ผลการศึกษาล่าสุดจาก Underwriters Laboratories (UL) ซึ่งเป็นองค์กรในการให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจ โดยผลการสำรวจได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 คนใน 4 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี อินเดีย เเละจีน เเละบริษัทผลิตอีก 1,200 คน โดยผลการสำรวจบอกว่าผู้คนส่วนใหญรู้สึกเบื่อหน่ายกับอุปกรณ์ไอทีที่ออกมาเป็นจำนวนมากเกินไปเเละเเต่ละรุ่นไม่เเตกต่างกันมากนัก
ผลการสำรวจออกมาว่าผู้บริโภคจำนวนถึง 48% บอกว่าทุกวันนี้กำลังรู้สึกว่ามีอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ออกมามากเกินไปจนไม่สามารถตามได้ทันเเละเกินความต้องการไปเเล้ว เเละส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าสื่อออนไลน์ต่างกันพาอัพเดทข่าวคราวเกี่ยวกับอุปกรณ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เเละผู้ผลิตยังพากันออกสินค้าใหม่ๆ ออกมาเร็วเกินความจำเป็นมากเกินไป นอกจากนี้เเล้วสินค้าที่ออกมาใหม่ไม่ได้มีอะไรเเปลกใหม่หรือไม่มีนวัตกรรมที่น่าตื่นเต้นออกมา ทุกบริษัทต่างพากันออกสินค้าเเบบ ?me-too? ที่ไม่มีความเเตกต่างกับคู่เเข่งมากนัก เพียงเเค่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่หรือปรับปรุงดีไซน์เล็กน้อยเท่านั้น เเละผู้บริโภคมีเเนวโน้มใส่ใจกับที่มาของผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น
ในขณะที่ผู้ผลิต 19% เชื่อว่าความเร็วในการออกผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทมีศักยภาพในการเเข่งขันมากขึ้น โดยยินดีที่จะเเลกกับการลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลงเพื่อให้ออกสินค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งต่างกับที่ผู้บริโภคคิดว่ามีสินค้าต่างๆ ออกมาเร็วมากเกินไปเเล้วเสียอีก
นอกจากนี้เเล้วบริษัทอีก 85% ได้ให้ความสำคัญกับ Supply Chain มากขึ้นเนื่องจากเชื่อว่าเป็นความได้เปรียบในระยะยาวอย่างมากสำหรับผู้ผลิต
ใครสนใจรายงานฉบับเต็มลองอ่านได้จาก http://ul.com/rebrand/pdf/UL_Product_Mindset.pdf ดูครับ
ที่มา : bit.blog.nytimes.com