Close Menu
    Facebook X (Twitter) YouTube TikTok
    SpecPhone
    • ข่าวล่าสุด
    • รีวิว
    • ค้นหามือถือ
    • วิดีโอ
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)
    SpecPhone
    Home»Editorial»แนะนำ 5 แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 ที่ควรมีติดเครื่อง เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ได้แม่นยำทุกที่ทุกเวลา
    Editorial

    แนะนำ 5 แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 ที่ควรมีติดเครื่อง เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ได้แม่นยำทุกที่ทุกเวลา

    IamnotspockBy Iamnotspock24 มีนาคม 2025
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email
    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568
    credit: Freepik

    แนะนำ 5 แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 ที่ควรมีติดเครื่อง เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ได้แม่นยำทุกที่ทุกเวลา

    ในยุคที่ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาสุขภาพระดับชาติ การมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยติดมือถือถือในการเช็คค่าฝุ่นต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรารับมือ กับมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแอพเหล่านี้ไม่เพียงช่วยตรวจสอบค่าฝุ่นละอองในพื้นที่ที่เราอยู่ แต่ยังให้ข้อมูลสภาพอากาศและคำแนะนำ พร้อมคำเตือนในการป้องกันตัวจากมลพิษทางอากาศได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองใหญ่หรือพื้นที่ชนบท แอพเช็คฝุ่นจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกิจกรรมประจำวันได้อย่างปลอดภัย พร้อมรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว มาดูกันว่าในปี 2025 มีแอพไหนบ้างที่ควรมีติดเครื่องไว้เลย


    ค่าฝุ่นต่างๆ มีแบบไหนบ้าง แบบไหนที่อันตราย และแบบไหนคือค่าปกติ

    ค่าฝุ่นละอองในอากาศถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่เป็นตัวอันตรายและทำลายสุขภาพได้หลักๆ ก็คือฝุ่น TSP, PM10 และ PM2.5 ที่มีความแตกต่างกันคือ

    • TSP (Total Suspended Particulates) – คือฝุ่นละอองที่มีขนาดตั้งแต่ 0.001 ถึง 100 ไมโครเมตร ซึ่งเป็นกลุ่มฝุ่นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาฝุ่นละอองทั้งหมด มักเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้าง การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการพัดพาของฝุ่นจากธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจลึกๆ ได้ เนื่องจากขนาดใหญ่เกินไปและถูกกรองโดยจมูกและลำคอ
    • PM 10 – ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ซึ่งเล็กกว่าฝุ่น TSP และสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ลึกขึ้น มักเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การพัดพาของฝุ่นดิน และกิจกรรมอุตสาหกรรม สามารถสะสมในหลอดลมและปอดได้ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และในกรณีที่สัมผัสระยะยาว
    • PM 2.5 – คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งเล็กที่สุดในกลุ่มนี้และเป็นฝุ่นที่อันตรายที่สุด เนื่องจากสามารถแทรกซึมเข้าสู่ส่วนลึกของปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น รถยนต์ โรงงาน และไฟป่า รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การผลิตทางอุตสาหกรรม

    ผลกระทบต่อสุขภาพของ PM2.5 รุนแรงกว่าฝุ่นชนิดอื่นๆ โดยส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัย นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งปอดและการลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถวัดค่าความเสี่ยงได้ตามดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ดังนี้:

    • 0-50: คุณภาพอากาศดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
    • 51-100: คุณภาพอากาศปานกลาง อาจมีผลต่อผู้ที่ไวต่อมลพิษ
    • 101-150: อากาศเริ่มไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว
    • 151-200: อันตรายต่อสุขภาพสำหรับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
    • 201-300: อันตรายมาก ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
    • 300+: อันตรายที่สุด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง

    ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐาน (AQI > 100) จะเริ่มส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจและหัวใจ

    วิธีป้องกันจากฝุ่น PM 2.5 ทำยังไงได้บ้าง

    การป้องกันตัวจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้หลายวิธี ในเบื้องต้นสามารถป้องกันทั้งจากตัวเอง และจากปัจจัยอื่นๆ ได้ดังนี้

