Snapdragon Generation
Snapdragon นั้นเป็นรหัสการพัฒนา SoC (System on Chip – หน่วยประมวลผล) ชุดใหม่ของ Qualcomm ที่มีพื้นฐานอยู่บน CPU สถาปัตยกรรม ARM Cortex V7 ที่ Qualcomm พัฒนาในชื่อ Scorpian ความเร็วขั้นต่ำที่ 1 GHz เเละ GPU ที่ได้รับพัฒนามาใหม่คือ Adreno 200 (ก่อนหน้านั้นคือ Adreno 130) ซึ่งเป็น SoC ตัวเเรกที่มีความเร็วในระดับ 1 GHz ที่พอจะช่วยให้ Android มีประสบการณ์ใช้งานที่ใกล้เคียงกับ iPhone ในขณะนั้นได้ เเละชิปตัวนี้ยังถูก Google นำไปใช้บน Nexus One ที่เป็นเครื่องต้นเเบบของ Google บน Android 2.1 อีกด้วย จากนั้น Qualcomm ก็ได้พัฒนาชิปตัวนี้มาจนกระทั่งตอนนี้ถึงรุ่นที่สามเเล้ว
เลขรหัสชิปของ Qualcomm จะมีทั้งหมด 4 หลัก โดยเลขหลักที่สองจะเป็นตัวกำหนดถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น MSM 8255 นั้นหมายถึงชิปตัวนี้ใช้ GSM เเละ UMTS, MSM8655 นั้นหมายถึงใช้ CDMA เเละ EVDO, MSM8955 นั้นหมายถึงว่าชิปตัวนี้ใช้การติดต่อเเบบ LTE หรือ 4G โดยที่ประสิทธิภาพภายในทั้ง CPU เเละ GPU นั้นเหมือนกันหมดทุกประการ ดังนั้นที่ใช้ในเมืองไทยเราจะเห็นเลข 2 เป็นหลักมากกว่า
ส่วนเลขสองหลักสุดท้ายนั้นหมายถึงรุ่นของชิปที่ผลิตมา โดย Snapdragon รุ่นเเรกใช้เลขเริ่มต้นที่ 50 สำหรับตัวที่เห็นในไทยเลขหลักที่สองก็จะเป็นเลข 2 ทั้งหมดเพราะใช้ GSM ดังตาราง
Generation | Model Number | CPU | GPU | Example Devices |
1st generation | MSM8250 | ARM Scorpian 1 GHz | Adreno 200 | HTC Desire, Google Nexus One, Dell Streak, HTC HD 7, Acer Liquid |
2nd generation | MSM8255 | ARM Scorpian 1 GHz | Adreno 205 | HTC Desire HD, HTC Desire S, HTC Incredible S, Sony Ericsson Xperia Arc, Play, Neo, Acer Iconia Smart |
3rd generation | MSM8260 | Dual Core Scorpian 1.2 ? 1.5 GHz | Adreno 220 | HTC Pyramid, HTC Flyer(อาจจะ) |
เครื่องรุ่นต้นเเบบของ Qualcomm MSM8260
3D Benchmark*
ก็จะเห็นภาพกว้างๆสำหรับการอ่านรหัสชิปของ Qualcomm กันเเล้วนะครับ ต่อไปดูในเรื่องของประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับรุ่นเก่าๆกันได้เลย
- GL Benchmark 2.0
เฟรมเรทควรจะมีค่ามากกว่า 60 ถึงจะเรียกได้ว่ามีการเเสดงผลที่ไม่สะดุด เเต่ค่าที่ต่ำกว่าในระดับ 30 ขึ้นไปถือว่ารับได้ ถ้ายิ่งต่ำกว่า 30 จะมีโอกาสที่จะเห็นอาการกระตุกของภาพสูง
เมื่อทดสอบเรื่องกราฟฟิคสามมิติจาก GLBenchmark เครื่องทดสอบจาก Qualcomm ทำคะเเนนได้ดีกว่า SoC รุ่นก่อนหน้าของตัวเองประมาณ 4 เท่า (MSM8255) เมื่อปิด Vsync เเล้วสามารถทำไปได้ถึง 93.6 เฟรมต่อวินาที (การเปิด Vsync เป็นการทำให้หน้าจอกับการประมวลผลไปด้วยกัน ไม่ทำให้การประมวลผลภาพเร็วเกินไปจนจอรับไม่ทัน ดังนั้นเฟรมเรทจะตกลงมาจนถึงขั้นที่จอเเสดงผลได้เหมาะสม)
ส่วนคะเเนนของ Tegra 2 เเละ Apple A4 ที่คะเเนนตกลงมานั้น เนื่องจากว่า Motorola Atrix 4G (960 X 540) เเละ Apple iPhone 4 (960 X 480) นั้นหน้าจอมีความละเอียดมากกว่าเครื่องทดสอบของ Qualcomm ถ้าจะวัดกันต้องเทียบกับตัว LG Optimus 2X ที่มีความละเอียดเท่ากันก็พบว่าประสิทธิภาพไม่ได้เเตกต่างกันมากนักคือ 51 เฟรมเเละ 58 เฟรมต่อวินาที เเต่ก็ต้องดูด้วยว่าเครื่องทดลองมีความเร็วมากกว่าตัว Tegra ถึง 500 MHz ดังนั้นเราพอจะสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของทั้งสองตัวไม่ได้ห่างอย่างมีนัยยะสำคัญมากนัก
ในส่วนของการทดสอบในฉาก Egypt นั้นคะเเนนออกมาดีกว่า Tegra ประมาณ 10 เฟรม ถ้าเทียบกับ Qualcomm รุ่นที่เเล้วก็ดีกว่าเดิมประมาณ 2 เท่าเช่นกัน ถือว่าการทดสอบตัวนี้ใช้พลังประมวลผลมากกว่าตัวที่เเล้ว เเต่ถ้าเมื่อเทียบกับตัวรุ่นเเรกก็ถือว่าเร็วกว่าประมาณ 5 เท่าได้ ส่วนการเปิดปิด Vsync ไม่มีผลอะไรเพราะว่าเฟรมเรทไม่เกิน 60 จึงไม่จำเป็นต้องบีบพลังประมวลผลเหมือนการทดสอบเหมือนการทดสอบตัวบน
- Kwakk 3
Kwakk 3 คือ Quake 3 บนคอมพิวเตอร์สมัยก่อนที่พอร์ทลงมาบน Android เพื่อทดสอบการประมวลผลสามมิติ
ในยุคเเรกๆของ Snapdragon นั้นเรียกว่ายังไม่สามารถเล่นได้เลยเพราะเฟรมเรทต่ำเพียงเเค่ 18 เท่านั้น เเต่เมื่อพัฒนาถัดมาในรุ่นสองก็สามารถทำเฟรมไปได้ถึง 54 พอมาถึงในยุคที่สามก็ทำไปได้ถึง 80 เลยเเต่ก็ถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับตัวรุ่นที่เเล้ว ประสิทธิภาพไม่เเตกต่างกับตัวเเรกเพราะตาของคนเราไม่สามารถเเยกได้ชัดระหว่าเฟรมเรท 60 ขึ้นไป เพียงเเค่รุ่นสองก็สามารถเล่นได้อย่างสมบูรณ์เเล้ว
Conclusion
ถึงเเม้ว่า Dual Core ของ Qualcomm จะมาช้าไปซักหน่อยเมื่อเทียบกับ Nvidia ที่เเย่งซีนไปกับ Tegra 2 ไปหมดเเล้ว เเต่ในเรื่องของประสิทธิภาพนับว่าไม่ทิ้งห่างกับตัว Tegra 2 ที่เป็นตัวยอดนิยมของเเท็บเล็ตเเละสมาร์ทโฟนในตอนนี้มากนักเเละทำได้ดีในหลายๆการทดสอบ ช่วงหลังของปี 2011 นี้คงเป็นการขับเคี่ยวของ Dual Core ระหว่างค่าย Nvidia, Qualcomm, เเละ Samsung ว่าเจ้าไหนจะทำออกมาได้มีประสิทธิภาพดีกว่ากัน เเต่ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดๆเลยในอนาคตอันใกล้นี้คือตัว Qualcomm MSM8255 ที่เป็นตัวยอดนิยมที่จะออกในหลายตัวตอนนี้ไม่ว่าจะเป็น Sony Ericsson Xperia Play, Neo, Arc หรือ HTC Incredible S, Desire S ราคาน่าจะตกลงมาเหลือหมื่นต้นๆ เพราะ Dual Core จะมาเเทนที่ในตลาดระดับ 20000 บาทขึ้นไป
เเต่ถ้าถามถึงอนาคตของการอัพเกรดก็ยังคงต้องลุ้นกันต่อไปว่าชิปเหล่านี้จะมีความสามารถพอที่จะรับการประมวลผลของ Android รุ่นถัดไปได้หรือไหม เพราะจากฐานของ 3.0 Honeycomb ที่ใช้บนเเท็บเล็ตนั้นใช้การประมวลผลกราฟฟิคในส่วนติดต่อผู้ใช้มากทีเดียว ส่วนนี้ก็คงเป็นเรื่องของอนาคตอีกที เเต่ถ้าใครไม่อยากเเบบรับความเสี่ยงเรื่องการโดนทิ้งในเรื่องของเฟิร์มเเวร์ก็จองชิปเหล่านี้เอาไว้ในใจได้เลย เพราะว่า Dual Core จะเป็นรากฐานของสมาร์ทโฟนรุ่นถัดไปของ Android เหมือนอย่างบนเเท็บเล็ตเเน่นอน
*ผลการทดสอบเเละกราฟทั้งหมดมาจากเว็บไซท์ anandtech