Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»News»Android News»หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Android ออกมาอธิบายวิธีเลือกพาร์ทเนอร์ของ Nexus เเละเหตุผลที่ทำราคาได้ถูก
    Android News

    หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Android ออกมาอธิบายวิธีเลือกพาร์ทเนอร์ของ Nexus เเละเหตุผลที่ทำราคาได้ถูก

    SylenthBy Sylenth4 พฤศจิกายน 2012
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    The New York Times ได้ทำการสัมภาษณ์ John Lagerling หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจของฝั่ง Android เกี่ยวกับกลยุทธ์ต่างๆ ของ Nexus Program จาก Google ซึ่งมีเรื่องต่างๆ นี่น่าสนใจมากมาย รวมไปถึงเรื่องดีลระหว่าง Motorola เเละ Google ด้วย

    nexus-4-7-10-device-stack-640x353

    • ผู้ผลิตในปัจจุบันนี้ตั้งราคาสูงเกินไปสำหรับมือถือที่มีเทคโนโลยีล่าสุดเเละดูไม่สมเหตุสมผลกับต้นทุน ซึ่ง Google เห็นว่าสามารถทำราคาออกมาได้ดีกว่าในปัจจุบัน อย่าง Nexus 7 ที่สามารถนำรุ่นความจุสูงกว่ามาขายในราคาเดิมได้เนื่องจากราคาหน่วยความจำเเฟลชนั้นถูกลงกว่าตอนที่ออกมากลางปี?
    • ความร่วมมือระหว่าง Google กับพาร์ทเนอร์ในเรื่องห่วงโซ่อุปทานทำให้สามารถทำราคาออกมาได้ตามที่กำหนดไว้
    • การเลือกพาร์ทเนอร์ในโครงการ Nexus นั้นขึ้นอยู่กับว่า Google ต้องการทำอุปกรณ์ประเภทไหนออกมา จากนั้นจึงเลือกว่าพาร์ทเนอร์รายใดมีความเหมาะสมในการทำ อย่าง Samsung นั้นสามารถทำหน้าจอระดับสูงออกมาได้ในราคาที่ไม่เเพง รวมไปถึง LG เเละ Asus ก็มีจุดเด่นในสิ่งที่ Google ต้องการจึงถูกเลือกมาทำอุปกรณ์ Nexus ชิ้นนั้นๆ?
    • การเลือกทำอุปกรณ์ Nexus มาจากความต้องการของ Google ว่าต้องการเห็นอุปกรณ์ Android เป็นเเบบไหนในตลาด อย่าง Nexus 10 นั้นทาง Google รู้สึกว่าเเท็บเล็ต 10 นิ้วนั้นมีประสิทธิภาพต่ำเเละราคาสูงมากเกินไป
    • การควบรวมกิจการระหว่าง Google เเละ Motorola นั้นเหตุผลหลักเป็นเพราะ Google ต้องการสิทธิบัตร เนื่องจากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรจากผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่พอใจจากที่อุปกรณ์นั้นมีราคาต่ำลงสำหรับบางบริษัทยังต้องการตั้งสินค้าในราคาสูงเพื่อที่จะได้กำไรมากๆ ต่อไป (อันนี้กล่าวถึง Apple เเบบอ้อมๆ)
    • Google ไม่เห็นด้วยที่บางบริษัทใช้เรื่องสิทธิบัตรในการหารายได้ ทำให้สินค้าในตลาดไม่มีการพัฒนาเเละมีต้นทุนที่สูงขึ้น การเข้าซื้อ Motorola เป็นการโต้กลับของ Google จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว
    • ทีม Android เเละ Motorola ไม่ได้ติดต่อกันได้โดยตรงเเบบมีสายด่วน ถ้าต้องการติดต่อกันก็ต้องทำตามกระบวนการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับผู้ผลิตรายอื่นๆ
    • ผู้เข้าร่วมโครงการ Nexus ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยถึงยอดขายทั้งหมด
    • Nexus 7 ทำได้ดีกว่าที่ Google หวังไว้ เเละคิดว่าเเท็บเล็ต Android กำลังเริ่มมีอิทธิพลในตลาดเเท็บเล็ตจากความสำเร็จของ Nexus 7
    • Android นั้นยังมีรายการที่ทีมต้องการปรับปรุงอีกมาก จากรุ่นปัจจุบันนี้ถือว่าใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ที่ Google วางไว้สำหรับ Android เเล้ว

     

    ที่มา : NYT Bits

    Google Nexus
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Sylenth

    Related Posts

    สรุปสเปค Samsung Galaxy S25 Edge มือถือรุ่นบาง พร้อมกล้อง 200MP ก่อนเปิดตัว 13 พ.ค. 2025 นี้

    10 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 20 ซีรี่ย์เกาหลีพากย์ไทย Netflix ล่าสุดปี 2025 สนุกๆ ครบทุกแนว มีเรื่องไหนน่าดูบ้าง

    9 พฤษภาคม 2025

    ลือ Snapdragon 8 Elite 2 จะใช้คอร์ Oryon Gen 2 พร้อม NPU ระดับ 100 TOPS

    9 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    สรุปสเปค Samsung Galaxy S25 Edge มือถือรุ่นบาง พร้อมกล้อง 200MP ก่อนเปิดตัว 13 พ.ค. 2025 นี้

    10 พฤษภาคม 2025

    ราคาไอโฟนล่าสุด 2025 ทุกรุ่นทั้งเครื่องเปล่าและติดโปรที่วางขายในตอนนี้ มีรุ่นไหนราคาเท่าไหร่บ้าง อัพเดท พฤษภาคม 2025

    9 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 20 ซีรี่ย์เกาหลีพากย์ไทย Netflix ล่าสุดปี 2025 สนุกๆ ครบทุกแนว มีเรื่องไหนน่าดูบ้าง

    9 พฤษภาคม 2025

    เตรียมพบ “realme 14T 5G” จอเทพ เกมลื่น แบตอึดยันเช้า! Performance Dominator น้องใหม่ของสายเกมตัวจริง เปิดตัว 15 พฤษภาคมนี้

    9 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X