ใครที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมาก็ย่อมรู้ดีว่าถ้าใช้งานหนักๆ นั้นมีโอกาสสูงมากที่จะอยู่ไม่พ้นวัน ดังนั้นเมื่อเจอวิดฤตภาวะน้ำท่วมที่เเพร่กระจายอย่างหนักในตอนนี้ หลายๆ พื้นที่โดยตัดไฟทำให้ไม่สามารถชาร์จมือถือได้ ดังนั้นเเบตเตอรี่ในอุปกรณ์เหล่านี้ถือเป็นของที่มีค่า เพราะถ้าอุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีเเบตเตอรี่เหลืออยู่ก็ไม่ต่างกับที่ทับกระดาษดีๆ นี่เอง วันนี้มาทบทวนกันเรื่องวิธีประหยัดการใช้งานเเบตเตอรี่ในภาวะน้ำท่วมเเบบนี้กันดีกว่าครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเเบตเตอรี่มาก
1. การต่ออินเตอร์เน็ตเเบบ 3G การใช้งานอินเตอร์เน็ตเเบบ 3G ถึงเเม้จะมีความเร็วสูงเเต่ก็สูบเเบตเตอรี่เป็นน้ำเช่นกัน ดังนั้นจึงควรใช้เเต่พอจำเป็นเท่านั้นเมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉิน
- ทางเเก้ เปลี่ยนไปใช้ EDGE หรือปิดเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งาน หรือใช้ Wi-Fi ถ้าอยู่ในพื้นที่เนื่องจากกินพลังงานน้อยกว่า
2. ความสว่างของหน้าจอ
- ปรับความสว่างเเบบ Manual หรือใช้เท่าที่จำเป็น
สองอย่างนี้ถ้าปิดหรือปรับให้ต่ำสุดจะส่งผลต่อการใช้งานเเบตเตอรี่ได้ยาวนานกว่าเดิมมากครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเเบตเตอรี่ปานกลาง
1. อัตราการรีเฟรชข้อมูล, Push Notification, การ Sync ข้อมูล ในบางเเอพจะมีการกำหนดค่าว่าจะรีเฟรชข้อมูลทุกกี่นาทีเพื่อให้เราได้ข้อมูลที่อัพเดทอยู่เสมอ อย่างเช่น Facebook จะมีการตั้ง Update Interval ถ้าเราปิดการทำงานส่วนนี้จะทำให้เเอพไม่เรียกข้อมูลใหม่ๆ จาก Server มาทำให้ไม่เสียพลังงานในเเบตเตอรี่
2. การใช้งาน GPS, Location Services คงไม่จำเป็นต้องเช็คอินว่าจุดที่เราไปนี่น้ำท่วมรึเปล่าซักเท่าไหร่ – -* ถ้าไม่ได้ใช้โปรเเกรมนำทางหรือเเผนที่ก็ปิดได้เลยครับ
3. Wi-Fi ถ้าไม่ได้ใช้ก็ควรปิดการทำงาน
ถ้าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมลองอ่านจากบทความนี้ดู ถึงเเม้ว่าจะเขียนสำหรับ iPhone เฉพาะเเต่มือถือระบบอื่นๆ อย่าง Windows Phone 7 หรือ Android ก็มีค่าเหล่านี้ปรับให้เช่นกัน
ทางเลือกอื่นๆ
1. ซื้อเเบตเตอรี่สำรอง สำหรับเครื่องที่มีเเบตเตอรี่ขายเเยกต่างหาก เก็บไว้สองก้อนกันยามฉุกเฉินอยู่ในภาวะที่ต้องใช้งานอย่างหนักตลอดเวลาหรือไม่มีเวลาชาร์จ
2. ซื้อที่ชาร์จเเบตเตอรี่เเบบพกพา เช่น Eneloop Mobile Booster โดยส่วนใหญ่จะมีความจุไปตั้งเเต่ประมาณ 800 ? 5,000 mAh ถ้าใครสนใจลองดู Sanyoo Eneloop Mobile Booster ที่มีความจุขนาด 5,000 mAh ในราคาประมาณไม่เกิน 2,000 บาทครับ
3. ชาร์จโทรศัพท์ให้เต็มทุกครั้ง เมื่ออยู่ใกล้ปลั๊กไฟ ในภาะวะเเบบนี้ที่ไม่รู้ว่าเราอาจจะไม่มีไฟใช้เมื่อไหร่ เมื่อเจอเเหล่งจ่ายไฟควรชาร์จไว้ให้เต็มเสมอ เพราะเเบตเตอรี่ที่อยู่กับเรานั้นใช้งานได้ระยะเวลาจำกัด ขึ้นอยู่กับว่าจะหมดเร็วหรือช้าเท่านั้น
4. ซื้อฟีเจอร์โฟนราคาไม่เเพงติดตัวไว้เครื่องหนึ่ง สมัยก่อนนั้นเราเเทบไม่ต้องห่วงเรื่อระยะเวลาการใช้งานบนมือถือเครื่องเก่าๆ เลยเพราะฟีเจอร์ไม่ซับซ้อนเเละหน้าจอไม่ได้ใหญ่มโหฬารเเบบในปัจจุบัน จนเราลืมไปเเล้วว่าในอดีตเราเคยใช้โทรศัพท์ได้เป็นอาทิตย์ในการชาร์จครั้งเดียว ถึงเเม้จะใช้งานอย่างหนักก็อยู่ได้ถึงสองสามวันได้อยู่ สำหรับคนที่ไม่อยากพลาดการติดต่อควรซื้อหาไว้ซักเครื่อง้
สำหรับคนที่ไม่รู้จะทำยังไงดี เเอดมินลองเเนะนำดังนี้นะครับ คำเเนะนำไหนไม่เสียตังก็ทำได้ไม่เสียหาย เเต่สำหรับที่เสียเงินเเอดมินเเนะนำเเบบนี้จะคุ้มกว่า
คนที่มือสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว
- ซื้อเเบตเตอรี่สำรองเพิ่ม (ถ้าเครื่องที่ใช้อยู่ถอดเปลี่ยนได้) – ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ไม่มีเวลาชาร์จ หรือซื้อที่ชาร์จเเบตเตอรี่เเบบพกพา
- ซื้อฟีเจอร์โฟนไว้ใช้งานโทรอย่างเดียว
คนที่มีสมาร์ทโฟน + เเท็บเล็ต
- ซื้อที่ชาร์จเเบตเตอรี่เเบบพกพา เพื่อที่จะเอาไว้ชาร์จได้สองเครื่อง ก่อนซื้อควรดูว่ามันชาร์จสมาร์ทโฟนได้อย่างเดียวหรือเเท็บเล็ตได้ด้วย เพราะบางรุ่นจ่ายไฟไม่เท่ากัน
- สมาร์ทโฟนปิดดาต้าเเละฟังชั่นต่างๆ ให้หมด เปลี่ยนไปใช้ดาต้าบนเเท็บเล็ตเเทนถ้าเป็นเเท็บเล็ตที่สนับสนุน 3G
ยังไงเเอดมินก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่น้ำท่วม (หรือกำลังจะท่วม) ในตอนนี้ครับ ใช้ชีวิตอย่างเตรียมพร้อมเเละไม่ประมาทกันนะ