หนึ่งในสิ่งที่ทุกคนที่ต้องคิดถึงกัน ก่อนที่จะซื้อโทรศัพท์มือถือซักเครื่อง แน่นอนว่าต้องเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า ทำยังไงให้คุ้มที่สุด? วันนี้เราจะมานำเสนออีกหนึ่งทางเลือกในการที่ซื้อโทรศัพท์มือถิอที่คุ้มค่า โดยจะแนะนำวิธีการคำนวนว่ามีวิธีการอย่างไร หลายคนอาจจะกังวลว่าซื้อเครื่องพร้อมแพ็กเกจแล้วจะแพงกว่าซื้อเครื่องเปล่า หรือหลายคนอาจจะคิดว่าซื้อเครื่องพร้อมแพ็กเกจแล้วจะได้ราคาเครื่องที่ถูกกว่า ผมว่าทั้งสองประเด็นนี้มีส่วนที่ถูก และส่วนที่ผิดคล้าย ๆ กัน ว่าแล้วเราไปดูกันดีกว่า
ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มต้นคำนวนกันผมขอให้ทุกคนพิจารณาส่วนนี้กันก่อน
สิ่งที่นำมาพิจารณา
- ค่าใช้จ่ายรายเดือนเดิม หรืองบประมาณค่าโทรศัพท์ต่อเดือน เทียบกับ ค่าใช้จ่ายรายเดือนใหม่ จ่ายไหว ใช้คุ้มไหม
- รุ่นที่ต้องการซื้อ หรืองบประมาณค่าเครื่อง
- บางรุ่นไม่มีในรายการให้เลือก
- ส่วนลดเพิ่มเติมต่าง ๆ เช่นย้ายค่ายเบอร์เดิม หรือส่วนลดอื่น ๆ
- ส่วนลดบัตรเครดิตต่าง ๆ (ในบทความนี้ขอไม่นำมาคำนวนให้ดูนะครับ)
- เงื่อนไขของแต่ละค่ายจะต่างกันเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วเหมือนกัน
- ยังไม่รวม vat ในส่วนของค่าบริการรายเดือน
- ต้องติดสัญญาค่ายนี้ไปอีก 1 ปี ถ้าไม่เปลี่ยนโปร หรือย้ายค่าย ก็โอเค
- ความสะบายใจ เราอยากจะขายเครื่องต่อในระยะเวลา 1 ปีไหม
ถ้าผ่านคำถามเหล่านั้นมาได้ ถึงไม่หมดทุกข้อ แต่ถ้ายอมรับข้อไหนได้ก็ถือว่าผ่านครับ ต่อมาเราจะเข้าสู่การคำนวนกันครับ เริ่มต้นจากสูตรที่ผมได้คิดขึ้นมาแบบง่าย ๆ กันครับ
สูตรการคำนวน
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ตัวอย่างที่ 1
เงื่อนไขมีอยู่ว่า หากต้องการราคาเครื่องที่ลดลง 8000 บาท ต้องสมัครแพ็กเกจ 899 บาทต่อเดือน
ตัวแปร : ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท, ราคาเครื่องเปล่า 30500 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 899 บาท
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 899 บาท x 12)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 10788 บาท)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 7788 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 30228 บาท
เมื่อเราคำนวนได้ ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี มาแล้ว ให้ลองนำมาเทียบกับ ราคาเครื่องเปล่าดูครับ ราคาเครื่องเปล่า – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี = ส่วนต่าง
ราคาเครื่องเปล่า 30500 บาท – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 30228 บาท = 272 บาท
สรุป
เมื่ออย้อนกลับไปดูด้านบนจะพบว่า ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน รวมส่วนที่จ่ายล้วงหน้า = 7788 บาท หรือก็คือไม่เกิน 8000 บาท ที่คนวนได้จาก ส่วนต่างราคาเครื่องเปล่า – ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว แบบนี้เหมือนกับว่าซื้อเครื่องพร้อมค่าโทรในราคาเครื่องเปล่าเลยครับ
มากันที่คำถามถัดไป วันที่ไปซื้อเครื่องต้องจ่ายเท่าไหร่? ให้คำนวนจากตัวอย่างได้เลยครับ
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว + จ่ายล้วงหน้า
22500+ 3000 = 25500
และอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกลัวกันมาก ก็คือค่าใช้จ่ายรายเดือน ผมจะคำนวนให้ดูง่าย ๆ ตามตัวอย่างเลยครับ
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 / 12 = 250
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน
899 บาท – 250 บาท = 649 บาท ค่าบริการที่ต้องจ่ายต่อเดือน
ตัวอย่างที่ 2
เงื่อนไขมีอยู่ว่า หากต้องการราคาเครื่องที่ลดลง 4000 บาท ต้องสมัครแพ็กเกจ 599 บาทต่อเดือน
ตัวแปร : ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 4490 บาท, ราคาเครื่องเปล่า 8490 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 599 บาท
ก็เริ่มต้นกันด้วยสูตรเหมือนเดิม
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 4490 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 599 บาท x 12)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 4490 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 7188 บาท)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 4490 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 5188 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 9678 บาท
เมื่อเราคำนวนได้ ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี มาแล้ว ให้ลองนำมาเทียบกับ ราคาเครื่องเปล่าดูครับ ราคาเครื่องเปล่า – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี = ส่วนต่าง
ราคาเครื่องเปล่า 8490 บาท – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 9678 บาท = 1188 บาท
สรุป
สำหรับบางรุ่นจะคำนวนออกมาแล้วพบว่า เกินราคาเครื่องเปล่าไปบ้าง แต่อย่าลืมว่าราคานี้ได้รวมค่าบริการรายเดือน 12 เดือนเข้าไปด้วยแล้ว ส่วนจะคุ้มหรือไม่ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนคุณได้นะครับ
มากันที่คำถามถัดไป วันที่ไปซื้อเครื่องต้องจ่ายเท่าไหร่? ใหเคำนวนจากตัวอย่างได้เลยครับ
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว + จ่ายล้วงหน้า
8490 บาท + 2000 บาท = 10490 บาท
และอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกลัวกันมาก ก็คือค่าใช้จ่ายรายเดือน ผมจะคำนวนให้ดูง่าย ๆ ตามตัวอย่างเลยครับ ครั้งนี้ผมขอคำนวนให้เป็นตัวเลขกลม ๆ แทนนะครับ
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 / 10 = 200
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน
599 บาท – 250 บาท = 399 บาท ค่าบริการที่ต้องจ่ายต่อเดือน
ตัวอย่างที่ 3
เงื่อนไขมีอยู่ว่า หากต้องการราคาเครื่องที่ลดลง 5000 บาท ต้องสมัครแพ็กเกจ 599 บาทต่อเดือน
ตัวแปร : ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 12900 บาท, ราคาเครื่องเปล่า 17900 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 599 บาท
ก็เริ่มต้นกันด้วยสูตรเหมือนเดิม
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 12900 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 599 บาท x 12)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 12900 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 7188 บาท)
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว 12900 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 5188 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 18088 บาท
เมื่อเราคำนวนได้ ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี มาแล้ว ให้ลองนำมาเทียบกับ ราคาเครื่องเปล่าดูครับ ราคาเครื่องเปล่า – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี = ส่วนต่าง
ราคาเครื่องเปล่า 17900 บาท – ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 18088 บาท = 118 บาท
สรุป
สำหรับตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่าราคาอาจะแพงกว่า ราคาเครื่องเปล่าซักเล็กน้อย ซึ่งครั้งนี้สามารถมองข้ามไปได้ เพราะส่วนต่างน้อย จนเกือบจะเรียกได้ว่าซื้อเครื่องแถมค่าโทรเลยละครับ
มากันที่คำถามถัดไป วันที่ไปซื้อเครื่องต้องจ่ายเท่าไหร่? ใหเคำนวนจากตัวอย่างได้เลยครับ
ราคาเครื่องที่ลดแล้ว + จ่ายล้วงหน้า
12900 บาท + 2000 บาท = 14900 บาท
และอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกลัวกันมาก ก็คือค่าใช้จ่ายรายเดือน ผมจะคำนวนให้ดูง่าย ๆ ตามตัวอย่างเลยครับ ครั้งนี้ผมขอคำนวนให้เป็นตัวเลขกลม ๆ แทนนะครับ
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 / 10 = 200
ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน
599 บาท – 250 บาท = 399 บาท ค่าบริการที่ต้องจ่ายต่อเดือน
ตัวอย่างที่ 4
หลายคนอาจจะเคยเจอว่า ถ้าจ่ายรายเดือนในราคาที่สูงขึ้นจะได้ลดค่าเครื่องลง จะถูกลงจริงหรือไม่ ผมได้เปรียบเทียบไว้ให้แล้วครับ
แพ็กเกจที่1
ตัวแปร : ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 25500 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 599 บาท
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 25500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 599 บาท x 12)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 25500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 2000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 7188 บาท)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 25500 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 5188 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 30688 บาท
แพ็กเกจที่2
ตัวแปร : ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 899 บาท
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 899 บาท x 12)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 3000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 10788 บาท)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 22500 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 10788 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 30228 บาท
แพ็กเกจที่3
ตัวแปร : ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 20500 บาท , ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 4000 บาท และ ค่าบริการรายเดือน 1099 บาท
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน) = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 20500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 4000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 1099 บาท x 12)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 20500 บาท + (ส่วนที่จ่ายล้วงหน้า 4000 บาท – ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 13188 บาท)
ราคาค่าเครื่องที่ลดแล้ว 20500 บาท + ค่าบริการรายเดือน 12 เดือน 13188 บาท = ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี 29688 บาท
หลังจากนั้นให้นำเอา ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี ของทั้ง 3 แพ็กเกจมาเปรียบเทียบกัน
แพ็กเกจ1 – แพ็กเกจ2 30688 บาท – 30228 บาท = 460 บาท
แพ็กเกจ2 – แพ็กเกจ3 30228 บาท – 29668 บาท = 540 บาท
แพ็กเกจ1 – แพ็กเกจ3 30688 บาท – 29668 บาท = 1020 บาท
สรุป
เรียกได้ว่ายิ่งสมัครแพ็กเกจแพงยิ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายภายใน 1 ปีถูกลง หรืออาจจะเรียกว่า จ่ายรายเดือนแพง แต่ค่าเครื่องถูก ก็ได้ครับ สำหรับใครที่ไม่่อยากที่จะจ่ายค่ารายเดือนแพง ก็อาจจะเลือกแพ็กเกจอื่น แทนก็ได้ครับก็จะกลายเป็น จ่ายรายเดือนถูก แต่ค่าเครื่องแพงแทนครับ อย่าลืมนะครับ สมัครแพ็กเกจมาแพงแต่ใช้งานไม่หมดก็เสียดายนะครับ
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถประเมินค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ได้แแล้วครับ เป็นอย่างไรบ้างครับกับวิธีการและสูตรที่ผมนำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางให้เพื้อน ๆ ได้ลองนำไปคำนวนดูได้นะครับ