จัดอันดับความแรงการ์ดจอและ Ray Tracing ในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD รุ่นไหนแรงที่สุดในตอนนี้
ว่าด้วยเรื่องของการ์ดจอ เชื่อว่าใครที่เป็นสาวกคอมฯ PC หรือโน๊ตบุ๊ค หรือแม้แต่คนทั่วไปก็ต้องศึกษา และทำความเข้าใจถึงความเร็วแรง พร้อมประสิทธิภาพในการใช้งานก่อนจะซื้อมาใช้งานกันทุกครั้ง ซึ่งเจ้าตัวการ์ดจอ (VGA หรือ GPU) หรือ Graphic Card นั้นก็เป็นตัวสำคัญในการช่วยประมวลผลของภาพต่างๆ และส่งไปให้ CPU จากนั้นจึงส่งกลับมาที่การ์ดจอ ก่อนจะส่งไปยังหน้าจออีกที ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ดูหนัง ตัดต่อ หรือการทำงานต่างๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการ์ดจอตัวแรงๆ เข้ามาช่วยให้เครื่อง PC หรือว่าโน๊ตบุ๊คของเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ภาพสวยๆ ตามที่เราต้องการนั่นเอง แต่ถ้าจะใช้งานพิมพ์แบบทั่วไปก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้สเปคสูงขนาดนั้นก็ได้นะ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การ์ดจอตัวแรงหรือตัวใหม่หลายๆ รุ่นก็มีราคาที่สูงลิ่ว เนื่องจากมีคนซื้อไปเพื่อขุดเหรียญ Bitcoin กันเป็นจำนวนมาก (เนื่องจากมีการคำนวณ Matrix และ Vector ที่ดีกว่า CPU อย่างเดียว) แต่ช่วงหลังๆ นี้ก็มีเครื่องขุดหรือการ์ดจอที่เอาไว้สำหรับขุดอย่างเดียวออกมารองรับบ้างแล้ว ทำให้ราคาการ์ดจอสำหรับคนเล่นเกมมีราคาลงมาบ้างแล้ว สำหรับวันนี้ทาง Specphone จะมาบอกถึงการจัดอันดับความแรงการ์ดจอในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD รวมไปถึง Ray Tracing ด้วยว่ามีรุ่นไหนแรงที่สุดในตอนนี้บ้าง
- อันดับความแรงการ์ดจอในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD
- อันดับความแรงการ์ดจอวัดจาก Ray Tracing ในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD
- เลือกซื้อการ์จอแบบไหนดี ให้เหมาะกับการใช้งาน
อันดับความแรงการ์ดจอในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD
เริ่มต้นกันด้วยการจัดอันดับความแรงการ์ดจอของ NVIDIA กับ AMD ในปี 2022 กันก่อนเลย โดยการจัดอันดับนี้เป็นการจัดอันดับจาก Tom’s Hardware ที่ได้มีการจัดอย่างต่อเนื่องมาทุกปี รวมไปถึงในปี 2022 ที่ได้รวมรุ่นปัจจุบันกับรุ่นก่อนหน้านี้เอามาหมดแล้ว ส่วนการจัดอันดับจะวัดด้วยประสิทธิภาพการทำงาน ตามมาตรฐานการเล่นเกม หรือว่าการตัดต่อแบบต่างๆ ด้วยระดับ 4K โดยวัด GPU ในการประมวลผลด้วยการตั้งค่าทั้งหมด 4 แบบคือ 1080p Ultra, 1080p Medium, 1440p Ultra และ 4K Ultra จากเกม 8 เกมคือ Borderlands 3 (DX12), Far Cry 6 (DX12), Flight Simulator (DX12), Forza Horizon 5 (DX12), Horizon Zero Dawn (DX12), Red Dead Redemption 2 (Vulkan), Total War Warhammer 3 (DX11) และ Watch Dogs Legion (DX12) โดยยังไม่ได้รวมกับการวัด Ray Tracing
การ์ดจอ | 1080p Ultra | 1080p Medium | 1440p Ultra | 4K Ultra | VRAM/ พลังงาน |
Radeon RX 6900 XT | 100% | 100% | 100% | 100% | 16GB GDDR6/ 300W |
GeForce RTX 3090 | 96.7% | 95.9% | 99.2% | 107.2% | 24GB GDDR6X/ 350W |
GeForce RTX 3080 12GB | 95.3% | 95.9% | 97.1% | 103.3% | 12GB GDDR6X/ 400W |
Radeon RX 6800 XT | 95.1% | 96.9% | 94.6% | 92.8% | 16GB GDDR6/ 300W |
GeForce RTX 3080 Ti | 94.2% | 94.2% | 96.5% | 104% | 12GB GDDR6X/ 350W |
GeForce RTX 3080 | 88.9% | 93.3% | 88.8% | 93.6% | 10GB GDDR6X/ 320W |
Radeon RX 6800 | 85.3% | 93.7% | 82.8% | 80% | 16GB GDDR6/ 250W |
GeForce RTX 3070 Ti | 79.7% | 87.3% | 76.9% | 73.3% | 8GB GDDR6X/ 290W |
GeForce RTX 3070 | 76.2% | 84.6% | 72.1% | 67.5% | 8GB GDDR6/ 220W |
GeForce RTX 2080 Ti | 74.3% | 83% | 71.2% | 70.8% | 11GB GDDR6/ 250W |
Radeon RX 6700 XT | 73.6% | 86.7% | 66.6% | 61.2% | 12GB GDDR6/ 230W |
GeForce RTX 3060 Ti | 69.9% | 80.1% | 65.2% | – | 8GB GDDR6/ 200W |
GeForce RTX 2080 Super | 65.7% | 75.5% | 61.3% | 54.8% | 8GB GDDR6/ 250W |
GeForce RTX 2080 | 63.6% | 72.9% | 59% | – | 8GB GDDR6/ 215W |
Radeon RX 6600 XT | 60.6% | 74.8% | 52.2% | – | 8GB GDDR6/ 160W |
GeForce RTX 2070 Super | 59.2% | 68% | 54.3% | – | 8GB GDDR6/ 215W |
Radeon RX 5700 XT | 57.1% | 68.9% | 50.4% | 46.4% | 8GB GDDR6/ 225W |
GeForce RTX 3060 | 53.7% | 63.9% | 49% | – | 12GB GDDR6/ 170W |
GeForce RTX 2070 | 52.6% | 60.6% | 48.2% | – | 8GB GDDR6/ 175W |
Radeon RX 6600 | 51.9% | 64.5% | 44% | – | 8GB GDDR6/ 132W |
GeForce RTX 2060 Super | 50.4% | 58% | 45.6% | – | 8GB GDDR6/ 175W |
Radeon RX 5700 | 50.2% | 60.9% | 44.6% | – | 8GB GDDR6/ 180W |
Radeon RX 5600 XT | 45% | 55% | 39.7% | – | 8GB GDDR6/ 160W |
GeForce RTX 2060 | 42.7% | 53% | 36.6% | – | 6GB GDDR6/ 160W |
GeForce RTX 3050 | 39.5% | 48% | 35.2% | – | 8GB GDDR6/ 130W |
GeForce GTX 1660 Super | 34.4% | 45.3% | 29.8% | – | 6GB GDDR6/ 125W |
GeForce GTX 1660 Ti | 34% | 44.8% | 29.8% | – | 6GB GDDR6/ 120W |
GeForce GTX 1660 | 30.9% | 41.1% | 26.9% | – | 6GB GDDR5/ 120W |
Radeon RX 5500 XT 8GB | 30.8% | 39.7% | 26.9% | – | 8GB GDDR6/ 130W |
Radeon RX 5500 XT 4GB | 25.9% | 36.6% | – | – | 4GB GDDR6/ 130W |
GeForce GTX 1650 Super | 25.7% | 37.1% | 21.7% | – | 4GB GDDR6/ 100W |
GeForce GTX 1060 6GB | 24.8% | 31.4% | 21.5% | – | 6GB GDDR5/ 120W |
Radeon RX 6500 XT | 23.8% | 36.1% | 16.7% | – | 4GB GDDR6/ 107W |
Radeon RX 570 4GB | 21.9% | 29.4% | 18.9% | – | 4GB GDDR5/ 150W |
GeForce GTX 1650 | 20.6% | 28% | – | – | 4GB GDDR5/ 75W |
จากตารางด้านบนนี้จะเห็นได้ว่าการทดสอบด้วยระดับ 4K ultra ตัว RTX 3090, RTX 3080 Ti และ RTX 3080 12GB จะทำงานได้ดีกว่า Radeon RX 6900 XT (คะแนนจึงเกิน 100%) ส่วนการวัดอย่างอื่นจะยังไม่แรงเท่า ที่สำคัญก็คือ Radeon RX 6900 XT นั้นได้แซงหน้าตัวแรงอย่าง GeForce RTX 3090 ของ NVIDIA ที่อยู่อันดับหนึ่งมาหลายปีด้วย แต่ทั้งนี้ตารางนี้ก็ยังไม่ได้รวมการวัด Ray Tracing หรือผล DLSS อย่างที่บอกไปเลย เนื่องจากทาง Tom’s Hardware ได้บอกไว้ว่าต้องการวัดในแบบชุดทดสอบแบบเดียวกัน กับการตั้งค่าเดียวกันของรุ่นก่อนกับรุ่นปัจจุบันเฉยๆ ผลที่ออกมาจึงได้ตามนั้น แต่ถ้าวัดกันด้วย Ray Tracing แล้วก็จะได้ผลอีกแบบ ตามข้อมูลด้านล่างนี้เลย
อันดับความแรงการ์ดจอวัดจาก Ray Tracing ในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD
มาต่อกันที่การวัดความแรงการ์ดจอด้วยการวัดจาก Ray Tracing ที่เป็น GPU รองรับ Ray Tracing นั่นก็คือ RX 6000-series ของ AMD และการ์ด RTX ของ Nvidia เท่านั้น และจะมีการทดสอบจากเกมที่ต้องการใช้งาน Ray Tracing สูง ซึ่งเกมที่ใช้ทดสอบด้วย DXR อาจจะทำให้เฟรมเรทนั้นตกบ้าง และการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบ Ray Tracing ที่ตั้งค่าแบบ Medium คือการตั้งค่าด้วยกราฟิกปานกลาง และแบบ Ultra ที่เปิดการใช้งาน RT ทั้งหมด
ส่วนการเรียงลำดับนี้จะเรียงจากคะแนน 1080p Medium เพราะโดยทั่วไปแล้ว RX 6500 XT นั้นยังจัดการกับ Ray Tracing ได้ไม่เท่าไหร่ ดังนั้นการทดสอบที่มากกว่า 1080p Medium จึงยังไม่มีผลอะไร และทั้งหมดที่นำมาทดสอบจัดลำดับนี้ จะเป็นรุ่นที่สามารถใช้งาน Ray Tracing ในปัจจุบันทั้งหมด เว้นแต่รุ่น Titan RTX ที่ยังไม่ได้นำมาร่วมทดสอบด้วย ส่วนเกมที่ใช้ทดสอบนั้นจะมีอยู่ 6 เกมคือ Bright Memory Infinite, Control Ultimate Edition, Cyberpunk 2077, Fortnite, Metro Exodus Enhanced และ Minecraft โดยใช้ DirectX 12 / DX12 Ultimate API
การ์ดจอ 1080p Medium 1080p Ultra 1440p Ultra 4K Ultra VRAM/ พลังงาน GeForce RTX 3090 100% 100% 100% 100% 24GB GDDR6X/ 350W GeForce RTX 3080 Ti 97.4% 97.6% 97% 97% 12GB GDDR6X/ 350W GeForce RTX 3080 12GB 96.6% 95.6% 94.4% 93.4% 12GB GDDR6X/ 400W GeForce RTX 3080 88.9% 87.5% 86.1% 82.8% 10GB GDDR6X/ 320W GeForce RTX 3070 Ti 72.4% 70.2% 66.7% – 8GB GDDR6X/ 290W Radeon RX 6900 XT 68.8% 65.7% 62.2% 59.2% 16GB GDDR6/ 300W GeForce RTX 3070 67.8% 65.5% 61.9% – 8GB GDDR6/ 220W GeForce RTX 2080 Ti 64.6% 61.4% 58.6% – 11GB GDDR6/ 250W Radeon RX 6800 XT 64.3% 60.9% 57.8% 55.2% 16GB GDDR6/ 300W GeForce RTX 3060 Ti 60.2% 57.2% 53.9% – 8GB GDDR6/ 200W Radeon RX 6800 55% 51.9% 49.1% – 16GB GDDR6/ 250W GeForce RTX 2080 Super 54.1% 50.1% 46.9% – 8GB GDDR6/ 250W GeForce RTX 2080 51.8% 47.4% 44.1% – 8GB GDDR6/ 215W GeForce RTX 2070 Super 47.5% 43.7% 40% – 8GB GDDR6/ 215W GeForce RTX 3060 45% 42.6% 39.6% – 12GB GDDR6/ 170W Radeon RX 6700 XT 42.4% 40.3% 36.7% – 12GB GDDR6/ 230W GeForce RTX 2070 42% 38.8% 35.7% – 8GB GDDR6/ 175W GeForce RTX 2060 Super 40.3% 36.8% 33.7% – 8GB GDDR6/ 175W GeForce RTX 2060 34.7% 29.7% – – 6GB GDDR6/ 160W Radeon RX 6600 XT 33.6% 31.2% – – 8GB GDDR6/ 160W GeForce RTX 3050 32.1% 30.1% – – 8GB GDDR6/ 130W Radeon RX 6600 28.2% 26% – – 8GB GDDR6/ 132W Radeon RX 6500 XT 8.6% – – – 4GB GDDR6/ 107W
จากตารางการจัดอันดับความแรงการ์ดจอโดยวัดจาก Ray Tracing นั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเทียบโดยเปอร์เซนต์แล้วตัว GPU ที่แรงที่สุดก็คือ GeForce RTX 3090 และยังคงเป็นของ Nvidia ถึง 5 อันดับแรกเลยทีเดียว หลังจากนั้นถึงจะเป็นของ AMD ที่ต่อมาในลำดับที่ 6 และมีคะแนนไม่ห่างจากอันดับต่อมามากไหร่นัก ถ้าวัดจากการเปิดใช้งาน Ray Tracing และยังไม่ได้ใช้ DLSS ด้วย
ซึ่งทาง Tom’s Hardware ยังบอกอีกว่าถ้า AMD นั้นยังไม่สามารถอัพเกรดให้ดีขึ้น ก็ยังไม่สามารถใช้ 1440p ที่มากกว่า 30 fps ได้เท่าไหร่นัก และตอนนี้ก็ยังไม่มี GPU ตัวไหนที่สามารถรองรับ 4K แบบลื่นๆ ได้อีกด้วย โดยตัว RTX 3080 นั้นเร็วกว่า RX 6900 XT ถึง 45% และตัว RTX 3090 นั้นเร็วกว่าถึง 72% โดยเขาหวังว่าในอนาคตรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมานั้นจะรองรับ 4K ที่เข้าถึงเฟรมเรตสูงได้ แต่ก็คาดว่า DLSS หรือส่วนอื่นๆ ก็ต้องรองรับสำหรับ 60 fps ขึ้นไปด้วยเช่นกัน สุดท้ายคือสำหรับตัว GPU ระดับกลางอย่าง RTX 3070 และ RX 6700 XT จะจัดการกับ 1080p ได้แต่ไม่มากไปกว่านี้ ซึ่งรุ่นที่ต่ำกว่านี้ที่รองรับ DXR ก็แทบจะไม่สามารถจัดการกับ 1080p ได้ด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าจะปรับแบบ Medium ก็ตาม (โดยต้องใช้ VRAM อย่างต่ำ 6GB เพื่อเปิดใช้งาน Ray Tracing)
เลือกซื้อการ์จอแบบไหนดี ให้เหมาะกับการใช้งาน
สำหรับการเลือกซื้อการ์ดจอนั้น ถึงแม้ว่าจะมีอันดับความแรงการ์ดจออยู่ ความจริงแล้วก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของตัวเองเป็นหลักจะสำคัญที่สุด ถ้าคิดว่าเราจะใช้งานเพื่อพิมพ์งาน ใช้โปรแกรมทั่วไป หรือว่าเอามาเล่นอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องหาการ์ดจอแพงๆ หรือแรงเวอร์ขนาดนั้น เพราะถ้าซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานตามความแรงของมัน ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะต้องเสียเงินไปเยอะขนาดนั้น (แต่ถ้าเป็นเศรษฐีดูไบไม่กระทบกับชีวิต ก็ไม่มีใครว่าถ้าจะใช้ของแพง) ส่วนใครที่ต้องการใช้งานที่เหนือไปกว่านั้น อย่างการตัดต่อภาพ วิดีโอขั้นสูง หรือว่าเน้นเล่นเกมเป็นหลัก ก็สามารถเลือกซื้อได้ตามความแรงที่ต้องการได้เลย โดยหลักทั่วไปแล้วการเลือกซื้อจะมีอยู่ดังนี้
- ความจำ (Memory) อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ เพราะถ้าเรามีความจำเยอะมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้การเก็บข้อมูล หรือการแสดงผลนั้นดีขึ้นตามไปด้วย
- ความละเอียดภาพ (Resolution) เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าการ์ดจอตัวไหนที่มีพิกเซล (Pixel) สูง ก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการแสดงผลนั้นได้ความละเอียดสูง และคมชัดขึ้นด้วยนั่นเอง
- อัตรา Refresh Rate ของหน้าจอก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับการทำงาน ยิ่งมีอัตรา Refresh Rate มากเท่าไหร่ภาพที่ได้ออกมาก็จะมีความไหลลื่นดูสมจริงมากขึ้นนั่นเอง
- เลือกให้ถูกประเภทการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วจะมีให้เลือกอยู่ 3 แบบด้วยกันก็คือ
- แบบ On Board ที่ส่วนใหญ่จะติดเครื่องอย่างโน๊ตบุ๊คมาให้เลย และส่วนใหญ่ก็จะเป็นการ์ดจอแบบทั่วไปที่เอาทำงานเอกสาร หรือว่าดูหนัง ฟังเพลง ได้ดีนั่นเอง ที่สำคัญคือราคามักจะไม่แพงด้วย
- แบบใช้งานด้านกราฟิก ซึ่งการ์ดจอแบบนี้จะเหมาะสำหรับสายงานตัดต่อภาพ งาน 3D หรือว่าตัดต่อวิดีโอที่ต้องการเรนเดอร์ภาพกราฟิกอย่างรวดเร็ว และเหมาะกับงานที่ต้องประมวลผลแบบหนักๆ นั่นเอง
- แบบเล่นเกมโดยเฉพาะ ซึ่งแบบนี้จะได้รับความนิยมเยอะหน่อย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วก็ต้องการการ์ดจอแรงๆ ไปเพื่อเล่นเกมที่มีภาพสวย กราฟิกสมจริงกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมี FPS ที่สูง รวมถึงมีความละเอียดภาพที่สูงด้วย เพื่อความสวยงามของภาพที่ออกมาจากเกม
แล้วทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลการจัดอันดับความแรงการ์ดจอและ Ray Tracing ในปี 2022 ของ NVIDIA กับ AMD ว่ามีรุ่นไหนแรงที่สุดในตอนนี้บ้าง โดยการจัดอันดับความแรงการ์ดจอที่เรานำมาบอกนี้ จะจัดอันดับความแรงการ์ดจอแบบทั่วไปโดยที่ยังไม่เปิด Ray Tracing กับการจัดอันดับความแรงการ์ดจอแบบเปิด Ray Tracing ซึ่งผลลัพธ์การจัดอันดับความแรงการ์ดจอทั้งสองแบบจะต่างกันค่อนข้างเยอะทีเดียว ส่งผลให้คอเกมทั้งหลายน่าจะพอเห็นเป็นรูปเป็นร่างกันมากขึ้น สำหรับคนที่เล่นเกมที่จำเป็นต้องใช้ Ray Tracing เพื่อความสมจริงในด้านแสงและเงาตัว RTX 3090 ก็ยังคงแรงนำเด่นมาอยู่ดี ถึงแม้ว่าการจัดอันดับความแรงการ์ดจอแบบทั่วไปตัว Radeon RX 6900 XT จะแรงกว่าก็ตาม แน่นอนว่าตอนนี้ราคาของ RTX 3090 ก็แรงนำไปไกลเช่นกัน รวมไปถึงความหายากขอตัวการ์ดจอเองด้วย หวังว่าข้อมูลการจัดอันดับความแรงการ์ดจอจาก Tom’s Hardware ที่เรานำมาฝากนี้ จะช่วยเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการเปรียบเทียบความแรงของการ์ดจอมากขึ้นนะ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่