นอกจากตัว Acer Iconia Tab A500 ที่เรารีวิวไปอันที่เเล้วนั้น วันนี้เราก็มีรีวิวเเท็บเล็ต Android 3.0 Honeycomb อีกตัว ผู้ผลิตก็มาจาก Asus ผู้ผลิตฮาร์ดเเวร์บนพีซีเเละโน้ตบุครายใหญ่เจ้าหนึ่ง เเต่เเท็บเล็ต Asus ตัวนี้ไม่ได้มาเเบบธรรมดาๆ เเต่มาเเบบตีลังกาผาดโผน (ฮากริบ) คือมี Keyboard Docking เป็นอุปกรณ์เสริมอีกด้วย เรียกว่าเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งานไปเลยทีเดียว ผู้เขียนรีวิวเองก็ไม่เคยสัมผัสเเท็บเล็ต Android ที่ต่อใช้งานกับคีย์บอร์ดมาก่อน ส่วนความรู้สึกในการใช้งานจะเป็นอย่างไร? น่าซื้อมาใช้ไหม? คีย์บอร์ดใช้งานได้สะดวกกว่าจอรึเปล่า? เเล้วถ้าเทียบกับตัว Acer ละ? คำตอบเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในรีวิวครับ : )
Hardware
ตัว Asus Eee Pad Transformer ตัวนี้ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเป็นเพียงตัวทดสอบเท่านั้น ดังนั้นการใช้งานบางอย่างจะไม่สมบูรณ์เลยไม่สามารถทดสอบได้ เเต่ก็เรียกว่าเป็นข้อมูลเอาไว้เลือกซื้อได้ครับ : )
ข้อมูลสเปคของ Asus ตัวนี้ มาเป็นมาตรฐานของ Android เเท็บเล็ตที่เป็น Honeycomb 3.0 ?? คือเป็น Tegra 2 ความเร็ว 1 GHz, หน้าจอมีขนาด 10.1 นิ้ว ความละเอียด 1280 x 800 ที่ถือเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของ Honeycomb 3.0 เพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดี ในด้านวัสดุนั้นตัว Transformer ใช้พลาสติกเป็นส่วนใหญ่ เเต่ไม่ใช่พลาสติกที่จับเเล้วดูไม่มีคุณภาพ เเต่ตรงกันข้าม เจ้าเเท็บเล็ตตัวนี้กลับให้ความรู้สึกที่กระชับมือ เพราะพลาสติกทั้งหมดมีรอยพิมพ์เป็นลายไว้ ถ้าใครนึกไม่ออกก็นึกถึงพวกโน้ตบุค Compaq CQ42 ที่เป็นลายเหมือนกันครับ ด้านหลังก็มีโลโก้ของ Asus ชุบเงินจมลงไปด้านล่าง ตัวนี้ไม่มีพอร์ท Micro USB เเต่ใช้ช่องพอร์ทเฉพาะของ Asus เองที่อยู่ด้านล่างของเครื่อง เวลาโอนข้อมูลก็ใช้พอร์ทนี้ครับ
หน้าจอของ Asus นี้เมื่อเปิดมา สิ่งที่รู้สึกได้อย่างเเรกคือ ภาพสวยมาก การเเสดงสีของจอตัวนี้นั้นมี constrast เเละโทนสีที่ละเอียดเเละชัดเจน ถึงเเม้ว่าในสเปคจะไม่เขียนไว้ เเต่คิดว่าสีของตัวนี้เเสดงผลที่ 24 บิต (16 ล้านสี) อย่างเเน่นอน นอกจากนี้ยังใช้พาเนล IPS อย่างที่ใช้ใน LG Optimus 2X หรือ iPhone 4 ถือว่าให้คุณภาพของสีได้ในระดับเดียวกัน
