วิธีเช็คประกันสังคม เช็คเงิน เช็คสิทธิ และวิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมในเว็บและแอปฯ ปี 2020

ประกันสังคมถือว่าเป็น สิทธิพื้นฐานที่ควรมีของแต่ละคนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานทั่วไป หรือคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ ก็สามารถส่งเงินประกันสังคมได้ทั้งนั้น แต่จะต่างกันที่สิทธิในการได้รับการดูแล อาจจะครอบคลุมไม่เหมือนกัน ตามจำนวนเงินที่ส่งให้ประกันสังคมด้วย ซึ่งก็ยังมีหลายคนยังไม่รู้ และอาจยังเช็คประกันสังคมไม่เป็น รวมไปถึงการเช็คเงินค่าส่ง เช็คสิทธิต่างๆ และการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ที่ทำได้ทั้งในเว็บ และก็โหลดแอปฯ มาใช้งานได้เหมือนกันด้วย

เช็คประกันสังคม

การประกันสังคมในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 แต่เป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จนมาครอบคลุมการคุ้มครองทั่วประเทศ และได้รับการประกันสังคมเต็มรูปแบบเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยการคุ้มครองนั้น จะคุ้มครองตั้งแต่ลูกจ้าง ที่ส่งเงินประกันสังคมโดยนายจ้าง หรือส่งเงินประกันสังคมด้วยตัวเอง และจะเป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างนั้น คลอดบุตร ชราภาพ ทำฟัน ว่างงาน เกิดอันตราย เจ็บป่วย และตาย ก็จะได้รับเงิน จากการที่เราส่งให้ประกันสังคมเอาไว้ แต่จำนวนเงินที่ได้ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันด้วย สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่กระทรวงแรงงาน เบอร์ติดต่อ 1506 หรือถ้าใครอยากเช็คเองบนเว็บ กับแอปฯ ก็สามารถทำได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาบอกวิธีเช็คให้ทั้งบนเว็บและแอปฯ เลย


สมัครสมาชิกประกันสังคม

ก่อนอื่น เหนือการเช็คใดๆ และเข้าไปดูข้อมูลได้นั้น เราจำเป็นต้องสมัครสมาชิกก่อนทุกครั้ง ไม่ว่านายจ้างจะส่งเงินไปให้แล้วก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้สมัครสมาชิก ชองสำนักงานประกันสังคม ก็ไม่สามารถเข้าไปดูอะไรได้เลย ส่วนการสมัครสมาชิก หรือการลงทะเบียนนั้น จะสามารถทำได้ตั้งแต่ไปที่ สำนักงานประกันสังคมของแต่ละพื้นที่ หรือจะทำในเว็บ และบนแอปฯ SSO Connect เลย แต่แนะนำว่าให้ทำการสมัครผ่านเว็บจะดีกว่า เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด สามารถทำได้ ดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บ ประกันสังคม เมื่อกดเขามาถึงหน้าแรกแล้ว ให้เลือกเมนู สมัครสมาชิก

เช็คประกันสังคม สมัครสมาชิก

2. เมื่อกดเข้ามาแล้ว จะเจอกับหน้าที่เป็นข้อตกลง ให้เราเลื่อนลงมาแล้วกดยอมรับข้อตกลง (ก่อนยอมรับให้อ่านข้อตกลงให้ครบก่อน) จากนั้นเลือกถัดไป

เช็คประกันสังคม เงื่อนไข

3. หน้าต่อมานี้คือ ข้อมูลส่วนตัว ให้กรอกให้ครบ และใช้ข้อมูลจริงของตัวเองเท่านั้น ห้ามใช้ของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเบอร์ หรือ email เมื่อกรอกครบแล้ว กดถัดไป

เช็คประกันสังคม ข้อมูลส่วนตัว

4. ขั้นตอนสุดท้ายคือ การยืนยันตัวตน ให้กดเลือกที่ปุ่ม ขอรับรหัส OTP จากนั้นจะได้รับข้อความเข้ามาตามเบอร์ที่เรากรอกไป ให้กรอกรหัสใส่เข้าไปในช่องว่าง แล้วกดยืนยัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเข้าสู่ระบบได้แล้ว

เช็คประกันสังคม ยืนยันตัวตน

ส่วนการสมัครผ่านแอปฯ นั้นจะมีวิธีเหมือนกันกับข้างบนทั้งหมด เมื่อเข้าแอปฯแล้ว ก็สามารถกดสมัครสมาชิก แล้วเลือกตามนี้ได้เหมือนกันทุกอย่าง โหลดแอปฯ SSO Connect ได้ที่นี่


เช็คประกันสังคม เช็คเงิน เช็คสิทธิ

เช็คประกันสังคม ข้อมูลรพ.

ส่วนการเช็คสิทธิชองประกันสังคมนั้น หลังจากการเข้าสู่ระบบ เพื่อเช็คประกันสังคม บนหน้าเว็บแล้ว จะเป็นหน้าของข้อมูลผู้ประกันตน ซึ่งในหน้านี้จะบอกถึงสิทธิการใช้โรงพยาบาลของเรา สถานการณ์เป็นผู้ประกัน วันเริ่มใช้สิทธิ และวันสุดท้ายที่ใช้ได้

เช็คประกันสังคม ข้อมูลการส่งเงินสมทบ

ส่วนวิธีเช็คเงินที่เคยส่งสมทบ ว่าทางนายจ้างได้ส่งประกันสังคมให้หรือไม่ หรือว่าส่งให้กี่เดือนแล้ว สามารถกดเข้าไปดูได้ที่เมนู “ข้อมูลการส่งเงินสมทบ” ตรงแถบด้านล่าง ซึ่งในหน้าของข้อมูลการส่งเงินสมทบนั้น จะมีการบอกรายละเอียดของการส่งเงิน ย้อนไปได้ถึง 29 ปีเลย นอกจากนั้นยังบอกถึงงวดที่ส่ง วันที่ชำระ เงินค่าจ้าง เปอร์เซ็นต์เงินสมทบที่เราจะได้ เงินประกันสังคมที่นายจ้างส่งให้ และสุดท้ายคือได้รับประกันสังคม ตามสิทธิมาตราข้อใดบ้าง

เช็คประกันสังคม เงินสงเคราะห์ชราภาพ

นอกจากนี้ยังสามารถดู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน และ การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ ที่เราจะได้เมื่ออายุครบ 55 ปี และออกจากประกันสังคมแล้ว โดยจะนับเป็นรายปี และคำนวณออกมาจากเงินเดือน และเงินที่ส่งไปยังประกันสังคม และสุดท้ายจะบอกไปยอดเงินรวม ที่เราจะได้ต่อปี ส่วนสูตรในการคำนวณ ก็จะมีบอกไว้ในหน้านี้ด้วย

เช็คประกันสังคม แอปฯ และค่าทันตกรรม

ส่วนถ้าเป็นในแอปฯ เมื่อเข้าสู่ระบบมาแล้ว หน้าแรกจะบอกข้อมูลผู้ประกันตนทั้งหมด ตั้งแต่สิทธิในการใช้โรงพยาบาล ยอดเงินสมทบชราภาพ สิทธิฯ ทันตกรรมเหลือกี่บาท จะบอกทั้งหมดในหน้าแรกเลย และสามารถเลือกดูเมนู ข้อมูลการส่งเงินสมทบ การเบิกสิทธิประโยชน์ ได้เหมือนกัน แต่จะมีเพิ่มนอกเหนือจากบนเว็บคือ ค่ารักษาทันตกรรม


สิทธิประกันสังคมกับเวลาในการใช้สิทธิ

สำหรับระยะเวลาการใช้สิทธินั้น แต่ละอย่างก็จะมีเงื่อนไข และเวลาที่ไม่เหมือนกันด้วย ดังนี้

การคุ้มครองจากประกันสังคมระยะเวลาการส่งเงินสมทบที่จะสามารถใช้สิทธิได้ระยะเวลายื่นขอรับเงินประกันสังคม
เจ็บป่วย, อุบัติเหตุอันตรายภายใน 15 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน
ทุพพลภาพ, ร่างกายไม่สมบูรณ์ภายใน 15 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน
คลอดลูกภายใน 15 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 7 เดือน
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน
สงเคราะห์บุตร, เงินช่วยเลี้ยงบุตรภายใน 36 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 12 เดือน
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน
ชราภาพน้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จ
มากกว่า 180 เดือน จะได้รับบำนาญ
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน
ว่างงานภายใน 15 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
ต้องขึ้นทะเบียนว่างงาน
ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันลาออก
เสียชีวิตภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
ส่งเงินสมทบแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
ยื่นขอรับเงินภายใน 1 ปี
หากมีสิทธิตามเงื่อนไขที่สมทบเงิน

นอกจากนี้ยังสามารถส่งเงินเองได้ด้วย หากว่าไม่ได้ทำงานประจำ และไม่มีนายจ้างส่งเงินให้ โดยต้องยื่นสมัครภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ลาออกจากงาน และจะได้รับการคุ้มครองแค่ 4 กรณีคือ เจ็บป่วย, ร่างกายไม่สมบูรณ์, คลอดลูก และเสียชีวิต ต่อไปจากการว่างงานอีก 6 เดือน


เงื่อนไขการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม

การเปลี่ยนสถานที่โรงพยาบาล ในประกันสังคม ที่ได้เคยลงทะเบียนเอาไว้ โดยนายจ้างและเราต้องการเปลี่ยนสถานที่ใหม่นั้น จะมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเปลี่ยนอยู่ด้วย ได้แก่

1. การเลือกสถานพยาบาล

  • การเลือกสถานพยาบาลนั้น จะต้องเลือกที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ทำงาน หรือที่พักอาศัยอยู่จริง หรือช่วงรอยต่อจังหวัดเท่านั้น ไม่สามารถทำข้ามไปต่างจังหวัดไกลๆ ได้

2. เงื่อนไขการเปลี่ยนสถานพยาบาล

  • การเปลี่ยนสถานพยาบาลในประกันสังคม สามารถเปลี่ยนได้เพียง ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคมเท่านั้น เกินกว่านี้จะไม่สามารถยื่นเรื่องได้ และสามารยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคมเป็นต้นไป
  • การเปลี่ยนสถานพยาบาลต้องมีเหตุจำเป็น อย่างการย้ายสถานที่ทำงาน ย้ายที่อยู่ หรือมีการเลือกสถานพยาบาล โดยที่ผู้มีประกันสังคม ไม่อยากใช้บริการโรงพยาบาลนั้นๆ ส่วนการย้ายที่อยู่ หรือที่ทำงาน ให้แจ้งทางประกันสังคมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันย้าย

3. การกำหนดสิทธิในการใช้บริการ

เมื่อยืนแบบแล้ว จะสามารถใช้สิทธิได้ โดยระบุวันเริ่มสิทธิคือ

  • รับเรื่องระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 ก่อน 16.30 นาฬิกา จะสามารถใช้สิทธิได้หลังจากวันที่ 16 ของเดือนถัดไป
  • รับเรื่องระหว่างวันที่ 16 จนถึงสิ้นเดือน ก่อน 16.30 นาฬิกา จะสามารถใช้สิทธิได้หลังจากวันที่ 1 ของเดือนถัดไป

วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม

สำหรับวิธีการย้ายสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลประกันสังคมนั้น หลังจากที่เช็คประกันสังคม และเรามีสิทธิจากสถานพยาบาลนั้นแล้ว สามารถย้ายได้โดยการไปที่ สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยตรงเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่อยากไปให้เสียเวลาก็สามารถทำเรื่องขอย้าย แบบออนไลน์ได้ ทั้งบนหน้าเว็บ และบนแอปฯ ของสำนักงานประกันสังคมได้เลย มีวิธีทำดังนี้

1. เข้าไปยังหน้าเว็บ สำนักงานประกันสังคม และเข้าสู่ระบบ จากนั้นเลือกเมนู “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล”

เช็คประกันสังคม ยื่นแบบขอเปลี่ยนรพ.

2. เมื่อเข้ามาแล้ว ให้เลือกเหตุผลที่จะเปลี่ยนสถานพยาบาล โดยจะให้เลือกอยู่ 3 แบบ นั่นก็คือ เปลี่ยนประจำปี, ย้ายสถานประกอบการ และย้ายที่อยู่ ให้ตอบตามเหตุผลจริงเท่านั้น จากนั้นจึงเลือกสถานพยาบาลใหม่ โดยอิงจากสถานที่ใกล้ที่อยู่ หรือที่ทำงาน

เช็คประกันสังคม เลือกรพ.ใหม่

3. เมื่อเลือกได้เรียบร้อยแล้ว ให้เลื่อนลงมาที่เมนูล่างสุด อ่านเงื่อนไขทั้งหมดก่อนทุกครั้ง และเลือกยอมรับข้อตกลง และสุดท้ายให้กดบันทึก หลังจากกดบันทึก ระบบจะทำการส่งข้อมูลไปยังสำนักงานประกันสังคม และรอสำนักงานประกันสังคม ทำเรื่องตามเงื่อนไข ถึงจะขึ้นแสดงสิทธิการใช้งานโรงพยาบาลใหม่ได้ สามารถเช็คได้หลังจากทำเรื่อง 2 วัน

เช็คประกันสังคม เลือกรพ.ใหม่ บันทึก

ส่วนวิธีย้ายสถานพยาบาลบนแอปฯ ก็จะมีวิธีที่เหมือนกับทำบนหน้าเว็บ โดยเข้าสู่ระบบ แล้วเลือกเมนู เปลี่ยนโรงพยาบาล เข้าไปเลือกเหตุผล และเลือกโรงพยาบาลใหม่ กดยอมรับเงื่อนไข และสุดท้ายให้กดยืนยัน เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการส่งเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้แล้ว สามารถเช็คได้หลังจากทำเรื่อง 2 วัน

เช็คประกันสังคม เลือกรพ.ใหม่ แอปฯ

การใช้สิทธิประกันสังคมตามตรา 33, 39 และ 40

การจะใข้สิทธิตามประกันสังคมมาตรา 33, 39 และ 40 ได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติอยู่ดังนี้

  • มาตรา 33 คือผู้ที่เป็นพนักงาน ในบริษัทที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 60 ปีเท่านั้น
  • มาตรา 39 คือ เป็นคนที่เคยอยู่ในมาตรา 33 มาก่อน และส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกจากงานมาไม่เกิน 6 เดือนเท่านั้น
  • มาตรา 40 คือ คนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 60 ปี โดยไม่ได้ทำงานประจำ หรือไม่มีนายจ้าง

แล้วทั้งหมดนี้ ก็เป็นวิธีเช็คประกันสังคม เช็คเงินในประกันสังคม ทั้งการส่งเงินสมทบต่างๆ และเช็คสิทธิในการใช้งานโรงพยาบาล และวิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ทั้งในเว็บและแอปฯ ที่ในปี 2020 นี้ มีเรื่องของ Covid-19 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้หลายคนหันมาสนใจ เรื่องของเงินประกันสังคมกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้รับประโยชน์จากตรงนี้เต็มๆ ส่วนใครที่ไม่เคยส่งเงินประกันสังคมเลย ในกรณีที่เป็นฟรีแลนซ์ หรือมีอาชีพอิสระทั่วไป สามารถส่งเงินประกันสังคมเองได้ด้วยเหมือนกัน อย่างน้อยก็ยังได้รับสิทธิที่ควรได้ แล้วถ้ามีเรื่องอะไรน่าสนใจอีก Specphone ก็จะนำมาฝากกันอีกเรื่อยๆ เลยนะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก