Transformer Honeycomb
เหมือนเดิมสำหรับตัวนี้เพราะจะไม่พูดถึงตัว Honeycomb ที่เป็นเเกนอีกเเล้ว จะกล่าวถึงเเค่ซอฟเเวร์อื่นๆที่เพิ่มมาเฉพาะของ Asus เท่านั้นครับ
เมื่อเปิดเครื่องมา อย่างเเรกที่อึ้งนอกจากความสวยของจอเเล้ว ก็สังเกตเห็นตรงด้านล่างว่าไอคอนมันเปลี่ยนไปเล็กน้อย นั่นเเปลว่ามี UI ครอบมานั่นเอง จากการใช้งานเลื่อนซ้าย เลื่อนขวา + กดปุ่มเรียก Launcher ออกมา ก็พบว่าหน่วงอยู่เล็กๆ ถ้าจับ Honeycomb เครื่องเเรกอาจจะไม่รู้สึกว่าช้า เเต่ผมเคยจับของ Acer มาก่อนเเล้วก็รู้สึกว่ามันหน่วงกว่านิดหน่อย ถ้าไม่ใช้คนชอบจับผิดเเบบผมคงไม่คิดอะไรมาก (ฮา) เเล้วก็มี Widget มาให้นิดๆหน่อยๆตามที่เห็นในรูป อย่างวันที่ อีเมล์ หรือการพยากรณ์อากาศ ดูรีวิวของตัวนี้ได้จากวีดีโอเลยครับ
Widget เฉพาะอีกอัน เป็นเหมือน Dashboard เอาไว้รวมฟังชั่นต่างๆอย่าง Gallery, Bookmarks หรือเพลงต่างๆในเเท็บเล็ตของเรา
คำสั่ง Lock Orientation มาอยู่ใน Setting ต่างกับ Acer ที่เป็นปุ่มฮาร์ดเเวร์มาเลย
ปุ่มต่างๆที่อยู่บนคีย์บอร์ด ถ้าเรากดปุ่มเปิดปิดคำสั่งต่างๆก็จะมีบอกที่หน้าจอว่าเรากดคำสั่งอะไรไป จะได้ไม่สับสนว่าเรากดปุ่มเพื่อเปิดหรือปิด Wi-Fi, หรือ GPS อะไรเเบบนี้
File Manager นี้เป็นของ Asus เอง เวลาเราเสียบ Thumbdrive เข้าไป มันจะไม่รวมข้อมูลเข้าไปกับเเอพต่างๆใน Android (ตรงนี้ต่างกับ Acer ที่เวลาเสียบเข้าไปเราจะรูปต่างๆใน Thumbdrive เข้าไปใน Gallery เลย )? โดยดูข้อมูลจากข้อมูลต่างๆได้ในโฟลเดอร์ Removable จริงๆผมว่า Android ควรจะมี File Manager เป็นของตัวเองได้เเล้วเพราะว่ามันไม่สะดวกเวลาต้องไปหาโหลดจาก Market เเละมันเป็นของที่ต้องใช้บ่อยๆ
เเอพชุด Office มาจาก Polaris Office ซึ่งก็ถูกปรับปรุงมาให้ใช้ใน Android ได้ดี เเต่ถ้าเทียบกับการเเก้งานหรือสร้าง หรือฟังชั่นอื่นๆเเล้ว ยังไงบนวินโดวส์ก็มีฟีเจอร์เยอะกว่าเเละสะดวกกว่า เเต่ถือว่าพอทำงานได้ เเต่เอามาทำงานเอกสารเป็นหลักคงไม่ไหว
เเอพ Reader นี้จะหาไฟล์เอกสารโดยอัตโนมัติ ทั้ง PDF, TXT (เเต่ไม่อ่าน Doc นะ) ถ้าเปิดไฟล์ TXT มามีอนิเมชั่นเวลาเปิดหน้าเหมือนอ่านหนังสือจริงๆด้วย ทำได้เนียนดี
Usage/Performance/Battery Life
Asus Transformer ตัวนี้ทำงานได้เร็วอย่างไม่มีข้อสงสัยเพราะด้วยประสิทธิภาพของ Tegra 2 อย่างไรก็ตามอย่างที่เราเกริ่นไปเล็กน้อย ในความสมูธนั้นยังคงตามหลัง iPad อยู่ดี เวลากดปุ่มอะไรนั่นเเท็บเล็ตตอบสนองการใช้งานได้ดีมาก เเค่อาจจะเอฟเฟคต่างๆไม่ลื่นเท่า iPad เท่านั้น โดยเฉพาะหน้าจอ Launcher เเละการเปลี่ยนหน้า Home Screen ไปหน้าอื่นๆ เเต่ตรงนี้เหมือนจะไม่ใช่ความผิดของ Tegra 2 ที่เเรงไม่พออย่างเดียว เพราะใน Honeycomb 3.1 ที่พึ่งประกาศในงาน Google I/O ก็บอกว่ามีการปรับปรุงในส่วนนี้ให้ดีขึ้น ก็ต้องขอลองจับอีกทีว่าเเก้จริงหรือเปล่า ^^
ถึงเเม้ว่าตัวนี้จะใช้จอขนาด 10.1 นิ้ว เเต่ก็ไม่หนักจนไม่อยากเเบบไปไหนมาไหน ผมก็ไม่อยากเชื่อเหมือนกันว่าการเบากว่า Iconia Tab A500 เเค่ 85 กรัมมันจะรู้สึกถ้าได้ใช้ไปซักระยะ ด้วยความที่เป็นจอขนาด 10 นิ้วการใช้งานต่างๆจึงทำได้โดยง่าย โดยเฉพาะการเล่นอินเตอร์เน็ตหรืออ่านหนังสือ ก็ถือเป็นจุดเด่นของเเท็บเล็ตที่มีหน้าจอ 10 นิ้วทุกเครื่องครับ
ในเรื่องของเเบตเตอรนั้น หมดไวกว่าของ Acer ประมาณ 20% ได้ เเละมีอาการ Battery Drain เวลาเสียบ Keyboard เข้าไปกับเเท็บเล็ต ทั้งๆที่ Sleep ไว้เเต่เครื่องกลับร้อนจี๋ เหมือนทำงานที่ 100% ตลอดเวลา ทำให้เเบตหมดอย่างฮวบฮาบเลยทีเดียว ตรงนี้ก็เล่าสู่กันฟังเพราะว่ามันเกิดขึ้นบางทีครับ ทำซ้ำไม่ได้ เเต่ตัวนี้คาดว่ายังไม่ใช่ตัวขายจริง เพราะเเบตเตอรี่ของ Keyboard เองก็ยังใช้งานไม่ได้ เเต่ใช้งานทั่วๆ – เล่นเกมส์ เล่นอินเตอร์เน็ตไปก็อยู่ได้ประมาณวันนึงเหมือนกันครับ ถ้าเล่นหนักๆอาจจะถึงขีดเเดงตอนหมดวันได้ง่ายๆ ต่างกับ Acer ที่ยังพอเหลือให้ใจชื้นนิดหน่อย
Camera
คุณสมบัติของกล้องดิจิตอลเซ็นเซอร์ CMOS ที่ติดเข้ามาในแท็บเล็ต ASUS Eee Pad Transformer ก็ถือได้ว่าเป็นสเปกมาตรฐานของแท็บเล็ตทั่วๆ ไป คือความละเอียดของกล้องหลักด้านหลังมีขนาด 5 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหน้าที่ใช้สำหรับ VDO Call มีความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซลด้วยกัน ซึ่งถ้าหากเทียบกับ Acer ICONIA Tab A500 อาจจะดูด้อยกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อใช้งานจริงๆ ก็ไม่เห็นความต่างเท่าใดนัก โดยรวมแล้วคุณอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ได้ (จริงๆ นะ) นอกเหนือจากนั้นในการถ่ายวีดีโอก็มีความสามารถถ่ายได้ความละเอียดสูงสุด HD 720P ซึ่งจะได้นาสกุลไฟล์เป็น .3gp ที่เป็นนาสกุลหลักของพวกอุปกรณ์สมาร์ทโฟนอยู่แล้ว
สำหรับหน้าตาการใช้งานของแอพพลิเคชั่นกล้องพื้นฐานของ Android Honeycomb 3.0 ก็ได้รับการพัฒนามาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จัดได้ว่ามีรูปแบบที่สวยงาม ส่งผลให้การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการปรับภาพนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น การเปิด-ปิดแฟลช, การปรับ White Balance, Color Effect, คุณภาพของภาพถ่าย และหน่วงเวลาการถ่าย นอกเหนือจากนั้นยังมีการเลือกโหมดกล้องภาพนิ่งหรือวีดีโอก็สามารถทำได้จากหน้าจอนี้เช่นกัน โดยรวมแล้วก็เป็นมาตรฐานของ Android 3.0 Honeycomb ครับ
สรุปการใช้งานของด้านกล้อง ASUS Eee Pad Transformer ยังไงก็ลองดูประกอบไปกับไฟล์ภาพนิ่ง ภาพวีดีโอพร้อมๆ กันนะครับ เรียกได้ว่าจากการทดสอบใช้งานกล้องของ ASUS Eee Pad Transformer จัดได้ว่า เป็นกล้องที่มีคุณภาพพอจะเก็บภาพได้บ้าง (เก็บความทรงจำลางๆ ก็ว่าได้) ซึ่งบอกตรงนี้ได้เลยนะครับว่าอย่าไปคิดอะไรมาก ส่วนถ้าคนที่ต้องการกล้องดีๆ ติดแท็บเล็ตล่ะก็ มองข้ามตัวนี้ไปได้เลย แต่จะว่าไปแล้วนั้น คงได้มองข้ามทุกตัวเป็นแน่แท้ 😉 อย่างไรก็ตามความจริงคือ แท็บเล็ตไม่ได้ใช้ถ่ายภาพเป็นหลักอยู่แล้ว ยังไงก็ลองตัดสินกันผ่านภาพตัวอย่างที่ลองบันทึกมาทั้งภาพนิ่งและวีดีโอก็แล้วกันนะครับ ว่ารับได้หรือเปล่า ???
Conclusion
Asus Eee Pad Transformer ก็เป็นเเท็บเล็ต Honeycomb 3.0 ธรรมดาทั่วๆไป ที่เป็น Tegra 2 + จอ 10.1 นิ้ว + ความละเอียด 1280 x 800 ตามสูตร จุดเด่นของเจ้าตัวนี้อยู่ที่จอภาพเเบบ IPS คุณภาพสูงที่ใครได้เห็นเเล้วต้องชอบอย่างเเน่นอน รวมไปถึงดีไซน์ที่ดูทันสมัย เป็นเเท็บเล็ตที่ประทับใจได้ง่ายถ้าลองเล่นหรือจับไปสักพัก ส่วนตัวซอฟเเวร์นั้นมีอาการหน่วงเล็กน้อยเเต่ก็ไม่ถึงกับขั้นว่าน่าเกลียด ถึงเเม้ไม่มี Keyboard Docking ก็ถือว่าเป็นเเท็บเล็ตที่จบด้วยตัวของมันเองอยู่เเล้วโดยไม่จำเป็นต้องมีคีย์บอร์ด
ส่วนตัว Keyboard Docking นั้นเมื่อได้มาก็ต้องถามว่าเอาไว้พิมพ์บ่อยเเค่ไหน ตามความเห็นส่วนตัวผมว่ามันค่อนข้างเกินจำเป็นไปสำหรับเเท็บเล็ตเเอนดรอยด์หรือเปล่า? เพราะการที่เราใช้คีย์บอร์ดบ่อยๆนั้นมันน่าจะเหมาะกับการทำงานบนโน้ตบุคมากกว่า เเนวคิดของเเท็บเล็ตน่าจะเป็นการอ่านหรือดูคอนเทนท์มากกว่าการทำงาน ตรงนี้สามารถพูดได้อีกมุมหนึ่งคือ Android ยังไม่เหมาะหรือมีเเอพที่เหมาะกับการใช้คีย์บอร์ดเเบบเเยกเท่าไรนักในตอนนี้ จะคิดว่าต้องอัพเดทสเตตัสบน Facebook โดยงัดเจ้า Transformer + Keyboard มานี้จะดูเเปลกๆไปหรือเปล่า – -v
เเอพเกี่ยวกับเอกสารเองก็ยังทำได้ค่อนข้างจำกัด (หรืออาจจะยังไม่ชิน) สรุปเเล้วผมว่าเหมือนเป็นเเนวคิดคล้ายๆกับการนำ วินโดวส์มาลงบนเเท็บเล็ตเเล้วใช้ on-screen keyboard ส่วน Android ที่เน้นการใช้ทัช ดันเอาคีย์บอร์ด + เมาส์มาให้ใส่ซะงั้น : ) ตอนนี้ผมคิดว่าคีย์บอร์ดนั้นไม่จำเป็นกับ Honeycomb เท่าไหร่นัก เพราะหน้าจอขนาดใหญ่นี้ใช้ Virtual Keyboard ธรรมดาๆ ก็เหลือเฟือ ก็เอาไว้เป็นทางเลือกได้เพราะดูท่าทางคงไม่บังคับซื้อ
สรุปตัวเจ้า Eee Pad Transformer ตัวนี้ถือว่าเป็นเเท็บเล็ตที่ใช้งานได้ดี เเละน่าสนใจมาก โดยจุดเด่นอยู่ที่จอภาพที่สวยเเละคมชัดเเบบ IPS เเละมีน้ำหนักไม่มาก ถ้าเทียบกับ Iconia Tab A500 เเล้วผมชอบตัวนี้มากกว่า ถ้าราคาไม่เเพงกว่า Acer เยอะ ผมว่าตัวนี้น่าเล่นมากครับ
The Good
- การออกเเบบใส่ใจในรายละเอียดมากในหลายๆจุด
- Tegra 2 = ไฮเอนด์
- สีเเละการออกเเบบทำได้ดูคลาสสิคเเละดูทันสมัยไปพร้อมๆกัน (อันนี้ลำเอียงส่วนตัว)
- เล่นเกมส์สามมิติลื่นกว่า Iconia Tab เล็กน้อย (อันนี้ให้หลายคนช่วยดูเเล้ว ไม่ได้คิดไปเองเเน่นอน)
The Bad
- Launcer เเละ Home Screen หน่วงกว่า Iconia Tab A500 ไปนิดหน่อยเเต่ไม่ถึงขั้นเเย่
- เเบตเตอรี่หมดไวกว่าของ Acer (วัดจากตัวเเท็บเล็ตเท่านั้น)
- กล้องไม่มีเเฟลช (อาจจะจำเป็นสำหรับบางคน)
The Miss
- ไม่รู้อะไรเลย ทั้งราคา หรือเวลาวางจำหน่าย เขาว่ากันว่ากลางๆปีนี้ (นี่ก็กลางเเล้วมั้ง) รวมไปถึง Accessory อย่างคีย์บอร์ด ถ้าออกมาช้าอาจจะมีตัวใหม่ออกมา เเละดีกว่านี้?
อัพเดท! ทางทีมงานได้มีโอกาสมาจับเจ้า Asus Eee Pad Transformer อีกครั้งตอนที่อัพเกรดเป็น Android 3.2 Honeycomb ไปแล้ว เลยถือโอกาสดูความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พร้อมทั้งจับมาวัดประสิทธิภาพแบตกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที
Battery
มาตรฐานที่ใช้ในการวัดคือเปิดวิดีโอรวดเดียวจนกว่าหน้าจอดับ โดยปรับความสว่างหน้าจอไว้ที่ 50% เช่นเดียวกันกับเสียงที่ปรับไว้ระดับประมาณ 7-8 จาก 15 หน่วย ผลเป็นไปดังนี้
- ภาพแรกคือตอนที่ใช้งานแท็บเล็ตเพียวๆ? ใช้ได้ทั้งสิ้น 9 ชั่วโมงถ้วน
- ภาพที่สองคือใส่ Docking เข้าไป ซึ่งแน่นอนว่ามันจะชาร์จตัวแท็บเล็ตไปด้วย รวมแล้วใช้ได้ทั้งสิ้น 17-19 ชั่วโมง
อีกฟีเจอร์หนึ่งที่ช่วยให้ใช้งานแท็บเล็ตได้ดีขึ้นคือ การที่ Android 3.2 สามารถยืดหน้าจอแอพให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น ดังนี้ครับ
อย่างภาพแรกคือเป็นแบบปกติที่ยืดอินเทอร์เฟซเดิมของแอพบนสมาร์ทโฟนให้พอดีกับหน้าจอของแท็บเล็ต?ส่วนภาพที่สองคือแบบขยายตัวอินเทอร์เฟซทั้งหมดให้เต็มหน้าจอ ช่วยให้กดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ความเร็วในการใช้งาน และการรวมถึงความเข้ากันได้กับแอพอื่นๆ เรียกได้ว่าอัพเกรดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเลยทีเดียว ที่สำคัญคือเพิ่งลดราคาเหลือ 15,900 บาทด้วยนะ