สำหรับกล้องของตัวนี้นั้นมีสองตัว ด้านหลังนั้นมีกล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล มีออโต้โฟกัสเเต่ว่าไม่มีเเฟลชมาให้ ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล คุณภาพของภาพไม่ค่อยดีนัก ดูมัวๆ ฟุ้งๆ อยู่เดี๋ยวค่อยไปดูกันในส่วนของกล้องเฉพาะครับ
ปุ่มที่ควบคุมการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ทางด้านซ้ายเเละขวา ปุ่มต่างๆนั้นถูกชุบเงิน เมื่อกดเเล้วก็ไม่เเข็งมาก กดง่ายกำลังดี รวมไปถึงลำโพง stereo ซ้ายขวาก็อยู่ตรงด้านข้างของเครื่องอีกด้วย ด้านข้างนั้นวัสดุเป็นโลหะ ไม่เหมือนกับด้านหน้าเเละด้านหลังที่เป็นพลาสติก
น่าเสียดายตรงที่ว่าตัวเเท็บเล็ตเองนั้นไม่มีพอร์ท USB มาให้โดยตรง (ต้องต่อ dock เอา) เเต่ก็มีพอร์ท HDMI เเละช่องเสียบ micro SD ที่ถอดการ์ดเข้าออกง่ายดี วิธีการใส่หรือถอดเพียงดันการ์ดเข้าไปเท่านั้น
ด้านล่างเป็นช่องเอาไว้ต่อกับ Keyboard ตัวเเท็บเล็ตดูไม่หนาเพราะใช้ออกเเบบให้เเท็บเล็ตด้านหลังเว้าเข้าไปเหมือนกับ iPad 2 เเล้วยังทำให้ถือสะดวกขึ้นอีกด้วย ไม่เเน่ว่าอีกหน่อยเราจะเห็นเเท็บเล็ตออกเเบบเป็นเเบบนี้มากขึ้น กระดานชนวนต้องเว้าด้วยถึงจะอินเทรนด์
มีปุ่มเล็กๆทั้งสี่จุด เอาไว้เวลาวางเเท็บเล็ต พื้นหลังจะได้ไม่เป็นรอย : )
ภาพรวมนั้นตัวเเท็บเล็ตทำออกมาได้ดีมาก เวลาเอาไปเปรียบเทียบเเล้ว คนส่วนใหญ่จะชอบของ Asus? ทั้งๆที่วัสดุของ Acer นั้นเเข็งเเรงมากกว่า เรื่องนี้ก็น่าจะเป็นเพราะโดยรวมของ Asus Transformer ออกเเบบมาได้คลาสสิตเเละดูดีพอตัวทีเดียวครับ เรียกว่า หน้าตาดีเเล้วยังภาพสวยอีกด้วย ความประทับใจเเรกเอาไปเต็มๆ
ส่วนเสริมเอาไว้เเปลงร่างนี่ก็คือ Keyboard Dock นี่เอง เอาไว้ต่อเพื่อความหล่อ เเต่ชุดที่เราได้มานั้นเเยกระหว่างตัวเเท็บเล็ตเเละกล่องคีย์บอร์ดอันนี้ ดังนั้นตั้งสมมุติฐานก่อนว่ามันน่าจะขายเเยกกัน ไปหาข้อมูลได้ว่าราคา 150 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 4500 บาท) เเละตัวนี้จะมีเเบตเตอรี่เสริมมาด้วย เเต่ที่เสียดายสุดๆคือ เเบตเตอรี่ตัวที่ได้มาทดสอบนี้ ใช้งานไม่ได้ครับ เลยไม่รู้ว่าอึด 16 ชั่วโมงสมคำคุยหรือเปล่า?
ดังนั้นก็เป็นไปตามคาดว่าตัวที่ได้มาทดสอบนั้นไม่มีคีย์ไทยนะครับ ต้องรอ Asus ไทยทำให้ เเต่ดูเเล้ววี่เเววก็คงยากเหมือนกันที่จะเห็นตัวอักษรไทยบนคีย์บอร์ด สังเกตว่าปุ่มหลายๆอย่างถูกเปลี่ยนมาเพื่อใช้งานกับ Android เช่น
- ปุ่ม Windows ถูกเปลี่ยนมาเป็นปุ่ม Home เเทน
- ปุ่ม Alt ถูกเเทนด้วยปุ่ม Search เมื่อกดเเล้วจะเป็นการเรียก Google Search โดยอัตโนมัติ
- ปุ่มคลิกขวาถูกเเทนด้วยปุ่ม Menu บน Android
- ปุ่ม Esc กลายเป็นปุ่ม Back
นอกจากนี้ปุ่มเเถวบนสุดยังออกเเบบมาเพื่อ Android โดยเฉพาะ ทั้งการเปิดปิดฟังชั่นต่างๆเช่น Wi-Fi, Bluetooth, Brightness, Multitask เเละที่เเจ่มสุดเลยคือปุ่มเเคปรูปจากหน้าจอ ที่ถูกใจคนทำรีวิวมากๆ เพราะปกติ Android นั้นเเคปรูปเเสนยากเย็น รวมไปถึงปุ่มควบคุมไฟล์มีเดียอย่าง Play/Pause, Forward, Backward
ปุ่มสีเงินนั้นคือปุ่มล็อก เวลาเราใส่ตัวเเท็บล็ตลงไปปุ่มนี้ก็จะถูกเลื่อนไปอีกด้านเพื่อทำการล็อกอัตโนมัติ ความเเข็งเเรงต้องบอกว่า มันก็เป็นชิ้นส่วนเเยกกัน ถ้าดึงออกเเรงๆก็หลุดได้ ต้องระวังกันนิดนึงนะครับ ^^ ส่วนตัวเเผงด้านหลังนั้นทำจากโลหะสีดำ เเข็งเเรงมากๆ ที่ดูเเล้วประทับใจคือ ภายในช่องโลหะสีดำนั้น มียกำมะหยี่นิ่มๆอยู่ ดังนั้นถอดเข้าถอดออกก็ไม่ต้องกลัวเเท็บเล็ตเป็นรอย ได้ใจเต็มๆเลยอันนี้
เมื่อต่อ Dock เเล้วเราก็จะได้ USB มาอีกสองพอร์ท เเละมีช่องเปิดเปิดก็เป็นโลหะสีเดียวกับขอบด้านข้าง ตัวยึดน่าจะทำด้วยพลาสติกผสมยาง ดูไม่เเล้วย้วยง่ายๆเเน่นอน
พอร์ทไว้โอนข้อมูลจากเเท็บเล็ตก็หันมาใช้ตัวนี้เเทน เพราะพอร์ทเเรกโดน Dock ยึดไปเเล้ว ยังโอนข้อมูลได้เหมือนเดิม
ประกอบร่างกันซะทีเถอะ เหนื่อยเเล้ว – -v
นี่มัน? เน็ตบุคนิ ใช่เลย ถึงประกอบร่างกันเเล้ว น้ำหนักก็ยังถือว่าเบาอยู่ เบากว่า Vaio YB ที่ใช้พิมพ์อยู่เล็กน้อย ของเเถมคือจะมีเคอเซอร์เมาส์โผล่มาบน Android ด้วย การควบคุมก็ใช้ Touchpad ตรงข้างล่างเหมือนโน้ตบุคเลย ไม่ชอบใจจะต่อเมาส์ออกมาเองก็ยังได้
อีกมุมหนึ่งใกล้ๆ
การประกอบกันทำได้เนียนมาก (ยกความดีให้ฝาเหล็กข้างหลังที่บังรอยต่อ) ถ้าคนไม่รู้ก็จะนึกว่าเป็นโน้ตบุค / เน็ตบุคเอาง่ายๆ
พอประกอบร่างเสร็จก็มีจะมีพอร์ทต่างๆมากมาย หลักๆก็มี USB 2.0 มาให้อีกสองพอร์ท พอร์ทของ Asus เอง 1 พอร์ท เเละช่องใส่ SD/MMC เเละเเบตเตอรี่ของตัว Keyboard เพิ่มมาอีก เมื่อรวมกับพอร์ท HDMI เเละช่องใส่ Micro SD อีกหนึ่งพอร์ท ที่อยู่ยนเเท็บเล็ต พบว่าช่องต่อเยอะเเยะมาก ไม่เกี่ยงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเลย จัดมาให้เกือบหมด