เคยสงสัยไหม?? IMEI (อีมี่) คืออะไร มีไว้ทำไม บอกอะไรเราได้บ้างดูได้จากตรงไหน [Android / iOS]

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมครับว่าเลข IMEI นั้นคืออะไร หาดูได้จากที่ไหน มีความสำคัญยังไง ทำไมเวลาเข้าศูนย์บริการพนักงานถึงต้องถามหาทุกครั้ง วันนี้เราจะมาอธิบายถึงความหมายของเลขอีมี่รวมถึงวิธีหาดูเลขอีมี่ในบทความนี้กัน

IMEI (อีมี่) คืออะไร

IMEI

อีมี่หรือ International Mobile Equipment Identity หรือชื่อแบบไทย ๆ อย่างเป็นทางการก็คือ “รหัสสากลประจำอุปกรณ์เคลื่อนที่” (หรือจะเรียกว่าเป็นเลขบัตรประชาชนของมือถือก็ได้) ถูกสร้างขึ้นโดยจะให้เป็นหมายเลขเฉพาะตัวของโทรศัพท์ในระบบ GSM เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเครื่องถูกขโมย โดยปกติโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องจะมีหมายเลขอีมี่ที่แตกต่างกันออกไปโดยไม่ซ้ำเลขกัน ซึ่งตัวเลขที่มีนั้นจะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขฐาน 10 เป็นจำนวน 15 หลักด้วยกัน

อีมี่แต่ละตัวบอกอะไรเราได้บ้าง

เลขอีมี่จะมีตัวเลขทั้งหมด 15 ตัว ประกอบไปด้วย AA-BBBBBB-CCCCCC-D (หรือไม่ก็ AA-BBBBBB-CCCCCC-EE) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นข้อมูลได้ 4 กลุ่ม สามารถแบ่งได้ดังนี้

AA = Reporting Body Identifier หรือ (กลุ่ม) ประเทศที่อนุมัติโทรศัพท์เครื่องนั้น ๆ

  • 00 : Test IMEI Nations with 2-digit CCs
  • 01 : PTCRB United States
  • 02 – 09 : Test IMEI Nations with 3-digit CCs
  • 10 : DECT devices
  • 30 : Iridium United States (satellite phones)
  • 33 : DGPT France
  • 35 : BABT United Kingdom
  • 44 : BABT United Kingdom
  • 45 : NTA Denmark
  • 49 : BZT / BAPT Germany
  • 50 : BZT ETS Germany
  • 51 : Cetecom ICT Germany
  • 52 : Cetecom Germany
  • 53 : TUV Germany
  • 54 : Phoenix Test Lab Germany

BBBBBB จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วนครับ

  • 4 หลักแรกคือ Allocation Number หรือล็อตที่เครื่องนั้น ๆ ถูกอนุมัติ
  • 2 หลักหลังคือ Final Assembly Code หรือบริษัทที่ประกอบเครื่องนั้น ๆ

Final Assembly Code (FAC) เป็นดังนี้

  • 01,02 : AEG
  • 07,40 : Motorola
  • 10,20 : Nokia
  • 30 : Ericsson
  • 40,41,44 : Siemens
  • 47 : Option International
  • 50 : Bosch
  • 51 : Sony
  • 51 : Siemens
  • 51 : Ericsson
  • 60 : Alcatel
  • 70 : Sagem
  • 75 : Dancall
  • 80 : Philips
  • 85 : Panasonic

*ซึ่ง FAC จะใช้ถึงแค่วันที่ 1 มกราคม 2003 เท่านั้น ระหว่างนั้น FAC จะถูกตั้งเป็น 00 ทั้งหมดหมดเลยแต่พอถึง 1 เมษายน 2004 ตัว FAC ก็ไม่ได้ใช้อีกต่อไป แล้ว Allocation Number ก็เพิ่มจาก 4 หลักเป็น 6 หลักแทน

CCCCCC คือ Serial sequence of the model หรือรหัสเฉพาะของเครื่องนั้นๆ

D คือ check digit

EE คือ Software Version Number (SVN)

อีมี่มีไว้ทำไม

ประโยชน์หลัก ๆ ของเลขอีมี่ที่เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันเลย นั้นคือการแสดงตัวตนของตัวเครื่องผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายที่เราได้นำ SIM Card มาใช้งานนั้นเอง ซึ่งหลายๆ คนคงเคยได้ยินหรือพบเจอด้วยตนเอง ยามที่โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน แฟบเล็ตเครื่องโปรด หรือของคนใกล้ชิดได้หายไป และสิ่งแรกที่ต้องทำคือการแจ้งหายไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายในบ้านเรา

IMEI

และพวกเขาก็จะทำการขอหมายเลขอีมี่ว้เพื่อช่วยในการค้นหา เมื่อยามที่เครื่องเปิดใช้งานนั้นเอง และในต่างประเทศบางประเทศนั้น ยังมีข้อบังคับให้ผู้ให้บริการเครือข่ายนั้น ๆ ได้ระบุเลขอีมี่ลงไปพร้อมกับชื่อของผู้ใช้งานทันทีที่มีการซื่อ-ขายเครื่องอีกด้วย เพื่อป้องกันการขโมยในภายหลัง และประโยชน์อีกอย่างที่ผู้ใช้งานในบ้านเรานิยมใช้กันก็คือ การนำเลขอีมี่ไว้ตรวจดูหรือใช้เป็นหลักฐานในการซื้อ-ขายตัวเครื่องนั่นเอง

หาดูได้จากที่ไหน

กด *#06# แล้วโทรออก หมายเลขอีมี่ก็จะขึ้นจอมาให้เห็น

IMEI

ดูที่กล่องสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ส่วนมากจะอยู่บนแถบบาร์โค้ด

IMEI

ไปที่เมนู การตั้งค่า >> ระบบ >> เกี่ยวกับโทรศัพท์ >> สถานะ >> ข้อมูล IMEI (Android)

IMEI

ไปที่ ตั้งค่า >> ทั่วไป >> เกี่ยวกับ>> เลขประจำเครื่อง (iOS)

IMEI

*สำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน Android สามารถเข้าไปเช็คในเว็บไซต์ https://www.google.com/android/find?u=0 ได้เลย ด้วยล๊อคอินบัญชี Gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องก่อนกดเข้าไปหาเลขอีมี่ในลิ้ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก