การที่มีสมาร์ทโฟนออกมาให้เลือกมากมายในตลาดนั้น ดูเหมือนจะเป็นข้อดีก็จริง เเต่สำหรับผู้ซื้อนั้นอาจจะสับสนกับรุ่นของสมาร์ทโฟนที่ออกมาอย่างมากมายในตอนนี้ คำถามส่วนใหญ่นั้นอาจจะเป็นการเทียบว่ารุ่นไหนดีกว่ารุ่นไหนที่เป็นคำถามที่พบได้ทั่วไป เเต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่เราควรจะรู้ว่าเราต้องการอะไรกันเเน่ต่างหากถึงจะเลือกได้ตรงใจเราที่สุด ซึ่งในบทความนี้จะค่อยๆ บอกวิธีเลือกสมาร์ทโฟนที่มีอยู่ในท้องตลาดทั้งหมด เเละค่อยๆ ตัดออกไปจนเหลือตัวที่ถูกใจเราที่สุดครับ
1. งบประมาณ
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คืองบประมาณที่เรามีในการเลือกซื้อ ซึ่งเเน่นอนว่างบประมาณเรายิ่งสูง ก็จะมีตัวเลือกมากเเละดีกว่างบประมาณต่ำอย่างเเน่นอน โดยสมาร์ทโฟนปีนี้นั้นตัวท็อปจะมีราคายืนพื้นอยู่ที่ 18900 – 21900 บาทเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถตอบสนองการใช้งานได้เต็มรูปเเบบ ทั้งความเร็วสูง กล้องที่ดี ตัวรอมเวอร์ชันใหม่ล่าสุดเเละหน้าจอคุณภาพสูง จอภาพอยู่ในระดับ 4.6-4.8 นิ้ว
ในช่วงราคา 15,900 ? 17900 นี้ถือเป็นช่วงในรุ่นของเครื่องระดับกลางไปทางสูง ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วจะไม่ต่างกับรุ่นกลางมากนักเเต่อาจจะมีสเปคที่โดดเด่นกว่า เเต่ยังไม่เทียบเท่าระดับรุ่นท็อป เช่น อาจจะมีหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น เเบตเตอรี่มากขึ้น หรือเน้นดีไซน์ จอภาพลดเหลือลงมาอยู่ในระดับ 4.3 นิ้ว ความเร็วส่วนใหญ่เเล้วไม่สามารถสู้รุ่นท็อปได้ เเต่กล้องบางตัวอาจจะอยู่ในขั้นที่ดีกว่าท็อปบางตัวก็ได้ถ้าเป็นรุ่นที่เน้นกล้อง
ถัดลงมาในช่วง 9,900 ? 14,900 นั้นเป็นช่วงที่เรียกว่าระดับกลางที่มีความหลากหลายในเรื่องสเปคพอสมควร บางตัวนั้นก็จะเป็น Dual-Core หรือ Single-Core ก็ยังมี หน้าจอก็มีให้เห็นตั้งเเต่ 3.7 ? 4.3 นิ้วเช่นกัน เป็นมือถือที่ถือว่าสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้อย่างดีเทียบเท่ากับสองรุ่นด้านบน เเต่จะด้อยกว่าในเรื่องของขนาดหน้าจอบางรุ่นที่อาจจะเล็กกว่า กล้องคุณภาพกลางๆ ไม่สวยเหมือนตัวระดับบน วัสดุเเละการออกเเบบบางรุ่นถือว่าทำออกมาไม่ดีนักสำหรับรุ่นที่เห็นว่าดูเเล้วคุ้มค่า
ส่วนช่วงต่ำกว่า 9,900 ลงมาก็ยังมีรุ่นที่เป็นระดับกลางไปทางล่าง ส่วนใหญ่จะมีหน้าจอไม่เกิน 4 นิ้ว เเละซีพียูเเบบ Single-Core เท่านั้น ถือเป็นรุ่นที่เอาความคุ้มค่าในเรื่องเงินเป็นหลัก เรื่องประสบการใช้งานอาจจะถูกลดทอนไปบ้างเนื่องจากหน้าจอความละเอียดต่ำเเละมีขนาดเล็ก ส่วนในช่วง 4000 ? 6000 ถือว่าเอาไว้ใช้งานทั่วๆ ไปไม่ได้อยู่หน้าจอนานๆ การทำงานค่อนข้างช้าเเละหน้าจอเล็กซึ่งไม่เหมาะสมในการใช้งานนานเท่าไรนัก
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือให้เห็นภาพรวมๆ ว่าในเเต่ละช่วงราคานั้นมีความสามารถของเครื่องระดับไหน ถ้าเป็นคนที่ต้องการใช้สมาร์ทโฟนเเบบเต็มที่เเละต้องการรุ่นอัพเดทอีก 1 ปีเเน่นอนขอให้เลือกตั้งเเต่ตัวที่ราคา 17900 บาทเป็นต้นไปเพราะเเบรนด์ส่วนใหญ่จะอัพให้เมื่อ Android เวอร์ชันใหม่ออกมาสำหรับรุ่นระดับสูง ในขณะที่รุ่นกลางเเละล่างนั้นถ้าซื้อไปเเล้วอย่าหวังเรื่องอัพเดทมากครับเพราะส่วนใหญ่จะไม่ได้ค่อนข้างเเน่นอน
โดยสรุปเเล้ว ถ้าต้องการประสบการณ์ใช้งานสมาร์ทโฟนที่ดีนั้น ยังไงก็คงต้องเเนะนำตัวท็อปของเเต่ละเเบรนด์ให้เพราะจะมีเทคโนโลยีมาให้ดีสุด ในขณะที่รุ่น mid-high นั้นก็ยังไม่ถือว่าน่าเกลียดโดยเพียงเเต่ความเร็วจะลดลงมาบ้าง ในขณะที่รุ่นระดับกลางนั้นก็ยังสามารถใช้งานได้ดีเพียงเเต่จะด้อยกว่าในเรื่องของความเร็ว ดีไซน์ วัสดุ กล้องเเละอื่นๆ ที่สู่ระดับบนไม่ได้เเน่นอน รุ่นล่างๆ นั้นถือเเค่ว่าพอใช้งานได้เท่านั้น อย่าหวังว่าการใช้งานจะดีเท่ารุ่นบนครับ เเต่ถ้าให้เเนะนำนั้นขอให้เล่นระดับกลางขึ้นไปจะได้ประสบการณ์ใช้งานที่เหมาะสมมากสุด
2. ประสิทธิภาพ
ตัวประมวลผลนั้นจัดเป็นเกณฑ์ในการเลือกหนึ่งได้นอกจากเรื่องราคา เพราะ Android นั้นโดยโครงสร้างของมันเเล้วต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงในการรันให้ได้ความเร็วที่ดีตามไปด้วย เครื่องบางเครื่องที่เเพงนั้นกลับใช้ซีพียูที่คุณภาพต่ำก็มี ซึ่งเพราะรุ่นนั้นอาจจะตั้งใจทำตลาดในส่วนของ Luxury ก็เป็นไปได้โดยเน้นในเรื่องของวัสดุเเละดีไซน์เเทนเรื่องของประสิทธิภาพ
สำหรับในปี 2012 นี้ตัวประมวลผลที่จัดอยู่ในระดับสูงนั้นมี Exynos Quad ของ Samsung ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในตอนนี้ รองลงมาคือ Nvidia Tegra 3 ของ Nvidia ซึ่งทั้งสองตัวนี้ใช้งานจริงก็เร็วไม่เเตกต่างกันมาก เเละ Snapdragon S4 ของ Qualcomm ที่เด่นในเรื่องของการประหยัดพลังงานเเละมีประสิทธิภาพไปด้วยกันอย่างเหมาะสมเเต่ไม่เร็วเท่าสองตัวเเรก ซึ่งรายละเอียดของซีพียูนั้นสามารถดูได้จากหน้าดาต้าเบสของเว็บครับ
ระดับกลางของปีนี้ก็คือตัวไฮเอนด์ของปีที่เเล้วนั้นเอง เช่น TI OMAP 4430, Qualcomm Snapdragon MSM8260 (Snapdragon S3) หรือ Dual-Core น้องใหม่อย่าง NovaThor U8500 ซึ่งทั้งสามตัวนี้ถือเป็นซีพียูที่เด่นในรุ่นระดับกลาง เพราะในช่วงราคา 9.900 ? 17,900 นั้นเรายังอาจจะเห็น Single Core เเซมมาบางรุ่นได้
ถัดมาเป็นตัวระดับล่าง ในปีนี้ก็ยังมี Single Core อยู่โดยมีความเร็วตั้งเเต่ 800 ? 1000 MHz ซึ่งสามารถใช้งานทั่วไปได้ครับ
จากการใช้งานเเล้วตัวซีพียูรุ่นท็อปโดยเฉพาะตัว Quad-Core นั้นจะตอบสนองต่อคำสั่งต่างๆ ได้เร็วเเละมีอาการค้างน้อยกว่า Dual-Core ซึ่งตัว Android 4.0 นั้นเหมือนจะกินสเปคเพิ่มขึ้นพอสมควร (เเต่เอฟเฟคลื่นขึ้น) เเต่ก็ถือว่าถ้าไม่เปิดอะไรเยอะๆ หนักๆ นั้นอาจจะไม่เห็นผลครับ
รีวิวของเว็บส่วนใหญ่จะมีกราฟเปรียบประสิทธิภาพให้อยู่เเล้ว โดยเป็น Sunspider เเละ Browsermark สำหรับซีพียู เเละ GLBenchmark สำหรับจีพียู การอ่านค่าคะเเนนนั้น Sunspider ค่าตำกว่าเท่ากับเร็วกว่า ส่วน Browsermark เเละ GLBenchmark นั้นค่าสูงกว่าเท่ากับเร็วกว่าครับ
ตัวอย่างกราฟ GLBenchmark
3.ดีไซน์
สมาร์ทโฟน Android ในปีนี้ถือว่าพัฒนามาค่อนข้างมากเเล้วเเละถือว่ประสบการณ์ใช้งานอาจจะไม่เเตกต่างกันสำหรับการใช้งานทั่วไป สำหรับคนที่ใช้งานไม่เยอะ เช่น ไม่ได้เปิดเว็บบนมือถือเป็นกิจวัตร หรือเล่นเกมสามมิติใหม่ๆ ทุกเกมที่ออกมาใหม่ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องระดับไฮเอนด์เพราะดูเกินจำเป็นไปบ้าง บางคนอาจจะชอบดีไซน์ชองเเบรนด์หนึ่งเเต่หลับไม่ชอบของอีกเเบรนด์หนึ่งก็ได้ ซึ่งคำเเนะนำตรงนี้อาจจะดูขัดกับสองข้อเเรกที่มีข้อกำหนด / ข้อจำกัดที่ชัดเจน เเต่ดีไซน์นี้ก็สามารถใช้เป็นตัวเเยกเวลาเราต้องการซื้อเครื่องไหนเครื่องหนึ่งเเล้ว ถ้ามีสองตัวเลือกเเล้วชอบเเบรนด์ไหนก็ซื้อเเบรนด์นั้นไปได้เลยครับ
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจจะทำให้หลายคนพอเห็นภาพรวมของสมาร์ทโฟนในตลาดตอนนี้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับคนที่เน้นความคุ้มค่าเป็นหลักอาจจะเลือกจากซีพียูเป็นอย่างเเรก โดยซื้อรุ่นที่ซีพียูเเรงสุดในราคาต่ำสุด (ดูซีพียูได้จากในหน้าดาต้าเบส เช่น Tegra 3 ก็เลือก HTC One X เเล้วกดที่ซีพียูจะเป็นการฟิลเตอร์มาให้) หรือบางคนอาจจะเอาเป็นงบประมาณเป็นตัวตัดเเล้วเลือกที่ซีพียูอีกทีหนึ่งก็ได้ เเต่โดยรวมๆ ก็คือเเต่ละช่วงราคามันก็มีสเปคที่ล็อกของมันเองอยู่เเล้วว่ามีประมาณไหน เมื่อมีตัวเลือกในใจเเล้วคาวนี้ก็อยู่เเต่ละความชอบของบุคคลว่าชอบเเบรนด์ไหนเป็นพิเศษ เช่น ชอบดีไซน์ของ Samsung, Sony, Motorola,? เจ้าไหนก็ลองไปหาเครื่องลองจับกันดู ถ้าชอบก็ซื้อได้เลยครับ