ทำความรู้จักกับ “Nomophobia” โรคเสพติดมือถือที่เป็นกันแล้วทั่วโลกในเวลานี้!!

ilustrasi-ketagihan-ponsel

Nomophobia หรือ no mobile phone phobia เป็นโรคที่ได้รับการรับรองแล้วจาก YouGov องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร ที่บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2008 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนนั้นกำลังเป็นกันอยู่ในขณะนี้ โดยวิธีตรวจสอบว่าเรานั้นเป็นโรค Nomophobia หรือไม่นั้นก็ง่ายๆครับเพียงแค่สังเกตพฤติกรรมของเราในขณะที่ตื่นนอนในตอนเช้าเท่านั้นว่าเราทำสิ่งใดเป็นอย่างแรก หากตำตอบที่ออกมานั้นคือการหยิบมือถือขึ้นมาปลดล็อคหน้าจอเป็นอย่างแรกแล้วคงไม่ต้องบอกเลยครับว่าจะทำอะไรต่อไป

แต่สิ่งที่จะต้องรู้ไว้นั่นคือคุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรค Nomophobia เรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่แปลกกับยุคปัจจุบันที่มือถือนั้นเปรียบเสมือนอวัยวะพิเศษของร่างกายเราไปแล้ว หรือที่หลายคนเรียกว่าการเสพติดมือถือนั่นเอง หากสังเกตดูแล้วจะพบว่าพฤติกรรมของคนเรานั้นเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหน ยิ่งเวลาอยู่ในที่ๆ คนพลุกพล่านด้วยแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนส่วนใหญ่นั้นมักจะจดๆ จ้องๆ อยู่แต่กับมือถือของตัวเอง

ทั้งถ่ายภาพ หรืออัพเดทสถานการณ์ต่างๆตลอดเวลาเพื่อให้ทันกระแสของคนในสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากเพราะเพียงแค่เรากลัวจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเท่านั้น ถึงขนาดทำให้บางคนนั้นไม่สามารถวางมือถือไว้ไกลตัวได้เลย ต้องวางไว้ใกล้ตัวตลอดเวลาเพื่อให้สามารถตอบรับกับการสนทนาต่างๆที่เข้ามาได้ทันที และที่น่ากลัวนั่นคือเรากำลังเป็นกันโดยไม่รู้ตัวนั่นเองครับ และอาการนั้นมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่เรานั้นอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือแม้แต่สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดอย่างกระทันหันและไม่สามารถที่จะชาร์จแบตเตอรี่ได้ และเรารู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความสุขที่มีนั้นเริ่มลดหายไป

howtosmartphoneaddiction-xx2796-1573-0-1-1024x576

ซึ่งในบางรายที่เป็นมากๆนั้นอาจจะรู้สึกถึงอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ ซึ่งอาการจะหนักเบาขนาดไหนขึ้นอยู่กับแต่ละคน เนื่องจากอาการจะแตกต่างกันไป และไม่ใช่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่เป็น เพราะในขณะนี้โรค Nomophobia ได้แพร่กระจายไปแล้วกับคนทั่วโลก โดยจากการสำรวจทั่วโลกพบคนมีอาการโนโมโฟเบียกันมากขึ้นตั้งแต่ยุคดิจิตอลเข้ามาครอบงำชีวิตประจำวัน และคนที่มีอาการพะว้าพะวงกับการใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น วัยทำงานมากกว่าวัยผู้ใหญ่  เนื่องจากวัยรุ่นนั้นเป็นวัยที่กำลังสนุกกับชีวิต มีเพื่อนมากมาย ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ รวมไปถึงการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ การทำกิจกรรมต่างๆมากมาย ตอบรับต่อข่าวสารความเคลื่อนไหวในด้านต่างๆได้รวดเร็วกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งโดยมากนั้นพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากเพศหญิงนั้นมักจะสนใจในรายละเอียดรอบๆตัวได้ดีกว่าเพศชายนั่นเองครับ และเมื่อเรานั้นได้รู้จักกับโรค Nomophobia ไปพอสมควรแล้วมาดูพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นโรค Nomophobia ว่ามีพฤติกรรมใดกันบ้าง

