Motorola Xoom ถือเป็นเเท็บเล็ต Honeycomb ตัวเเรกของโลก เพราะ Motorola นั้นพัฒนากับ Google มาก่อนเจ้าอื่น ทำให้ฐานะของ Motorola Xoom นั้นเหมือน Nexus One หรือ Nexus S ในฐานะเครื่องของนักพัฒนา ซึ่งก็เป็นตามสไตล์ของ Google ที่เลือกผู้ผลิตเเต่ละเจ้ามาทำเป็นเครื่อง Reference ของ Google เอง
ชื่อเสียงของ Motorola ในโลกของมือถือนั้น มีชื่อเสียงในเรื่องงานประกอบที่มีความเเข็งเเรงทนทาน ถึงเเม้ว่าเเบรนด์นี้ความนิยมในประเทศไทยจะไม่สู้กับหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้ เเต่ในยุคสมัยที่ Motorola หันมาทำ Android เเล้ว ดีไซน์ของ Motorola ก็กลับมาเป็นอนุรักษ์นิยม ไม่หวือหวาเหมือนกับตระกูล RAZR มากนัก
ถึงเเม้ว่า Motorola Xoom นั้นจะไม่ได้วางขายเป็นตัวเเรกในไทย (ในไทยตัวเเรกคือ Acer Iconia Tab A500) เเต่ SIS เองก็นำเข้ามาขายด้วยเหมือนกันสำหรับ Motorola Xoom นี้ ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจในตัวเเท็บเล็ต Android Honeycomb ในปี 2011 นี้
Hardware
ด้านหน้าของ Motorola Xoom นั้นมาเป็นโทนสีดำทั้งหมดเเละมีโลโก้ Motorola อยู่ ส่วนด้านหลังนั้นเป็นทูโทน ขาวสลับดำ ฝาหลังเป็นอลูมิเนียมเนียนมือ มีโลโก้ Motorola พิมพ์ไว้ตรงกลาง
สังเกตว่าด้านขอบนั้นสีจะตามบอดี้หลัง ส่วนด้านหลังนั้นของขอบจะเว้าเข้าไปเล็กน้อยกันบาดมือ
กล้องหน้าตรงกลางความละเอียดสองล้านพิกเซล fix focus อยู่บริเวณกลางเครื่อง
ปุ่มเพิ่มลดเสียงด้านข้างสีดำกลืนไปกับเเท็บเล็ต ปุ่มค่อนข้างเล็กถ้าเทียบกับขนาดเครื่อง
พอร์ทเชื่อมต่อ micro USB เเละ micro HDMI ตัวเเถบทองเเดงนั้นเอาไว้สำหรับสำหรับต่อ Multimedia Docking (เเยกขายต่างหาก)
ขอบไม่หนาไม่บางจนเกินไป
ส่วนหลังด้านบนขวานั้นเป็นกล้องขนาด 5 ล้านพิกเซลพร้อมเเฟลชเเบบ Dual LED มีลำโพงซ้ายขวา
ส่วนนี้เป็นโมดูลสำหรับใส่ซิมการ์ดเเละ micro SD card ในช่องเดียว โดย micro SD card จะสามารถใช้ได้เมื่ออัพเกรดเป็น Android Honeycomb 3.1 เท่านั้น
โดยรวมเเล้ว Android Hoenycomb พอมาอยู่บน Motorola Xoom เเล้วมันดูมีรัศมีมากกว่า Android ตัวอื่นๆ เเบบไม่มีเหตุผล บอดี้สีดำตัดขาวเทา บวกกับอินเฟซโฮโลเเกรมน้ำเงินดำเเบบ Honeycomb มันดูสวยงามกว่าอยู่บนบอดี้จากค่ายอื่นๆ มาก เเต่ข้อเสียของมันก็คือเรื่องน้ำหนักอาจจะทำมาเป็นไซส์ฝรั่งมากไป หนักไปนิดสำหรับคนเอเซีย 😛
Pure Honeycomb 3.0
เครื่องที่ได้รับมาทดสอบนั้นเป็นตัว Android Honeycomb 3.0 ที่มาจาก Google คือเป็นเเบบไม่มีซอฟเเวร์หรืออินเตอร์เฟซอะไรเพิ่มเติมจากผู้ผลิต ซึ่งเป็นชื่อเสียงของ Android จาก Google อยู่เเล้วว่ามีความเร็วในการใช้งานที่ดีกว่าซอฟเเวร์ปรับเเต่ง (อย่าง Samsung Touchwiz หรือ HTC Sense UI)
อินเตอร์เฟซของ Honeycomb มาในเเบบสีน้ำเงินเข้ม ขาว ดำ?เอฟเฟคเเบบโฮโลเเกรม?ออกเเนวโลกอนาคตเหมือน TRON วิธีการอันล็อคก็คือลากกุญเเจออกไปจากวงกลมออกไปนั่นเอง
อินเตอร์เฟซหน้าจอ Hoenycomb ตามมาตรฐาน Google ต้องเป็นวอลเปเปอร์เเบบนี้ เเละนาฬิกาเเบบนี้? Widget จาก Google เท่านั้น!! ลุคเเอนด์ด้านล่างมีปุ่ม Back, Home, เเละ Multitask ด้านขวาเป็น Notification เเละ Setting ต่างๆ
เมื่อกดที่ว่างๆ ตรงหน้าจอค้างไว้ ก็จะมีการปรับเเต่งพวก Widget, Wallpaper, Shortcut อื่นๆ
การสลับเเอพได้ด้วยด้วยการกดปุ่มเดียว (ปุ่มรูปหน้าต่างซ้อน) เเละสลับไปเเอพอื่นๆ ได้
เมื่อกดปุ่ม Battery ด้านขวาขึ้นชึ้นมาก็จะมีให้ปรับค่าหรือดู Notification ต่างๆ ของเครื่องได้
Launcher เมื่อกดปุ่มทางด้านขวาบนก็จะมีให้เลือกสองเเถบคือ All ที่เป็นเเอพทั้งหมด ส่วน My apps นั้นเป็นเฉพาะเเอพที่เราดาวโหลดมาเท่านั้น
การเล่นอินเตอร์เน็ตบน Motorola Xoom นั้นทำได้เหมือนบน PC มาก เเต่การเรนเดอร์บางอย่างอาจจะเพี้ยนไปเล็กน้อย เมื่อลง Adobe Flash เเล้วก็สามารถเล่นเกมส์ Facebook ปลูกผักได้เเต่ความเร็วไม่อำนวยเท่าไหร่นัก
การเล่นเพลงนั้นเอฟเฟคทำได้สมูธมากระหว่างการเลื่อนหน้าจอหรือเอฟเฟคต่างๆ ในขณะที่ฟอร์เเมทหนังที่เหมาะสมนั้นควรจะเเปลงเป็น mp4 เสียก่อนเพราะ NVIDIA Tegra 2 อ่านไฟล์หนังนามสกุลอื่นๆ ไม่ออก
การใช้งานด้าน Gallery เเละ Music ต้องบอกว่าทำได้ลื่นมากเเละเป็นส่วนที่ลื่นสุดบน Honeycomb
การใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้นนั้นอาจจะใช้เวลาเรียนรู้ประมาณ 5-10 นาที เเต่สำหรับผู้ที่คุ้นชินกับ Android อยู่เเล้วก็ปรับตัวได้ไม่ยาก เเต่เป็นที่น่าเสียดายว่าความเร็วของ Honeycomb กับ Tegra 2 นั้นยังเป็นรอง iPad อยู่ เเต่ตัว Honeycomb นั้นก็เรียกได้ว่าลื่นในระดับหนึ่ง ถึงเเม้จะไม่เท่า iPad 2 ก็ตาม
สรุป
Motorola Xoom ยังคงเอกลักษณ์ของ Motorola เอาไว้ได้ครบถ้วน โดยวัสดุนั้นยังคงเป็นจุดเด่นเช่นเคย เเต่เหมือนกับว่าเเท็บเล็ตนั้นยังคงมีปัญหาเรื่องน้ำหนักอยู่ ซึ่งต่างกับสมาร์ทโฟนที่น้ำหนักไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นัก อีกทั้งเรื่องของการดีไซน์ปุ่มนั้นมีค่อนข้างสังเกตได้ยากถ้าไม่คุ้นชินของปุ่ม ไม่ว่าจะเป็นความตื้นของปุ่มควบคุมเสียงที่น้อยเเละเล็กเกินไป เเละปุ่มเปิดปิดที่อยู่ด้านหลังก็สังเกตได้ยากจากการสัมผัส โดยต้องหันหลังมาดูเพื่อปิดปุ่มบ่อยๆ ไม่ถือเป็นจุดเสียเเต่ก็ทำให้เกิดความรำคาญในการใช้งานได้
Motorola Xoom นั้นสอบผ่านในเรื่องของวัสดุ งานประกอบ โดยไม่ต้องสงสัย เเต่ต้องเเลกกลับมาด้วยน้ำหนักที่มากกว่าคู่เเข่งจำนวนหนึ่ง (Samsung Galaxy Tab 10.1, Asus Eee Pad Transformer, Lenovo Ideapad K1) โดยอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Acer Iconia Tab A500 ซึ่งจะทำให้ล้าได้เหมือนกันถ้าใช้งานไปนานๆ ดีไซน์นั้นถือว่าทำออกมาได้ดีมากเเละดูเเตกต่างกับเเท็บเล็ตเจ้าอื่นๆ ส่วนเรื่องความเร็วนั้นก็เรียกว่าเร็วเป็นตัวต้นๆ เนื่องจากเป็น Stock Android ที่มาจาก Google โดยตรง
จุดเเข็งอีกอย่างสำหรับเเท็บเล็ต reference จาก Google คือการได้รับตัวอัพเดทใหม่ๆ เนื่องจาก Google ใช้ Motorola Xoom เป็นตัวพัฒนาซอฟเเวร์ Honeycomb ดังนั้น Motorola Xoom จะได้รับตัวอัพเดทก่อนเเท็บเล็ตเจ้าอื่นๆ เเน่นอน (อย่างน้อยก็สำหรับต่างประเทศ) เเละไม่มีซอฟเเวร์ปรับเเต่งหน้าตาประหลาดๆ ที่ไม่เข้ากับ Android Honeycomb มาเลย เหมาะสำหรับคนที่ชอบอะไรที่เป็นเเบบ Pure Goolge อย่างเเน่นอน
สรุปเเล้ว Motorola Xoom เป็นเเท็บเล็ตที่ออกเเบบมาได้ดูสมบูรณ์ ไม่มีส่วนขาดส่วนเกินเเต่อย่างใด ข้อเสียมีเเต่เพียงเรื่องปุ่มที่สังเกตได้ลำบากถ้าไม่ใช้ตามองเเละเรื่องน้ำหนักที่ล้าไปเล็กน้อยเมื่อใช้งานไปนานๆ
The Good
- การออกเเบบที่ลงตัว มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกับของเจ้าอื่นๆ
- การเป็นเครื่อง refernce จาก Google ทำให้ได้รับอัพเดทใหม่ได้รวดเร็วเสมอ
The Bad
- เกิดอาการล้าได้หลังจากใช้งานไปนานๆ
- การวางตำเเหน่งเเละดีไซน์ของปุ่มควบคุมเครื่องทำได้ไม่ดีนัก
ขอขอบคุณเครื่องทดสอบจาก บริษัท คูล ดิสทริบิวชั่น (Qool Distribution) เเละ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (SIS Distribution) ครับ ^^