Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Editorial»[บทความแปล] Hands-on ระบบปฏิบัติการ Firefox OS สำหรับสมาร์ทโฟน
    Editorial

    [บทความแปล] Hands-on ระบบปฏิบัติการ Firefox OS สำหรับสมาร์ทโฟน

    ZeroSystemBy ZeroSystem30 มีนาคม 2013Updated:3 เมษายน 2013
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    บทความนี้เป็นการแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยจากบทความ Hands-on ของต่างประเทศนะครับ

    ในปีนี้ เป็นที่คาดกันว่าเราน่าจะได้เห็นระบบปฏิบัติการใหม่ของวงการสมาร์ทโฟน นั่นก็คือ Firefox OS ที่มาพร้อมกับสมาร์ทโฟนราคาไม่แพงเริ่มวางจำหน่ายในบางประเทศ โดยจุดเด่นของ Firefox OS นอกเหนือจากเรื่องราคาเครื่องที่เข้าถึงตลาดได้ง่ายแล้ว ก็จะเป็นส่วนของซอฟต์แวร์ เนื่องจากใช้คอร์ระบบเป็นเชิง web-based ที่ใช้ HTML5 เป็นหลักนั่นเอง

    ที่มาที่ไป

    ตัว Firefox OS นั้นเริ่มก่อกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างเมื่อปี 2011 โดยในขณะนั้นใช้ชื่อเรียกว่า Boot2Gecko ด้วยจุดประสงค์คือต้องการสร้างระบบปฏิบัติการที่ใช้รากฐานเดียวกับ Mozilla Firefox เว็บเบราเซอร์ชื่อดัง แต่ต่อมาก็ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางมาทำเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนแทน และเปลี่ยนไปใช้ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Firefox OS ที่แต่ละท่านน่าจะคุ้นหูคุ้นตากันในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Mozilla ได้เปิดเผยสเปกของมือถือที่จะใช้งาน Firefox OS รวมไปถึงกลุ่มประเทศที่จะเริ่มจำหน่ายสมาร์ทโฟน Firefox OS เป็นกลุ่มแรกของโลก โดยมีอยู่ 4 แบรนด์หลักๆ ที่จะเป็นผู้ผลิตตัวเครื่อง ได้แก่ Alcatel, LG, ZTE และ Huawei ซึ่งในขณะนี้มีผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 17 รายทั่วโลกเตรียมพร้อมที่จะจัดจำหน่ายเครื่องภายในช่วงสิ้นปีนี้ด้วย ส่วน 9 ประเทศแรกที่จะเริ่มเปิดขายมือถือ Firefox OS ก็ได้แก่

    • บราซิล
    • โคลัมเบีย
    • ฮังการี
    • เม็กซิโก
    • มอนเตเนโกร
    • โปแลนด์
    • เซอร์เบีย
    • สเปน
    • เวเนซุเอลา

    คอนเซ็ปท์และการพัฒนา

    ย้อนไปตั้งแต่การเปิดตัว iPhone รุ่นแรก ซึ่งในขณะนั้น ตัวระบบปฏิบัติการของ iPhone (ยังไม่ใช้ชื่อว่า iOS) กำเนิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะให้ทุกแอพพลิเคชันเป็นการทำงานแบบ web-based เพราะ Jobs เชื่อว่าการทำงานต่างๆ น่าจะใช้เพียงแค่การทำงานแบบเว็บที่ใช้ HTML ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนแอพที่สร้างจาก API เฉพาะอีก ยกเว้นแต่แอพของระบบที่ใช้ API เฉพาะ แต่ในเวลาต่อมา Apple ก็เปลี่ยนแนวทาง และปล่อยชุด SDK สำหรับพัฒนาแอพด้วยภาษา Objective C พร้อม API ออกมาแทน และก่อกำเนิดเป็น App Store อยู่ในปัจจุบัน

    ซึ่งแนวทางของ Firefox OS นั้นก็เรียกว่ามีทั้งส่วนที่ใกล้เคียงและส่วนที่แตกต่างจาก iPhone โดยจุดที่ใกล้เคียงกันก็คือแนวความคิดที่จะให้แอพพลิเคชันอื่นๆ นั้นทำงานในรูปแบบของเว็บแอพ ส่วนเรื่องที่แตกต่างกันก็คือ Firefox OS จะใช้ทุกส่วนตั้งแต่คอร์การทำงานไปถึงส่วนการแสดงผลในทุกๆ จุดเป็น HTML5 ทั้งหมด ผ่านการเรนเดอร์ด้วย Gecko Engine ไม่มีการใช้ API เฉพาะ ทำให้การพัฒนา Firefox OS เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความสามารถในการพัฒนามากๆ แถมทาง Mozilla เองก็ยังต้องการจะให้การพัฒนา HTML5 ของตนผ่านการรับรองจากองค์กร W3C อีก เพื่อที่เว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆ จะได้สามารถนำมาตรฐานนี้ไปปรับใช้กับตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ HTML5 ได้รับการต่อยอดเพิ่มความสามารถออกไปจากปัจจุบันอีก อันจะเกิดผลดีทั้งกับวงการพัฒนาเว็บไซต์และตัว Firefox OS เองด้วย

    ตัวอย่างของผลที่ได้จากการพัฒนา Firefox OS ก็คือ API การแสดงผลปริมาณ Battery ที่เหลืออยู่ของอุปกรณ์ ซึ่งผ่านการรับรองของ W3C และกลายเป็นมาตรฐานให้เว็บเบราเซอร์อื่นๆ นำไปใช้งานได้ โดยได้นำไปบรรจุไว้ในชุด WebKit ซึ่งเป็นเอนจินในการพัฒนาและแสดงผลของเว็บเบราเซอร์ ที่ในปัจจุบันมีเว็บเบราเซอร์เด่นๆ ที่ใช้งานอยู่ก็เช่น Google Chrome, Safari และ Opera ทำให้เว็บเบราเซอร์เหล่านี้สามารถใช้งาน API ที่เกิดมาจากการพัฒนาของ Firefox OS ได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เว็บเบราเซอร์เกิดการพัฒนาขึ้นไปกว่าเดิม

    โครงสร้างและสถาปัตยกรรมระบบ

    Firefox OS ใช้งานเอนจินด้วยกัน 3 ชั้น ได้แก่

    • Gecko เป็นเอนจินชั้นกลาง ทำหน้าที่ในการเรนเดอร์การแสดงผลต่างๆ จากคอร์ของระบบ
    • Gonk เป็นเอนจินชั้นล่างสุด มีรากฐานมาจาก Android ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้ Gonk ก็คือเพื่อทำให้มั่นใจว่าเครื่องไหนที่รัน Android ได้ ก็สามารถรัน Firefox OS ได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการเลือกใช้งาน Firefox OS ของผู้ผลิตเครื่องเอง
    • Gaia เป็นเอนจินชั้นบนสุด (เหนือ Gecko) ใช้สำหรับควบคุม UI
    ซี่งทาง Andreas Gal ผู้บริหารและดูแลส่วนงานวิจัยพัฒนา Firefox OS เปิดเผยว่าตัวระบบปฏิบัติการของตนนั้น มีข้อดีก็คือสามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ได้ง่ายกว่า Android มาก เนื่องจากในปัจจุบัน Google เองต้องอาศัยข้อมูลบางส่วนก่อน จึงจะสามารถพัฒนาและอัพเดตระบบได้ และถ้ามีผู้ให้บริการรายใดเตะถ่วงการให้ความร่วมมือออกไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาการอัพเดตซอฟต์แวร์ล่าช้า อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ทาง Mozilla เองจะพยายามป้องกันปัญหาในส่วนนี้เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้การอัพเดต Firefox OS เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    ?
    แอพพลิเคชันบน Firefox OS
    ?
    ถ้ามองดูแอพพลิเคชันของ iOS และ Android ในปัจจุบัน จะพบว่าทั้งสองแพลตฟอร์มต่างก็มีระเบียบและแนวทางในการพัฒนาแอพของตนเองอยู่ โดยเฉพาะ iOS ที่ค่อนข้างจะเข้มงวดกว่าพอสมควร แต่ในรายของ Firefox OS นั้น เนื่องด้วยเป็นการสร้างแอพพลิเคชันแบบเว็บแอพ และไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าระบบร้านขายแอพของ Mozilla ด้วย อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากการเป็นเว็บแอพได้ เช่น แอพในเครื่องอาจจะเป็นแค่ shortcut เพื่อเรียกไปยังเซิฟเวอร์ในขณะใช้งานก็ได้ ซึ่งระบบเองก็ยังอนุญาตให้แอพสามารถแคชไฟล์เอาไว้ได้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้สามารถแสดงผลและทำงานได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์ หรือจะไว้ช่วยให้ในการเปิดแอพครั้งต่อๆ ไปเร็วขึ้นก็ได้ด้วยเช่นกัน ส่วนแอพไหนที่ต้องการจะติดตั้งไฟล์ไว้ในเครื่องเลย ก็สามารถสร้างแพ็คเกจเป็นไฟล์ zip สำหรับเก็บไฟล์จำเป็นในการใช้งานแอพได้ด้วย
    ?
    การทำงานของแอพพลิเคชัน ในขณะนี้จะมีเพียงแอพเฉพาะบางตัวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิ์เข้าใช้งาน API ของระบบ เช่นความสามารถในการเข้าถึง contact, เพลง, รูปภาพ รวมไปถึงข้อมูลบางส่วนในแหล่งเก็บข้อมูลของเครื่องเท่านั้น ส่วนนักพัฒนาที่ต้องการให้แอพของตนสามารถใช้งาน API หลักๆ ดังกล่าวได้นั้น จำเป็นที่จะต้องนำส่งแอพเพื่อให้ทาง Mozilla ตรวจสอบ (Certified) ก่อน จึงจะสามารถใช้งานได้
    ?
    ?
    การใช้งานจริง
    ?
    สมาร์ทโฟน Firefox OS ที่ทางผู้ทดสอบได้ลองใช้งานนั้นคือ GeeksPhone ของ Keon ที่มีสเปกเพียงแค่
    • ชิปประมวลผล Qualcomm Snapdragon S1 ความเร็ว 1 GHz
    • RAM 512 MB
    • จอขนาด 3.5 นิิ้ว ความละเอียด 480×320

    ซึ่งสเปกโดยรวมถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับมือถือ Android ในปัจจุบัน แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาขณะใช้งานนั้นจัดว่าอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ เริ่มต้นมาก็จะเป็นการตั้งค่าเครื่อง เช่นภาษา, เวลา, การเชื่อมต่อ WiFi ส่วนจุดที่ทางผู้รีวิวให้ข้อสังเกตเอาไว้ เช่น

    • ยังไม่สามารถค้นหาอีเมลทั้งหมดได้ ตอนนี้สามารถค้นหาเฉพาะอีเมลที่เก็บอยู่ในเครื่องเท่านั้น ถ้าจะหาเมลอื่นๆ ต้องดาวน์โหลดอีเมลลงมาเก็บในเครื่องก่อน
    • สามารถแนบไฟล์ในอีเมลได้แล้ว (ช่วงแรกยังไม่สามารถทำได้)
    • ระบบ sync ปฏิทินสามารถใช้งานได้ดี สามารถล็อกอินได้ทั้ง Google, Yahoo หรือจะใช้ผ่านโปรโตคอล CalDav ก็ได้
    • การแสดงผล Notifications มีลักษณะคล้ายใน Android และ iOS มีทั้งแสดงไอคอนตรงมุมซ้ายบนของจอ หรือจะ swipe จากแถบบนลงมาเพื่อเรียกดูรายการ Notifications ทั้งหมด
    • หลายๆ แอพยังไม่รองรับการ sync แบบเบื้องหลัง เช่น Twitter
    • สามารถ import contact จาก Facebook และซิมการ์ด แต่ยังไม่สามารถ import จาก Gmail หรือสมุดรายชื่อของ Apple ใน iCloud ได้
    • การฟังเพลงในเครื่อง เบื้องต้นยังรองรับแค่เพลงที่นำเข้ามาจากคอมพิวเตอร์ผ่านทาง USB เท่านั้น ยังไม่มีระบบการซื้อหรือสตรีมมิ่งเพลงจากระบบออนไลน์
    • ใน Keon GeeksPhone นี้ มีการติดตั้ง HERE Maps มาให้ แต่ทางผู้รืวิวให้ความเห็นว่ามีการจัดหน้า UI ที่ไม่เหมาะกับการใช้งาน เพราะมีปุ่มบังแผนที่มากเกินไป ทั้งๆ ที่หน้าจอมีขนาดเพียง 3.5 นิ้ว
    • คีย์บอร์ดไม่มีระบบการตรวจและแก้ไขคำผิดอัตโนมัติมาให้

    โดยภาพรวมแล้ว จัดว่า Firefox OS เป็นแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองในวงการสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นผลประโยชน์กับทาง Firefox OS เองแล้ว การพัฒนาครั้งนี้ยังจะเป็นการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับวงการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยครับ

    ที่มา : Ars Technica

    Firefox OS hands-on
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    ZeroSystem

    Related Posts

    แนะนำมือถือ Samsung ใช้งานง่าย งบ 5,000 / 10,000 / 15,000 / 20,000

    19 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 10 โทรศัพท์ซัมซุงราคาไม่เกิน 5000-10000 บาทปี 2025 รุ่นไหนดี สเปคครบในงบเบาๆ

    17 พฤษภาคม 2025

    25 อนิเมะต่อสู้พระเอกเก่ง การ์ตูนต่อสู้น่าดูที่มีเนื้อหาสนุกๆ เรื่องไหนดีบน Netflix และแอพอื่นๆ ในปี 2025

    17 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    Apple อาจไม่เปิดตัวหูฟังรุ่นใหม่ จนกว่าจะถึง AirPods Pro 3 ในปี 2026

    19 พฤษภาคม 2025

    Apple อาจไม่เผยฟีเจอร์ใหม่ของ Siri ใน WWDC25 มากนัก และอาจเปิดให้ผู้ใช้ใน EU เปลี่ยนไปใช้ผู้ช่วยอื่นได้

    19 พฤษภาคม 2025

    แนะนำมือถือ Samsung ใช้งานง่าย งบ 5,000 / 10,000 / 15,000 / 20,000

    19 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 10 โทรศัพท์ซัมซุงราคาไม่เกิน 5000-10000 บาทปี 2025 รุ่นไหนดี สเปคครบในงบเบาๆ

    17 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X