นอกไปจากนั้นแล้วยังมีการปรับเอาฟีเจอร์ต่างๆ ออกไปหลายส่วนด้วยเหมือนกันแต่ก็แลกมากับราคาค่าตัวที่ถูกกว่ารุ่นพี่เป็นอย่างมาก
ในส่วนของหน้าจอนั้นหุ้มด้วยกระจกแบบ 2.5D ทำให้หน้าจอโค้งมนเข้าไปกับส่วนของหน้าปัด ทว่าน่าเสียดายที่ Amazfit GTS 2 mini นั้นไม่ได้มีการเคลือบหรือใช้กระจกกันลอยแบบรุ่นพี่มาทำให้หากใช้งานกันแบบหนักหน่วงจริงๆ ก็อาจจะทำให้เกิดลอยที่หน้าจอได้ง่าย(หากมีการขูดหรือกระทบที่รุนแรงเกิดขึ้น) และตัวเคสที่ครอบหน้าจอนั้นก็ใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมทำให้อาจจะเกิดริ้วรอยได้ง่ายเช่นเดียวกัน
ในส่วนของสายรัดจข้อมือนั้นจะใช้วัสดุเป็นซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นสูงทำให้สามารถที่จะสวมใส่ได้อย่างสบายข้อมือและปิดท้ายอุปกรณ์ด้วยส่วนของที่ชาร์จที่ต้องเก็บไว้ให้ดีเพราะว่าเป็นรุ่นที่เฉพาะเจาะจงของ Amazfit GTS 2 mini ซึ่งถ้าทำหายขึ้นมาอาจจะหาซื้อได้ค่อนข้างลำบากพอดู
การเชื่อมต่อและการตั้งค่าต่างๆ ในการใช้งาน
ในการใช้งานนั้น Amazfit GTS 2 mini ก็จะคล้ายกันกับสมาร์ทวอทช์ทั่วไปคือต้องเชื่อมต่อกับสมาร์ทดฟนผ่านทางแอปพลิเคชันก่อน ทั้งนี้ Amazfit GTS 2 mini รองรับการใช้งานร่วมกับทั้งสมาร์ทโฟน Android และ iOS โดยจะใช้งานผ่านทางแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Zepp ที่หาโหลดได้จาก Play Store และ Apple App Store ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานสมาร์ทโฟนยี่ห้อใด
การเชื่อมต่อร่วมกับสมาร์ทโฟนนั้น Amazfit GTS 2 mini จะทำการเชื่อมต่อผ่านทาง Bluetooth 5.0 LE ซึ่งหากสมาร์ทโฟนของคุณรองรับเทคโนโลยี Bluetooth 5.0 LE แล้วด้วยนั้นก็จะทำให้ในการใช้งานจะประหยัดแบตเตอรี่มากขึ้นทั้งในส่วนของสมาร์ทโฟนและ Amazfit GTS 2 mini เอง
ในการใช้งานแอปพลิเคชัน Zepp นั้นหากคุณใช้งานเป็นครั้งแรกจะต้องสมัครสมาชิกก่อนเพื่อที่จะเข้าใช้งาน แต่ถ้าคุณมี Account อยู่แล้วนั้นก็สามารถที่จะเข้าไปทำการใช้งานผ่านบัญชีเดิมได้ทันที จากการใช้งานนั้นดูเหมือนว่า Zepp และ Amazfit GTS 2 mini จะมีปัญหาเมื่อใช้งานบนสมาร์ทโฟนระบบปฎิบัติการ iOS เพราะในการทดสอบนั้นพบว่าไม่สามารถทำการอัปเดท Firmware ของตัว Amazfit GTS 2 mini ผ่าน iOS ได้(ซึ่งทาง Huami น่าจะทำการแก้ไขแล้วในอัปเดทใหม่ที่พึ่งปล่อยออกมาไม่นานนี้) ส่วนการใช้งานคู่กับสมาร์ทโฟน Android นั้นไมพบปัญหาแต่อย่างใด
ในการตั้งค่าเริ่มต้นเลยนั้นสามารถทำได้ผ่าน Wizard บน Zepp ซึ่งทำได้ง่ายมาก โดยตัวแอปจะให้คุณใส่ข้อมูลส่วนตัวเช่นส่วนสูง, น้ำหนัก ฯลฯ โดยเมื่อทำการซิงค์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้นตัวสมาร์ทวอทช์ Amazfit GTS 2 mini ก็จะพร้อมใช้งานได้ทันที
การใช้งานเบื้องต้น
Amazfit GTS 2 mini มาพร้อมกับฟีเจอร์เบื้องต้นตอบโจทย์การเป็นสมาร์ทวอทช์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยบน Amazfit GTS 2 mini นี้นั้นผู้ใช้จะสามารถทำการเลือกรูปแบบแสดงผลหน้าปัดนาฬิกามากถึง 50 รูปแบบ โดย 30 รูปแบบในนั้นจะรองรับการใช้งานแบบ Always-on-display ด้วยอีกต่างหากทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
Amazfit GTS 2 mini นั้นมาพร้อมกับการสั่งการผ่านทางหน้าจอด้วยการสัมผัสเช่นเดียวกันสมาร์ทวอทช์ทั่วไปซึ่งในการใช้งานนั้นพบว่าเป็นไปด้วยความรวดเร็วตอบสนองต่อการใช้งานได้เป็นอย่างดี นอกไปจากนั้นแล้วยังสามารถที่จะเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ โดยตรงผ่านการสั่งด้วยแอปพลิเคชัน Zepp ด้วยอีกต่างหาก
Voice assistant
ข้อดีปนข้อเสียอย่างหนึ่งของ Amazfit GTS 2 mini ก็คือการรองรับการใช้งานด้วยเสียง ทว่า Amazfit GTS 2 mini นั้นจะรองรับการใช้งานด้วยเสียงแค่กับ Alexa เท่านั้นซึ่งในเมืองไทยเรานั้นยังหาอุปกรณ์ที่จะเอามาใช้งานร่วมกันได้ค่อนข้างที่จะยาก ทั้งนี้บนตัวเรือน Amazfit GTS 2 mini จะมีไมค์สำหรับการสั่งการด้วยเสียงมาให้แต่ว่าไม่มีลำโพงติดมาด้วยทำให้ในการสั่งงานด้วยเสียงนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อเชื่อมต่ออยู่กับสมาร์ทโฟนอยู่เท่านั้น(จริงๆ แล้วก็สามารถทำการตอบรับเสียงการสั่งการเราได้เพียงแต่ว่าบนตัวหน้าจอจะแสดงเป็นข้อความตอบรับนั่นเอง
Telephone and notifications
ด้านการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟนนั้นก็มาครบไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับรับสายโทรเข้าและแจ้งเตือนข้อความจากแอปพลิเคชันต่างๆ ทว่าในส่วนของการแสดงผลข้อความแจ้งเตือนนั้น Amazfit GTS 2 mini จะแสดงผลข้อความได้ไม่ครบหากข้อความดังกล่าวนั้นยาวมากจนเกินไป แถม Emoji บางตัวนั้นก็จะแสดงผลออกมาเป็นภาษาต่างดาวอีกด้วยต่างหาก(คาดว่าอัปเดทในอนาคตน่าจะช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้)
ยังไม่หมดแค่เพียงเท่านั้น Amazfit GTS 2 mini ยังสามารถที่จะใช้งานสำหรับควบคุมการเล่นเพลงบนสมาร์ทโฟนที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ได้ อีกทั้งยังใช้ในการเป็นชัตเตอร์สำหรับกล้องของสมาร์ทโฟนได้อีกด้วยต่างหาก
Health and fitness
ในส่วนของการติดตามด้านค่าทางสุขภาพและการติดตามการออกกำลังกายนั้นจะทำได้ดีกว่าเมื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา โดยตัวแอปพลิเคชัน Zepp นั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่นๆ อย่างเช่น Apple Health หรือ Google Fit ได้ด้วย
สำหรับค่าทางด้านสุขภาพที่ Amazfit GTS 2 mini สามารถทำได้นั้นก็จะเหมือนๆ กันกับสมาร์ทวอทช์ทั่วไปคือ
