รวมให้แล้ว! ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด-รถพยาบาล ทั้งของรัฐและเอกชน โทรหาใครได้บ้างถ้าติด Covid-19

รวมช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด-รถพยาบาล ทั้งของรัฐ-เอกชน โทรหาใครได้บ้าง

เป็นเรื่องที่ใครก็คงไม่อยากจะให้เกิด ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย และดูเหมือนว่าจะมากขึ้นทุกๆ ที และถึงแม้เราจะดูแลตัวเองได้ดีมากแค่ไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถรู้อนาคตของตัวเองได้ว่าจะติดตอนไหน และจะติดเชื้อเมื่อไหร่ แต่ถ้าใครที่เกิดติดไวรัส Covid-19 เข้าแล้ว และไม่ได้ทำประกันฯ หรือว่าไม่รู้จะหันหน้าไปหาใครดี ยิ่งถ้าอยู่ในชุมชนที่แออัดหรืออยู่ในที่ที่เข้าถึงการช่วยเหลือยาก ก็อาจจะทำให้หลายๆ คนที่ติด Covid-19 นั้นไม่รู้จะโทรหาใครและทำอะไรต่อไปดี แน่นอนว่าในแต่ละวันที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้หน่วยงานของภาครัฐ ไม่สามารถยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือได้ทันท่วงที วันนี้ทาง Specphone เลยจะขอรวมช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด 19 และช่องทางการเรียกหารถพยาบาลให้เข้ามาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตาม ใครที่เจอปัญหาเหล่านี้อยู่ก็ลองไล่โทรติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือกันได้เลย


เมื่อตรวจพบว่าติด Covid-19 แล้วต้องทำอย่างไรบ้าง?

ก่อนอื่นสำหรับคนที่ได้รับการตรวจไวรัส Covid-19 ด้วยวิธีใดก็ตาม และพบว่าติดเชื้อแนะนำว่าให้เข้าไปที่เว็บ jitasa.care เพื่อเตรียมขอความช่วยเหลือเบื้องต้นเอาไว้ก่อนเลย และถ้ายังมีอาการไม่หนักมาก ให้ทำตามเบื้องต้นก่อนดังนี้

1. แยกกักตัวกับคนที่บ้าน

ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด hi
Credit : สปสช.

ในกรณีที่ตรวจแล้วพบเชื้อ แต่คนอื่นๆ ในบ้านหรือคนใกล้ตัวยังไม่ได้ตรวจหรือยังไม่ได้รับผลตรวจ ให้แยกตัวเองออกมาทันที ไม่ว่าจะแยกไปอยู่ในห้อง หรือว่าในกรณีที่มีที่อยู่สำรองก็ต้องแยกตัวออกมาก่อนทันที และหากอาการยังไม่หนักมาก และคิดว่าต้องการกักตัวอยู่ที่บ้าน ให้เข้าไปลงทะเบียนกับ สปสช. เพื่อขอรักษาตัวที่บ้าน กดที่นี่เพื่อลงทะเบียนขอรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation)

2. เตรียมข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด เพื่อติดต่อโรงพยาบาล

สำหรับคนที่มีอาการหนัก และไม่ต้องการรักษาตัวที่บ้าน หรือกลัวว่าจะพาไปติดคนอื่นๆ และต้องการไปโรงพยาบาล, ศูนย์กักตัวชุมชน (Community Isolation) หรือ รพ.สนาม ให้เตรียมตัวในเบื้องต้นก่อนติดต่อทางโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนและข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด, เบอร์โทรของตัวเองและญาติที่ติดต่อได้, ประวัติการรักษาและโรคประจำตัว และสุดท้ายคือใบแสดงผลการตรวจ Covid-19 แบบ RT-PCR

3. สังเกตอาการระหว่างรอรถพยาบาล หรือหน่วยฉุกเฉินมารับ

หากติดต่อกับโรงพยาบาล หรือติดต่อกับทั้งหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชนไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการเข้ามาช่วยเหลือ ในระหว่างที่รอนั้นให้สังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ ทั้งเรื่องของการเป็นไข้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย ในเบื้องต้นสามารถกินยาพาราเซตามอลได้ แต่ถ้าอาการหนักมากขึ้นทุกที แนะนำว่าให้ติดต่อทุกช่องทางเพื่อหาเตียงผู้ป่วยโควิด 19 ให้เร็วที่สุด


ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด-รถพยาบาล ทั้งของรัฐ-เอกชน โทรหาใครได้บ้าง

สำหรับการเรียกรถพยาบาล หรือการติดต่อเจ้าหน้าที่ของทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาช่วยเหลือแบบด่วน แนะนำให้ว่าไล่โทรหาตามเบอร์ต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือจนกว่าจะมีผู้ติดต่อกลับมารับตัวไปรักษา ถ้าเบอร์ไหนโทรไม่ติด หรือว่ายังเข้ามาช่วยเหลือไม่ได้ ก็ให้หาช่องทางอื่นๆ ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยจะมีทั้งของรัฐที่เป็นสายด่วน และจากดารา เซเลป กับเพจดังที่เข้ามาช่วยเหลือดังนี้

หาเตียงผู้ป่วยโควิดด้วยสายด่วนโควิด (หาเตียงผู้ป่วย)

ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด สายด่วน
Credit : กรมการแพทย์
ชื่อศูนย์ติดต่อเบอร์โทรช่องทางออนไลน์เวลาทำการ
กรมการแพทย์1668 กด 1
(สายด่วน)
แอด LINE ID @1668.reg08.00-22.00 น.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ1669 (สายด่วน)แอพ EMS 166924 ชั่วโมง
สปสช.1330 กด 0
(สายด่วน)
Facebook สปสช.24 ชั่วโมง
กรมควบคุมโรค1422 (สายด่วน)Facebook กรมควบคุมโรค24 ชั่วโมง
ประกันสังคม1506 (สายด่วน)24 ชั่วโมง
ปรึกษาปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP)*02-872-166924 ชั่วโมง
สบายดีบอทแอด LINE ID @sabaideebot
หรือ
ลงทะเบียนเพื่อหาเตียง
24 ชั่วโมง
กรุงเทพมหานครแอด LINE ID @bkkcovid19connect
หรือ
ลงทะเบียนเพื่อหาเตียง
24 ชั่วโมง
Taxi COVID-19**096-771-168709.00-19.00 น.
(แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน)
หาเตียงโควิด จ.นนทบุรี
ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
061-394-5402, 061-172-2534,
061-394-5403, 061-172-2260
24 ชั่วโมง
หาเตียงโควิด จ.ปทุมธานี
ติดต่อ สายด่วนชาวปทุมฯ
02-581-5658, 065-950-577224 ชั่วโมง
หาเตียงโควิด จ.สมุทรปราการ
ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
063-192-9272, 063-192-920724 ชั่วโมง
ศูนย์เอราวัณ164624 ชั่วโมง
*กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เจ็บป่วยฉุกเฉิน ประสานการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
**เฉพาะกรุงเทพ และปริมณฑล

หาเตียงผู้ป่วยโควิดจากช่องทางออนไลน์ ดารา เพจเฟสบุ๊ค

ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด ออนไลน์
ชื่อศูนย์ติดต่อเบอร์โทรช่องทางออนไลน์เวลาทำการ
เพจไทยรัฐนิวส์โชว์Facebook ไทยรัฐนิวส์โชว์24 ชั่วโมง
เราต้องรอดแอด Line ID @iwiilsurvive
หรือ
Facebook เราต้องรอด
24 ชั่วโมง
เพจเส้นด้าย-Zendai081-591-9714, 080-660-9998Facebook เส้นด้าย – Zendai24 ชั่วโมง
เพจหมอแล็บแพนด้าFacebook หมอแล็บแพนด้า24 ชั่วโมง
เพจ Drama-Addict Facebook Drama-Addict 24 ชั่วโมง
โควิดติดล้อถึงเตียง
โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
Facebook จักรทิพย์คนทำงาน24 ชั่วโมง
องค์กรทำดี
โดย ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
Facebook องค์กรทำดี24 ชั่วโมง
ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วงFacebook ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วง24 ชั่วโมง
ศูนย์ประสานฉุกเฉิน
ไทยพีบีเอสช่วยโควิด-19
02-790-2111แอด Line ID @RongtookThaiPBS
หรือ
covid-online.thaip.bs
09.00-16.00 น.*
และ
24 ชั่วโมง
BACK HOME – กลับบ้านแอด Line ID @backhome24 ชั่วโมง
เพจ อีจันFacebook อีจัน24 ชั่วโมง
ทีมรับส่งผู้ป่วย
โดย ฝ่ายกู้ชีพ อปพร.เขตสาทร
092-659-3789Facebook ฝ่ายกู้ชีพกู้ภัย อปพร.เขตสาทร24 ชั่วโมง
*เฉพาะสายด่วน

นอกจากนี้ก็ยังมีทั้งดาราดังที่คอยช่วยประสานหาเตียงผู้ป่วยให้อย่าง คุณแอร์ ภัณฑิลา โดยเข้าไปที่ IG – bunnyaire และสแกน QR Code ในสตอรี่หน้าแรกเพื่อประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิดได้ด้วย ส่วนใครที่อยู่ต่างจังหวัด ให้โทรติดต่อสายด่วนโควิด จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (อสม.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือศูนย์ประสานงานเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เพื่อประสานหาเตียงผู้ป่วยให้ได้

ช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด กลับบ้าน
Credit : สปสช.

สำหรับคนที่ต้องการไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา แทนการรักษาในกทม. แนะนำว่าให้โทรติดต่อสายด่วน 1330 ของสปสช. เพื่อติดต่อขอย้ายไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขคือ จะต้องมีอาการที่ไม่รุนแรง โดยยังสามารถเดินทางไปได้ และต้องได้รับการยินยอมของจังหวัดที่จะกลับไปด้วย ถ้าไม่ตรงเงื่อนไขก็ต้องรักษาตัวอยู่ที่เดิมก่อน จนกว่าจะประสานงานขออนุญาตกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาได้


การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อติด Covid-19 แต่เตียงเต็ม

หากมีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ให้พักผ่อนให้ได้ 7 ชั่วโมงขึ้นไป กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง และดื่มน้ำตามเยอะๆ

หากมีอาการไอ สามารถกินยาที่ช่วยลดการการไอได้ และให้นอนตะแคงกับหมอนที่อยู่ในระดับสูงกว่าตัว

หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย ให้กินอาหารทีละน้อยๆ แต่ให้เพิ่มมื้อให้มากขึ้น โดยกินแต่ของย่อยง่ายๆ และควรงดกินนม หรือโยเกิร์ต

ถ้าหายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก ให้พยายามนั่งตัวตรงๆ และค่อยๆ หายใจออกทั้งทางจมูกและทางปาก พร้อมกับทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือพยายามหายใจลึกๆ ก็จะพอช่วยได้บ้าง


แล้วทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลของการเตรียมพร้อม สำหรับคนที่ได้รับเชื้อ Covid-19 มาแล้ว และไม่รู้ว่าจะติดต่อช่องทางหาเตียงผู้ป่วยโควิด-รถพยาบาล ทั้งของรัฐ-เอกชน และโทรหาใครได้บ้าง รวมไปถึงคนที่ต้องการรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ก็สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรักษาที่บ้านได้เช่นกัน ส่วนในเรื่องของค่ารักษา Covid-19 ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ได้บอกไว้ว่าจะต้องได้รับการตรวจรักษาฟรี ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน โดยสามารถติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิการรักษา หรือประสานงานหาเตียงไปยังของหน่วยงานต่างๆ ตามที่เราได้บอกไปได้เลย หวังว่าจะพอช่วยใครหลายๆ คนให้ผ่านไปด้วยกันได้ แล้วถ้ามีเรื่องไหนอัพเดทอีก เราก็จะมาอัพเดทให้เรื่อยๆ เลยนะครับ ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก รพ. เพชรเวช

Tags:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก