ถ้าถามนักพัฒนาว่าเเอพอะไรที่ส่วนใหญ่ขายได้ดีที่สุด คำตอบที่ได้หนึ่งในนั้นก็ต้องมีคำว่า ?เกมส์? อย่างเเน่นอน เกมส์ก็มีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นเเนว Casual เล่นง่ายๆทุกเพศทุกวัยอย่าง Angry Bird ที่ใช้การควบคุมง่ายๆไม่ซับซ้อนเน้นการเเก้ปัญหาเป็นหลัก ซึ่งเกมส์ในมือถือส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปในลักษระนั้น ส่วนเเนวเกมส์อีกในลักษณะหนึ่งก็จะมีความซับซ้อน รายละเอียดมากขึ้นอย่างเกม Action หรือ RPG ที่ต้องอาศัยการตอบสนองอย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเกมส์ส่วนใหญ่ตอนนี้ก็จะใช้ Virtual D-pad ในการควบคุม
ตัวอย่างเกมที่ใช้ Virtual D-pad ในการควบคุม
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบกันสำหรับการคุมเเบบ Virtual D-pad คือ เราไม่ได้สัมผัสของปุ่มจริงๆ ถึงเเม้ว่าจะมี Haptic Feedback ที่สั่นเวลากดไปเเต่ด้วยความรู้สึกก็ไม่เหมือนกับการกด D-pad จริงๆอยู่ดี บางครั้งก็มีความรู้สึกเหมือนกดเเล้วไม่ตอบสนอง เเม้กระทั่งนิ้วไปบังหน้าจอที่ใช้เเสดงผลของการเล่นเกมเอง ซึ่งปัญหาตรงนี้บางส่วนอยู่ที่คุณภาพของจอทัชสกรีนเอง อย่างไรก็ตามเเม้กระทั่ง iPad ที่นับว่าเป็นผู้นำในเรื่องของทัชสกรีนเเล้วยังมีผู้ผลิตคอนโทรลเลอร์สำหรับ iPad อย่าง Fling เพื่อนำไปติดบนเจอให้เป็นปุ่มโยกเพื่อตอบสนองการเล่นให้ดียิ่งขึ้น
Fling joystick บน iPad
ถึงเเม้ว่าจอประเภททัชสกรีนจะเปิดให้มีการสร้างสรรค์เกมประเภทใหม่ๆอย่างมากมาย เเต่ถ้าพูดถึงความง่ายในการบังคับเเล้ว คนย่อมคุ้นเคยกับ D-pad มากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย เเต่ก็ไม่ใช่เกมส์ทุกประเภทที่เหมาะกับการควบคุมเเบบทัชกสรีน โซนี่เห็นว่าตลาดเกมส์กำลังไปได้ดีบนสมาร์ทโฟนเเละยังไม่มีผลิตภัณฑ์ตัวใดลงมาในตลาดส่วนนี้ น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ Xperia Play ถือกำเนิดขึ้นมา
ในงาน MWC 2011 ที่ผ่านมานั้น Sony ได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหญ่ๆเกี่ยวกับการผลักดันเเบรนด์ ?Playstation” มาลงในเเพลตฟอร์ม Android มากขึ้น จากข่าวที่ผ่านๆมาไม่ว่าจะเป็น Playstaton Suite ที่สามารถทำงานกับ Android ที่ใช้ตัวประมวลผล Tegra นั่นเเสดงให้เห็นว่า Sony จริงจังกับการผลักดัน Playstation ให้มาอยู่บน Android เเน่นอน เเละเมื่อบวกกับนำการควบคุมที่เป็นสัญลักษณ์บนจอย Playstation มาอยู่บน Xperia Play เเล้วอีกทั้งการออกโฆษณาเพื่อเนนถึงความสะดวกสบายเเละความเเม่นยำในการควบคุมเกมผ่าน Xperia Play
ตัวอย่างโฆษณาของ Xperia Play
ปัญหาเพียงอย่างเดียวสำหรับตัวนี้คือยังคงใช้ตัวประมวลผลของปีที่เเล้วอย่าง Qualcomm MSM8255 ที่เหมือนกับ Desire HD ซึ่งเเน่นอนว่ายังคงรันเกมส์ในตอนนี้ได้อย่างสบายๆ เเต่ว่าเกมส์ที่ดึงพลังประมวลผลของเกมยุคใหม่บน Tegra 2 ก็กำลังทะยอยเดินหน้าออกมาอย่าง Samurai Vegence หรือ Monster Madness ซึ่งไม่สนับสนุนกับ CPU ตัวเก่า เเต่ Xperia Play เองก็มีจุดเเข็งที่สามารถเล่นเกมส์เก่าๆได้มากมายบน Playstation เองรวมไปถึงเกมส์ส่วนใหญ่ในขณะนี้ด้วย
