Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Editorial»วิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91 ลดหย่อนอะไรได้บ้างทำตามได้เลยง่ายๆ อัพเดท 2566
    Editorial

    วิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91 ลดหย่อนอะไรได้บ้างทำตามได้เลยง่ายๆ อัพเดท 2566

    IamnotspockBy Iamnotspock13 กุมภาพันธ์ 2023Updated:18 ธันวาคม 2023
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 fea
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email
    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 fea
    credit: rawpixel.com Freepik

    วิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91 ลดหย่อนอะไรได้บ้างทำตามได้เลยง่ายๆ อัพเดท 2566

    ขึ้นสู่ปีใหม่ทีไร เหล่าคนทำงานประจำและฟรีแลนซ์ที่เป็นบุคคลธรรมดา ทั้งคนที่ทำมานานแล้วหรือคนที่เพิ่งเริ่มทำงานประจำเป็นปีแรก สิ่งที่ทุกคนต้องทำช่วงต้นปีเป็นประจำก็คือการยื่นภาษี ถึงแม้ว่าจะเงินเดือนในแต่ละปีจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียหรือไม่ ก็ควรที่จะต้องยื่นให้เพื่อให้กรมสรรพากรรู้ว่าเรานั้นมีตัวตนอยู่ และเพื่อแสดงรายการภาษีว่ามีรายได้เข้ามาเป็นประจำ และยิ่งเป็นคนจำเป็นต้องเสียภาษีก็ยิ่งควรที่จะรีบยื่น ก่อนที่กรมสรรพากรปิดกำหนดวันยื่นภาษี และมีปัญหาโดนค่าปรับตามมาอีกด้วย โดยการยื่นภาษีตอนนี้ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์พร้อมจ่ายภาษีได้เลย ใครที่เคยยื่นประจำอยู่แล้วคงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าเป็นมือใหม่อาจจะมีการสับสนกันได้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เดี๋ยววันนี้ทาง Specphone จะมาบอกวิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ที่ต้องยื่นในปี 2566 นี้) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91 มีวิธีทำยังไง ทำตามได้เลยง่ายๆ และเราสามารถลดหย่อนอะไรได้บ้าง อัพเดทปี 2566

    • ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) หมดเขตเมื่อไหร่?
    • เงินเดือนหรือรายได้เท่าไหร่ ถึงต้องเสียภาษี?
    • ยื่นภาษี 2565 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
    • วิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) หมดเขตเมื่อไหร่?

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 1

    สิ่งแรกที่จำเป็นต้องรู้เลยก็คือวันกำหนดของกรมสรรพากร ที่กำหนดให้แต่ละปีจำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้ประมาณช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคมของทุกๆ ปี (ในกรณีไปยื่นที่สำนักงานกรมสรรพากร) แต่ว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์ในปี 2566 นี้ กรมสรรพากรได้กำหนดวันยื่นภาษีไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 10 เมษายน 2566 นี้ แต่ถ้าหากเราหลงลืมหรือว่าจงใจไม่ไม่จ่ายเงินภาษี และไม่ยื่นภาษี (ในกรณีที่จำเป็นต้องชำระ) จ่ายไม่ครบ ยื่นแบบล่าช้า จะมีความผิดทั้งต้องเสียเงินเพิ่ม และเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนด ถ้าหากไม่จ่ายอะไรเลย จะมีความผิดทางอาญาและมีบทลงโทษดังนี้

    1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่กำหนดของทุกปี หรือว่ายื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา จะโดนโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท (แต่สามารถขอลดค่าปรับได้)
    2. ในกรณีที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 และมีเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่จ่ายภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่าไม่ได้ยื่นแบบและต้องไปยื่นแบบที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ พร้อมเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยนับตั้งแต่วันที่หมดเวลายื่นภาษีจนถึงวันจ่ายภาษี รวมถึงค่าปรับในข้อ 1 ด้วย
    3. ในกรณีที่ถูกตรวจสอบออกหมายเรียก และไม่ได้ยื่นแบบฯ หรือยื่นแล้วแต่ชำระขาดไป จะต้องชำระเงินเพิ่มแล้ว และต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี (สามารถขอลดหรืองดได้)    
    4. หากมีการจงใจให้ข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จรวมไปถึงการฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
    5. หากเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ดูข้อกฎหมายเพิ่มเติมที่ กรมสรรพากร


    เงินเดือนหรือรายได้เท่าไหร่ ถึงต้องเสียภาษี?

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 2
    credit: katemangostar Freepik

    สิ่งที่น่าปวดหัวไม่แพ้การยื่นภาษีประจำปีก็คือเรื่องของเงินได้หรือเงินเดือน และเงินได้สุทธิในแต่ละปีที่หลายคนอาจจะงงๆ ว่าเงินอะไรคืออะไรกันแน่ และมีวิธีคำนวณภาษีอย่างไร ซึ่งการคำนวณภาษีเหล่านี้แนะนำว่าให้โหลดแอพ RD Smart Tax หรือ iTax มาคำนวณจะง่ายที่สุด ส่วนเงินที่เราได้รับในแต่ละเดือนและแต่ละปีจะมีการแยกมาคิดอีกที โดยเงินที่ได้รับเป็นเงินประจำสำหรับพนักงานในแต่ละเดือนจะเรียกว่า “เงินได้” แต่การคิดเงินสำหรับมาคำนวณในการเสียภาษีจะเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ซึ่งทุกคนจะได้รับการลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในแต่ละปีอยู่แล้วได้แก่

    • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท
    • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
    • เงินสะสมกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท (ในกรณีที่ส่งเงินประกันสังคม)

    โดยวิธีคิดแบบเบื้องต้นง่ายๆ ว่าจำเป็นต้องเสียภาษีหรือไม่ ให้นำเงินที่ได้รับทั้งหมดทั้งปี ลบกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท ลบค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทและลบประกันสังคม 9,000 บาท (ตามสูตราเงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี − ค่าใช้จ่ายส่วนตัว – ค่าลดหย่อน – ประกันสังคม) ยกตัวอย่างเช่นเงินได้ทั้งปีคือ 300,000 บาทก็จะต้องนำไปหักลบดังนี้ 300,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 131,000 ก็จะเท่ากับเงินได้สุทธิ และนำเงินได้สุทธิที่คำนวณได้นี้มาเทียบกับตาราง (ด้านล่าง) ว่าถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าหากถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีให้นำ เงินได้สุทธิ (สูตรแบบขั้นบันได) X อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่ายนั่นเอง (ยังไม่รวมค่าลดหย่อนอื่นๆ)

    เงินได้สุทธิอัตราภาษี
    1 – 150,000 บาทได้รับการยกเว้น
    150,001 – 300,000 บาทร้อยละ 5 (5%)
    300,001 – 500,000 บาทร้อยละ 10 (10%)
    500,001 – 750,000 บาทร้อยละ 15 (15%)
    750,001 – 1,000,000 บาทร้อยละ 20 (20%)
    1,000,000 – 2,000,000 บาทร้อยละ 25 (25%)
    2,000,001 – 5,000,000 บาทร้อยละ 30 (30%)
    5,000,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 35 (35%)

    ส่วนเงินเดือนขั้นต่ำที่คำนวณแล้วไม่ต้องเสียภาษีคือเงินเดือนเดือนละ 26,583.33 บาท (ไม่รวมโบนัสและรายได้จากทางอื่น) จากการคำนวณขั้นต่ำของเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีคือ 150,000 เมื่อนำมารวมกับค่าลดหย่อนก็จะได้เท่ากับ 150,000 + 100,000 + 60,000 + 9,000 จะได้เท่ากับ 319,000 บาท (ไม่ได้จ่ายประกันสังคมจะเป็น 310,000 บาท) เมื่อหาร 12 เดือนก็จะได้ 26,583.33 บาท (ไม่รวมโบนัสและรายได้ทางอื่น) หรือสรุปง่ายๆ ว่า

    • บุคคลธรรมดาที่มีเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี
    • บุคคลธรรมดาที่จ่ายประกันสังคม และมีเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
    • บุคคลธรรมดาที่จ่ายประกันสังคม และมีเงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
    • บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคม และมีเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
    • บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคม และมีเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี

    ทั้งนี้การคำนวณที่กล่าวมาข้างต้นหมายถึงเฉพาะผู้ที่มีรายได้ทางเดียว ไม่รวมโบนัสหรือรายได้จากการขายของ ฟรีแลนซ์ ฯลฯ ที่เป็นรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ ถ้ามีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน สามารถนำมาคำนวณได้อีกรูปแบบคือแบบเหมา โดยใช้สูตรภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005 ถ้าหากคำนวณแล้วภาษีไม่ถึง 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าใครอ่านแล้วงงจัดจริงๆ แนะนำว่าให้โหลดแอพคำนวณภาษีมาจะดีที่สุด ส่วน ภ.ง.ด. 90 และ 91 ต่างกันดังนี้

    • ภ.ง.ด. 90 คือบุคคลที่มีเงินได้ 2 ประเภทขึ้นไป โดยเป็นรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนประจำ หรือบุคคลที่ไม่ได้รับเงินเดือนประจำ เช่น ฟรีแลนซ์ เงินปันผลจากกองทุน นักลงทุน นักเล่นหุ้น ขายของ ขายของออนไลน์ มรดก ฯลฯ (ยื่นภาษีประจำปีครั้งเดียว)
    • ภ.ง.ด. 91 คือบุคคลที่มีเงินได้จากการจ้างงาน หรือเงินเดือน โบนัสหรือเบี้ยต่างๆ เพียงทางเดียวไม่มีรายได้อย่างอื่น (ยื่นภาษีประจำปีครั้งเดียว)

    ยื่นภาษี 2565 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 3
    credit: rawpixel.com Freepik

    สำหรับการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีนั้น ถ้าเราคำนวณแล้วว่ารายได้สุทธิที่ได้นั้นไม่เสียภาษีแน่ๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องลดหย่อนภาษีอีก เพราะการลดหย่อนภาษีจะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อรายได้สุทธิที่คำนวณตลอดทั้งปีเข้าเกณฑ์ที่รัฐกำหนดไว้ (ตามตารางด้านบน) โดยจะมีการปรับเปลี่ยนค่าลดหย่อนในแต่ละรายการและต่อปีจะไม่เหมือนกัน มีค่าลดหย่อนตามแต่ละแบบดังนี้

    ค่าลดหย่อนกลุ่มพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายส่วนตัว)

    • ค่าลดหย่อนส่วนตัว
    • ค่าลดหย่อนคู่สมรส
    • ค่าลดหย่อนบุตร
    • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
    • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา
    • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการ หรือทุพพลภาพ

    ค่าลดหย่อนเบี้ยประกัน และการลงทุนในกองทุนต่างๆ

    • เบี้ยประกันชีวิต
    • เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง
    • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
    • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • กองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF
    • ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF
    • ลงทุนกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.
    • เงินประกันสังคม

    ค่าลดหย่อนตามมาตรการรัฐ

    • ช้อปดีมีคืน 2565
    • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
    • เงินลงทุนธุรกิจในวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise

    ค่าลดหย่อนจากการบริจาค

    • เงินบริจาคทั่วไป
    • บริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ
    • เงินบริจาคพรรคการเมือง

    วิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ (ยื่นในปี 2566) สำหรับ ภ.ง.ด. 90/91

    สำหรับวิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ที่ต้องยื่นในปี 2566 ตั้งแต่วันนี้ถึง 10 เม.ย. 2566 บนหน้าเว็บกรมสรรพากรแบบ E-Filling หรือแอพ RD Smart Tax ของบุคคลธรรมดาที่เป็นภ.ง.ด. 90/91 สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้เลยง่ายๆ มีวิธีทำเหมือนกัน โดยมีสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์และมีวิธียื่นดังนี้

    • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
    • เอกสารหรือรายการลดหย่อนภาษีตลอดทั้งปี 2565 (ถ้ามี)
    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 4

    1. เข้าไปยังหน้าเว็บการยื่นแบบ E-Filling ของกรมสรรพากร จากนั้นเลือกเมนู “ยื่นแบบออนไลน์” เพื่อเข้าสู่ระบบได้เลย

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 5

    1.1 หากใครที่ยังไม่เคยยื่นภาษีเลย จำเป็นต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยการสมัครนั้นจำเป็นต้องใช้เลขประจำตัวประชาชน วัน/เดือน/ปีที่เกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ Email และสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไปสำหรับยื่นภาษีออนไลน์

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 6

    2. เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว หรือว่าใครที่เคยยื่นแล้วก็กดเข้าสู่ระบบได้เลย ด้วยการใส่เลขประจำตัวประชาชน รหัสผ่าน จากนั้นให้ยืนยัน OTP ด้วยเบอร์มือถือของตัวเองที่ใช้งานอีกครั้งเพื่อเข้าสู่ระบบ

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 7

    3. หลังจากเข้าสู่ระบบแล้วให้อ่านเงื่อนไขและข้อตกลงก่อนกดยอมรับ จากนั้นให้เลือก “ยื่นแบบ” สำหรับบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 8

    4. กรอกข้อมูลผู้มีเงินได้ทั้งหมดในช่อง (ถ้าหากเคยยื่นแล้วสามารถกดแก้ไขข้อมูลได้) เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้วให้กด “ถัดไป”

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 9

    5. กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะมีอยู่ในหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) รวมไปถึงรายได้ฟรีแลนซ​์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ และอื่นๆ (ถ้ามีก็ใส่ไปให้ครบ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่) โดยส่วนของการ “ระบุข้อมูล” เมื่อกดเข้าไปแล้วให้ใส่ข้อมูลให้ครบ รวมไปถึงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วย เมื่อใส่ข้อมูลทั้งหมดแล้วให้กด “ถัดไป”

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 10

    6. กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนตามความจริงได้เลย โดยระบบจะคำนวณสิทธิลดหย่อนให้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดให้เราอัตโนมัติ (อ่านให้ครบอย่าลืมใส่ค่าเงินสมทบกองทุนประกันสังคมถ้ามี) เมื่อใส่ครบแล้วกด “ถัดไป”

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 11

    7. หลังจากนั้นระบบจะคำนวณข้อมูลทั้งหมด ให้เราตรวจสอบข้อมูลให้ครบว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องดีแล้วให้กด “ถัดไป”

    ยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ หมดเขตเมื่อไหร่ ลดหย่อนอะไรได้บ้างปี 2566 12

    8. เมื่อกดมาแล้วระบบจะขึ้นข้อมูลโดยละเอียดอีกครั้งเพื่อการยืนยันความถูกต้อง ทั้งแบบยื่น การคำนวณภาษี การลดหย่อนภาษี หากข้อมูลครบทุกอย่างแล้วให้กด “ยืนยันการยื่นแบบ” ก็จะสามารถยื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ได้ครบทั้งหมดแล้ว

    ทั้งนี้ก็ยังสามารถบันทึกร่าง หรือพิมพ์แบบออกมาเก็บไว้ได้ด้วย ถ้าหากใครที่ไม่ต้องเสียภาษีระบบจะแจ้งผลทุกอย่างพร้อมเอกสารและใบเสร็จอื่นๆ ออกมาให้เลย แต่ถ้าหากชำระภาษีไว้เกินก็สามารถขอเงินคืนผ่าน พร้อมเพย์ และบัญชีของธนาคารกรุงไทย อีกทั้งยังสามารถติมตามสถานะได้ด้วยบนเว็บ rd.go.th

    ส่วนในกรณีที่ต้องเสียภาษีหรือต้องจ่ายเพิ่มเติม สามารถเลือกได้เลยว่าจะชำระผ่าน QR Code, E-Payment, บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตผ่านช่องทางออนไลน์, Internet Banking, ATM, Counter Service, Tele Banking, Phone Banking และ Mobile Banking ตามที่ระบบมีให้เลือก โดยหากมียอดเกิน 3,000 บาทขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่าๆ กัน ซึ่งระบบจะบอกข้อมูลการชำระทั้งหมดไว้ให้เลย


    ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นภาษี 2565 ล่าสุดที่เราได้นำมาอัพเดท และวิธียื่นภาษี 2565 แบบออนไลน์ ที่ต้องยื่นในปีนี้ก่อนสิ้นสุดวันสุดท้ายวันที่ 10 เมษายน 2566 ถ้าทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นภาษีและวิธีคำนวนแบบต่างๆ รวมไปถึงการยื่นก็ไม่ได้มีวิธีซับซ้อน หรือยากอย่างที่คิด ถ้าหากเรามีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนก็แค่ใส่ข้อมูลยื่นภาษีต่างๆ ไปให้เรียบร้อย เดี๋ยวระบบก็จะคำนวณและจัดการให้เราเอง แต่ก็อยากจะแนะนำว่ารหัสที่เข้าสู่ระบบควรเป็นรหัสที่พอจำได้ง่ายหน่อย เพราะใช้งานเพียงปีละครั้ง อาจจะทำให้ลืมกันไปบ้าง ส่วนใครที่ยังสับสนเกี่ยวกับการคำนวณในการยื่นภาษี 2565 ก็สามารถโหลดแอพมาลองใช้งานดูตามที่เราบอกกันไปได้เลย และถ้ามีเรื่องไหนน่าสนใจอีก เราก็จะนำมาฝากกันเรื่อยๆ เลยนะครับ


    ขอบคุณข้อมูลยื่นภาษี 2565 ต่างๆ ทั้งหมดจาก กรมสรรพากร

    Android App iOS App tax
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Iamnotspock

    Related Posts

    วิธีเช็คเบอร์ตัวเอง AIS, true, dtac กดอะไร เช็คเบอร์มือถือตัวเองง่ายๆ ทำได้ทุกค่าย!

    15 พฤษภาคม 2025

    รวมโทรศัพท์ติดโปร AIS ล่าสุดทุกรุ่นปี 2568 มีส่วนลดค่าเครื่องติดโปรเท่าไหร่บ้างเมื่อซื้อพร้อมแพ็กเกจ

    15 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 5 ฟีเจอร์โฟนราคาไม่เกิน 1,500 เน้นโทร ปุ่มใหญ่ USB-C

    15 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    วิธีเช็คเบอร์ตัวเอง AIS, true, dtac กดอะไร เช็คเบอร์มือถือตัวเองง่ายๆ ทำได้ทุกค่าย!

    15 พฤษภาคม 2025

    รวมโทรศัพท์ติดโปร AIS ล่าสุดทุกรุ่นปี 2568 มีส่วนลดค่าเครื่องติดโปรเท่าไหร่บ้างเมื่อซื้อพร้อมแพ็กเกจ

    15 พฤษภาคม 2025

    เปิดตัว “realme 14T 5G” แบตอึด-เล่นเกมลื่นสุดสมตำแหน่ง Performance Dominator น้องใหม่พร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัยครบเครื่องในราคา 8,999 บาท

    15 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 5 ฟีเจอร์โฟนราคาไม่เกิน 1,500 เน้นโทร ปุ่มใหญ่ USB-C

    15 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X