Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Editorial»พันสายที่ชาร์จกับหูฟังโทรศัพท์อันตรายจริงหรือไม่ แล้วพันได้หรือเปล่า
    Editorial

    พันสายที่ชาร์จกับหูฟังโทรศัพท์อันตรายจริงหรือไม่ แล้วพันได้หรือเปล่า

    Jamikorn SingnamthiengBy Jamikorn Singnamthieng18 มิถุนายน 2014
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

     

    1392287864-IMG0389JPG-o

    เมื่อวานนี้ทีมงานเห็นบทความเกี่ยวกับการพันสายที่ชาร์จมือถือกับหูฟังด้วยเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้ง หรือเกลียวพลาสติกอะไรก็แล้วแต่ว่ามันทำอันตรายให้แก่สายชาร์จและหูฟัง อาจจะทำให้สายไหม้ได้เลยเนื่องด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นเพราะสายไฟระบายความร้อนไม่ทัน โดยข้อมูลที่ว่านี้มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลแรกก็คือคนที่เรียนช่างไฟมา (ช่างไฟในตำนานรึเปล่า…ผมไม่เล็กนะครับ #ผิด นั่นมันช่างแอร์) ก็มีการแชร์บทความนี้ไปเยอะแยะมากมาย เอาเป็นว่าเรามาวิเคราะห์กันทีละจุดดีกว่าครับ ว่าตกลงแล้วสายชาร์จและหูฟังโทรศัพท์เนี่ยสามารถพันสายได้รึเปล่า แล้วมันเป็นอันตรายจริงหรือ?

    อันดับแรกขออ้างถึงเนื้อหาในบทความบางส่วนก่อนนะครับ

    การพันสายชาร์จมือถือและหูฟังจะให้คุณภาพการใช้งานลดลงตามไปด้วยนะครับเนื่องจากการใช้งานทั้งการชาร์จไฟ และที่หูฟัง จะเกิดความร้อนขึ้นในสายชาร์จและหูฟัง…กรณีที่สายชาร์จมือถือหรือหูฟังมีอย่างอื่นไปพันไว้ จะส่งผลทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ แถมยังเป็นการทำให้สายชาร์จมือถือและหูฟังเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดีไม่ดีสายชาร์จมือถือหรือหูฟังอาจจะไหม้เอาง่ายๆหรือไฟฟ้าอาจจจะลัดวงจรได้อีกด้วยนะครับ

     

    ประเด็นเรื่องความร้อน

    สรุปสั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่สายชาร์จโทรศัพท์สามารถจ่ายไฟได้เท่ากับที่ชาร์จโน็ตบุ๊ค ถึงตอนนั้นค่อยกังวลจะดีกว่าครับ เพราะสายชาร์จโทรศัพท์เนี่ยระหว่างชาร์จกับไม่ชาร์จบอกตรงๆ ว่าความร้อนแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ด้วยมันจ่ายไฟได้น้อยเกินกว่าที่จะมีความร้อนจนเป็นอันตรายต่อเครื่องและตัวมันเองครับ เพราะฉะนั้นเม็ดบีทฟรุ้งพริ้งอะไรนั่นสามารถพันได้ ไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับความร้อนแน่นอน ส่วนสายหูฟังเนี่ย ประเด็นนี้ถือว่าไร้สาระเอามากๆ เลยครับ สายหูฟังปกติมันก็แทบจะไม่มีความร้อนอยู่แล้ว ต่อให้พันด้วยเม็ดบีทสิบรอบยี่สิบรอบมันก็ไม่มีทางร้อนแล้วพังหรอกครับ

    ที่อันตรายจริงๆ น่าจะเป็นการแปะสติ๊กเกอร์ที่ตัวอแดปเตอร์ หรือการไม่ยอมถอดพลาสติกที่หุ้มตัวอแดปเตอร์ออกแล้วนำไปชาร์จไฟจะทำให้เกิดความร้อนและเป็นอันตรายมากกว่าเสียอีก

     

    เพราะฉะนั้น Specphone ขอฟันธง พันสายชาร์จและสายหูฟังไม่ทำให้เกิดความร้อนจนส่งผลต่ออายุของสายชาร์จและสายหูฟังแน่นอน!!!

     

    แล้วการพันสายชาร์จมีข้อเสียหรือไม่?

    USB Cable 01

    ผู้ร้ายตัวจริงของการพันสายชาร์จและสายหูฟังไม่ได้อยู่ที่ความร้อน แต่อยู่ที่น้ำหนักมากกว่า เพราะการที่เราร้อยเม็ดบีทเข้าไปที่สายชาร์จเนี่ย มันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับสายชาร์จ ทีนี้ปัญหาจะเกิดเวลาที่เราใช้งานจริงๆ นี่แหละ เวลาที่เราชาร์จไฟ น้ำหนักจากเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้งจะไปรั้งสายชาร์จและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อขั้วสาย ทำให้ขั้วสายงอ และตามมาด้วยอาการขั้วสายหัก โดยเฉพาะสายชาร์จไอโฟนเนี่ยตัวดีเลย บอบบางเหลือเกิน

     

    วิธีการแก้ไขปัญหาขั้วสายชาร์จหักแบบบ้านๆ ง่ายนิดเดียว เพียงแค่นำสปริงปากกามาใส่บริเวณขั้วสายทั้ง 2 ฝั่งก็ช่วยได้เยอะเลยหล่ะ เครดิตภาพ: pantip.com

    Spring USB Cable

    ส่วนการพันสายหูฟัง ข้อเสียของมันก็คือเป็นการสะสมคราบเหงื่อ?ตามปกติแล้วหูฟังเวลาที่เราสวมใส่เนี่ย สายจะมีโอกาสแนบกับแก้มเราอยู่แล้ว และยิ่งถ้าใครนำสายหูฟังสอดไว้ใต้เสื้อ โอกาสที่สายหูฟังเจอเหงื่อก็จะยิ่งมีมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วถ้าไม่มีอะไรมาหุ้มมันไว้เหงื่อก็จะแห้งไปเอง แต่ถ้ามีสิ่งของมาหุ้มมันเช่นเม็ดบีทเนี่ย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการหมักหมมภายในสายหูฟังก็มีมากขึ้น ใช้งานไปนานๆ หากแกะออกมาอาจจะทำให้ยี้ได้เลยทีเดียว นอกจากนี้เหงื่อยังเป็นตัวการที่ทำให้สายหูฟังปริและเกิดอาการสายขาดได้นะครับ เพราะฉะนั้นหลังใช้งานหูฟังเสร็จควรทำการเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถ้าเราร้อยเม็ดบีทเนี่ยจะทำให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องยากไปทันที

    584464

    โดยสรุปแล้วการพันสายชาร์จมือถือกับหูฟังด้วยเม็ดบีทไม่ได้เป็นการทำให้ความร้อนจากการชาร์จไฟและการใช้งานสูงจนถึงในขนาดที่ว่าส่งผลต่ออายุการใช้งานและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้นะครับ แต่ปัญหาที่เกิดจากการพันสายไฟจริงๆ น่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักสายที่จะทำให้เกิดปัญหาสายชาร์จพังเพราะขั้วหักมากกว่า เอาเป็นว่าก็พันได้แหละครับ สวยงามฟรุ้งฟริ้งกันไป แต่อย่าพันให้สายหนักจนเกินไปก็แล้วกันนะ

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Jamikorn Singnamthieng

    Related Posts

    เปรียบเทียบ Samsung Galaxy S25 Edge vs iPhone 17 Air มือถือตัวบางทั้งคู่ ต่างกันแค่ไหนเท่าที่รู้ตอนนี้

    10 พฤษภาคม 2025

    สรุปสเปค Samsung Galaxy S25 Edge มือถือรุ่นบาง พร้อมกล้อง 200MP ก่อนเปิดตัว 13 พ.ค. 2025 นี้

    10 พฤษภาคม 2025

    ราคาไอโฟนล่าสุด 2025 ทุกรุ่นทั้งเครื่องเปล่าและติดโปรที่วางขายในตอนนี้ มีรุ่นไหนราคาเท่าไหร่บ้าง อัพเดท พฤษภาคม 2025

    9 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    เปรียบเทียบ Samsung Galaxy S25 Edge vs iPhone 17 Air มือถือตัวบางทั้งคู่ ต่างกันแค่ไหนเท่าที่รู้ตอนนี้

    10 พฤษภาคม 2025

    สรุปสเปค Samsung Galaxy S25 Edge มือถือรุ่นบาง พร้อมกล้อง 200MP ก่อนเปิดตัว 13 พ.ค. 2025 นี้

    10 พฤษภาคม 2025

    ราคาไอโฟนล่าสุด 2025 ทุกรุ่นทั้งเครื่องเปล่าและติดโปรที่วางขายในตอนนี้ มีรุ่นไหนราคาเท่าไหร่บ้าง อัพเดท พฤษภาคม 2025

    9 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 20 ซีรี่ย์เกาหลีพากย์ไทย Netflix ล่าสุดปี 2025 สนุกๆ ครบทุกแนว มีเรื่องไหนน่าดูบ้าง

    9 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X