Phubbing-600x360

  • พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ ๆ ตัว และจะรู้สึกกระวนกระวายใจมากถ้าหากมือถือนั้นไม่ได้อยู่กับตัว
  • หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความต่างๆ อัพเดทข้อมูลในสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา ชอบหยิบขึ้นมาดูบ่อย ๆ แม้ไม่มีเรื่องเร่งด่วนและไม่สามารถหักห้ามใจตนเองได้
  • เมื่อมีการแจ้งเตือนหรือการอัพเดทใหม่ๆ ภารกิจที่ทำอยู่ไม่ว่าจะสำคัญขนาดไหนก็ต้องหยุดทั้งหมดเพียงเพื่อจะเช็คดูว่ามีความเคลื่อนไหวหรือมีสิ่งใดเกิดขึ้นในเวลานั้น หากไม่สามารถตรวจเช็คไดทันที จะเริ่มไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่
  • เล่นโทรศัพท์ทุกที่ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตอนตื่นนอน,ก่อนนอน แม้แต่บนโต๊ะอาหารหรือก่อนหนังฉายในโรงภาพยนตร์ก็ยังต้องเล่นมือถือ
  • หากลืมว่าวางมือถือไว้ที่ใดก็จะเดือดร้อนราวกับจะตายภายใน 10 นาทีข้างหน้าที่จะถึง และจะต้องรีบหา,รื้อค้นทุกซอกทุกมุม,ต้องยืมมือถือคนใกล้ๆ เพื่อโทรหาเครื่องตัวเอง
  • กลัวว่ามือถือของตัวเองนั้นจะหาย แม้ว่าที่ๆ วางไว้นั้นจะปลอดภัยขนาดไหนก็ตาม
  • ตั้งแต่ซื้อมือถือมานั้นไม่เคยที่จะปิดมือถือเลยสักครั้ง และหากแบตเตอรี่นั้นเหลือน้อยกว่า 10% จะต้องรีบหาสายชาร์จมาชาร์จให้เร็วที่สุด
  • ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในมือถือมากกว่าอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง คุยกับโซเชียลมีเดียมากว่าคุยกับคนข้างๆเสียอีก
  • แม้ตั้งใจว่าวันนี้จะไม่เล่นก็ไม่สามารถทำได้ และมักจะอ้างด้วยเหตุผลที่ว่า “ไม่มีอะไรทำ”

Graziella

โรคอื่นๆที่ตามมากับโรค Nomophobia 

 

อาจฟังดูไม่น่าเชื่อแต่นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ไม่เพียงแค่ขาดปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเท่านั้น ยังส่งผลให้เกิดโรคต่างๆหรือการเจ็บป่วยตามมาอีกด้วยซึ่งโรคหรืออาการส่วนใหญ่ที่มักจะตามมาต่อจากโรค Nomophobia นั่นคือ

อาการทางสายตา หรือ สายตาสั้น เป็นอาการเริ่มแรกที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่เรานั้นจ้องมองมือถือเป็นเวลานานจนเกินไป เกิดอาการเมื่อยตา ตาล้า หรือตาแห้ง ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมได้ในอนาคต

อาการปวดเมื่อยคอ,บ่า,หัวไหล่ เป็นอาการที่เกิดเป็นอันดับแรกๆจากการใช้งานทั่วไป และมักเกิดจักการก้มหน้าเป็นเวลานานๆ เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก

อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร  สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่มากเพราะต้องแก้ไขหรือรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากค่ารักษาพยาบาล และอาการนี้เกิดจากการนั่งผิดท่าอย่างเป็นประจำจนเป็นนิสัย

อาการนิ้วล็อค อาการนี้เกิดขึ้นมาจากการใช้นิ้วจิ้มหน้าจอเป็นเวลานานจนเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อค นิ้วชา ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองนิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

โรคอ้วน หลายคนอาจจะสงสัยว่าโรคอ้วนเกี่ยวอะไรกับโรค Nomophobia ซึ่งต้องบอกครับว่าการติดมือถือจนเกินไปนั้น ทำให้เรานั้นขาดการออกกำลังกายตามที่สมควร ทำให้เกิดไขมันสะสมทำให้เกิดเป็นความอ้วนตามมานั่นเอง

วิธีป้องกันการเป็นโรค Nomophobia

  • พยายามใช้มือถือเท่าที่จำเป็น หรืออาจหากิจกรรมอื่นๆมาทำแทนการเล่นมือถือ
  • หาเพื่อนคุยในชีวิตจริงให้ได้มากกว่าเพื่อนในโลกโซเชียลมีเดีย อาจจะเลือกคุยกับคนในบ้าน หรือ คนรอบข้างก็ได้
  • กำหนดเวลาและสถานที่สำหรับเล่นมือถือให้ชัดเจน เช่น ก่อนนอนไม่เล่นมือถือ ตื่นนอนก็เช่นกัน ไปเที่ยวไม่เล่นมือถือ
  • ตั้งกำหนดเวลาในการใช้มือถือเช่นครั้งแรกเล่นไม่เกิน 1 ชม.ครั้งต่อไป 30 นาทีเป็นต้น
  • หากมีอาการหนัก ไม่สามารถห่างมือถือได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งถ้าใครมีอาการหนักมาก ๆ ทางการแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ที่นิยมใช้รักษาคนมีอาการวิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่าง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัว ให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือ

เชื่อว่าสิ่งที่ผมได้กล่าวมานั้นน้อยคนที่จะทำได้ทั้งหมดภายในวันเดียว แต่แนะนำว่าควรเริ่มจากบางข้อ หรือทำข้อใดข้อหนึ่งก็ยังดี ถึงเวลาที่เราอาจจะต้องเลิกก้มหน้าแล้วมาเผชิญกับความเป็นจริงกับคนข้างๆ ดีกว่ายืนยิ้มคนเดียวหัวเราะคนเดียวอย่างแน่นอนครับ

 

ที่มา Androidspin,Kapook

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก