สรุปช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) เพื่อลดหย่อนภาษีปี 2568 มีเงื่อนไขอะไร ซื้ออะไรได้บ้าง มีร้านไหนบ้างที่เข้าร่วม?
เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นปีของทุกๆ ปี เหล่าพนักงานหรือคนทำงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็มักจะให้ความสนใจไปที่การช้อปเพื่อลดหย่อนภาษี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของทางรัฐบาลที่นอกจากจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แล้ว ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการลดหย่อนภาษีประจำปีด้วยเช่นกัน โดยในปี 2568 นี้ Easy E-Receipt 2.0 หรือช้อปดีมีคืน 2568 ก็ได้กลับมาอีกครั้งสำหรับคนที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท แต่เงื่อนไขและรายละเอียดการช้อปนั้นจะต่างกับปีที่แล้วอยู่ด้วย วันนี้ทาง Specphone จะมาสรุปง่ายๆ ให้ว่าช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) เพื่อลดหย่อนภาษีปี 2568 มีเงื่อนไขอะไร ซื้ออะไรได้บ้าง และมีร้านไหนบ้างที่เข้าร่วม?
- Easy E-Receipt 2.0 ช้อปดีมีคืน 2568 คืออะไร?
- Easy E-Receipt 2.0 ช้อปดีมีคืน 2568 มีเงื่อนไขใหม่ยังไง เริ่มและสิ้นสุดวันไหน?
- Easy E-Receipt 2.0 ช้อปดีมีคืน 2568 ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง?
- ใครบ้างที่มีสิทธิ์เข้าร่วมช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0)
- Easy E-Receipt 2.0 ช้อปดีมีคืน 2568 มีร้านไหนบ้างที่เข้าร่วม
5 มือถือน่าซื้อ รับโปรสิทธิ์ลดหย่อน Easy E-Receipt 2.0 2568
ช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) คืออะไร?
ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับโครงการช้อปดีมีคืน 2568 หรือว่า Easy E-Receipt 2.0 กันก่อนเลย สำหรับ Easy E-Receipt 2.0 นั้นเป็นมาตรการที่ต่อยอดมาจากช้อปดีมีคืน มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศของรัฐบาล โดยการให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในแต่ละปี สามารถนำค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่มีโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า หรือค่าบริการต่างๆ ที่มี E-Tax Invoice หรือ E-Receipt ก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุด 50,000 บาท
ช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) มีเงื่อนไขใหม่ยังไง เริ่มและสิ้นสุดวันไหน?
สำหรับโครงการช้อปดีมีคืน 2568 หรือ Easy E-Receipt 2.0 ในปีนี้ก็ได้มีเงื่อนไขใหม่ออกมา (ซึ่งจะต่างจากเมื่อปี 2567 ที่สามารถซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่ออกใบ e-Tax Invoice ก็สามารถนำไปลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาทเลย) โดยโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในปี 2568 ใหม่นี้ จะลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาทเหมือนกัน แต่ว่าจะมีการแบ่งวงเงินในการใช้เป็น 2 ส่วนได้แก่
- วงเงิน 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้า และบริการตามที่กำหนดที่มีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ E-Receipt หรือออกใบกำกับภาษี e-Tax Invoice เต็มรูปแบบเป็นหลักฐานได้เท่านั้น
- วงเงิน 20,000 บาท สำหรับซื้อสินค้า หรือใช้จ่ายร้านวิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจเพื่อสังคม, SMEs และร้านค้า OTOP ที่อยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice หรือ E-Receipt) ถึงจะนำมาลดหย่อนได้
ทั้งนี้ก็อย่าลืมว่าไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีหรือใบรับรูปแบบกระดาษได้ จะต้องเป็นแบบ E-Tax Invoice หรือ E-Receipt ที่เข้าสู่ระบบได้เท่านั้น ส่วนวันเริ่มต้นสำหรับโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในปี 2568 นั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 นี้เท่านั้น
เพิ่มเติมสิ่งที่ควรรู้: ในกรณีที่ซื้อซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไปในวงเงินเกิน 30,000 บาท (เช่น 40,000-50,000 บาท) ก็จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาทเท่านั้น (อยู่ในวงเงินแรก) ถ้าน้อยกว่า 30,000 บาทก็จะยังเหลือวงเงินลดหย่อนได้ในส่วนแรก
แต่ถ้าหากเราใช้จ่ายกับร้านวิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจเพื่อสังคม และร้านค้า OTOP ในวงเงินเกิน 20,000-30,000 บาท (เช่น 50,000 บาท) จะนับว่าเป็นการใช้สิทธิ์จากทั้งวงเงินที่ 1 และ 2 ซึ่งหมายความว่าจะนำไปลดหย่อนได้ในจำนวนเต็ม 50,000 บาทจากทั้งสองวงเงิน หรือถ้าหากใช้ในวงเงิน 40,000 บาทก็จะเหลือวงเงิน 10,000 บาทเป็นวงเงินที่ 2 เท่านั้น
นอกจากนี้ช้อปดีมีคืน 2568 ยังมีเรื่องของหลักฐานในการเก็บข้อมูลที่ควรจะต้องมีทั้งใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ หรือว่าใบเสร็จรับเงินในแบบอิเล็กทรอนิกส์ E-Tax Invoice ที่มีทั้งข้อมูลผู้ขาย มีชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของเราเอง (เลขบัตรประชาชน) กับข้อมูลราคา วันที่ของแต่ละรายการด้วย
ช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง?
แน่นอนว่าโครงการช้อปดีมีคืนในปี 2568 นี้ก็ไม่ใช่ว่าจะซื้อของได้ทุกอย่างและนำมาร่วมกับโครงการเพื่อลดหย่อนภาษีได้ เพราะว่ายังมีบางสินค้าและบริการที่ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีและไม่ได้ร่วมกับโครงการนี้ด้วย ได้แก่
- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ และยาสูบ
- ค่าน้ำมัน ก๊าซ หรือค่าอัดพลังงานประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยานที่มีเครื่องยนต์ และเรือ
- ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ และค่าอินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม และโฮมสเตย์ หรือที่พักต่างๆ
- ค่าสินค้าและบริการที่มีข้อตกลงนอกเหนือจากวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 68 ก็คือก่อนวันที่ 16 ม.ค. หรือหลัง 28 ก.พ. 2568 ไม่ได้
- ค่ารักษาพยาบาล ค่าศัลยกรรม หน้ากากอนามัยและเครื่องมือการแพทย์ ทองคำ ผักและผลไม้สด บัตรกำนัล (Gift Voucher) ที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้า (เพราะทั้งหมดนี้ไม่อยู่ในกลุ่มที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว)
ใครบ้างที่มีสิทธิ์เข้าร่วมช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) (เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะเข้าร่วมได้)
นอกจากเรื่องสินค้าและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน หรือ Easy E-Receipt 2.0 ปี 2568 นี้ ถึงแม้ว่าจะซื้อของหรือเข้าสู่เงื่อนไขมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องรู้ตัวเองก่อนด้วยว่าเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ โดยบุคคลที่ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 นี้ได้หรือว่าไม่จำเป็นต้องเสียภาษีก็คือบุคคลที่มีรายได้หรือเงินเดือนแต่ละเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท หรือว่ารายได้สุทธิตลอดทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท เพราะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีอยู่แล้ว
ส่วนคนที่มีรายได้เกินกว่านี้ถึงจะเข้าร่วมกับโครงการได้ และจะต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2568 ซึ่งจะนำไปยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2569 เท่านั้น ทั้งนี้ค่าลดหย่อนภาษีในปี 2568 กับโครงการ Easy E-Receipt 2.0 นี้ ไม่ใช่ว่าจะได้รับเงินคืน 50,000 บาทตามที่หลายคนเข้าใจผิด เพราะเงินคืนที่จะได้นั้น ขึ้นอยู่กับ เงินและอัตราภาษี ของแต่ละบุคคล (ได้คืนสูงสุด 17,500 บาท สำหรับคนที่เสียอัตราภาษี 35%) ตามตารางด้านล่างนี้เลย
รายได้สุทธิ (ต่อปี) อัตราภาษี เงินคืนภาษีสูงสุด น้อยกว่า 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น (ไม่เข้าร่วมโครงการ) 0 บาท 150,001 – 300,000 บาท 5% 2,500 บาท 300,001 – 500,000 บาท 10% 5,000 บาท 500,001 – 750,000 บาท 15% 7,500 บาท 750,001 – 1,000,000 บาท 20% 10,000 บาท 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% 12,500 บาท 2,000,001 – 5,000,000 บาท 30% 15,000 บาท มากกว่า 5,000,000 บาท 35% 17,500 บาท
ช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) มีร้านไหนบ้างที่เข้าร่วมและมี E-Tax Invoice กับร้าน OTOP สำหรับลดหย่อนภาษี
สำหรับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 หรือช้อปดีมีคืน 2568 นี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบและเช็คจากชื่อร้านค้า, บริษัทได้ที่ etax (ระบบ E-Tax Invoice, E-Receipt) และ interapp3 (ระบบ E-Tax Invoice และ Time Stamp) ส่วนร้านค้าชั้นนำทั่วไปและร้านค้า OTOP เบื้องต้นที่เข้าร่วมโครงการและนำไปลดหย่อนภาษีได้มีดังนี้
ห้างสรรพสินค้า/ ซูเปอร์มาร์เก็ต/ ช้อปออนไลน์
Central, Tops, Lotus’s, Makro, Big C, Robinson, GO Wholesale, The Mall Group, Emporium, Emquartier, Emsphere, Paragon, ICONSIAM, Future Park & Zpell, Siam Discovery, Siam Center, Bluport, Siam Takashimaya, Foodland, Maxvalu, Rimping Villa Market, Lazada (ที่มีป้าย tag Easy E-Receipt), Shopee (ที่มีป้าย tag Easy E-Receipt)
แบรนด์ Luxury/ แฟชั่น/ เครื่องสำอาง/ เครื่องประดับ
Comme Des Garcons, Issey Miyake, ALEXANDER WANG, THOM BROWNE, BOYY, Jaspal, Misty Mynx, Polo Ralph Lauren, Calvin Klein, MLB, Crocs, Charles & Keith, Anello, Eveandboy, Beautrium, Beautilab, Beauty Buffet, BFF, Clarins online, วัตสัน, kiehl’s, Boots
Cos Marche, Cute Press, Dior online, Dr.Pong, Firster, Oriental Princess Better Vision, Egg Optical, Eye Gallery, eyehouse, KT Optic, Monde, Optical 88, Owndays, Seven Days Optic, The Next, Top Charoen, WALTZ Jubilee, Seiko
สินค้าไอที/ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ
AIS, TRUE | DTAC, Jaymart, TG, Samsung.com, Advice,BaNANA, IT City, JIB, Studio7, iStudio by Copperwired, iStudio by SPVI,iStudio by Uficon Big camera, Zoom camera, Fotofile, EC mall
เครื่องใช้ไฟฟ้า/ บ้าน และเฟอร์นิเจอร์
Powerbuy, Powermall, HomePro, Mega Home, IKEA, ไทวัสดุ, BNB Home, Boonthavorn, Dohome, Global House, Index Living Mall, NocNoc, SB Design Square, Sigma Sofa, วีรสุ, Modernform Furniture, Loft, CPAC
อุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์/ ยาง
AUTO1, Autobacs, Autocliks, B-Quik, Cockpit, FIT AUTO, Tyreplus, MMS Bosch Car Service
ร้านแว่นตา/ ร้านหนังสือ และเครื่องเขียน/ กีฬา
KT OPTIC, infinite, Monde Eyewear, OWNDAYS, GLASSTIST, Decathlon, JD SPORTS, REV, Supersports, Asia Books, B2S, Bookazine, CHULA Book Center, นายอินทร์, SE-ED, Suriwong Book Centre, Kinokuniya
ร้านอาหาร/ ร้านอาหารในโรงแรม/ การท่องเที่ยว
Auntie Anne’s, Bar B Q Plaza, Laem Charoen Seafood, Mister Donut, MO-MO-PARADISE, Shabushi, Sukishi, Wisdom
Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park, Capella Bangkok, Grand Hyatt Erawan Bangkok, Siam Kempinski Hotel Bangkok, The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel, Bangkok, The Okura Prestige Bangkok และ Thai AirAsia, Thai Vietjet Air
สินค้า OTOP จากร้านค้าที่ร่วมรายการช้อปดีมีคืน 2568
- Thanyamanee Gems
- CHITA HOUSE
- kingmarind
- Win Kool Film
- Mantra Crafts
- Tropicana Oil Co., Ltd.
- วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริม และผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ต.โนนสำราญ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่ควรรู้พร้อมทั้งเงื่อนไขของโครงการช้อปดีมีคืน 2568 หรือว่า Easy E-Receipt 2.0 ที่เราได้นำมาสรุปกันแบบเข้าใจง่ายๆ จะได้ไม่สับสนกับการยื่นภาษีในปีหน้า ว่ามีทั้งเงื่อนไขอะไร ซื้ออะไรได้บ้าง มีร้านไหนบ้างที่เข้าร่วมกับโครงการ และใครบ้างที่มีสิทธิ์เข้าร่วมช้อปดีมีคืนในปี 2568 นี้ โดยหลักๆ แล้วถ้าเงินรวมสุทธิต่อปีไม่เกิน 150,000 บาทไม่จำเป็นต้องขอใบเสร็จหรือไม่สามารถเข้าร่วมได้นั่นแหละ แต่ถ้าใครที่เข้าเกณฑ์ก็ลองคำนวณดูก่อนว่าเสียต่อปีเท่าไหร่ เพราะถ้าเสียน้อยก็ไม่จำเป็นต้องซื้อให้ครบ 50,000 บาทเต็มวงเงิน เว้นแต่อยากได้เงินคืนภาษี (ดูจากตารางด้านบน) ถ้าใครที่เข้าใจได้ดีแล้วก็ไปช้อปกันได้เลยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 68 นี้เท่านั้นนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก itax