    1. ใช้หน้ากากอนามัยมาตรฐาน เช่น N95 หรือ KF94 ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงเวลาที่ค่าฝุ่นสูง โดยตรวจสอบผ่านแอพเช็คฝุ่นก่อนออกจากบ้าน
    3. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ในบ้านหรือสำนักงานเพื่อกรองมลพิษภายในพื้นที่
    4. เพิ่มพื้นที่สีเขียว รอบตัวเองเพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศ
    5. ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ ผ่านแอพพลิเคชัน หรือข่าวสารอื่นๆ เพื่อวางแผนการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย

    แนะนำเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi รุ่นไหนดีในปี 2025 แต่ละรุ่นต่างกันยังไงและรุ่นไหนให้เหมาะกับการใช้งานไหนบ้าง


    แนะนำ 5 แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ที่ควรมีติดเครื่องในปี 2025

    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568 1

    1. IQAir AirVisual

    เริ่มต้นด้วยแอพ IQAir AirVisual ที่เป็นแอพเช็คค่าฝุ่นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ด้วยความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์จากสถานีตรวจวัดกว่า 500,000 แห่งใน 100 ประเทศ แอพนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลฝุ่น PM 2.5 และมลพิษอื่นๆ เช่น PM10, โอโซน และคาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถดูพื้นที่ได้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยแบบเรียลไทม์

    จุดเด่นของแอพคือการแสดงผลผ่านแผนที่แบบ 2D และ 3D พร้อมการพยากรณ์คุณภาพอากาศล่วงหน้าสูงสุดถึง 7 วัน ผู้ใช้สามารถวางแผนกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด แอพนี้ถือเป็นตัวเลือกที่ครอบคลุมที่สุดสำหรับการตรวจสอบคุณภาพอากาศทั่วโลก รวมถึงการแจ้งเหตุว่าจุดไหนมีเหตุไฟไหม้ในแผนที่ได้ด้วย

    • Download: iOS/ Android

    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568 2

    2. Air4Thai

    ต่อกันด้วยแอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ที่พัฒนาโดยกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย แอพนี้ออกแบบมาเพื่อรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์จากสถานีตรวจวัดกว่า 80 แห่งทั่วประเทศ จุดเด่นคือการแสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และค่าฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ผ่านกราฟและแผนที่ที่เข้าใจง่าย พร้อมคำแนะนำด้านสุขภาพตามระดับ AQI

    นอกจากนี้แอพยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นสูงเกินมาตรฐาน ทำให้เหมาะสำหรับคนไทยที่ต้องการติดตามสถานการณ์ฝุ่นในพื้นที่ต่างๆ เพราะว่ามีการแสดงค่าฝุ่นออกมาได้ครอบคลุมทั่วทั้งและประเทศและภาคต่างๆ โดยตัวอ่านกราฟคุณภาพอากาศ สามารถดูย้อนหลังได้ 7 วัน ใช้การรายงานข้อมูลรายชั่วโมง (สำหรับบางสถานี) และแบบรายวัน

    • Download: iOS/ Android

    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568 3

    3. เช็คฝุ่น (GISTDA)

    อีกแอพเช็คฝุ่นจากประเทศไทยเราเอง ที่พัฒนาโดย GISTDA หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและภูมิสารสนเทศในการรายงานค่าฝุ่น PM2.5 แบบเรียลไทม์ จุดเด่นคือการครอบคลุมพื้นที่ทั้งในประเทศไทย สามารถดูได้ง่ายทั้งจากหน้าการรายงานโดยตรง หรือว่าจะดูย้อนหลังพร้อมกับดูกราฟร่วมด้วยก็ยังได้ นอกจากนี้ยังมีการบอกลำดับของฝุ่นในแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยอีกด้วย

    ซึ่งแอพนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบค่าฝุ่นได้ทุกชั่วโมง พร้อมคำแนะนำในการหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ และจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้ประชาชนสามารถรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลฝุ่นในระดับสูงในประเทศไทย

    • Download: iOS/ Android

    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568 4

    4. Airveda – Air Quality

    แอพเช็คฝุ่นที่เหมาะสำหรับนักเดินทาง โดยสามารถตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5, PM10, CO2, อุณหภูมิ และความชื้นได้ทั่วโลก จุดเด่นคือความสามารถในการเชื่อมต่อกับเครื่องวัดคุณภาพอากาศ Airveda เพื่อดูข้อมูลในพื้นที่เฉพาะได้ ซึ่งตัวแอพยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นสูงเกินมาตรฐาน รวมถึงการวางแผนกิจกรรมกลางแจ้งตามข้อมูลคุณภาพอากาศ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการติดตามคุณภาพอากาศทั้งในและนอกสถานที่ โดยแอพสามารถดูข้อมูลได้เป็นรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือน เป็นอีกหนึ่งแอพที่ควรมีติดเครื่องไว้เช็คสภาพฝุ่นในแต่ละพื้นที่ได้ดีมากๆ

    • Download: iOS/ Android

    แนะนำ แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 ปี 2025 เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ แม่นยำ ฟรี 2568 5

    5. Air Matters

    ปิดท้ายด้วย Air Matters ที่เป็นแอพเช็คฝุ่นที่ครอบคลุมกว่า 180 ประเทศทั่วโลก และให้ข้อมูลตามเวลาจริงในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งแอพจะแสดงข้อมูลออกมาจากสถานีตรวจสอบที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด จุดเด่นคือระบบแจ้งเตือนเมื่อเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพ สามารถเชื่อมต่อกับ Philips Smart Air Purifier ได้ เพื่อตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอากาศ

    นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สำหรับ Apple Watch ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานตรวจสอบค่าฝุ่นได้สะดวกจากการดูผ่าน Apple Watch ได้เลย แอพนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลฝุ่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมคำแนะนำในการป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ รวมถึงคนที่ต้องการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

    • Download: iOS/ Android

    การใช้แอพเพื่อเช็คฝุ่น PM 2.5 มีข้อดียังไง ทำไมถึงต้องมีติดมือถือเอาไว้

    การมีแอพเช็คค่าฝุ่นติดโทรศัพท์มือถือเอาไว้เป็นสิ่งสำคัญในยุคที่มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แอพเหล่านี้ช่วยให้เรารับรู้สถานการณ์คุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ ทั้งในพื้นที่ที่เราอยู่และพื้นที่อื่นๆ ที่เราต้องเดินทางไป การใช้งานแอพเช็คค่าฝุ่นยังช่วยให้เราวางแผนกิจกรรมประจำวันได้อย่างปลอดภัย เช่น หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งในวันที่ค่าฝุ่นสูง หรือเลือกเส้นทางเดินทางที่มีมลพิษน้อยกว่า

    นอกจากนี้ แอพเช็คค่าฝุ่นยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ช่วยให้เราป้องกันตัวเองได้ทันเวลา เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือการอยู่ในพื้นที่ปิด ที่มีเครื่องฟอกอากาศ การติดตั้งแอพเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนการมีผู้ช่วยส่วนตัวที่คอยดูแลสุขภาพของเราในทุกสถานการณ์ และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจและโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่เกิดจากมลพิษทางอากาศได้นั่นเอง

    ข้อดีของการใช้งานแอพเช็คค่าฝุ่นยังรวมถึงการแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งช่วยให้เราหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงได้ทันเวลา แอพบางตัวสามารถแสดงข้อมูลคุณภาพอากาศในระดับโลก เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศหรืออยากรู้สถานการณ์มลพิษในพื้นที่อื่น ๆ การมีแอพเหล่านี้ติดมือถือจึงเปรียบเสมือนการมีผู้ช่วยส่วนตัวที่คอยดูแลสุขภาพของเราในทุกวัน

    คำถามที่คนมักค้นหา (FAQ)

    • แอพเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ใช้งานฟรีหรือไม่?
      • ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี แต่บางแอพอาจมีฟีเจอร์พิเศษที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
    • แอพเช็คค่าฝุ่นสามารถบอกข้อมูลอะไรได้บ้าง?
      • สามารถบอกค่าฝุ่น PM 2.5, PM10, ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และข้อมูลสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และคำแนะนำด้านสุขภาพได้
    • แอพไหนเหมาะสำหรับคนไทยมากที่สุด?
      • ทุกแอพสามารถใช้งานที่ประเทศได้หมด
    • แอพเช็คค่าฝุ่นสามารถใช้ในต่างประเทศได้ไหม?
      • ได้ โดยเฉพาะแอพอย่าง IQAir AirVisual และ Air Matters รองรับการใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก
    • จำเป็นต้องเปิด GPS เพื่อใช้งานแอพเช็คค่าฝุ่นหรือไม่?
      • ส่วนใหญ่แล้ว แอพจะต้องใช้ GPS เพื่อระบุพื้นที่และแจ้งข้อมูลคุณภาพอากาศในตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งานด้วย

    การเลือกใช้แอพเช็คฝุ่น PM 2.5 เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยปกป้องสุขภาพจากมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ การแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นสูง หรือการวางแผนกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แอพเหล่านี้ช่วยให้เรารับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจ เลือกแอพที่เหมาะกับความต้องการของคุณ เช่น Air4Thai สำหรับคนไทย หรือ IQAir AirVisual สำหรับข้อมูลระดับโลก เพื่อสุขภาพที่ดีและชีวิตที่ปลอดภัยจากมลพิษ


    แนะนำ 10 เครื่องฟอกอากาศ ยี่ห้อไหนดีในปี 2567 ช่วยกรองฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสในบ้านได้ดีเยี่ยม
    Android App Application iOS App
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Iamnotspock

    Related Posts

    รวมโปรเน็ตไม่ลดสปีด AIS, true – dtac รายเดือนเล่นได้ไม่อั้นไม่จำกัดทั้งเดือน ไม่ต้องกลัวเน็ตหมด อัพเดท 2025

    8 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 10 แท็บเล็ต Lenovo รุ่นไหนดีในปี 2025 สเปคดี มีปากการองรับ ใช้เรียนใช้ทำงานได้คุ้มๆ

    8 พฤษภาคม 2025

    วิธีแก้ไลน์ไม่แจ้งเตือน Android, iPhone ไลน์ไม่ดังต้องเข้าแอพทำยังไงได้บ้างในปี 2568

    7 พฤษภาคม 2025

    Comments are closed.

    หัวข้อทั้งหมด

    ลือ Snapdragon 8 Elite 2 จะใช้คอร์ Oryon Gen 2 พร้อม NPU ระดับ 100 TOPS

    9 พฤษภาคม 2025

    หลุดแผนโร้ดแมป iPhone ยาวถึง iPhone 19 ปี 2027

    9 พฤษภาคม 2025

    รวมโปรเน็ตไม่ลดสปีด AIS, true – dtac รายเดือนเล่นได้ไม่อั้นไม่จำกัดทั้งเดือน ไม่ต้องกลัวเน็ตหมด อัพเดท 2025

    8 พฤษภาคม 2025

    แนะนำ 10 แท็บเล็ต Lenovo รุ่นไหนดีในปี 2025 สเปคดี มีปากการองรับ ใช้เรียนใช้ทำงานได้คุ้มๆ

    8 พฤษภาคม 2025

    มือถือรุ่นยอดนิยม

    Honor X7

    Honor X7

    6,299 บาท
    Honor X8

    Honor X8

    7,999 บาท
    Honor X9

    Honor X9

    9,299 บาท
    HTC Desire 22 Pro

    HTC Desire 22 Pro

    0 บาท
    Huawei Nova 10 Pro

    Huawei Nova 10 Pro

    24,990 บาท
    ดูมือถือทั้งหมด
    Facebook YouTube TikTok X (Twitter)

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับ
    X