[Tips] 8 วิธีเพิ่มความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟน เรื่องง่าย ๆ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องเล่น ๆ

timthumb

ในยุคที่สมาร์ทโฟนรุ่งเรืองแบบขีดสุดขนาดนี้ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหากวันใดวันหนึ่งที่เราขาดมันไป ชีวิตเราคงยุ่งยากมากขึ้นไม่มากก็น้อยล่ะ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สมาร์ทโฟนจึงเข้ามามีบทบาทอย่างกับว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวันเลยทีเดียว และแน่นอนว่าเมื่อมันเข้ามามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การใช้เป็นตัวแทนในการจับจ่ายใช้สอย หรือการเก็บข้อมูลสำคัญที่มากมายขนาดนี้

ความปลอดภัยในสมาร์ทโฟนนั้นจึงไม่ควรมองข้ามไปอย่างเด็ดขาดเลยใช่ไหมล่ะครับ ในวันนี้เราจะมีเคล็ดลับดี ๆ มาแนะนำให้มือถือของท่านปลอดภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลลับที่ท่านหวงแหนมาฝากครับ

 

1. การเข้ารหัสบนหน้าจอหลัก

Privacy-Passcode

เป็นสิ่งที่เรียกว่าพื้นฐานที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าคุณจะวางเครื่องทิ้งไว้ที่ไหน หรือเครื่องของคุณถูกโจรกรรม รหัสบนหน้าจอหลักจะช่วยให้ข้อมูลของคุณยังถูกเก็บเป็นความลับอยู่พอสมควร เพราะถ้าหากใส่รหัสผิดหลายครั้ง เครื่องจะถูกล๊อคไม่ให้ใช้งาน และหากเราตั้งค่าให้ลบข้อมูลทิ้งได้ เครื่องก็จะทำลายข้อมูลภายในเครื่องนั้นทิ้งทันที

ส่วนการรหัสผ่าน ก็ควรตั้งให้คาดเดาได้ค่อนข้างยากซักเล็กน้อย ไม่ควรเป็นตัวเลขที่คุ้น ๆ กัน เช่น 1234, 8888 หรือวันเดือนปีเกิด เพราะจะทำให้บุคคลที่คอยติดตามคุณอยู่คาดเดาได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับบางคนที่ต้องหยิบขึ้นมาเล่นบ่อย ๆ ก็คงรำคาญใช่ไหมล่ะครับ

 

2. Encryption เข้ารหัสข้อมูลในตัวเครื่อง

150902-encrypt-android-100611883-primary.idge

สิ่งนี้จะเพิ่มความปลอดภัยขึ้นมาอีกขั้นเพราะเป็นการเข้ารหัสข้อมูลในสมาร์ทโฟนของเรา หรือพูดง่าย ๆ คือทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ให้สามารถแปลความได้จากบุคคลอื่น แล้วใช้การ Decryption หรือการถอดรหัสกลับมาอีกครั้ง นั่นหมายความว่าถึงแม้โทรศัพท์เราจะถูก Hacker โจรกรรมข้อมูลไปแล้ว แต่ก็ยังมั่นใจได้อีกระดับนึงว่า ข้อมูลของเราจะยังไม่รั่วไหลนั่นเอง ถึงแม้ว่าการเข้ารหัสข้อความหรือข้อมูลจะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ข้อเสียของมันคือทำให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหายไปพอสมควรเลยทีเดียว

 

3. จะไร้สายหรือมีสายก็เสี่ยงเหมือนกัน

ในยุคนี้ไม่ว่าจะมีสายหรือไร้สายก็มีความเสี่ยงที่จะถูก Hack ข้อมูลกันได้ทั้งนั้น อย่างเช่นการชาร์จแบบไร้สายก็มีโอกาสเสี่ยงถูกโจรกรรมข้อมูลเช่นกัน แต่ก็อาจน้อยกว่าการชาร์จแบบมีสายอย่างเช่นการชาร์จกับคอมพิวเตอร์คนอื่น หรือที่ชาร์จสาธารณะ ซึ่งอาจมีการรั่วไหลของข้อมูลออกไปขณะเสียบชาร์จอยู่ก็เป็นได้

4186_1405201700114V

ที่ชาร์จสาธารณะ

เมื่อมีความเสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูลแบบนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจก็ต้องสวมถุงให้กันหน่อยครับ สิ่งนี้ก็คือ USB condom นั่นเอง ซึ่งจะทำหน้าที่ตัดการเชื่อมต่อสายรับส่งข้อมูลออกไปเหลือแต่สายไฟชาร์จเพียงอย่างเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเราเสียบที่ชาร์จสาธารณะแล้วข้อมูลไม่รั่วไหลแน่นอน

usb-condom

USB condom

แต่อุปกรณ์ชิ้นนี้คงไม่ได้หาซื้อกันได้ง่าย ๆ หรอกครับ ดังนั้นขอแนะนำให้พกสายชาร์จเส้นสั้น ๆ ที่แถมมากับพาวเวอร์แบงค์ ซึ่งสายประเภทนี้ส่วนใหญ่จะต้นทุนต่ำ เน้นประหยัด ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ถ่ายโอนข้อมูลได้ เอาไว้ชาร์จอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรเช็คว่าไม่สามารถซิงค์ข้อมูลได้ด้วยนะครับ

4. หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชันแปลก ๆ

Image-22

โดยเฉพาะผู้ใช้ Android เนื่องจากมันเป็นระบบปฏิบัติการที่ Open Source ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเองตามใจชอบ จึงเป็นช่องโหว่ที่จะทำให้มีแอปพลิเคชันมัลแวร์ ปะปนเข้ามาทำให้สับสนและเกิดความสูญเสียก็เป็นได้ ซึ่งการติดตั้งแอปพลิเคชันจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น Google Play, Amazon ย่อมเป็นวิธีที่ปลอดภัยไร้กังวลได้ระดับหนึ่ง

playstore_main-100566015-primary.idge

Google Playstore

แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ควรไว้วางใจไปซะทีเดียว เพราะการติดตั้งแอปพลิเคชันนั้นย่อมมีการขออนุญาต (Permission) ว่าจะให้แอปพลิเคชันนั้นสามารถเข้าถึงส่วนใดในเครื่องได้บ้าง นั่นจึงเป็นโอกาสให้เราได้ตรวจสอบว่ามีการขออนุญาตอะไรที่ดูแปลก ๆ หรือผิดปกติบ้างหรือเปล่า

app-permissions

not-safe-app

เจอแบบนี้อย่ากดเข้าไปเชียวนะ

 

5. หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่บ่อย ๆ

username-and-password-shutterstock

คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนที่อยู่ใกล้ตัวคุณจะไม่รู้รหัสผ่าน? ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Email หากคุณ Login แบบไม่ทันได้ระวังตัวว่ามีสายตาอื่นคอยมองขณะที่คุณพิมพ์หรือเปล่า ยิ่งถ้าหากคุณตั้งรหัสผ่านไว้ง่าย ๆ ก็เสร็จโจรเลยครับ ทางที่ดีอย่างน้อยซักเดือนหนึ่งควรเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีที่สำคัญ ๆ อย่างเช่นบัญชีที่ใช้ทำธุรกรรมการเงิน หรือบัญชี Social network ที่ใช้ติดต่อกับบุคคลอื่น หรือถ้าหากคุณใช้ Facebook คุณสามารถเปิดยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีของคุณนะครับ

6. นำข้อมูลออกไปไว้ที่อื่นซะก็หมดเรื่อง

Review-Apacer-AH173-Mobile-Flash-Drive-OTG-SpecPhone 013

ในยุคนี้สมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่อแบบ otg ได้แล้วไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS ดังนั้นเพียงคุณนำข้อมูลในตัวเครื่องไปเก็บไว้กับหน่วยความจำภายนอกไม่ว่าจะเป็นแฟรชไดรฟ์หรือเมมโมรี่การ์ดผ่านทางพอร์ท USB ของเครื่อง แล้วเก็บไว้ในที่ปลอดภัยอยู่เสมอ เพียงเท่านี้หากโทรศัพท์คุณถูกโจรกรรมข้อมูลจริง ๆ ก็ไม่มีข้อมูลอะไรเหลือให้โจรกรรมแล้วละครับReview-Apacer-AH173-Mobile-Flash-Drive-OTG-SpecPhone 012

 USB OTG

7. Antivirus แอปพลิเคชันที่ไม่ควรมองข้าม

Do-you-need-an-Android-antivirus-app

บางคนอาจมองข้ามแอปพวกนี้ไปเพราะคิดว่าเมื่อติดตั้งแล้วจะทำให้เครื่องช้าลง หรือทำให้พื้นที่ว่างในเครื่องน้อยลงหรือเปล่า? ซึ่งแน่นอนว่าก็อาจเกิดขึ้นบ้าง แต่มีไว้ก็ยิ่งทำให้อุ่นใจได้มากขึ้นเพราะไวรัสในปัจจุบันนั้นแฝงตัวได้เก่งซะเหลือเกิน บางทีโหลดแอปจากแหล่งที่คิดว่าปลอดภัยแล้วก็อาจมีสิ่งแปลกปลอมหลงเหลืออยู่ เพราะในทุก ๆ วันมีแอปเกิดใหม่มากมาย อาจเล็ดลอดสายตาผู้ตรวจสอบมาถึงเราก็เป็นได้

8. ถ้ามันยังรั่วไหลหรือติดไวรัสได้อีก ฝังกลบซะเลย

dig-yard

อันนี้คงเป็นวิธีสุดท้ายจริงๆแล้วแหละครับ คงไม่รั่วไหลแน่นอน หมดกังวลเรื่องถูก Hack ไปเลย ฮาาาา

 

ที่มา : PhoneArena

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก