Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Editorial»ทำความรู้จักกับ “Nomophobia” โรคเสพติดมือถือที่เป็นกันแล้วทั่วโลกในเวลานี้!!
    Editorial

    ทำความรู้จักกับ “Nomophobia” โรคเสพติดมือถือที่เป็นกันแล้วทั่วโลกในเวลานี้!!

    SpecPhone HQBy SpecPhone HQ27 พฤศจิกายน 2015Updated:27 พฤศจิกายน 2015
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    ilustrasi-ketagihan-ponsel

    Nomophobia หรือ no mobile phone phobia เป็นโรคที่ได้รับการรับรองแล้วจาก YouGov องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร ที่บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2008 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนนั้นกำลังเป็นกันอยู่ในขณะนี้ โดยวิธีตรวจสอบว่าเรานั้นเป็นโรค Nomophobia หรือไม่นั้นก็ง่ายๆครับเพียงแค่สังเกตพฤติกรรมของเราในขณะที่ตื่นนอนในตอนเช้าเท่านั้นว่าเราทำสิ่งใดเป็นอย่างแรก หากตำตอบที่ออกมานั้นคือการหยิบมือถือขึ้นมาปลดล็อคหน้าจอเป็นอย่างแรกแล้วคงไม่ต้องบอกเลยครับว่าจะทำอะไรต่อไป

    แต่สิ่งที่จะต้องรู้ไว้นั่นคือคุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรค Nomophobia เรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่แปลกกับยุคปัจจุบันที่มือถือนั้นเปรียบเสมือนอวัยวะพิเศษของร่างกายเราไปแล้ว หรือที่หลายคนเรียกว่าการเสพติดมือถือนั่นเอง หากสังเกตดูแล้วจะพบว่าพฤติกรรมของคนเรานั้นเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหน ยิ่งเวลาอยู่ในที่ๆ คนพลุกพล่านด้วยแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนส่วนใหญ่นั้นมักจะจดๆ จ้องๆ อยู่แต่กับมือถือของตัวเอง

    ทั้งถ่ายภาพ หรืออัพเดทสถานการณ์ต่างๆตลอดเวลาเพื่อให้ทันกระแสของคนในสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากเพราะเพียงแค่เรากลัวจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเท่านั้น ถึงขนาดทำให้บางคนนั้นไม่สามารถวางมือถือไว้ไกลตัวได้เลย ต้องวางไว้ใกล้ตัวตลอดเวลาเพื่อให้สามารถตอบรับกับการสนทนาต่างๆที่เข้ามาได้ทันที และที่น่ากลัวนั่นคือเรากำลังเป็นกันโดยไม่รู้ตัวนั่นเองครับ และอาการนั้นมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่เรานั้นอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือแม้แต่สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดอย่างกระทันหันและไม่สามารถที่จะชาร์จแบตเตอรี่ได้ และเรารู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความสุขที่มีนั้นเริ่มลดหายไป

    howtosmartphoneaddiction-xx2796-1573-0-1-1024x576

    ซึ่งในบางรายที่เป็นมากๆนั้นอาจจะรู้สึกถึงอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ ซึ่งอาการจะหนักเบาขนาดไหนขึ้นอยู่กับแต่ละคน เนื่องจากอาการจะแตกต่างกันไป และไม่ใช่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่เป็น เพราะในขณะนี้โรค Nomophobia ได้แพร่กระจายไปแล้วกับคนทั่วโลก โดยจากการสำรวจทั่วโลกพบคนมีอาการโนโมโฟเบียกันมากขึ้นตั้งแต่ยุคดิจิตอลเข้ามาครอบงำชีวิตประจำวัน และคนที่มีอาการพะว้าพะวงกับการใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น วัยทำงานมากกว่าวัยผู้ใหญ่  เนื่องจากวัยรุ่นนั้นเป็นวัยที่กำลังสนุกกับชีวิต มีเพื่อนมากมาย ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ รวมไปถึงการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ การทำกิจกรรมต่างๆมากมาย ตอบรับต่อข่าวสารความเคลื่อนไหวในด้านต่างๆได้รวดเร็วกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งโดยมากนั้นพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากเพศหญิงนั้นมักจะสนใจในรายละเอียดรอบๆตัวได้ดีกว่าเพศชายนั่นเองครับ และเมื่อเรานั้นได้รู้จักกับโรค Nomophobia ไปพอสมควรแล้วมาดูพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นโรค Nomophobia ว่ามีพฤติกรรมใดกันบ้าง

    Phubbing-600x360

    • พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ ๆ ตัว และจะรู้สึกกระวนกระวายใจมากถ้าหากมือถือนั้นไม่ได้อยู่กับตัว
    • หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความต่างๆ อัพเดทข้อมูลในสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา ชอบหยิบขึ้นมาดูบ่อย ๆ แม้ไม่มีเรื่องเร่งด่วนและไม่สามารถหักห้ามใจตนเองได้
    • เมื่อมีการแจ้งเตือนหรือการอัพเดทใหม่ๆ ภารกิจที่ทำอยู่ไม่ว่าจะสำคัญขนาดไหนก็ต้องหยุดทั้งหมดเพียงเพื่อจะเช็คดูว่ามีความเคลื่อนไหวหรือมีสิ่งใดเกิดขึ้นในเวลานั้น หากไม่สามารถตรวจเช็คไดทันที จะเริ่มไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่
    • เล่นโทรศัพท์ทุกที่ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตอนตื่นนอน,ก่อนนอน แม้แต่บนโต๊ะอาหารหรือก่อนหนังฉายในโรงภาพยนตร์ก็ยังต้องเล่นมือถือ
    • หากลืมว่าวางมือถือไว้ที่ใดก็จะเดือดร้อนราวกับจะตายภายใน 10 นาทีข้างหน้าที่จะถึง และจะต้องรีบหา,รื้อค้นทุกซอกทุกมุม,ต้องยืมมือถือคนใกล้ๆ เพื่อโทรหาเครื่องตัวเอง
    • กลัวว่ามือถือของตัวเองนั้นจะหาย แม้ว่าที่ๆ วางไว้นั้นจะปลอดภัยขนาดไหนก็ตาม
    • ตั้งแต่ซื้อมือถือมานั้นไม่เคยที่จะปิดมือถือเลยสักครั้ง และหากแบตเตอรี่นั้นเหลือน้อยกว่า 10% จะต้องรีบหาสายชาร์จมาชาร์จให้เร็วที่สุด
    • ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในมือถือมากกว่าอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง คุยกับโซเชียลมีเดียมากว่าคุยกับคนข้างๆเสียอีก
    • แม้ตั้งใจว่าวันนี้จะไม่เล่นก็ไม่สามารถทำได้ และมักจะอ้างด้วยเหตุผลที่ว่า “ไม่มีอะไรทำ”

    Graziella

    โรคอื่นๆที่ตามมากับโรค Nomophobia 

     

    อาจฟังดูไม่น่าเชื่อแต่นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ไม่เพียงแค่ขาดปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเท่านั้น ยังส่งผลให้เกิดโรคต่างๆหรือการเจ็บป่วยตามมาอีกด้วยซึ่งโรคหรืออาการส่วนใหญ่ที่มักจะตามมาต่อจากโรค Nomophobia นั่นคือ

    อาการทางสายตา หรือ สายตาสั้น เป็นอาการเริ่มแรกที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่เรานั้นจ้องมองมือถือเป็นเวลานานจนเกินไป เกิดอาการเมื่อยตา ตาล้า หรือตาแห้ง ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมได้ในอนาคต

    อาการปวดเมื่อยคอ,บ่า,หัวไหล่ เป็นอาการที่เกิดเป็นอันดับแรกๆจากการใช้งานทั่วไป และมักเกิดจักการก้มหน้าเป็นเวลานานๆ เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก

    อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร  สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่มากเพราะต้องแก้ไขหรือรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากค่ารักษาพยาบาล และอาการนี้เกิดจากการนั่งผิดท่าอย่างเป็นประจำจนเป็นนิสัย

    อาการนิ้วล็อค อาการนี้เกิดขึ้นมาจากการใช้นิ้วจิ้มหน้าจอเป็นเวลานานจนเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อค นิ้วชา ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองนิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

    โรคอ้วน หลายคนอาจจะสงสัยว่าโรคอ้วนเกี่ยวอะไรกับโรค Nomophobia ซึ่งต้องบอกครับว่าการติดมือถือจนเกินไปนั้น ทำให้เรานั้นขาดการออกกำลังกายตามที่สมควร ทำให้เกิดไขมันสะสมทำให้เกิดเป็นความอ้วนตามมานั่นเอง

    วิธีป้องกันการเป็นโรค Nomophobia

    • พยายามใช้มือถือเท่าที่จำเป็น หรืออาจหากิจกรรมอื่นๆมาทำแทนการเล่นมือถือ
    • หาเพื่อนคุยในชีวิตจริงให้ได้มากกว่าเพื่อนในโลกโซเชียลมีเดีย อาจจะเลือกคุยกับคนในบ้าน หรือ คนรอบข้างก็ได้
    • กำหนดเวลาและสถานที่สำหรับเล่นมือถือให้ชัดเจน เช่น ก่อนนอนไม่เล่นมือถือ ตื่นนอนก็เช่นกัน ไปเที่ยวไม่เล่นมือถือ
    • ตั้งกำหนดเวลาในการใช้มือถือเช่นครั้งแรกเล่นไม่เกิน 1 ชม.ครั้งต่อไป 30 นาทีเป็นต้น
    • หากมีอาการหนัก ไม่สามารถห่างมือถือได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งถ้าใครมีอาการหนักมาก ๆ ทางการแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ที่นิยมใช้รักษาคนมีอาการวิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่าง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัว ให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือ

    เชื่อว่าสิ่งที่ผมได้กล่าวมานั้นน้อยคนที่จะทำได้ทั้งหมดภายในวันเดียว แต่แนะนำว่าควรเริ่มจากบางข้อ หรือทำข้อใดข้อหนึ่งก็ยังดี ถึงเวลาที่เราอาจจะต้องเลิกก้มหน้าแล้วมาเผชิญกับความเป็นจริงกับคนข้างๆ ดีกว่ายืนยิ้มคนเดียวหัวเราะคนเดียวอย่างแน่นอนครับ

     

    ที่มา Androidspin,Kapook

    Editorial smartphone
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    SpecPhone HQ

    Related Posts

    เปิดตัว OPPO Reno 14 Series 5G มือถือกล้องสวย 50MP แฟลชสว่างพร้อม AI ครบ ราคาเริ่มต้น 11,999 บาท

    1 กรกฎาคม 2025

    แนะนำ 10 แท็บเล็ตราคาถูกในงบ 5000 บาทรุ่นไหนดีกลางปี 2025 เน้นใช้งานทั่วไป ดูหนังฟังเพลงได้สเปคครบ

    30 มิถุนายน 2025

    เปิดตัว Samsung Galaxy Buds Core หูฟังไร้สายราคาประหยัดพร้อม ANC แบตใช้งานสูงสุด 35 ชั่วโมง

    28 มิถุนายน 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    เปิดตัว OPPO Reno 14 Series 5G มือถือกล้องสวย 50MP แฟลชสว่างพร้อม AI ครบ ราคาเริ่มต้น 11,999 บาท

    1 กรกฎาคม 2025

    Xiaomi 16 Ultra อาจมาพร้อมเซ็นเซอร์กล้อง SmartSens รุ่นใหม่แทน Sony LYT-900

    1 กรกฎาคม 2025

    HONOR 400 Series กวาดยอดขายทะลุเป้า!ยอดจองพุ่ง 2.6 เท่า ตอกย้ำกระแสสมาร์ตโฟน AI ถ่ายภาพแห่งปี

    1 กรกฎาคม 2025

    Apple อาจใช้ ChatGPT หรือ Claude AI มาช่วยเสริมความสามารถให้ Siri

    1 กรกฎาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X