ในด้านความยากง่ายของการเล่นเกมส์ ผมกลับมองว่า Xperia Play ยังสอบไม่ผ่านในเรื่องของความสะดวกในการเล่นเกมส์ ถ้าเป็นผู้เล่นที่เคยเล่นเกมส์บนสมาร์ทโฟนนั้นจะพบว่ามีหลายครั้งที่เราต้องกดทัชสกรีนเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งภายในเกมส์ การที่ปุ่ม D-pad เเละจออยู่กันคนละระดับนั้นทำการการเล่นเกมส์เเนวนี้นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากอย่างไม่ต้องสงสัย
ตัวอย่างการควบคุมเกมที่ต้องใช้ทัชสกรีนในตำเเหน่งเฉพาะจุด
ตำเเหน่งนิ้วในการควบคุมเกมที่ต้องใช้ทัชสกรีน
เเน่นอนว่าโซนี่สามารถโยนงานนี้ไปให้กับนักพัฒนาเกมส์เเทนได้โดยให้ใช้ปุ่มอนาล็อกตรงกลางในการควบคุมลักษณะการเล่นเเบบนี้เเทน เเต่ทำไมต้องเพิ่มงานให้กับนักพัฒนาเกมส์ด้วยในเมื่อสามารถเเก้ไขปัญหาง่ายๆด้วยการออกเเบบให้ปุ่มกับจออยู่ในเเนวเดียวกันเหมือนกับ PSP หรือ NGP โซนี่เองก็สามารถซัพพอร์ทเกมได้มากขึ้น ส่วนนักพัฒนาก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มงานในการซัพพอร์ทกับปุ่มของ Xperia Play
ตัวอย่างเครื่อง NGP
ตำเเหน่งของนิ้วเคลื่อนที่ระยะทางสั้นกว่า Xperia Play
ตัวอย่างเครื่อง T-Moile Sidekick 4G ที่มี D-Pad ด้านซ้ายเเละปุ่มควบคุมด้านขวา อีกทั้งเมื่อสไลด์มายังมี Physical Keyboard
ตัวอย่างเครื่อง Nokia N-Gage QD
ส่วนตัวเเล้วผมเชื่อว่าโซนี่คงพิจารณาถึงโมเดลโทรศัพท์เเบบนี้เเล้วถึงไปใช้ใน Xperia Play เเต่ผมคิดว่าถ้าสไลด์เเล้วควรจะมี Physical Keyboard ก็จะใช้งานได้หลากหลายกว่า โทรศัพท์อย่าง N-Gage หรือ N-Gage QD ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าฟอร์มเเฟคเตอร์โทรศัพท์กับเครื่องเล่นเกมส์ในเเนวเดียวกันสามารถทำได้ ตรงนี้ก็ต้องฝาก Sony Ericsson ไปคิดว่าการทำเครื่องเเบบสไลด์สไลด์เพี่อปุ่มคอนโทรลเพียงอย่างเดียวมันเหมาะจริงๆ หรือถ้าเราเอาไปไว้ในระนาบเดียวกับจอได้
จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าโซนี่เปลี่ยนยุทธศาตร์ของตนจากการเเยกส่วนระหว่าง Sony ที่ทำด้าน Entertainment เเละ Sony Ericsson ที่ทำด้านโทรศัพท์มือถืออย่างเดียว หันมาร่วมมือกันมากขึ้นโดยใช้จุดเเข็งในด้านความบันเทิงของโซนี่ มาเป็นส่วนเติมเต็มในด้านโทรศัพท์ของตน ปี 2011 นี้เป็นปีเเห่งการเปลี่ยนเเปลงอย่างเเท้จริง ใครที่เราเห็นว่ายังทำธุรกิจเเบบเก่าเต่าล้านปี ไม่ว่าจะเป็นโนเกียหรือว่าโซนี่ หันมาสนใจยุทธศาตร์ในภาพรวม เพื่อให้ได้เปรียบในการเเข่งขันมากขึ้น ปีนี้รับรองว่าโซนี่ไม่ด้อยกว่าค่ายอื่นๆอย่างเเน่นอน อย่าง Xperia Neo หรือ Arc ก็เรียกเสียงตอบรับได้ดีพอสมควร
นับว่าเป็นก้าวที่ดีเเละกล้าตัดสินใจของโซนี่ ที่นำจุดเด่นของตนที่มีในเรื่องของเกมมิ่งมาเป็นข้อได้เปรียบของตนมาใช้ในตลาดสมาร์ทโฟน ที่การเน้นไปที่การเล่นเกม เเต่เครื่องเล่นเกมส์ควรจะมีประสิทธิภาพเป็นเครื่องที่จะตกรุ่นในเวลาอันใกล้นี้หรือ ไม่ว่าอย่างไรก็ต่ามสิ่งหนึ่งที่มองได้เเน่คือ Xperia Play นี้เป็นตัวพิสูจน์เเนวคิด “Serious Gaming” ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดบนสมาร์ทโฟน ถ้า Sony Ericsson ยอมกัดฟันใส่ Dual Core มาใช้ รับรองว่าเครื่องนี้ย่อมประสบความสำเร็จอย่างไม่ต้องสงสัย เเต่ในเมื่อ Xperia Play ยังคงเป็นเครื่องต้นเเบบที่พิสูจน์เเนวคิดเท่านั้น เราก็ต้องดูกันว่าผู้บริโภคจะให้โอกาสโซนี่เเก้ตัวอีกครั้งกับ Xperia Play 2 หรือเปล่า