- ติดตามกิจกรรมของผู้สวมใส่แบบ 24/7 เช่นติดตามการนอนรวมทั้งการเดินไปจนถึงวิ่ง
- มาพร้อมการวัด heart rate และ blood oxygen
ในส่วนของการติดตามการออกกำลังกายนั้น Amazfit GTS 2 mini รองรับการออกกำลังกายมากถึง 70 รูปแบบอีกทั้งยังมาพร้อมกับ GPS ในตัวด้วยอีกต่างหากทำให้การใช้งานสำหรับติดตามกิจกรรมที่ต้องออกนอกสถานที่ทำได้ดีมากขึ้น
อย่างไรก็ตามให้มาครบขนาดนี้ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลยเพราะจากการทดสอบนั้นพบว่า Amazfit GTS 2 mini นั้นค่อนข้างที่จะติดตามค่าได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไร ตัวอย่างเช่นอัตราการเต้นของหัวใจนั้นก็จะบอกผิดไปมากกว่าปกติอยู่ที่ราวๆ 6-7 bpm หรือในด้านของการวัดระยะติดตาม GPS นั้นก็จะบอกผิดไปราวๆ 800 เมตร(เมื่อใช้ในการวิ่ง) แต่หากเทียบแล้วนั้นก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยังรับได้(เพราะราคาของ Amazfit GTS 2 mini นั้นไม่ได้สูงมากจนเกินไป)
Battery life
จากโฆษณาที่บอกเอาไว้ว่า Amazfit GTS 2 mini สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง 14 วันต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้งนั้นคงต้องบอกว่าเป็นความจริงเฉพาะเมื่อใช้งานเป็นนาฬิกาสำหรับดูเวลาทั่วไปเท่านั้น ทว่าหากใช้งานแบบหนักๆ ทั้งติดตามการออกกำลังกายและติดตามค่าสุขภาพแบบ 24/7 แล้วนั้นในการใช้งานพบว่า Amazfit GTS 2 mini จะอยู่ได้ที่ราวๆ 4 วันเท่านั้น
สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มนั้นจะใช้เวลาอยู่ที่ 1.45 ชั่วโมง
สรุป
ต้องยอมรับว่า Amazfit GTS 2 mini นั้นทำออกมาได้เหมาะสมกับราคาค่าตัวของมันจริงๆ กับราคาจำหน่ายที่ 3,190 บาทแล้วได้ฟีเจอร์มาแบบจัดเต็มขนาดนี้ถือว่าคุ้มเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นหากจะเอาไปใช้งานจริงจังในการติดตามค่าทางด้านสุขภาพหรือการออกกำลังกายแล้วล่ะก็ Amazfit GTS 2 mini น่าจะยังไม่ตอบโจทย์มากเท่าไรนักเพราะยังมีความผิดพลาดให้เห็นอยู่บ้าง
ที่มา : techradar, notebookcheck
อ่านบทความเพิ่มเติม/เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- รวมมือถือ Snapdragon ซีรี่ส์ 800 ทั้งหมดที่มีขายในไทย [อัพเดต พ.ค. 2564]
- Infinix เตรียมปล่อย HOT 10S ชิป Helio G85 และจอ 90Hz พร้อมขาย 6 มิ.ย. นี้
- รวมวิธีเช็คเม็มทุกระบบทุกอุปกรณ์ กันไว้ก่อนที่จะเต็ม
- วิธี Backup iPhone และกู้คืน iPhone ทั้งบน iCloud/ลงคอมฯ ป้องกันข้อมูลหายหรือย้ายไปเครื่องใหม่
- สุดยอด Emulator สำหรับเล่นเกมยุค 90 หรือ ยุค 2000 ในปัจจุบัน
- 20 เคล็ดลับปรับแต่ง Android ให้เร็ว ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง ตอนที่ 1