เช็ค! ใครได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมบ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 40 รีบผูกพร้อมเพย์โอน 4-6 ส.ค. นี้!

เยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40

เช็ค! ใครได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมบ้าง ของผู้ประกันตนมาตรา 33 39 40 ผูกพร้อมเพย์โอน 4 ส.ค. นี้!

ด้วยสถานการ์การแพร่ระบาดที่มากขึ้นในทุกๆ วันในประเทศไทยแบบนี้ หลายคนๆ ที่เคยประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือว่าแม่ค้าพ่อค้าทั้งหลาย หรือสายอาชีพอิสระทั้งหลาย ก็ต้องเจอกับการล็อคดาวน์ เพื่อไม่ให้เชื้อนั้นแพร่ระบาดไปมากกว่าเดิม ส่งผลให้รายได้ต่างๆ ที่เคยได้รับจากเดิมนั้นศูนย์เสียไปหลายบาท จนทำให้บางคนถึงกับต้องปิดกิจการกันไปเลย ซึ่งเรื่องแบบนี้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว คนทำงานก็ยังคงต้องทำต่อไปอยู่ดี แต่ล่าสุดทางประกันสังคมก็ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 เพื่อรับเงินเยียวยาจากประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ออกมาช่วยเหลือคนทำงาน ซึ่งรายละเอียดการรับเงิน และใครในอาชีพไหนจะได้รับบ้าง และวิธีเช็คว่าใครได้รับเงินเยียวยาบ้าง พร้อมวิธีผูกพร้อมเพย์เข้ากับธนาคารแบบไหนถึงจะได้ เดี๋ยววันนี้ทาง Specphone จะมาสรุปแบบง่ายๆ ให้เข้าใจกัน


ใครได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมบ้าง? พร้อมวิธีเช็คสิทธิที่จะได้รับ

เยียวยาประกันสังคม ม.33 ประกัน

สำหรับคนที่จะได้รับสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคมนั้นจะมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่คนที่ “เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม” และเป็นผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 33, 39 และ 40 หรือพูดง่ายๆ ม.33 ก็คือลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการ, ม.39 ลูกจ้างที่เคยทำงานอยู่ในสถานประกอบการ และจ่ายประกันสังคมเอง และม.40 คือ ประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ (ต้องลงทะเบียนก่อนวันที่ 31 ก.ค. 2564) โดยมีรายละเอียดการได้รับเงินภายในวันที่ 4-6 ส.ค. 2564 ย่อยลงมาอีกคือ

กลุ่มแรกที่จะได้รับเงินก่อนภายในวันที่ 4-6 ส.ค. 2564 คือ “ผู้ประกันตน มาตรา 33” ที่จัดอยู่ในกลุ่ม 9 อาชีพได้แก่

  1. ก่อสร้าง
  2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ
  5. ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์
  6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
  9. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
เยียวยาประกันสังคม ม.33 เช็ค

และอยู่ใน 10 จังหวัดที่ประกาศล็อคดาวน์ (ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาสำหรับม.33 ที่นี่) ได้แก่ กรุงเทพฯ,นนทบุรี, ปทุมธานี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา และประกาศเพิ่มเติมในอีก 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และ พระนครศรีอยุธยา โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะทำการโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ “ที่ผูกบัญชีกับบัตรประชาชนเท่านั้น” ถึงจะได้รับการโอนเงิน (ถ้าผูกด้วยเบอร์จะไม่ได้นะ อย่าลืม)

เยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.40

ส่วนกลุ่มที่จะได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมต่อมาก็คือกลุ่ม ม.39 และ ม.40 จะได้รับการโอนเงินภายในวันที่ 6 ส.ค. 2564 แต่ถ้าใครที่ยังไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องเข้าไปสมัครก่อน ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 (กดเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40) ส่วนใครที่สมัครไปแล้ว หรือเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่ โดยการเข้าสู่ระบบ และเช็คดูว่าชื่อตัวเองเข้าสู่ระบบหรือยัง

เยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.40 สมัคร

ได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมเท่าไหร่บ้าง สำหรับแต่ละกลุ่ม?

1. กลุ่มของผู้ประกันตนม.33 ที่อยู่กลุ่ม 9 อาชีพ

ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 จะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน และลูกจ้างที่มีการหยุดงานด้วย จะได้รับเงินชดเชยโดยคิดเป็น 50% ของค่าจ้างในแต่ละเดือน (เงินเดือน) แต่ไม่เกิน 7,500บาท รวมทั้งหมดแล้ว จะได้ไม่เกินคนละ 10,000 บาท โดยจะได้รับเงินเยียวยาภายในวันที่ 4-6 ส.ค. 2564

ส่วนผู้ประกอบการ จะได้รับเงินเยียวยารายละ 3,000 บาท ต่อลูกจ้างที่มีในบริษัท 1 คน (จำกัดไม่เกิน 200 คน) โดยจะได้รับเงินเยียวยาภายในวันที่ 4-6 ส.ค. 2564

2. กลุ่มของผู้ประกันตนม.39 และ ม.40

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ประกันตนม.39 และ ม.40 จะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือคนละ 5,000 บาทต่อคน โดยจะได้รับเงินเยียวยาภายในวันที่ 24 ส.ค. 2564 (รอการประกาศอีกครั้ง)

3. กลุ่มอาชีพอิสระ

ต้องเข้าไปลงทะเบียนขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อรับเงินช่วยเหลือเยียวยาภายในเดือนกรกฎาคม 2564 (กดที่นี่) โดยจะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท โดยจะได้รับเงินเยียวยาภายในวันที่ 24 ส.ค. 2564 (รอการประกาศอีกครั้ง)

เยียวยาประกันสังคม ม.33 จ่ายเงิน

***อย่าลืมว่าต้องผูก “พร้อมเพย์” เข้ากับบัญชีธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชนเท่านั้น***


วิธีลงทะเบียนสมัครและผูกพร้อมเพย์เข้ากับบัตรประชาชน ของแต่ละธนาคาร

เยียวยาประกันสังคม ม.33 ธนาคาร

ก่อนอื่นสำหรับคนที่ยังไม่เคยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารใดๆ เลย แนะนำว่าให้เข้าไปยังแอพของธนาคารนั้นๆ หรือเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน (เพราะบางพื้นที่เสี่ยงต่อการเปิดให้บริการ) เมื่อเปิดบัญชีแล้วจึงค่อยทำการลงทะเบียน เพื่อผูกเลขบัตรประชาชนกับพร้อมเพย์ ถึงจะได้รับเงินเยียวยาประกับสังคมได้ โดยแต่ละธนาคารนั้น สามารถผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน ได้ผ่านช่องทาง Mobile Banking หมดแล้ว (ยกเว้นธกส. ที่ต้องทำผ่าน ATM) ส่วนวิธีการสมัครของแต่ละธนาคาร สามารถกดเข้าไปดูได้ตามลิงก์ของแต่ละธนาคาร ตามด้านล่างนี้เลย หรือจะโทรสอบถามก่อนก็ได้ (หรือถ้าใครมีลูกหลานที่ทำเป็นแนะนำว่าให้ทำผ่าน Mobile Banking จะสะดวกและรวดเร็วที่สุดแล้ว)

ธนาคารเบอร์ติดต่อ
ธนาคารกรุงไทย02-111-1111
ธนาคารกรุงเทพ1333
02-645-5555
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา1572
ธนาคารกสิกรไทย02-888-8888
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย02-626-7777
ธนาคารไทยพาณิชย์02-777-7777
ธนาคารออมสิน1115
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต1428
ธนาคารทิสโก้02-633-6000
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย02-697-5454
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร02-555-0555
ธนาคารยูโอบี02-285-1555
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์1327
ธนาคารอาคารสงเคราะห์02-645-9000
ธนาคารอิสลาม1302

แล้วทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูล และวิธีการเช็คสิทธิของแต่ละกลุ่ม ทั้งม.33, ม.39 และม.40 เพื่อรับเงินเยียวยาประกันสังคม พร้อมช่องทางการสมัครพร้อมเพย์ เพื่อผูกเข้ากับบัตรประชาชน ถ้าทำถูกต้องและได้รับสิทธิก็จะได้รับเงินได้แน่นอน ภายในวันที่ 4-6 ส.ค. 2564 และถ้าใครที่มีปัญหาหรือมีความจำเป็นที่จะต้องทำธุรกรรมกับธนาคารต่างๆ ก็สามารถโทรเข้าไปสอบถามผ่าน Call Center หรือเบอร์ของธนาคารก่อนล่วงหน้า เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยเหมือนกัน แล้วถ้ามีเรื่องไหนให้อัพเดทกันอีก เราก็จะนำมาบอกกันเรื่อยๆ เลย นะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก