เพราะเหตุใด Android ถึงต้องมีแรมเยอะๆ ในขณะที่ iOS มีแค่ 1 GB ก็ยังเร็วปรู๊ดปร๊าด

iPad-Air-Chips

ปัจจุบันเรามักจะเห็นมือถือ แท็บเล็ต Android มาพร้อมกับแรมแทบจะไม่ต่ำกว่า 1 GB กันแล้ว โดยเฉพาะในรุ่นท็อปบางตัวก็จัดมาให้เลยถึง 3 GB แต่ในขณะที่ทางฝั่ง Apple นั้น เพิ่งจะมีอุปกรณ์ iOS รุ่นแรกที่มาพร้อมแรม 2 GB ก็คือ iPad Air 2 นอกนั้นยังคงใช้แรม 1 GB ที่ยังคงเดิมมาตั้งแต่ยุค iPhone 5 (เมื่อ 2 ปีก่อน) แต่ก็ยังทำงานได้อย่างรวดเร็ว เปิด ปิดแอพได้เร็วแทบไม่ต่างจากมือถือ Android ที่มีแรมเยอะกว่าเลย เผลอๆ ยังจะเร็วกว่าด้วยซ้ำไป ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ก็มีคนเข้ามาอธิบายเอาไว้บนเว็บไซต์ Quora ที่เป็นเว็บไซต์เปิดให้คนเข้ามาตั้งคำถาม และมีคนมาตอบคำถามให้ครับ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้มือถือ Android จำเป็นต้องมีแรมจำนวนมาก แต่ฝั่ง iOS กลับไม่จำเป็นก็คือตั้งแต่เรื่องสถาปัตยกรรมของภาษาที่ใช้เขียนแอพเลยทีเดียว

อันเนื่องมาจากตัวแอพ Android เลือกใช้งานภาษา Java ที่ในโครงสร้างของ Java เองจะมีกระบวนการ “garbage collection” หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นกระบวนการล้างหน่วยความจำ (แรม) หลังจากแอพใดแอพหนึ่งปิดตัวลง เพื่อคืนหน่วยความจำกลับมาให้ว่างพร้อมใช้งานอื่นๆ ต่อไป แล้วทีนี้กระบวนการดังกล่าวมันดันจำเป็นต้องใช้พื้นที่หน่วยความจำ (แรม) เพื่อทำงานเองอีก 4-8 เท่าของแรมที่แอพตัวเดิมใช้งานอยู่ สมมติว่าเราปิดแอพ Facebook ที่ใช้งานแรมอยู่ 50 MB ไป เจ้ากระบวนการ garbage collection นี้ก็จะต้องเรียกใช้งานแรม 200 – 400 MB เพื่อทำการล้างหน่วยความจำคืนกลับไปให้ระบบ ทำให้แรมเครื่องเหลือน้อยลงในระหว่างที่ทำความสะอาดแรม

ซึ่งถ้าแรมเครื่องมีน้อย เช่น 512 MB (หรือจะถือว่า 1 GB น้อยไปแล้วก็ว่าได้) ก็จะทำให้ปริมาณแรมทั้งระบบเหลือไม่ค่อยพอที่จะรันแอพใหม่ขึ้นมาตามที่เราสั่งงาน ส่งผลให้การทำงานของเครื่องโดยรวมทั้งหมดช้าลง การเปิดแอพก็ไม่เร็วปรู๊ดปร๊าดอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนในมือถือที่มีแรมเยอะๆ เช่น 2 GB ขึ้นไปก็จะพบปัญหานี้น้อยลง เพราะมีแรมว่างเหลือเฟือในการเปิดให้ garbage collection ทำงาน และเปิดแอพใหม่ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง แต่ฝั่ง iOS จะไม่มีกระบวนการล้างหน่วยความจำในลักษณะเดียวกับ Android จึงทำให้ดูเหมือนสามารถทำงานได้เร็วกว่า ทั้งที่มีแรมเพียง 1 GB เท่านั้น

ก็น่าจะไขข้อข้องใจกันไปได้ระดับหนึ่งล่ะนะครับ ว่าทำไมมือถือ Android ถึงต้องมีแรมเยอะๆ แต่ถ้าอยากรู้ข้อมูลทางเทคนิคเชิงลึก คงต้องลงไปศึกษาทำความเข้าใจถึงแก่นของภาษา Java ล่ะนะ (ตัวผมเองก็ลืมไปหมดแล้ว ฮาๆ)

ที่มา: PhoneArena

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก