เชื่อหรือไม่ ? ผู้ผลิตจะต้องขายอุปกรณ์กว่า 100 ล้านชิ้นเพื่อถอนทุนคืนจากการใช้ชิปขนาด 20nm !

ในงานสัมมนา NVIDIA GTC 2012 ที่ผ่านมา นอกจากจะมีคนของ NVIDIA แล้ว ก็ยังมีตัวแทนจากบริษัทผลิตชิปต่างๆ มาพบปะ พูดคุย (และอาจสอดแนม) อยู่ในงานด้วย ซึ่งก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของการขยับสถาปัตยกรรมของชิปไปสู่ขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ ถ้ายังพอจำกันได้ ถึงปัญหาเรื้อรังในการผลิตชิปขนาด 28nm ซึ่ง TSMC ก็เป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถผลิตได้ แต่เกิดปัญหาที่ว่า ถ้าผลิตมากเกินไป บริษัทจะเริ่มได้กำไรต่อชิ้นน้อยลงจนอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินได้ จึงทำให้มีแนวโน้มว่าชิปขนาด 28nm จะไม่เพียงพอต่อท้องตลาด ตัวอย่างชิปก็เช่น Qualcomm Snapdragon S4 ที่ทาง Qualcomm หมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นพระเอกของตนในปีนี้

20nm_LowPower_wafer_853.jpgแต่ในงานนี้ได้มีการพูดถึงอนาคตของการผลิตชิปกันแล้ว โดยในช่วงกลางปีหน้า เราจะได้เห็นชิปที่ขนาด 20nm เข้ามาทำตลาด และจะใช้เวลาอีกราวๆ ปีกว่าในการเข้าครอบครองตลาดทั้งหมด จากนั้นในปี 2014 ก็จะมีชิปขนาด 14nm ที่เล็กลงมาอีกเข้ามาทำตลาดต่อไปเรื่อยๆ แต่ที่น่าสนใจก็คือการเปลี่ยนถ่ายจาก 28nm ไปเป็น 20nm นี่ละครับ ที่จะค่อนข้างมีปัญหาเล็กน้อย เพราะมีการประเมินกันออกมาว่า ผู้ผลิตชิปจะต้องผลิตและทำการขายอุปกรณ์ไปได้เป็นจำนวนกว่า 100 ล้านชิ้นเพื่อเป็นค่าใช้สิทธิ์ในการผลิตชิปขนาด 20nm ของแต่ละรายเอง ซึ่งในการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมในระดับ 32 มาเป็น 28nm ไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้น จึงทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ผลิตพอสมควรทีเดียว

โดยในบรรดาผู้ผลิตรายใหญ่ๆ อย่าง NVIDIA, AMD, Qualcomm, Texas Instrument (TI) อาจจะได้รับผลกระทบน้อยหน่อย เพราะแต่ละรายมีกำลังในการผลิตชิปและส่งไปยังบริษัทคู่ค้ารายต่างๆ ให้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้อยู่แล้ว แต่ในผู้ผลิตชิปรายย่อยอื่นๆ จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก เพราะกำลังการผลิตและความนิยมในการนำไปใส่ในอุปกรณ์สู้รายใหญ่ไม่ได้

หรือยังมีอีกแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ผลิตรายย่อย นั่นคือการผลิตชิปในสถาปัตยกรรมที่เก่ากว่า ในระดับที่บรรดาผู้ผลิตรายใหญ่ไม่เล่นด้วยแล้ว เช่น 40, 32 หรือ 28nm (เมื่อรายใหญ่ไปใช้ 20nm กันหมดแล้ว) แทน เพราะแน่นอนว่าน่าจะยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องการชิปเหล่านี้อยู่ อันจะเป็นการเพิ่มยอดจำหน่ายชิปของตนเองได้พอสมควร

ที่มา : VR-Zone

Tags:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก