ARM ผู้สร้างสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลชื่อดังว่าสุดได้ทำการเปิดตัวสถาสปัตยกรรมใหม่สำหรับสมาร์ทโฟนอย่างๆ Cortex-X3, A715 และ A510 Refresh มุ่งเป้าทำให้อุปกรณ์สื่อสารมีความเร็วมากขึ้นกว่าเดิม ขูโรงด้วย Cortex-X3 ที่เร็วกว่าเดิม 25% ส่วน A715 และ A510 จะเน้นด้านประสิทธิภาพต่อหลังงานมากขึ้นกว่าเก่า
ก่อนหน้านี้พึ่งจะมีข่าวหลุดออกมาจากทาง Qualcomm เองว่าจะมีการเปิดตัวขชิปเซ็ทระดับเรือธงรุ่นใหม่อย่าง Qualcomm Snapdragon 8 Gen 2 ซึ่งจะเร็วกว่ากำหนดเดิมของทุกๆ ปีขึ้นมา 2 อาทิตย์ งานนี้ล่าสุดดูเหมือนเรื่องดังกล่าวนี้นั้นน่าจะมีมูลเหตุแล้วเพราะในวันนี้นั้นทาง ARM ผู้พัฒนาสถาปัตยกรรม Cortex สำหรับการใช้งานในการผลิตชิปเซ็ทได้ออกมาทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ของตัวเองทีเดียว 3 รุ่นกับ ARM Cortex-X3, ARM Cortex-A715 และ ARM Cortex-A510 Refresh
สำหรับพี่ใหญ่รุ่นใหม่อย่าง ARM Cortex-X3 นั้นทาง ARM ได้บอกเอาไว้ว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นกว่ารุ่น ARM Cortex-X2 ถึง 25% นอกไปจากหนั้นแล้วทาง ARM ยะงได้แอบบอกใบ้ว่าเราอาจจะได้เห็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ ARM Cortex-X3 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 3.3 GHz ได้อีกด้วยต่างหาก ซึ่งงานนี้นั้นได้ได้มีข้อมูลแอบหลุดตัวชิปที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM Cortex-X3 ภายใน SPECRate 2017_int_base, SPECint_base2006 และ Geekbench 5 benchmarks
สถาปัตยกรรม ARM Cortex-X3 นั้นยังขวงแคนคู่มากันกับ ARM DynamIQ Shared Unit(DSU-110) ซึ่งเป็นโมดูลรุ่นใหม่ที่จะอนุญาตสำหรับหารทำ heterogenous clusters ซึ่งจะทำให้ ชิปเซ็ทนั้นๆ สามารถที่จะใช้งานชิปเช็ทสถาปัตยกรรม ARM Cortex-X3 ได้สูงสุดมากถึง 12 แกนเลยทีเดียว (จริงๆ แล้วด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เองนั้นก็สามารถที่จะผลิตชิปเซ็ทเดี่ยวที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM Cortex-X3 เป็นแกนการประมวลผลได้มากสุดถึง 8 แกนแล้ว)
สำหรับรุ่นกลางอย่าง ARM Cortex-A715 และ ARM Cortex-A510 Refresh นั้นจะได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้นมาจากเดิมไม่มากเท่าไรนักเพราะทาง ARM เองนั้นมองว่าสถาปัตยกรรมทั้ง 2 นั้นดีอยู่แล้ว โดย ARM Cortex-A715 นั้นจะมาพร้อมกับประสิทธิภาพต่อพลังที่ดีมากกว่ารุ่น ARM Cortex-A710 ที่ราวๆ 20%(หากมองที่ประสิทธิภาพแล้วนั้นก็จะพบว่าดีกว่าเดิมราวๆ 5%)
ด้วยเหตุผลทางด้านการออกแบบทมี่ทาง ARM ได้ทิ้งตัวถอดรหัส AArch32 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชิปเซ็ทรุ่นใหม่ๆ (อย่าง ARM Cortex-X3 และ ARM Cortex-A715) เป็นผลให้แกนการประมวลผลสถาปัตยกรรมต่างๆ เหล่านั้นมีความสามารถในการจัดการกับชุดงานที่เป็นคำสั่งในรูปแบบ 64 bit เท่านั้น ทำให้สถาปัตยกรรมอย่าง ARM Cortex-A510 จึงยังมีความจำเป็นอยู่ โดยสำหรับรุ่น Refresh นี้นั้นทาง ARM บอกว่าจะมีประสิทธิภาพเพิ่มจากรุ่นเดิม 5% และที่สำคัญเลยนั้นก็คือมันยังคงมาพร้อมกับความเด็ดในการที่จะถูกใช้เป็นแกนการประมวลผลเริ่มต้นเมื่อทำการเปิดเครื่องขึ้นมาเพราะประหยัดการใช้ทรัพยากรมากกว่าแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรมอื่นๆ
และด้วยการออกแบบชิปเซ็ทตามหลักการณ์ big.LITTLE นั้น ทาง ARM ก็ได้ออกมาทำการเปิดเผยถึงการจัดรูปแบบของแกนการประมวลผลภายในชิปเซ็ทแบบใหม่ๆ ออกมาอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 1+3+4 ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจบัน หรือกระทั่ง 2+2+4 ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้งานที่ได้รับความนิยมในการออกแบบชิปเซ็ทระดับกลาง กระทั่งผู้ต้องการของแรง(ที่ไม่รู้ว่าจะมีผู้ผลิตรายไหนนำเอาไปใช้รึเปล่า) กับ 8+4+0
โดยสรุปแล้วถึงแม้ว่าเราจะยังไม่ได้เห็นชิปเซ็ทที่ใช้แกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM Cortex-X3, ARM Cortex-A715 และ ARM Cortex-A510 Refresh ในเร็วๆ นี้แต่ทาง ARM ก็ได้แอบโฆษณาเอาไว้ว่าหากบริษัทผู้ผลิตนำเอารูปแบบการวางแกนการประมวลผลแบบ 8+4+0 ไปใช้แล้วล่ะก็จะได้เห็นประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นมากถึง 120% อย่างแน่นอนเมื่อเทียบกับ 1+3+4 ที่เป็น X3+A710+A510(ซึ่งเห็นได้มากบนขิปเซ็ทระดับเรือธงในปัจจุบัน)
ที่มา : notebookcheck