หลังจากที่คุณเป็นสาวกของแอปเปิลมาเป็นเวลายาวนาน อยู่มาวันนึงมีเหตุให้คุณต้องเปลี่ยนใจจาก iOS หันเข้าหา Android มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทุกอย่างนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
ระบบปฏิบัติการต่างๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นใน PC คอมพิวเตอร์, ultrabook, tablet หรือว่าสมาร์ทโฟน ต่างก็มีอยู่หลายระบบ และแต่ระบบนั้นก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป มันเป็นเรื่องปกติที่ คนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบใดมาเป็นเวลานาน ก็จะเคยชินกับระบบนั้น เมื่อมาวันหนึ่งเขาได้เปลี่ยนไปใช้อีกระบบหนึ่ง ความไม่คุ้นเคยจึงเกิดขึ้น บางสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มันไม่เหมือนเดิม ย่อมทำให้หวนกลับไปคิดถึงความเคยชินแบบเก่าที่เราผ่านมา
บทความนี้ ไม่ได้บอกว่าระบบไหนดีกว่าระบบไหน มันเป็นแค่ความไม่คุ้นชินสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มมาใช้เท่านั้น
1. ดีไซน์ไม่ลงตัว
เป็นเรื่องที่ทางกูเกิลไม่ค่อยใส่ใจเท่าไร แม้จะมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์อะไรหลายๆอย่างแล้วก็ตาม แต่บางทีในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นขนาดตัวอักษรที่ ใหญ่ไปบ้าง เล็กไปบ้าง เรื่องพวกนี้กูเกิลกลับไม่ค่อยเอาใจใส่ซักเท่าไร ผิดกับทางแอปเปิลที่ถือดีไซน์เป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งจุดเล็กๆ
2.การใช้งานไม่คล่องตัวเท่า iOS
ด้วยความหลากหลายของ Android ที่มีมากกว่า iOS การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ interface ของแต่ละผู้พัฒนาที่มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน ไม่เหมือนกับทาง iOS ที่การใช้งานย่อมเหมือนกันหมดเพราะเป็นของแอปเปิลเจ้าเดียว นั่นก็หมายความว่า คุณต้องใช้เวลาเรียนรู้การใช้งานใหม่ทุกครั้งเมื่อคุณเปลี่ยนเครื่องใหม่ interface ใหม่ ไม่เหมือนกับทาง iOS ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยน iPhone กี่เครื่องมันก็ใช้งานเหมือนเดิม
3. OS updates
เมื่อเวอร์ชั่นใหม่ของแอนดรอยด์ออกมาให้อัพเดต ผู้ใช้แอนดรอยด์ส่วนใหญ่จะยังไม่อัพเดตทันที พวกเขาจะรอเวลาอีกสักพัก ให้แอนดรอยด์เวอร์ชั่นใหม่มีความเสถียรภาพก่อนที่จะทำการอัพเดต เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ของทางแอนดรอยด์นั้นมีอยู่หลายผู้ผลิต การจะทำให้รองรับทุกอุปกรณ์ได้อย่างดีนั้นจึงต้องใช้เวลา ซึ่งทาง iOS นั้น ถ้ามีการออกเวอร์ชั่นใหม่ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็อัพเดตทันทีเพราะมีความเสถียรแน่ (ก็มีอยู่เจ้าเดียว)
4.ต้องเจอะเจอกับ “bloatware”
bloatware คือ แอพเสริมที่ติดหรือแถมมากับมือถือในรุ่นต่างๆโดยที่เราไม่ต้องการใช้งานและกินทรัพยากรเครื่องทำให้โหลดแอพเพิ่มได้น้อยลง มันเป็นความใจดีของผู้ผลิตที่บางแอพก็ดี แต่หลายแอพเราก็ไม่ต้องการ ซึ่งทาง iPhone ไม่มีนโยบายในการแถมแอพแบบนี้ มันก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่ว่าในเรื่องนี้แอนดรอยด์ก็น่าจะมองในมุมมองของแอปเปิลบ้างนะ
5. Control Center ใช้งานยากกว่า
Control Center ของทาง iOS นั้น ประกอบด้วยปุ่มควบคุมที่ใช้บ่อยๆ การควบคุมการเล่นเพลง ปุ่มสไลด์เพิ่ม – ลดเสียง แต่ทาง Android มีปุ่มควบคุมมากมาย ทั้งยังมีการแจ้งเตือน นู่นนี่อีกเยอะแยะอยู่รวมกัน ยิ่งในเวอร์ชั่นใหม่ Lollipop การจะเข้าถึงต้องใช้หลายขั้นตอนอีก เทียบกับทาง iOS ไม่ว่าจะเป็น iPhone รุ่นใหม่แบบ iPhone 6 Plus แต่การเข้าถึง Control Center ก็ยังเหมือนเดิม คือลากนิ้วจากข้างล่างจอขึ้นมา
6.ฟีเจอร์ในกล้องพื้นฐานน้อยกว่าทาง iOS
ฟีเจอร์ในกล้องพื้นฐานของทาง iOS นั้นดูดีและมีให้เลือกมากกว่าทางฝั่งกูเกิล ฟีเจอร์เหล่านี้ เช่น manual exposure control, automatic exposure/auto-focus lock ไม่มีให้เห็นในกล้องพื้นฐานจากแอนดรอยด์
7. คิดถึงไอ้คล้าว(iCloud backup)
ความสามารถในการสำรองข้อมูลของ iCloud นั้น ทางแอนดรอยด์ยังไม่สามารถทำได้เทียบเท่า iCloud สำรองข้อมูลทุกอย่างจากอุปกรณ์ของคุณ แต่กลับกันถ้าจะสำรองข้อมูลทุกอย่างจากทางฝั่งแอนดรอยด์นั้น คุณจะต้องทำการ root เสียก่อน
8. Apps
แน่นอนว่ามีจำนวนแอพบน Google Play มากกว่า App Store แต่ผู้พัฒนาแอพรู้สึกยินดีกว่าที่จะได้พัฒนาแอพใหม่ๆ บนระบบ iOS นั่นเป็นเพราะว่า ในแง่ของรายได้จากการดาวน์โหลดแล้ว App Store นำหน้า Google Play อยู่เยอะทีเดียว จึงเป็นสาเหตุที่แอพใหม่ๆ เลือกที่จะเปิดตัวกับ App Store เพื่อกอบโกยรายได้ก่อนที่จะเอาไปลง Google Play ทำให้บ่อยครั้งที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ต้องรอ และรอ แอพที่หมายปองในเวอร์ชั่นแอนดรอยด์ ในขณะที่ต้องทนดูเพื่อนที่ใช้ iPhone สนุกสนานกับแอพนั้นกันไป
9.ขาดแคลนทางเลือกที่ให้ความต่อเนื่องกัน
ถ้า คุณกำลังใช้ เครื่อง Mac หรือ iPad อยู่ข้าง iPhone ของคุณ ฟีเจอร์ใหม่อันนึงใน iOS 8 – Continuity – จะทำให้ชีวิตของคุณง่ายดายขึ้นด้วยการเชื่อมการใช้งานแต่ละอุปกรณ์ให้ต่อเนื่องกัน ซึ่งไม่มีในแอนดรอยด์
10. Apple’s Health ดีกว่า Google Fit
ถ้าคุณเคยใช้ Apple’s Health มาและติดอกติดใจ คุณจะต้องรู้สึกผิดหวังแน่ๆเมื่อได้ใช้ Google Fit โดยรวมแล้วทั้งสองแอพนี้ก็ดูคล้ายๆกัน แต่ Apple’s Health มีฟีเจอร์เด็ดที่ทำให้เหนือกว่า ต้องขอบคุณ HealthKit และ ResearchKit ที่ทำให้อุปกรณ์ iOS ของคุณเป็นศูนย์พยาบาลเคลื่อนที่
ที่มา : phonearena